Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


อุทยานแห่งชาติบางลาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง บริเวณป่ารอบ ๆ อ่างเก็บน้ำที่สมบูรณ์ ทะเลสาป เกาะ ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมเนื้อที่ประมาณ 461.04 ตารางกิโลเมตร หรือ 288,150 ไร่ ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2530
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สลับกับเนินเขาและพื้นที่ราบบางตอน พื้นที่ลาดเทจากด้านทิศใต้ลงสู่ทิศเหนือ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินเหนียวมีดินลูกรังเป็นบางส่วน เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำหลายสายไหลมาบรรจบเป็นแม่น้ำปัตตานี และต้นน้ำที่สำคัญหลายสาย อาทิเช่น แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี คลองโต๊ะโม๊ะ คลองฮาลา และคลองบ้านเจ็ด
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศเย็นชุ่มชื้นมีลมมรสุมตะวันออกพัดผ่านทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปีระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม จะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน - พฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,200 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วยป่าดงดิบชื้น มีไม้นานาชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่หลุมพอ ตะเคียนทอง สยา นาคบุตร และไม้ตระกูลยาง ส่วนสัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี เม่น กระทิง กระซู่ สมเสร็จ วัวแดง และนกชนิดต่างๆ เช่นนกกางเขนดง นกกรงหัวจุก นกเงือกซึ่งมีอยู่ 9 ชนิด ในเขตอุทยานแห่งชาติ
แหล่งทองเที่ยว
เขื่อนบางลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดยะลา 58 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ถึงบ้านกาโสด หลักกิโลเมตรที่ 46 แยกเข้าเขื่อน 12 กิโลเมตร เขื่อนบางลาง สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2524 ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร ยาว 422 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ฐานเขื่อนกว้าง 366 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 72,000 กิโลวัตต์ มีพื้นที่ผิวน้ำระดับสูงสุด 51 ตารางกิโลเมตร
ทะเลสาปธารโต เป็นทะเลสาปเหนือเขื่อนบางลาง เกิดจากการถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง มีความกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร ยาว 6 กิโลเมตร มีทิวทัศน์และบรรยากาศที่สวยงามแปลกตา และเกาะที่อยู่กลางทะเลสาปธารโต ชื่อ “เกาะหัวล้าน” มีเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย
น้ำตกธารโต เดิมกรมป่าไม้ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำตกธารโตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลลดหลั่นกันมารวม 9 ชั้น ทุกชั้นมีทางเดินเท้าสามารถเดินชมความงามได้ตลอด บริเวณน้ำตกชั้นที่ 3-5 มีศาลาพักชมความงามของน้ำตกและผืนป่า ชั้นที่ 9 เป็นชั้นสูงสุด ระยะทางจาก 1-9 ประมาณ 500 เมตร เหมาะแก่การดูนก เพราะผ่านไปตามป่าดงดิบร่มครื้น สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 56 อยู่ห่างจากอำเภอธารโต 4 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอบันนังสตา 16 กิโลเมตร
น้ำตกละอองรุ้ง เป็นน้ำตกมีชั้นน้ำตกสูงตกลงมากระจายเป็นละอองน้ำ และเมื่อกระทบแสงแดดมองดูเป็นสายรุ้ง จึงตั้งชื่อว่า “น้ำตกละอองรุ้ง” สามารถเดินชมความงามได้ทุกชั้นตามทางเท้า สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 40
น้ำตกโต๊ะโม๊ะ อยู่ในเขตหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลาง ที่ บล. 2 ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 90 กม. แยกจากทางหลวงแผ่นดินสายยะลา-เบตง เข้าทางเขื่อนบางลาง น้ำตกมีความสูงประมาณ 100 เมตร นอกจากนี้บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงยังมีน้ำตกจิ้งจก น้ำตกบ้าน 9 และโป่งดิน ที่สัตว์ลงมาหากิน 4-5 แห่ง
ผืนป่าฮาลา-บาลา อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา รวมกับผืนน้ำของอ่างเก็บน้ำบางลาง บริเวณผืนป่ายังคงความอุดสมบูรณ์มาก มีเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นที่อยู่อาศัยของนกเงือก รวมไปถึงสัตว์ป่าต่าง ๆ อาทิ กระทิง ช้าง เก้ง กวาง เป็นต้น การเดินทาง ต้องใช้เส้นทางด้านหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 เข้าทางหลังเขื่อนบางลาง ไปตามถนนที่คดเคี้ยวบนเทือกเขาจะสามารถมองเห็นจุดชมวิวเหนืออ่างเก็บน้ำที่สวยงาม
บ้านพักปละสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติบางลาง ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการและ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 56 ที่ทำการอุทยานแห่งชาติบางลาง ตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกธารโต ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติบางลางตู้ ปณ. 1 ปณจ.ธารโต,อ. ธารโต จ. ยะลา 95150 โทรศัพท์ : (6673) 297099, 201716


คำว่า ยะลา มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า ยะลอ ซึ่งแปลว่า “แห” เป็นเมืองชายแดนภาคใต้ที่มีความน่าสนใจทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชนต่างเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน และอิสลาม ตัวเมืองยะลามีการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย และยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้
• เดิมยะลาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรไทยครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ในบริเวณแถบนี้ต่างก็ประกาศตัวเป็นอิสระ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทยกทัพหลวงไปตีเมืองปัตตานี ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกหัวเมืองปัตตานีเป็น ๗ หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองรามัน และเมืองยะลาสำหรับเมืองยะลานั้น มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าเมืองหลายครั้ง ก่อนที่จะมีการประกาศยุบเลิกมณฑล ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบแห่งราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และกลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยในที่สุด
• จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๔,๕๒๑ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ราบมีน้อย ยะลาแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ และ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดปัตตานี
• ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนราธิวาส
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดสงขลา
• ทิศใต้ ติดกับประเทศมาเลเซีย
การเดินทาง
• รถยนต์ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑,๐๘๔ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปปัตตานีจนถึงยะลา
• รถไฟ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑,๐๕๕ กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ - ยะลา ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. ๑๖๙๐ สถานีรถไฟยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๔๒๐๗
• รถโดยสารประจำทาง มีรถปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด บริการระหว่าง กรุงเทพฯ – ยะลา รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙, ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒, ๐ ๒๔๓๕ ๕๖๐๕ และบริษัทเอกชน บริการระหว่างกรุงเทพฯ – ยะลา – เบตง ติดต่อบริษัท ไทยเดินรถ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๕ และบริษัทปิยะทัวร์ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๔
• เครื่องบิน ไม่มีบริการเดินทางโดยเครื่องบินไปจังหวัดยะลาโดยตรง แต่การบินไทยมีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ – หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดยะลาโดยรถไฟ รถประจำทาง รถแท๊กซี่หรือรถตู้ปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานหาดใหญ่ โทร. ๐ ๗๔๒๓ ๓๔๓๓ หรือ หจก.สายโสภา รีพีทเตอร์ ยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๕๘๒, ๐ ๗๓๒๑ ๕๘๓๐
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอยะหา ๒๑ กิโลเมตร
อำเภอกรงปินัง ๒๒ กิโลเมตร
อำเภอรามัน ๒๖ กิโลเมตร
อำเภอบันนังสตา ๓๙ กิโลเมตร
อำเภอกาบัง ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอธารโต ๖๑ กิโลเมตร
อำเภอเบตง ๑๔๐ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
อำเภอเมือง
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๕๔๒
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๖๓๔, ๐ ๗๓๒๑ ๒๖๓๖, ๑๙๑
ชุมสายโทรศัพท์ยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๒๓๔
โรงพยาบาลยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๔ ๔๗๑๑-๘
โรงพยาบาลสิโรรส โทร. ๐ ๗๓๒๒ ๑๑๑๔-๕
สถานีรถไฟยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๗๓๗, ๐ ๗๓๒๑ ๔๒๐๗
อำเภอเบตง
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวเบตง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๒๐๓๙
ด่านตรวจคนเข้าเมือง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๑๒๙๒, ๐ ๗๓๒๓ ๐๐๒๖
ด่านศุลกากรเบตง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๑๑๙๔
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยว อำเภอเบตง
โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๒๐๓๙
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต ๓
๑๐๒/๓ หมู่ ๒ ถ.นราธิวาส-ตากใบ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๖๑๔๔, ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๑ โทรสาร ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๒ www.tatnara@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: นราธิวาส ปัตตานี ยะลา
ข้อมูลรายละเอียดในเอกสารนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้


หลวงปู่ศุข นามเดิมท่านชื่อ ศุข นามสกุล เกษเวช ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยาก็มี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ. 2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า (เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียกบ้านปากคลอง) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โดยมบิดาชื่อน่วม โยมมารดาชื่อทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลนี้ มีบุตรและธิดาด้วยกัน 9 คน (1) หลวงปู่ศุข (2) นางอ่ำ (3) นายรุ่ง (4) นางไข่ (5) นายสิน (6) นายมี (7) นางขำ (8) นายพลอย (9) หลวงพ่อปลื้ม หลวงพ่อปลื้ม หลวงปู่นั้นท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร (ในสมัยนั้น) มีอาชีพทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดาด้วยกัน จึงได้มาขอหลานจากโยมหลวงปู่ศุขไปเลี้ยงสักคน โยมหลวงปู่ศุขก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือเรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปู่ศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ 10 ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับลุงแฟงเจริญเติบโตที่ตำบลบางเขนจนอายุได้ 18 ปี ก็ได้ภรรยาคนหนึ่งชื่อสมบุญอยู่ครองคู่กันโดยประกอบอาชีพทำสวน ต่อมาได้กำเนิดบุตรชาย 1 คน ชื่อ สอน การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้นท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ 25 ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขนเป็นพระอุปัชฌาย์ พระถมยาเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วยเพราะการเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย 2 ถึง 3 วัน จึงจะถึง เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้นจนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับมาบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกวัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงได้นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนี้ท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองด้วยจากวัดร้างที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ยังมีพระอุโบสถและมณฑปปรากฏให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่านได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมาก
อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทย์มนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากจนถึงกับสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ในราชวงศ์จักรีได้มาทดลองดู เห็นจริงจึงได้ยอมตนมอบตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา และได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุข ท่านมีเมตตามากจึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน 1 ปีกุน พ.ศ. 2466 ไม่ปรากฏที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ 76 ปี วันสวดพระพุทธมนต์ทำศพอยู่ 7 วัน 7 คืน จึงประชุมเพลิง
ปัจจุบันชาวจังหวัดชัยนาทผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างรูปหุ่นขี้ผึ้งไว้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อจะได้ทำการสักการะบูชาโดยทั่วกัน กรมทหารเรือเห็นความสำคัญ จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมณฑปเมื่อ พ.ศ. 2545 ทำให้ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างจังหวัด หลั่งไหลมาสักการะบูชาทุก ๆ วันมิได้ขาด วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาทต่อไป


สวนนกชัยนาท เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2526 ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพลอง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาท่าพระ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ก่อนถึงตัวเมือง 4 กิโลเมตร สวนนกชัยนาท มีพื้นที่ 248 ไร่ มีกรงนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ครอบคลุมพื้นทื่ 26 ไร่ โดยปล่อยพันธุ์นกต่าง ๆ ให้อยู่อย่างธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีกรงนกขนาดกลางและขนาดเล็กอีก 63 กรง มีสวนหย่อม สวนงู สวนกระต่าย สวนสัตว์ป่า เช่น ละมั่ง เลียงผา กวางดาว เนื้อทราย มีศาลากลางน้ำ อาคารจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก และมีพิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืดเป็นปลาจากแม่น้ำเจ้าพระยา 63 ชนิด เช่น ปลาเสือตอ ปลาตองลาย ปลาเสือสุมาตรา ปลากดหิน เป็นต้น ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมเวลา 08.00–17.00 น. สำหรับสวนนกชัยนาท เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 08.00–18.00 น. อัตราค่าเช้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (056) 411413
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 32 ถึงสี่แยกถนนสายเอเชีย ช่วงชัยนาท-ตาคลี เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 7 กิโลเมตร สวนนกชัยนาทจะอยู่ทางขวามือ
วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชัยนาทมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนไหล่ เขาธรรมามูล ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลธรรมามูล ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 กิโลเมตรที่ 288-289 เข้าทางโรงเรียนธรรมานุกูล ภายในวิหารของวัดมี หลวงพ่อธรรมจักร เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติประทับบนฐานรูปดอกบัว เป็นศิลปะประยุกต์สมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้น ผสมกับสมัยอยุธยา มีรูปพระธรรมจักรปรากฎอยู่กลางฝ่าพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความคิดของช่างสมัยนั้นที่ตั้งใจสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ให้มีเครื่องหมายแห่งมหาปุริสลักษณะ (เป็นลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ตามคติอินเดีย เช่น ในฝ่าเท้ามีจักรลักษณะ มีลายตาข่ายในฝ่ามือฝ่าเท้า ข้อเท้าเหมือนสังข์ที่ตั้งขึ้น คางเหมือนคางราชสีห์ เป็นต้น) และสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ใบเสมา เป็นศิลาทรายสีแดงตั้งรายรอบพระอุโบสถ สลักลวดลายแบบสมัยอยุธยา ทุกปีจะมีงานนมัสการหลวงพ่อธรรมจักรเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 4- 8 ค่ำ เดือน 6 และ แรม 4-8 ค่ำ เดือน 11
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ที่บ้านท้ายเมือง ตำบลชัยนาท เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ภายในวัดนี้มีเจดีย์พระบรมธาตุรูปแบบสถาปัตยกรรมอู่ทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียง มีงานเทศกาลสมโภชพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 6 เป็นประจำทุกปี
การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 4 กิโลเมตร จากอำเภอเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 340 จนถึงสี่แยกตัดกับเส้นทางหลวงหมายเลข 3183 ประมาณ 1 กิโลเมตร หรือรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ – วัดสิงห์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น ชั้นบนจัดแสดงพระพิมพ์สมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้นล่างจัดแสดงพระพุทธรูปสังคโลก เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้รับมอบจากท่านเจ้าคุณพระชัยนาทมุนี (นวม) สุทตฺโต อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นผู้รวบรวมเก็บรักษาและได้มอบให้กรมศิลปากร ในภายหลังกรมศิลปากรจึงตั้งชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนีเปิดให้ชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมชาวไทย 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (056) 411467 การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร
อำเภอวัดสิงห์
วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 25 กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ประมาณ 20 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3183 กิโลเมตรที่ 36–37 เนื่องจากเดิมมีต้นมะขามเก่าแก่อยู่ต้นหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัด วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วย
หลวงปู่ศุขแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นพระที่มีชื่อเสียงทางเวทมนต์คาถา ได้สร้างพระเครื่องที่เรียกว่า “หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า” ซึ่งประชาชนนิยมนำไปสักการะบูชา กุฏิของท่านเป็นแบบทรงไทยโบราณ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้คือ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อยู่ในพระอุโบสถติดอยู่ตามผนังของพระอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติ แต่พระองค์มิได้เขียนเองทั้งหมด คงมีข้าราชบริพารร่วมเขียนด้วย ทั้งหมดเขียนด้วยอักษรขอมผนังด้านใต้มีภาพเขียนบอกเวลาไว้ในปี พ.ศ. 2433
ฟาร์มจระเข้วสันต์ (ร้านอาหารสวนสัตว์) ตั้งอยู่ที่ 121 หมู่ 3 ต.มะขามเฒ่า จากอำเภอเมืองชัยนาท มาตามถนนสายชัยนาท-วัดสิงห์ (ทางหลวงหมายเลข 3183) กิโลเมตรที่ 24 ตั้งอยู่ทางขวามือ ในฟาร์มจะมีสัตว์หลายชนิด เช่น จระเข้ เสือ ปลาช่อนอะเมซอน ปลากระเบน นกชนิดต่าง ๆ ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่ม โทร. (056) 461104

ชัยนาท แปลตามศัพท์มีความหมายว่า ชัยชนะที่มีเสียงบันลือ เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปากลำน้ำเก่า ตั้งขึ้นหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย สร้างในสมัยพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1860-1879 เมืองๆ นี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรก หรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ มีเจ้าสามพระยาเป็นผู้ครองเมือง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยางมาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อยๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้ง และมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อ เมืองชัยนาทแห่งนี้
• นอกจากชัยนาทจะเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่ปัจจุบันชัยนาทก็มีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ ที่มีฝีมือปราณีต รูปแบบทันสมัย ราคาย่อมเยา มีตลาดการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดอุทัยธานี และนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดนครสวรรค์ และสิงห์บุรี
ทิศใต้ ติดสิงห์บุรี และสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดอุทัยธานี
การปกครอง
ชัยนาท มีเนื้อที่ประมาณ 2,469.74 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหันคา อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอวัดสิงห์ กิ่งอำเภอหนองมะโมง และกิ่งอำเภอเนินขาม

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอหันตา 35 กิโลเมตร
อำเภอมโนรมย์ 14 กิโลเมตร
อำเภอสรรคบุรี 27 กิโลเมตร
อำเภอสรรพยา 21 กิโลเมตร
อำเภอวัดสิงห์ 22 กิโลเมตร

การเดินทาง
• รถยนต์ ชัยนาทอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 194 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณกิโลเมตรที่ 50 มีทางแยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อ่างทอง สิงห์บุรี ประมาณกิโลเมตรที่ 183 มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ไปชัยนาทอีก 10 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ เริ่มบริการตั้งแต่เวลา 05.10-17.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ขนส่ง โทร. 537-8055 บริษัท ชัยนาท ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 936–3608 ชัยนาท โทร. (056) 412264

หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรทราบ (รหัสทางไกล 056)
สำนักงานจังหวัด โทร. 411181
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 411919
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 411734
ที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอเมือง โทร. 411226
ชัยนาททัวร์ โทร. 412264
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 411140, 411897

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงาน ททท. ภาคกลาง เขต 7 (ลพบุรี)
ถนนรอบวัดพระธาตุ บริเวณสวนราชานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000
โทร. (036) 422768-9 โทรสาร (036) 422769
พื้นที่ความรับผิดชอบ : ลพบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี

บทความที่ได้รับความนิยม