ตลอดแนวชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรังและเกาะแก่งนอกฝั่งนับจากปากอ่าวทางด้านเหนือในท้องที่อำเภอสิเกาถึงอำเภอกันตังอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีเนื้อที่ 144,292.35 ไร่ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 ตอนที่ 170 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36 ของประเทศไทย สามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่ดินชายฝั่งทะเลรวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะเมง เกาะปลิง และเกาะเจ้าไหม บริเวณชายฝั่งนี้ ประกอบด้วยเขาหินปูนสูงชัน ทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่ง กำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางลัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง 2. พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 85,762.5 ไร่ เป็นห้วงน้ำลึก มีความลึกเฉลี่ย 20 เมตร ทิศเหนือ จดเขาจองจันทร์ อำเภอกันตัง คลองเมง และคลองลำยาว ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ทิศใต้ จดช่องแคบมะละกา อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ทิศตะวันออก จดควนดินแดง ควนเม็ดจูน ควนลุ และควนแดง ทิศตะวันตก จดเกาะไหง เกาะมัง ช่องแคบมะละกา
ภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมประกอบด้วย ภาคพื้นดินและภาคพื้นน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ทางด้านทิศ ตะวันตกของภาคใต้ โดยเป็นพื้นดิน 58,530 ไร่ และพื้นน้ำในทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย 85,762.5 ไร่ ซึ่งพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นดินชายฝั่งทะเลรวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะเมง บริเวณนี้ประกอบด้วย ภูเขาหินปูนสูงชัน ซึ่งทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางสัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรังนอกจากนี้ยังประกอบด้วยทุ่งหญ้า ป่าดงดิบ ป่าชายเลน ป่าชายหาด และหาดทราย ส่วนภาคพื้นน้ำ เป็นห้วงน้ำลึก มีแนวปะการังเป็นบริเวณกว้างตามไหล่เขาที่มีความลาดชันสูง แนวปะการังจะปรากฎอยู่บนเกาะแหวน เกาะเชือก เกาะกระดาน
ภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดปี ทำให้เกิดฤดู 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม–เมษายน ส่วนฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–ธันวาคม ค่าอุณหูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือน เท่ากับ 35.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคมและเมษายน ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย รายเดือนเท่ากับ 21.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี เท่ากับ 2187.3 มิลลิเมตร เดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุด คือ เดือนกันยายน เท่ากับ 158.8 มิลลิเมตร
สัตว์ป่า
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ พะยูน เลียงผา ค่างดำ เก้ง และกระจงเล็ก ส่วนสัตว์ผู้ล่าที่พบเห็นได้ยาก ได้แก่ แมวดาว ส่วนที่พบเห็นตัวและร่องรอยได้ง่าย ได้แก่ นากเล็กเล็บสั้น ฯลฯนก พบนกที่มีสภาพใกล้จะสูญพันธุ์ 2 ชนิด ได้แก่ นกกระสาคอดำ และนกตะกรุม นกชายเลนอพยพที่มีสถานภาพหายาก ได้แก่ นกยางจีน นกทะเลขาเขียวลายจุด และนกนางนวลแกลบพันธุ์จีน สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่าบึงหัวเหลือง งูหลาม และงูเหลือม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบอ๋อง กบนา อึ่งน้ำเต้า เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
ป่าดิบชื้น พบป่าประเภทนี้ครอบคลุมพื้นที่ ในเขตพื้นดินชายฝั่งตอนในบริเวณเขาน้ำราบ บริเวณบ่อน้ำร้อน บริเวณทิศตะวันออกของหาดทรายเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ยางวาด ยูง ยางมันใส และไม้ชั้นล่างเป็นพวกที่พบในเขต ป่าดิบชื้นโดยทั่วไป เช่น หวาย เถาวัลย์ เป็นต้นป่าผสมบริเวณภูเขาหินปูน พบอยู่ด้านทิศตะวันตกของเกาะมุกต์เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะปลิง เขาแบนะ เขาเมง เขาหยงหลิง เขาเจ้าไหม ประกอบด้วยพืชพรรณไม้ที่ขึ้นเฉพาะพื้นที่ เช่น จันทน์ผา เป้ง สลัดได กล้วยไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้นป่าชายหาด พบบริเวณทิวเขาชายทะเลบริเวณเกาะมุกต์ เกาะเจ้าไหม เกาะเมง พันธุ์ไม้ที่ สำคัญ เช่น สนทะเล เมา กระทิง เป็นต้น ป่าชายเลน พบกระจายอยู่ตามอ่าวของเกาะมุกต์ พืชพรรณที่สำคัญได้แก่ โกงกาง โปรง ตะบูน เป็นต้น ด้านหลังป่าชายเลนมีพืชพรรณไม้น้ำกร่อยขึ้นอยู่ เช่น จาก หงอนไก่ทะเล เป็นต้น สังคมพืชน้ำ พบสังคมพืชน้ำประเภท หญ้าทะเล สาหร่าย แพลงตอน โดยเฉพาะท้องทะเล ของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์- พื้นที่กางเต็นท์ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หน้าเขาแบนะ 2 แห่ง ขนาด 1,064 ตารางเมตร และ 1,102 ตารางเมตร และบริเวณหน้าร้านสวัสดิการ 1 แห่ง ขนาด 2,465 ตารางเมตร มีบริการเช่าเต็นท์และอุปกรณ์อื่นๆร้านอาหารสวัสดิการ- บริการร้านค้า ร้านอาหาร และลานจอดรถบริเวณหน้าเขาแบนะ ขนาด 832 ตารางเมตร และขนาด 667 ตารางเมตร และบริเวณหน้าร้านสวัสดิการพื้นที่ขนาด 2,000 ตารางเมตรศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง บริเวณ หาดหยงหลิง และหาดปากเมง มีการจัดแสดง นิทรรศการ เพื่อให้ข้อมูลและความรู้กับนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง การเดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ อัตราค่าโดยสาร ราคา 750 บาท หรือนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางโดยรถไฟ อัตราค่าโดยสาร 691 บาท จากจังหวัดตรังไปตามทางหลวงหมายเลข 4046 (สายตรัง–สิเกา) ถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4162 สู่หาดปากเมง เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร จากหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบชายหาด อีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถตู้ประจำทางได้โดยมีอัตราค่าโดยสาร ราคา 50 บาท การเดินทางไปตามเกาะต่างๆ ให้ติดต่อเช่าเหมาเรือที่ท่าเรือปากเมง ท่าเรือหาดยาว และท่าเรือควน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา