Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 บ้านธารทิพย์ ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาโปลกหล่น มีเนื้อที่ประมาณ 8,750 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2538
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพธรรมชาติโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชันมีความสูงโดยเฉลี่ย 500 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีสภาพป่าผสมผลัดใบค่อนข้างสมบูรณ์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง เช่น ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก มะค่าแต้ ไผ่ชนิดต่าง ๆ ไม้พื้นล่าง ได้แก่ จำพวกเฟิร์น กล้วยไม้ป่าชนิดต่าง ๆ และเถาวัลย์ขึ้นอยู่ตามลำธารบริเวณน้ำตก
จากการสำรวจพบและจากคำบอกจากชาวบ้านเคยพบเห็นหมูป่า เก้ง แมวป่า ไก่ป่า อีเห็น ตะกวด สัตว์เลื้อยคลานทั่วไปและนกชนิดต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยวเหมือนกับอุทยานแห่งชาติ หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเองทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา โปรดเตรียมอาหารไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์โดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดที่โทร. 0-2561-4292 - 3 ต่อ 719 ฝ่ายจัดการ-วนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900
แหล่งท่องเที่ยว
บนเทือกเขาเป็นลำธารมีน้ำไหลตลอดปีและมีน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 40 เมตร และมีน้ำตกขนาดเล็ก ซึ่งเป็นต้นน้ำของห้วยน้ำคล้ำ เบื้องล่างเป็นลานหินธรรมชาติและแก่งหินต่าง ๆ
การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดเพชรบูรณ์ไปอำเภอหล่มสักไปประมาณ 26 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านบุ่งน้ำเต้าเลี้ยวซ้ายไปเป็นทางแยกลาดยางประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงบริเวณทางเข้าน้ำตกธารทิพย์และเป็นทางลำลองประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงบริเวณน้ำตกธารทิพย์
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (นครสวรรค์) ต.บุ่งน้ำเต้า อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์


อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าตะเบาะ และป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 181,250 ไร่ หรือ 290 ตารางกิโลเมตร
เมื่อปี พ.ศ. 2532 จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้พบน้ำตกสวยงามเหมาะสมที่จะปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ขอให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจพื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเมื่อกลางปี งบประมาณ 2534
กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/244 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการตราพระราชกำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ นำเสนอร่างพระราชกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติได้มี หนังสือ ที่ กษ 0712.3/1275 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2539 ให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้พิจารณาตามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 22 ธันวาคม 2535 ว่าพื้นที่ทีจะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติมีราษฎรอาศัยหรือทำกินหรือไม่ และได้รับรายงานจากอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.425/65 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 ว่า พื้นที่ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ไม่มีราษฎรบุกรุกครอบครองแต่อย่างใด เนื่องจากหน่วยราชการต่าง ๆ และราษฎรในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีเพื่อรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์นี้ เพื่อจะได้เสนอประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือ ที่ นร 0214/13816 ลงวันที่ 26 กันยายน 2539 และส่งร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไปเพื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/105 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ว่าได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกำหนดดังกล่าวข้างต้นเสร็จแล้ว พื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกำหนดนี้ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 619 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 การทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดังกล่าวสมควรให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในส่วนที่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามร่างพระราชกำหนดต่อไป และกรมป่าไม้แจ้งยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดตามร่างคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไข สำหรับข้อสังเกตของสำนักงานกฤษฎีกาฯที่ให้กรมป่าไม้ออกกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติจะดำเนินการภายหลัง
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณ ที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2541 (อุทยานแห่งชาติตาดหมอก) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 78 ก หน้า 11 วันที่ 30 ตุลาคม 2541
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดของห้วยน้ำดำ ห้วยผึ้ง ห้วยกกไฮ ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำชี เป็นผืนป่าเดียวกันกับป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่
อาณาเขตทิศเหนือติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศใต้จดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออกจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันตกจด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ส่วนที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ยาง แดง สัก ก่อ ประดู่ ตะแบก ไผ่ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ช้างป่า เลียงผา หมูป่า เก้ง ลิง นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลาชนิดต่าง ๆ
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกตาดหมอก ต้นกำเนิดจากเขาตาดหมอก เป็นน้ำตกสูงเด่นไหลลงจากหน้าผาสูงมีชั้นเดียวโดดๆ ความสูงประมาณ 200-300 เมตร สายน้ำที่โจนลงมาจากหน้าผาสูงทำให้สายน้ำแตกกระจายเป็นละอองน้ำคละคลุ้งไปทั่ว ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมาก ละอองน้ำจะฟุ้งกระจายจนไม่สามารถยืนอยู่ใกล้น้ำตกได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางถนน 7 กิโลเมตร แล้วเดินลัดเลาะไปตามลำห้วยอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นเขาชัน
น้ำตกสองนาง เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง เพราะสายน้ำจะไหลผ่านโขดหินลดหลั่นกันลงมาทั้งหมด 12 ชั้น แต่ละชั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ชั้นที่สูงเพียง 5 เมตร และชั้นที่สูงถึง 100 เมตร ไหลลงสู่คลองห้วยบง สู่เขื่อนบ้านเฉลียงลับ สิ้นสุดที่แม่น้ำป่าสัก น้ำตกตั้งอยู่บนเส้นทางเดียวกับน้ำตกตาดหมอก โดยมีทางแยกไปน้ำตกสองนางก่อนถึงน้ำตกตาดหมอก
ผาสวรรค์ เป็นหน้าผาสูง 50 เมตร ยาว 200 เมตร มองเห็นทิวทัศน์แม่น้ำเลย ภูหลวง ภูหอ และภูกระดึง ได้อย่างชัดเจน ผาสวรรค์ตั้งอยู่ที่บ้านดงคล้อย ตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว
ที่พัก-บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
มีบ้านพักนักท่องเที่ยว จำนวน ๒ หลัง , เต้นท์ สถานที่กางเต็นท์, ร้านอาหาร ไว้บริการนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ จากศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ไปทางทิศตะวันออกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2271 ถึงบ้านเฉลียงลับระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวขวาไปทางบ้านน้ำร้อน ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 ประมาณ 200 เมตร เลี้ยวซ้ายขึ้นอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามเส้นทาง รพช. (บ้านเฉลียงลับ- ตาดหมอก) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถแล้วเดินด้วยเท้าตามลำห้วยอีก 2 กิโลเมตร เพื่อชมความงามน้ำตกตาดหมอก และน้ำตกสองนาง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตู้ ปณ.4 อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000โทรศัพท์ 0 9703 8855

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่บนถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูงประมาณ 3 วา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่องาม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ อยู่ที่ถนนหลักเมือง ใจกลางเมืองเพชรบูรณ์ เสาหลักเมืองเป็นเสาหินที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2447 เมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณแบบทวารวดีและขอม คาดว่ามีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11–12 ลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17–18 จึงนับว่าเป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เยื้องตรงข้ามเสาหลักเมือง จะมองเห็นมะขามยักษ์สีทอง ผลไม้สัญลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่สวยงาม
วัดไตรภูมิ ตั้งอยู่บนถนนเพชรรัตน์ ในตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ ประดิษฐานพระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปสมัยลพบุรี ชาวบ้านพบบริเวณหน้าวัดในแม่น้ำป่าสัก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปและมีผู้พบอยู่ในแม่น้ำบริเวณที่พบครั้งแรก จึงถือกันเป็นประเพณีของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย จะมีการแห่ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง เดิมมีสามวัดตั้งอยู่เรียงกันคือวัดพระสิงห์อยู่ทางทิศเหนือ วัดพระแก้วอยู่ตรงกลาง และวัดพระเสืออยู่ทางทิศใต้ โบราณสถานสำคัญที่น่าชมคือ พระเจดีย์ในวัดพระสิงห์ และพระปรางค์กลีบมะเฟืองที่วัดพระแก้ว มีการขุดพบพระพุทธรูปที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าสร้างมานานกว่าเจ็ดร้อยปี นอกจากนี้ยังพบกรุ โอ่ง พระพุทธรูปและของสำคัญต่างๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปทองคำเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเงิน แผ่นทองคำ และพระผงดินเผา แบบสุโขทัย
บริษัท จุลไหมไทย จำกัด (ไร่นายจุล คุ้นวงศ์) ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 202 ทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบูรณ์ 21 กิโลเมตร ใกล้สามแยกวังชมภู เป็นสถานที่ผลิตเส้นใยไหมสำหรับทอผ้า กรรมวิธีการผลิตยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลัก เริ่มจากการฟักไข่ไหมเป็นตัวหนอนและตัวดักแด้ จากนั้นจึงนำมาสาวใยไหมออกเป็นเส้น มีการปลูกต้นหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมกว่า 2,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีสวนสละ ส้ม ส้มโอ และมีการเลี้ยงปลาน้ำจืดหลายชนิด ผลิตภัณฑ์ทั้งสดและแปรรูปมีนำมาวางขายที่ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ด้านหน้าไร่ทุกวัน นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าชมกิจการภายในไร่ ต้องทำหนังสือล่วงหน้าถึงผู้จัดการบริษัท หรือ โทร. 0 5677 1101-6 โทรสาร 0 5677 1100
เขารัง เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล ตั้งอยู่บนเส้นทางสายเพชรบูรณ์-ตะพานหิน ถนนสายนี้สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเปิดสู่เมืองเพชรบูรณ์ การก่อสร้างถนนเต็มไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนที่สร้างทางจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย
สวนรุกขชาติหนองนารี (สวนรุกขชาติผาเมือง) ตั้งอยู่ริมถนนนารีพัฒนา หมู่ที่ 5 ตำบลสะเตียง ข้างสนามกีฬาเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณสวนเป็นบึงบัวขนาดใหญ่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ สามารถขับรถเที่ยวรอบบึง บรรยากาศร่มรื่น มีร้านอาหารบริการ
อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยป่าแดง อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข 2006 ประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นแหล่งพักผ่อนริมน้ำที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่ง เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นห้วยป่าแดงในเขตตำบลป่าเล่า อ่างเก็บน้ำนี้แวดล้อมด้วยทัศนียภาพของขุนเขาและสายน้ำที่งดงามโดยเฉพาะในยามเช้าตรู่และยามเย็น ช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นลง ประชาชนนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ นั่งรับประทานอาหาร สังสรรค์กับเพื่อนฝูง ในบริเวณมีร้านขายอาหารบริการ อาหารที่ขึ้นชื่อคืออาหารจำพวกปลาน้ำจืดเช่น ปลาเผา ปลาทอด
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ไปทางตะวันออกเพียง 37 กิโลเมตร มีอาณาเขตทั้งสิ้นประมาณ 290 ตารางกิโลเมตร ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำป่าสักและลำน้ำชีและเป็นพื้นที่ป่ากันชนให้กับผืนป่าสามแห่ง คือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ภายในบริเวณมีน้ำตกที่สวยงามสองแห่ง ได้แก่
น้ำตกตาดหมอก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 1,800 เมตรตามเส้นทางเดินเท้า เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียวไหลลงมาจากหน้าผาสูงเด่น มีความสูงไม่น้อยกว่า 200 เมตร ดูสวยงามและยิ่งใหญ่มาก
น้ำตกสองนาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่น่าชมอีกแห่งหนึ่งของอุทยานนี้ มีความสูง 12 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชมน้ำตกได้ทั้ง 12 ชั้น ภายในหนึ่งวัน แต่ละชั้นมีความสูงระหว่าง 5–100 เมตร
อุทยานแห่งชาติตาดหมอกไม่มีบริการบ้านพัก สามารถกางเต็นท์พักแรมภายในอุทยานฯได้ ควรเดินทางมาท่องเที่ยวเมื่อหมดฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม-พฤษภาคมเพราะเส้นทางค่อนข้างลื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตู้ป.ณ.4 อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
การเดินทาง จากหน้าศาลากลางจังหวัด ไปตามถนนเพชรเจริญผ่านบ้านเฉลียงลับ (ทางหลวงหมายเลข 2271) ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงทางแยกให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2275 (สายน้ำร้อน-ห้วยใหญ่) ประมาณ 200 เมตร จะเห็นป้ายทางเข้าอุทยานฯ ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 20 กิโลเมตร เป็นทางลัดเลาะไปตามไหล่เขาถึงที่ทำการอุทยานฯ

อำเภอหนองไผ่
สวนรุกขชาติซับชมพู จากเพชรบูรณ์เดินทางไปทางใต้ตามทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณกิโลเมตรที่ 156–157 ถึงอำเภอหนองไผ่ แล้วแยกเข้าทางสายบ้านโภชน์-วังปลาไปอีก 7 กิโลเมตรจะถึงสวนรุกขชาติน้ำตกซับชมพู บรรยากาศเต็มไปด้วยต้นไม้ร่มครึ้มเขียวขจี ภายในสวนสามารถเดินเล่นชมลำธารน้ำไหลและมีน้ำตกขนาดเล็กให้เล่นน้ำ เหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดของชาวเพชรบูรณ์


ภูทับเบิก ดินแดนแห่งความหนาว ที่มีดาวเกลื่อนดิน.......
................ภูทับเบิก เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เหตุผลที่เรียกภูทับเบิกก็เพราะอยู่ใกล้กับหมู่บ้านม้งทับเบิก ต.วังบาล ซึ่งห่างจาก อ.หล่มเก่า 40 กม. และห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 97 กม.
• ภูทับเบิก มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา ป่าไม้ สายหมอก ไอหนาวและอากาศบริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกลและทะเลหมอกที่มีให้ดูตลอดปี

การเดินทางสู่ภูทับเบิก เส้นทางที่ 1 จากเพชรบูรณ์ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ถึง 4 แยกหล่มสัก ให้ตรงไปใช้ทางหลวงหมายเลข 203 ผ่าน อ.หล่มสัก ไปจนถึง อ.หล่มเก่า ประมาณ 17 กม. จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปใช้ทางหลวงหมายเลข 2011 และทางหลวงหมายเลข 2331 ก็จะถึงยังบ้านทับเบิก "เส้นทางสายนี้ใกล้...แต่ทางชัน


หัวหินเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่นับเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศริมทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นจุดหมายยอดนิยมอันดับต้นๆ สำหรับการท่องเที่ยวและพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ของคนกรุงเทพฯ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลากหลายรูปแบบ มีที่พัก รีสอร์ต และโรงแรมชั้นนำมากมาย การและคมนาคมสะดวกสบายแล้ว หัวหินยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไป-กลับได้ในวันเดียว ทั้งยังสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี จึงถือเป็นเมืองท่องเที่ยวเปี่ยมเสน่ห์ที่สมบูรณ์แบบอีกแห่งหนึ่งในปัจจุบัน


อำเภอหัวหินตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ตัวเทศบาลเมืองหัวหินมีพื้นที่ประมาณ 86.36 ตารางกิโลเมตร หรือ 53,975 ไร่ มีถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ตัดผ่านจากทิศเหนือจดทิศใต้รวมความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร

ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากทางตอนเหนือละทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาจนถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณใกล้กับเขาตะเกียบในปัจจุบัน แล้วได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้ เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสมอเรียง”

ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) ได้มาสร้างตำหนักหลังใหญ่ชื่อ “แสนสำราญสุขเวศน์” ที่ด้านใต้ของหมู่หินริมทะเล (ปัจจุบันคือบริเวณที่อยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และทรงขนานนามหาดทรายบริเวณนี้เสียใหม่ว่า “หัวหิน” จนเมื่อเวลาล่วงไป ทั้งตำบลในบริเวณนี้ก็ถูกเรียกในชื่อเดียวกันว่า “หัวหิน” และเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็นอำเภอหัวหินจนถึงปัจจุบัน

นับตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟสายใต้ที่ตัดผ่านมายังเมืองหัวหิน จนไปเชื่อมต่อกับชายแดนประเทศมาเลเซีย หัวหินก็มีชื่อเสียงในฐานะเป็นสถานตากอากาศที่สวยงาม และโด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาท่องเที่ยวพักผ่อนและตีกอล์ฟ เนื่องจากมีสนามกอล์ฟ หัวหินรอยัลกอล์ฟ ซึ่งเป็นสนามกอล์ฟระดับมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย

บทความที่ได้รับความนิยม