Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search



ถ้ำพระโพธิสัตว์ ที่ผนังมีภาพจำหลักนูนต่ำเป็นรูปพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม และภาพเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และภายในผนังถ้ำยังมีเจดีย์ทรงลังกา ศิลปะสมัยทวารวดี มีหินงอก หินย้อย บริเวณภายนอกถ้ำมีต้นไม้นานาพรรณ

นอกจากนั้นยังพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อทรงเสด็จทอดพระเนตรน้ำตก ถ้ำธรรมทัศน์ ถ้ำลุมพินี สวนหิน และถ้ำสงัดเจดีย์

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปถ้ำพระโพธิสัตว์
ถ้ำพระโพธิสัตว์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 32 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมาไปประมาณ 15 กิโลเมตร หากไปจากสระบุรีวัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีป้ายบอกไปวัดถ้ำพระโพธิสัตว์อีกประมาณ 11 กิโลเมตร


ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา จากปากทางเข้าจะปูด้วยหินอ่อนเป็นทางเดินชมทั่วบริเวณถ้ำโดยตลอด

ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ได้แก่

ห้องที่ 1 ชื่อว่า "ถ้ำบ่อปลา" มีปลาว่ายน้ำเข้ามาในบริเวณถ้ำเป็นจำนวนมาก
ห้องที่ 2 ชื่อว่า "ถ้ำท้องพระโรง" มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีรูปร่างคล้ายเจ้าแม่กวนอิม และฮก ลก ซิ่ว
ส่วนห้องที่ 3 ได้แบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ มีจุดเด่นอยู่ที่หินงอกหินย้อยหลายรูปแบบ มีรูปร่างคล้ายหินปะการังซึ่งจะเข้าได้ในช่วงฤดูแล้ง

นอกจากนั้นทางด้านหลังยังมีถ้ำขนาดใหญ่อีก 2 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำสามเขา และถ้ำเทพประทาน ถ้ำจะปิดในวันธรรมดา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น. ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา
สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรก ได้แก่ จากตัวเมืองสระบุรีไปตามถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตัวอำเภอแก่งคอย ผ่านตลาดแล้วข้ามสะพานอดิเรกสารซึ่งทอดข้ามแม่น้ำป่าสักไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ก็ถึงถ้ำพระธาตุเจริญธรรม
เส้นทางที่สอง จากสระบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ทางไปจังหวัดลพบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงหน้าโรงเรียนพุแควิทยา ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนจะมีถนนสายพุแค-แก่งคอย เข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรม เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ที่รู้จักกันในชื่อว่า ถ้ำบ่อปลา ตั้งอยู่ที่ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อยู่ในบริเวณวัดถ้ำพระธาตุเจริญธรรม จากปาก ทางเข้าจะปูด้วยหินอ่อนเป็นทางเดินชมทั่วบริเวณถ้ำโดยตลอด

ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องที่ 1 ชื่อว่า “ถ้ำบ่อปลา” มีปลาว่ายน้ำเข้ามาในบริเวณถ้ำเป็นจำนวนมาก ห้องที่ 2 ชื่อว่า “ถ้ำท้องพระโรง” มีหินงอกหิน ย้อยสวยงาม มีรูปร่างคล้ายเจ้าแม่กวนอิม และฮก ลก ซิ่ว ส่วนห้องที่ 3 ได้แบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ

ถ้ำพระธาตุเจริญธรรม มีจุดเด่นอยู่ที่หินงอกหินย้อยหลายรูปแบบ มีรูปร่างคล้ายหินปะการังซึ่งจะเข้าได้ในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนั้นทางด้านหลังยังมีถ้ำขนาดใหญ่อีก 2 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำสามเขา และถ้ำเทพประทาน ถ้ำจะปิดในวันธรรมดา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น.

นอกจากนี้ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก ได้แก่ จากตัวเมืองสระบุรีไปตามถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 12 กิโลเมตร


ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร

ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น

ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี
ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำและที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน
เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณนั้นก่อน

บทความที่ได้รับความนิยม