เกาะเกร็ด" ความงดงาม ความสวยงาม กลางแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งอารยธรรมอันทรงคุณค่าที่น่าค้นหา ชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแห่แหนเข้ามา ณ ที่แห่งนี้ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีแหล่งอารยธรรมของชาวมอญในพื้นที่ รวมถึงความอร่อยของอาหารที่หลากหลาย จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ผู้คนต่างพากันมาที่แห่งนี้
ประวัติเกาะเกร็ดบ้านเกร็ดน้อยน้ำอ้อมผ่านในย่านเกร็ดขุดคลองเสร็จเกิดเกาะเหมาะเหลือหลายชื่อเกาะเกร็ดเสร็จสมัยอยุธยาปลายพระเจ้าท้ายสระโปรดเกล้าฯกรุงธนบุรีคุมคนหมื่นเศษขุดคลองเดือนสามแล้วเสร็จตามความมุ่งหมายปลายเดือนสี่จุลศักราช ๑๐๘๔ จัตวาศกตกพอดีเทียบเป็นปี ๒๒๖๕ พุทธศักราชไทยกว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ความยาวบอก ๓๙ เส้น เป็นข้อไขคลองลัดเกร็ดจึงมีชื่อระบือไกล เดี๋ยวนี้ใหญ่ลึกกว้างทางสัญจรเกาะเกร็ดมีเนื้อที่ประมาณ 4500 ไร่ 4800 ตารางกิโลเมตร มี 1 ตำบล 7 หมู่บ้าน 5 วัด พลเมืองประมาณ 6085 คนเกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางลำน้ำเจ้าพระยา มีฐานะเป็นตำบล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้านเกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยา ตรงที่มีแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2265 เรียกคลองนี้ว่า คลองลัดเกร็ดน้อย ( คลองลัดเกร็ดใหญ่ อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก ) ขนาดกว้าง 6 วา ยาว 39 เส้นเศษ ลึก 6 ศอก ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกความแรงของกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังจึงกลายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด และกัดเซาะจนมีสภาพเป็นเกาะเช่นทุกวันนี้เมื่อลำคลองกว้างขึ้น สภาพความเป็นเกาะเด่นชัดขึ้น จึงเกิดเกาะ แต่ชื่อที่เรียกกันนั้นชั้นแรกนั้นเรียกว่า เกาะศาลากุน ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในโฉนดที่ดินที่ออกในสมัยรัชกาลที่ 5 เกาะศาลากุนนี้เรียกตามชื่อวัดศาลากุน สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากผู้สร้างถวายชื่อ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ( กุน ) ที่สมุหนายกรับราชการ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว เกาะศาลากุนจึงได้มีฐานะเป็นตำบลและเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงชื่อว่า เกาะเกร็ด จนถึงปัจจุบันเกาะเกร็ดยังมีสัญลักษณะที่เป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้มาเยือนจะต้องหยุดถ่ายรูปกับสิ่งๆนี้ นั่นก็คือ พระเจดีย์มุเตา (องค์เดิม) เป็นเจดีย์ทรงรามัญ ตั้งอยู่ด้านเหนือของวัดซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามารุ่นแรก ในสมัยกรุงธนบุรี เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ มีลักษณะเอียงแทบจะตกลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นลักษณะที่เห็นได้ชัด
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา