Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดชายแดนอยู่ทางทิศด้านตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 135 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 4,762 ตารางกิโลเมตร เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ 800 ปี ก่อนปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ ที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถ บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิยังพบชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองศรีมโหสถ บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและพบโบราณวัตถุต่างๆได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสำริด กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
• ต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงดังเช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณได้ถูกยุบเลิก คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองเมืองหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครนายก
การปกครอง
จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านสร้าง อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมโหสถ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอนาดี
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1.จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางสายถนนพหลโยธิน พอถึงรังสิตให้ชิดซ้ายโดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลงที่เส้นทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 เส้นนครนายก-ปราจีนบุรี พอถึงแยกขวาที่สามแยกหนองชะอมประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้ใช้เส้นทางหลวง
หมายเลข 319 ก็จะถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 90 ให้เลี้ยวขวาโดยใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายกไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้แยกขวาที่สามแยกบ้านหนองชะอม เส้นทางหลวงหมายเลข 319 ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร
3. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมาย 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 319 ผ่านอำเภอศรีมโหสถ ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือ เว็บไซด์ : www.transport.co.th
• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการขบวนรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 หรือ เว็บไซด์ www.srt.or.th

• ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอบ้านสร้าง 20 กิโลเมตร อำเภอศรีมโหสถ 20 กิโลเมตร
อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กิโลเมตร อำเภอประจันตคาม 30 กิโลเมตร
อำเภอกบินทร์บุรี 60 กิโลเมตร อำเภอนาดี 78 กิโลเมตร

• ระยะทางจากจังหวัดปราจีนบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
นครนายก 29 กิโลเมตร ฉะเชิงเทรา 76 กิโลเมตร
สระแก้ว 98 กิโลเมตร ระยอง 186 กิโลเมตร
นครราชสีมา 194 กิโลเมตร จันทบุรี 245 กิโลเมตร
นอกจากนั้นที่บริเวณสี่แยกเนินหอมมีรถโดยสารประจำทาง หรือจะเช่ารถไปยังแก่งหินเพิง หรือ น้ำตกต่าง ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ได้

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี 0 3745 4005-6
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง 0 3721 1058
กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี 0 3721 1135
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 0 3721 1088, 0 3721 6145-64
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง 0 3721 1292
สถานีรถไฟ 0 3721 1120
ที่ว่าการอำเภอนาดี 0 3728 9124, 0 3728 9074

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 8 (นครนายก)
182/88 ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000
โทร. 0 3731 2282, 0 3731 2284 โทรสาร 0 3731 2286
พื้นที่ความรับผิดชอบ : นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา


บ้านบางนรา หรือ มนารอ เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) บ้านบางนราถูกจัดอยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาเมื่อปัตตานีได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงย้ายมาสังกัดเมืองระแงะที่อยู่ในมณฑลปัตตานี กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๙ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) บ้านบางนราได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทะเลคึกคักมาก จึงได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมนารอ และพ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา และได้พระราชทานชื่อ “นราธิวาส” แปลว่า “ที่อยู่ของคนดี”
• ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์มาเที่ยวพักผ่อนและซื้อสินค้ารวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเทวัฒนธรรมรวมทั้งสินค้านำเข้า ส่งออกซึ่งกันและกัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษามลายูเป็นภาษาพูด ภาษาเขียนที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ใช้พยัญชนะอาหรับ และพยัญชนะอังกฤษ แต่สะกดอ่านเป็นภาษามลายู
• จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๔๗๕.๔๓ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ ๒/๓ ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ๔ สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย
• ทิศใต้ ติดกับรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย
• ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดยะลา
การเดินทาง
• จังหวัดนราธิวาส การเดินทางสามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน
รถยนต์ ระยะทาง ๑,๑๔๙ กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และทางหลวงหมายเลข ๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๔๒ เข้าสู่จังหวัดปัตตานี-นราธิวาส สอบถามเส้นทางและแจ้งเหตุตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถกรุงเทพฯ-นราธิวาส-สุไหงโกลก ทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๓–๒๐๐, ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒ (ปรับอากาศ) ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (ธรรมดา) สถานีขนส่งนราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๘๔๕ สถานีขนส่งสุไหงโกลก โทร. ๐ ๗๓๖๑ ๒๐๔๕ หรือ www.transport.co.th
• รถไฟการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพฯ – ตันหยงมัส (นราธิวาส) - สุไหงโกลก ทุกวันทั้งรถด่วนและรถเร็ว สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐, ๑๖๙๐ สถานีรถไฟสุไหงโกลก โทร. ๐ ๗๓๖๑ ๑๑๖๒, ๐ ๗๓๖๑ ๔๐๖๐ หรือ www.railway.co.th
• เครื่องบินบริษัท แอร์ เอเชีย บริการเครื่องบิน กรุงเทพฯ-นราธิวาสทุกวัน จันทร์,พุธและศุกร์ ออกจากกรุงเทพฯ เวลา ๐๖.๓๕น. ออกจากนราธิวาส เวลา ๐๘.๓๕น. สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ สาขานราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๑๖๑, ๐ ๗๓๕๑ ๓๐๙๐
การเดินทางในตัวจังหวัด
- จากสนามบินมีรถตู้ไปสุไหงโกลก ๑๔๐ บาท ด่านตาบา ๑๔๐ บาท นราธิวาส ๕๐ บาท
- รถโดยสารประจำเส้นทางต่างๆ มักจะแวะมารับผู้โดยสารบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ เวลาบริการประมาณ ๐๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
บริเวณแยกหอนาฬิกา เป็นท่าจอดรถตู้วิ่งบริการสาย นราธิวาส-สุไหงโกลก, นราธิวาส-ตากใบ ออกทุกครึ่งชั่วโมง วิ่งบริการระหว่างเวลา ๐๕.๐๐–๑๗.๐๐ น. โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๕๒๐ และ นราธิวาส-หาดใหญ่ ออกทุกๆชั่วโมง โทร. ๐ ๗๓๕๒ ๒๐๙๓
ระยะทางจากจังหวัดนราธิวาสไปยังจังหวัดใกล้เคียง
ปัตตานี ๑๐๐ กิโลเมตร
ยะลา ๑๒๘ กิโลเมตร
สงขลา ๑๙๔ กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
ยี่งอ ๑๘ กิโลเมตร
ระแงะ ๒๔ กิโลเมตร
บาเจาะ ๒๘ กิโลเมตร
เจาะไอร้อง ๓๑ กิโลเมตร
ตากใบ ๓๓ กิโลเมตร
จะแนะ ๔๗ กิโลเมตร
รือเสาะ ๔๘ กิโลเมตร
สุไหงปาดี ๔๙ กิโลเมตร
สุไหงโกลก ๖๓ กิโลเมตร
ศรีสาคร ๖๕ กิโลเมตร
แว้ง ๘๓ กิโลเมตร
สุคิริน ๑๑๒ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ศาลากลางจังหวัด โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๒๔, ๐ ๗๓๕๑ ๑๔๕๐
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๑๒
สถานีตำรวจภูธร โทร. ๑๙๑, ๐ ๗๓๕๑ ๑๒๓๖
สำนักงานเทศบาลเมือง โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๔๘, ๐ ๗๓๕๑ ๓๑๓๐, ๐ ๗๓๕๑ ๒๔๓๑
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๙๓
สำนักงานบริการโทรศัพท์ โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๒๐๐๐
โรงพยาบาลเมืองนราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๓๔๘๐
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓


คำว่า ยะลา มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า ยะลอ ซึ่งแปลว่า “แห” เป็นเมืองชายแดนภาคใต้ที่มีความน่าสนใจทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชนต่างเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน และอิสลาม ตัวเมืองยะลามีการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย และยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้
• เดิมยะลาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรไทยครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ในบริเวณแถบนี้ต่างก็ประกาศตัวเป็นอิสระ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทยกทัพหลวงไปตีเมืองปัตตานี ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกหัวเมืองปัตตานีเป็น ๗ หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองรามัน และเมืองยะลาสำหรับเมืองยะลานั้น มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าเมืองหลายครั้ง ก่อนที่จะมีการประกาศยุบเลิกมณฑล ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบแห่งราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และกลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยในที่สุด
• จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๔,๕๒๑ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ราบมีน้อย ยะลาแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ และ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดปัตตานี
• ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนราธิวาส
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดสงขลา
• ทิศใต้ ติดกับประเทศมาเลเซีย
การเดินทาง
• รถยนต์ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑,๐๘๔ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปปัตตานีจนถึงยะลา
• รถไฟ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑,๐๕๕ กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ - ยะลา ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. ๑๖๙๐ สถานีรถไฟยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๔๒๐๗
• รถโดยสารประจำทาง มีรถปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด บริการระหว่าง กรุงเทพฯ – ยะลา รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙, ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒, ๐ ๒๔๓๕ ๕๖๐๕ และบริษัทเอกชน บริการระหว่างกรุงเทพฯ – ยะลา – เบตง ติดต่อบริษัท ไทยเดินรถ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๕ และบริษัทปิยะทัวร์ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๔
• เครื่องบิน ไม่มีบริการเดินทางโดยเครื่องบินไปจังหวัดยะลาโดยตรง แต่การบินไทยมีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ – หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดยะลาโดยรถไฟ รถประจำทาง รถแท๊กซี่หรือรถตู้ปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานหาดใหญ่ โทร. ๐ ๗๔๒๓ ๓๔๓๓ หรือ หจก.สายโสภา รีพีทเตอร์ ยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๕๘๒, ๐ ๗๓๒๑ ๕๘๓๐
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอยะหา ๒๑ กิโลเมตร
อำเภอกรงปินัง ๒๒ กิโลเมตร
อำเภอรามัน ๒๖ กิโลเมตร
อำเภอบันนังสตา ๓๙ กิโลเมตร
อำเภอกาบัง ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอธารโต ๖๑ กิโลเมตร
อำเภอเบตง ๑๔๐ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
อำเภอเมือง
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๕๔๒
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๖๓๔, ๐ ๗๓๒๑ ๒๖๓๖, ๑๙๑
ชุมสายโทรศัพท์ยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๒๓๔
โรงพยาบาลยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๔ ๔๗๑๑-๘
โรงพยาบาลสิโรรส โทร. ๐ ๗๓๒๒ ๑๑๑๔-๕
สถานีรถไฟยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๗๓๗, ๐ ๗๓๒๑ ๔๒๐๗
อำเภอเบตง
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวเบตง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๒๐๓๙
ด่านตรวจคนเข้าเมือง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๑๒๙๒, ๐ ๗๓๒๓ ๐๐๒๖
ด่านศุลกากรเบตง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๑๑๙๔
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยว อำเภอเบตง
โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๒๐๓๙
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต ๓
๑๐๒/๓ หมู่ ๒ ถ.นราธิวาส-ตากใบ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๖๑๔๔, ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๑ โทรสาร ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๒ www.tatnara@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: นราธิวาส ปัตตานี ยะลา
ข้อมูลรายละเอียดในเอกสารนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย


จังหวัดลำปางเป็นแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดใดๆ ชาวลำปางมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รถม้าพาหนะคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่คงความบริสุทธิ์สวยงาม มีอุทยานแห่งชาติที่มีการจัดการที่ดี และควบคู่กันไปกับเมืองที่เคยเป็นแหล่งทำไม้ในอดีต ช้างที่เคยทำหน้าที่ลากซุงจึงเป็นสัตว์อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของเมือง เครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากดินขาวขึ้นชื่อ สิ่งเหล่านี้ทำให้นครลำปางกลายเป็นจุดหมายที่นักเดินทางมักแวะมาเยี่ยมชม
ประวัติความเป็นมา
• ประวัติลำปาง แต่อดีตมาเมืองลำปาง มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปะนคร เขลางค์นคร และกุกกุฏนคร (นครไก่)
คำว่า “ลำปาง” นั้นหมายถึงไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ ก่อนจะปักไม้เอาทางปลายลงเกิดเป็น ต้นขะจาวที่เห็นอยู่ข้างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นขะจาวนี้มีลักษณะผิดแผกจากไม้อื่นด้วยกิ่งก้านจะชี้ลงดิน เป็นไม้มงคลประจำจังหวัดลำปางที่มีอายุกว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
• ส่วนคำว่า “เขลางค์นคร” เป็นภาษาบาลี ปรากฏอยู่ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 13 คำว่า ลครซึ่งกลายมาจากนคร จึงเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกเมืองเขลางค์ ทั้งยังปรากฏใช้ในศิลาจารึกและพงศาวดารในรุ่นต่อมา ส่วนภาษาพูดจะออกเสียงว่าละกอน มีความหมายเดียวกับคำว่าเมืองลคร หรือ “เวียงละกอน”
• นอกจากนี้บางตำนานยังเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกโปรดสัตว์มาจนถึงเมืองนี้ พระอินทร์ได้ทราบก็เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นไม่ทันทำบุญกับพระพุทธองค์ จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่นทันออกมาทำบุญตักบาตร ด้วยเหตุนี้เมืองลำปางจึงได้ชื่อว่า “กุกกุฏนคร” อันหมายถึงเมืองไก่ขาว ไก่ขาวจึงเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่เราจะพบตามป้ายชื่อถนน บนสะพาน หรือตามตึกต่างๆ แม้แต่ในชามตราไก่ที่ขึ้นชื่อ
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ของนครลำปางมากว่า 3,000 ปีล่วงมาแล้ว มีการค้นพบภาพเขียนสีและโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ตลอดจนชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในสมัยหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง
• เวียงเมืองหรือเมืองเขลางค์นครเก่าตั้งอยู่ในบริเวณตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองปัจจุบัน ฝั่งเหนือของแม่น้ำวัง มีการพัฒนามาแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญไชยยังดำรงอยู่ “เวียง” คือ เมืองที่มีการกำหนดเขตรั้วรอบขอบชิด โดยการขุดคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ เมืองเขลางค์นครนี้มีฐานะเป็นเมืองหลวงคู่แฝดของอาณาจักรหริภุญไชย มีพระเจ้าอนันตยศหนึ่งในพระราชโอรสแฝดของพระนางจามเทวีผู้ครองอาณาจักรหริภุญไชยเคยเสด็จมาปกครองนครแห่งนี้ มีพื้นที่เมืองประมาณ 600 ไร่ และยังพบเวียงบริวารในอำเภอต่างๆ สำหรับเวียงบริวารที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือเวียงพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นเวียงทางพระพุทธศาสนา อยู่ที่อำเภอเกาะคาห่างจากตัวจังหวัดลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร สัณฐานของเวียงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก มีร่องรอยของกำแพงดิน 3 ชั้น ระหว่างกำแพงดินเป็นคูน้ำคู่ขนานโอบล้อมเวียงไว้ แต่ปัจจุบันคูน้ำคันดินได้ถูกไถแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมไปตามกาลเวลา จนแทบจะมองไม่ออกว่าเป็นลักษณะเวียง
• เมืองเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชยนี้ มีผู้ปกครองสืบต่อกันมาตลอด ก่อนที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำกกทางตอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 พระยามังรายขยายอิทธิพลยกทัพล้ำเขตเข้ามาโจมตีอาณาจักรหริภุญชัย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อันมีเขลางค์นครเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กัน ในที่สุดได้ยึดเมืองทั้งสองไว้ได้และ มีการแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้น เป็นการเปลี่ยนวงศ์ผู้ครองเมืองมาเป็นสายของพระยามังราย ระหว่างนั้นได้สร้างเมืองเขลางค์นครขึ้นใหม่ในฐานะของเมืองหน้าด่าน ของอาณาจักรล้านนาสืบมา
อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็อ่อนแอลงและถูกพม่ายึดอำนาจได้เมื่อปี พ.ศ. 2101 และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ารวมระยะเวลานานถึง 200 ปี แต่ในบางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งอยู่ทางตอนใต้ ร่องรอยอดีตที่แสดงถึงการขยายแผ่อิทธิพลด้านศิลปกรรม คือรูปแบบของศิลปที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว
• ในสมัยที่พม่าครอบครองเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือตอนบนพม่าได้ส่งเจ้านายมาปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเชียงใหม่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2275 ท้าวมหายศผู้ครอบครองเมือง หริภุญไชย ได้ยกทัพมาปราบผู้ที่คิดกอบกู้ชาติบ้านเมืองให้เป็นอิสระจากพม่า ได้ตั้งทัพอยู่บริเวณเวียงธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองได้ติดต่อกับหนานทิพย์ช้างพรานป่าผู้กล้าให้ช่วยกู้เอกราชให้แก่ลำปาง ในครั้งนั้นหนานทิพย์ช้างได้ยิงท้าวมหายศตายด้วยปืนใหญ่ ณ บริเวณวิหารหลวง ปัจจุบันหลังพระวิหารหลวงที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระเจดีย์ยังมีรอยรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
• ความเจริญของนครลำปางก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนกระทั่งในช่วงยุคทองช่วงหนึ่งในปี พ.ศ. 2425-2440 สมัยเจ้านรนันทชัยชวลิต เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 9 ตรงกับสมัย รัชกาลที่ 5 นครลำปางมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ในฐานะของศูนย์กลางการค้าไม้สักภาคเหนือ โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดเก่า ซึ่งมีอาคารพาณิชย์ ร้านค้า บ้านพักอาศัยของคหบดี ในสมัยนั้นโดยมากแล้วเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ และได้ตั้งชุมชนที่ท่ามะโอ ณ ตำบลเวียงเหนือ ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างวัดแบบศิลปะพม่าไว้หลายแห่ง
ศิลปะ
• อาจเนื่องมาจากการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปะที่พบในจังหวัดลำปางจึงล้วนแต่เป็นศิลปะสมัยล้านนาไม่พบศิลปะสมัยหริภุญชัย
• ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่มักพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ ในลำปาง มี 3 แบบ คือ แบบพม่า แบบพม่าผสมเชียงใหม่ และแบบล้านนา
สถาปัตยกรรมแบบพม่านั้นได้เข้ามามีอิทธิพลในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ซึ่งชาวพม่าได้เข้ามาผูกขาดการทำไม้ในภาคเหนือ และส่งไม้ไปขายยังภาคกลางและต่างประเทศ ชาวพม่ามีคติอยู่ว่าเมื่อรวยแล้วต้องสร้างวัดหรือบูรณะวัดเก่าเพื่ออุทิศให้รุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ในไม้ใหญ่อันถูกโค่นเพื่อเป็นการล้างบาป วัดแบบพม่าที่พบในลำปาง ได้แก่ วัดศรีชุม วัดป่าฝาง วัดม่อนจำศีล วัดม่อนปู่ยักษ์ และวัดศรีรองเมือง ซึ่งสร้างวิหารเป็นรูปยอดปราสาทแบบเดียวที่เมืองมัณฑะเลย์ในพม่า ดังเช่นวิหารใหญ่วัดศรีรองเมือง เป็นต้น เป็นวิหารจำหลักไม้ทำยอดหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ มีลวดลายจำหลักไม้ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าเรือนไทยติดลูกไม้ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า แบบขนมปังขิง (Ginger Bread) คือไม้ฉลุที่ชายคาเป็นลายย้อย ลูกไม้ช่องลมก็ฉลุปรุเป็นลายเช่นกันและยังมีลายฉลุตามส่วนต่างๆ ของอาคารอีกมากมาย เช่น ทางขึ้นวิหารวัดศรีชุม ฉลุลายใต้หน้าจั่วได้อย่างวิจิตร เป็นการอวดฝีมือของช่างฉลุในยุคนั้นว่าทำงานอย่างประณีต ซึ่งเป็นศิลปะพม่าผสมฝรั่งที่นิยมทำกันมากในภาคเหนือ
• สถาปัตยกรรมแบบเชียงใหม่ ที่ลำปางจะเก่าแก่ยิ่งกว่าที่พบในเชียงใหม่ เพราะสถาปัตยกรรมไม้ในเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นจากรูปแบบเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ส่วนที่ลำปางล้วนเป็นของเก่าทั้งสิ้น ดังเช่น วิหารน้ำแต้มที่วัดพระธาตุลำปางหลวง มีภาพเขียนรุ่นเก่าร่วมสมัยกับอยุธยา ประตูใหญ่ด้านหน้าวัดมีลวดลายปูนปั้นประดับเป็นศิลปะเชียงใหม่รุ่นเก่า ซุ้มประตูวัดไหล่หิน และ ประตูวัดบ้านเวียง กลางเมืองเถินในลำปาง ก็เป็นศิลปะแบบเชียงใหม่เช่นกัน และยังมี ประตูวัดล้อมแรด ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของล้านนาที่สมควรจะถนอมรักษาไว้อย่างดีที่สุด
สถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระวิหารหลวงวัดไหล่หิน และวัดปงยางคก เป็นพระวิหารรุ่นเก่าขนาดย่อม ลักษณะโปร่งด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านหลังทึบ ประดิษฐานมณฑปหรือพระพุทธรูป เป็นวิหารเก่าแก่ของล้านนาที่กะทัดรัดแต่งดงามน่าดูยิ่ง
• สำหรับผู้ที่สนใจทางศิลปะ ควรจะแวะวัดลำปางหลวงและวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งได้รวบรวมศิลปะวัตถุจากที่ต่างๆ และจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวงจะมีศิลปะวัตถุแบบล้านนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องเขิน ตะลุ่มแบบโบราณรูปทรงแปลกๆ สังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก และแบบจำลองปราสาทงานไม้รูปสัตว์ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ของวัดพระแก้วดอนเต้าส่วนใหญ่มีรูปจำหลักไม้เทวดาและม้านั่งแปลกๆ ส่วนศิลปะล้านนามีแบบจำลองวิหารเจดีย์กับเตียงตั่งรูปและลายแปลกๆ
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเชียงรายและพะเยา
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย และตาก
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๑๒,๕๓๓ ตารางกิโลเมตร
สภาพภูมิศาสตร์ ลำปางเป็นเมืองในหุบเขารูปแอ่งกะทะรายล้อมด้วยเทือกเขาสูงชัน บางส่วนผุดเป็นแนวหินแกรนิตบนเทือกเขาผีปันน้ำด้านตะวันตก ในบางยุคเกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดแอ่งที่ราบขนาดใหญ่และทิวเขามากมายทับซ้อนกัน เมื่อผ่านกาลเวลามายาวนานส่วนที่เป็นแอ่งก็กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดการทับถมของตะกอนดินและซากพืชซากสัตว์จนเป็นผืนดินที่ราบ แหล่งน้ำมัน และถ่านหินลิกไนต์แทรกตัวอยู่ในอำเภอแม่เมาะ บริเวณตอนกลางของเมืองลำปาง บริเวณที่ราบภูเขาสูงและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่ราบดินตะกอนเก่า ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และมีแม่น้ำวังไหลผ่านทำให้บริเวณ อำเภอแม่พริก อำเภอเถิน และบางส่วนของอำเภอสบปราบเป็นแหล่งทำเกษตรกรรมตลอดทั้งปี ส่วนบริเวณอำเภอเมือง อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภองาว อำเภอห้างฉัตร และบริเวณตอนกลางของอำเภอแจ้ห่ม เป็นที่ราบสูงและภูเขาสลับซับซ้อน บริเวณตอนบนและพื้นที่โดยรอบจังหวัด ด้านอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว และบริเวณตอนใต้ของอำเภอแจ้ห่มส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์อันเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเมืองลำปาง
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 52 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านสิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ตรงเข้าสู่จังหวัดลำปาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 599 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง หรือจะใช้เส้นทางสายใหม่จากพิษณุโลกเข้าเด่นชัยและลำปางได้
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดบริการรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ไปลำปางทุกวัน รายละเอียดติดต่อที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือ website : www.transport.co.th และที่สถานีขนส่งลำปาง โทร. 0 5422 7410 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนบริการรถประจำทางไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ-ลำปาง ได้แก่ บริษัท วิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2827 ลำปาง โทร. 0 5421 7373 และ บริษัท นิววิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2205-6 ลำปาง โทร. 0 5422 5899 จากสถานีขนส่งลำปางที่ถนนพหลโยธินมีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศไปยังจังหวัดเชียงราย แพร่ และน่าน นอกจากนี้ยังมีรถจากเชียงใหม่วิ่งผ่านลำปาง ไปยังทุกจังหวัดในภาคเหนือและบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา เป็นต้น
• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วน รถเร็วและรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปลำปางทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 และที่สถานีรถไฟลำปาง โทร. 0 5427 1026 หรือ website : www.railway.co.th
• เครื่องบิน สายการบิน พีบีแอร์ บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ลำปาง ไป-กลับ สำรองที่นั่ง โทร. 0 2261 0220-5 ลำปาง โทร. 0 5422 6238 หรือ www.pbair.com
• ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ในจังหวัดลำปาง และท่ารถในตัวเมือง
แม่เมาะ 40 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ สี่แยกร้านขายยาไทยโอสถ
งาว 83 กม. ท่ารถ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
แจ้ห่ม 52 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ แยกซอยข้าง ธ.นครหลวงไทย
เมืองปาน 69 กม. ท่ารถ ถ.บุญวาทย์
วังเหนือ 107 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ แยกซอยข้าง ธ.นครหลวงไทย
ห้างฉัตร 16 กม. ท่ารถ ห้าแยกหอนาฬิกา
เกาะคา 15 กม. ท่ารถ ถ.รอบเวียง ใกล้ ธ.กสิกรไทย
เสริมงาม 39 กม. ท่ารถ ถ.สนามบินข้างโรงเรียนบุญวาทย์
แม่ทะ 27 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ สี่แยกศรีชุม
สบปราบ 54 กม. ท่ารถ ตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย
เถิน 96 กม. ท่ารถ ตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย
แม่พริก 125 กม. ท่ารถ ถ.บุญวาทย์ ข้างศาลากลางจังหวัดหลังเก่า

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๘๓๓๔
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๘๘๐๐
เทศบาลนครลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๙๒๑๑-๗, ๐ ๕๔๒๑ ๗๐๓๕
โรงพยาบาลเขลางค์นคร โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๕๑๐๐-๓
โรงพยาบาลเทศบาลเมืองลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๓๖๒๕-๓๑
สถานีตำรวจภูธร โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๗๐๑๗
ไปรษณีย์ลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๔๐๖๙
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. ๑๑๘๒
สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ โทร. ๑๑๓๓
ศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๘๘๒๓, ๐ ๕๔๒๒ ๖๘๑๐
สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๔๘๔๕

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต ๑
๑๐๕/๑ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๐๐๐
โทร. ๐ ๕๓๒๔ ๘๖๐๔, ๐ ๕๓๒๔ ๘๖๐๗, ๐ ๕๓๒๔ ๑๔๖๖ โทรสาร ๐ ๕๓๒๔ ๘๖๐๕ E-mail : tatchmai@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน
• ข้อมูลรายละเอียดที่ระบุในเอกสารนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
• ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย


ชุมพร เป็นจังหวัดตอนบสุดของภาคใต้มีเนื้อที่ประมาณ 6,189.4 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ท่าแซะ ปะทิว หลังสวน สวี ทุ่งตะโก ละแม และพะโต๊ะ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ
• ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบางสะพนน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
• ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดระนอง และเมืองมะริดสาธารณรัฐสังคมเมียนมาร์
• ด้วยชุมพรเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ยาวแคบ จึงมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 222 กิโลเมตรความกว้างเพียง 36 กิโลเมตร มีเกาะแก่งต่าง ๆ 44 เกาะ ด้านทิศตะวันตกทีเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาภูเก็ตเปฃ้นเส้นพรมแดนกับประเทศพม่าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่ากว่า 40 เปอร์เซนต์ของพื้นที่จังหวัด และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสั้น ๆ ที่ไหลสู่ทะเลอ่าวไทย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำสวี และแม่น้ำหลังสวน ส่วนทางด้านตะวันออกเป็นที่ราบ จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ และพืชไร่จำพวกปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว ยางพารา และกาแฟตลอดพื้นที่
ชุมพรมีปรากฏร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนสมัยยุคประวัติศาสตร์ ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ ชุมพรกลายเป็นเมืองเก่า มีการติดต่อค้าขายกับจีน และอินเดีย สำหรับคำว่า “ชุมพร” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “อุทุมพร” ซึ่งเป็นชื่อมะเดื่อพันธุ์หนึ่งมีมากที่จังหวัดชุมพรสมัยก่อน ซึ่งเรียกโดยชาวอินเดีย ต่อมาเพี้ยนเป็น คำว่า “ชุมพร”
ความภาคภูมิใจของชาวชุมพร
• แหล่งรังนกนางแอ่น (ภาษามลายูเรียกว่า “ นกซาลังงัน ” จีนเรียกว่า “ เอี้ยนจื่อ” แหล่งใหญ่และมีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ทำให้ชุมพรมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศจากระบบสัมปทานเก็บรังนกมาแต่โบราณ
• ชุมพรเป็นแหล่งขยายพันธุ์และพักรักษาตัวอ่อน สัตว์น้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ปลาทู ปลาลัง ฯลฯ
• ปูไก่ ส่งเสียงร้องเจี๊ยบๆ ใกล้เคียงกับเสียงของลูกไก่ปีนต้นไม้คล่องแคล่ว พบได้ในเกาะต่างๆ ทั่วจังหวัดชุมพร มีมากที่เกาะมัตตรา
• ชุมพรมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในประเทศไทย 90 % เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า
• ทะเลชุมพร อุดมไปด้วยแนวปะการังที่สวยงาม สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ และเป็นแหล่ง “ฉลามวาฬ” สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกพบได้ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และปลาวาฬบลูด้า ทะเลชุมพรเป็นจุดดำน้ำที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในสามของอ่าวไทย
• พิพิธภัณฑ์ไฮเทคของเมืองไทย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพร ใช้ระบบการ์ดเสียบ เป็นการแสดงนิทรรศการแบบเคลื่อนไหว ต่างจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอื่นๆ
• ชุมพรเป็นแหล่งรวมของพระปฏิบัติดี ศีลจริยวัตรงดงาม เมื่อมรณภาพ ศพไม่เน่าเปื่อย ถึง 4 รูป ได้แก่ หลวงปูสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง, หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ, หลวงปู่ไสย วัดเทพเจริญ อ.ท่าแซะ, หลวงพ่อนาค วัดแหลมสน อ.หลังสวน
• ชุมพร “เมืองเสด็จในกรมฯ” เป็นจังหวัดที่มีศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งศาลต่างๆ สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาของมวลชน
• ขึ้นโขนชิงธง เอกลักษณ์ การเข้าสู่เส้นชัยของการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดชุมพร ที่อำเภอหลังสวนมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
• ชุมพรเป็นแหล่งรวมของผลไม้มงคล 5 ชนิด เหมาะแก่การนำไปไหว้พระไหว้เจ้า และเป็นของฝาก ได้แก่ สับปะรดสวี ส้มโชกุน ส้มโอเจ้าเสวย แก้วมังกร และกล้วยเล็บมือนาง
• ชุมพรได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในการพระราชทานพระราชดำริ พัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ให้เป็นแก้มลิงธรรมชาติ เพื่อให้ทางชุมพรรอดพ้นจากภัยน้ำท่วมและโครงการจัดการป่าไม้บนพื้นที่สันทรายในโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ที่หาดบางเบิด อ.ปะทิว
การเดินทางสู่ จจังหวัดชุมพร
• ขับรถไปเอง มีเส้นทางให้เลือกเดินทาง 2 ทาง คือ
1.จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-นครปฐม-เข้าทางหลวงหมายเลข4 (เพชรเกษม)-ราชบุรี-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ)-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-เข้าทางหลวงหมายเลข4 (เพชรเกษม) ที่จังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมระยะทางประมาณ 499 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง
- รถโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2434-5557-8, 0-2435-1919 และสถานี บ.ข.ส. ชุมพร ถนนท่าตะเภา โทร. 0-7750-2725, 0-7750-2268
- บริษัทโชคอนันต์ทัวร์ โทร. 0-2435-5027-9, 0-2435-7429 สาขาชุมพร โทร. 0-7751-1757
- บริษัทสุวรรณนทีทัวร์ โทร. 0-2435-5026 สาขาชุมพร โทร. 0-7751-1422
• รถไฟ จากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถเร็วและรถด่วนไปจังหวัดชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0-2223-7010, 0-2223-7020 หรือที่สถานีรถไฟชุมพร โทร. 0-7751-1103 จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) มีขบวนดีเซลรางไปชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2411-3102


วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย
• พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลู เช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอก บุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระ อัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
• วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้า ทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
• วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
• วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร
• ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น
• กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว
• วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้
• พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น
• นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.
• การเดินทาง วัดพระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ที่ ตำบลลำปางหลวง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร
• หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน


กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก
• กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่งและป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพพม่า
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรี
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
การเดินทาง
• รถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง 129 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
• รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที (สายเก่าเส้นเพชรเกษม-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี) ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 434-5557
• รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง (วิ่งสายใหม่เส้นถนนบรมราชชนนี-นครชัยศรี) ออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที (สายเก่าเส้นเพชรเกษม-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี) ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (02) 435-5012, 435-1199
• รถไฟ ออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.35 น. และ 13.45 น. แวะจอดที่สถานีกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. (02) 411-3102 วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยโทร. 223-7010, 223-7020 หรือ 1690
การเดินทางภายในจังหวัด
• สถานีขนส่งกาญจนบุรี ถ.แสงชูโต มีบริการรถโดยสารภายในจังหวัดที่ค่อนข้างสะดวก มีรถโดยสารไปยังอำเภอต่างๆ เช่น อำเภอบ่อพลอย อำเภอหนองปรือ อำเภอทองผาภูมิ และ อำเภอสังขละบุรี หรือเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆเช่น น้ำตกเอราวัณ น้ำตกเขาพัง น้ำตกไทรโยคใหญ่ รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งกาญจนบุรี โทร. (034) 511172
การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
• จากสถานีขนส่งกาญจนบุรี มีบริการรถโดยสารไปยังจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี
ท่าม่วง 12 กิโลเมตร
พนมทวน 24 กิโลเมตร
ท่ามะกา 30 กิโลเมตร
ด่านมะขามเตี้ย 30 กิโลเมตร
ไทรโยค 50 กิโลเมตร
ทองผาภูมิ 145 กิโลเมตร
สังขละบุรี 230 กิโลเมตร
ศรีสวัสดิ์ 102 กิโลเมตร
บ่อพลอย 40 กิโลเมตร
หนองปรือ 75 กิโลเมตร
ห้วยกระเจา 60 กิโลเมตร
เลาขวัญ 97 กิโลเมตร

อนุสาวรีย์วีรสตรี อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่สี่แยกท่าเรือ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต ๑๒ กิโลเมตร เป็นอนุสาวรีย์ที่ชาวภูเก็ตร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี ๒๕๐๙ เพื่อเชิดชูเกียรติวีรสตรีผู้กล้าหาญแห่งเมืองถลาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ห่างจากอนุสาวรีย์ไปทางถนนสายป่าคลอก ประมาณ ๒๐๐ เมตร ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงเป็นบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ต มี ๒ หลัง อาคารหลังแรกจัดแสดงเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเลตะวันตก สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแพร่เข้ามา ประวัติและวิธีการทำเหมืองแร่ดีบุก และสวนยางพารา ศิลปะพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู สำหรับอาคารหลังที่สองจัดแสดงฉากและเรื่องราวของศึกถลาง ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีที่น่าสนใจของชาวจีนในภูเก็ต และเรื่องราวความเป็นมาและถิ่นอาศัยของชาวเลในภูเก็ต เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมคนไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. ๐ ๗๖๓๑ ๑๔๒๖, ๐ ๗๖๓๑ ๑๐๒๕
วัดพระทอง (วัดพระผุด) อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๑ กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลางทางด้านขวาจะมีทางแยกเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น “จังซุ่ย” เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
วัดพระนางสร้าง อยู่ห่างจากตัวเมือง ๒๐ กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรี ถึงสี่แยกอำเภอถลาง ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายเป็นวัดที่เก่าแก่ และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ นอกจากนี้ภายในอุโบสถเก่ายังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ ๓ องค์ เรียกว่า “พระในพุง” หรือ “พระสามกษัตริย์” ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่อีกชั้นหนึ่ง
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตไปอำเภอถลาง เมื่อถึงสี่แยกในเขตเมืองถลางซึ่งอยู่ห่างจากตัวภูเก็ต ๑๘ กิโลเมตร แยกไปทางขวามืออีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานสัตว์ป่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๒ มีเนื้อที่ ๑๓,๙๒๕ ไร่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ สามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด อาทิ หมูป่า ลิง หมี กระจง และมีพันธุ์ไม้หายากคือ “ปาล์มหลังขาว” ที่นี่เป็นแห่งแรกที่พบ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
น้ำตกโตนไทร อยู่ห่างจากตัวเมือง ๒๒ กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีถึงสี่แยกอำเภอถลางแล้วเลี้ยวขวาไป ๓ กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติ ๓ เส้นทาง ขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่สถานีฯ
น้ำตกบางแป อยู่ห่างจากน้ำตกโตนไทร ๒ ชั่วโมง โดยเส้นทางเท้า แต่หากไปทางรถยนต์ไปจากตัวเมืองถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทรแล้วเลี้ยวขวาไปทางตำบลป่าคลอก ๙ กิโลเมตร หรือนั่งรถสองแถวไม้ สายภูเก็ต-บางโรงมาลงที่ปากทาง น้ำตกบางแป เป็นน้ำตกขนาดเล็ก รอบๆ เป็นสวนรุกขชาติร่มรื่น มีเส้นทางเดินศึกษาน้ำตกบางแป-น้ำตกโตนไทร ระยะทาง ๔ กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีป้ายสื่อความหมายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง อนุญาตให้กางเต็นท์พักแรมได้ แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง นอกจากนั้นบริเวณน้ำตกบางแปยังมี “สถานีอนุบาลชะนี” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของชะนีที่ถูกจับมาเลี้ยงให้พร้อมที่จะกลับคืนสู่ป่าต่อไป สอบถามรายละเอียดโครงการได้ที่ โทร. ๐ ๗๖๓๑ ๘๐๖๕ E-mail: gibbon@poboxes.com สำนักงานกรุงเทพ ฯ ติดต่อ A project of the Wild Animal Rescue Foundation of Thailand ๒๙/๒ ถนนสุขุมวิท ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทร. ๐ ๒๒๕๘ ๕๕๖๐ โทรสาร ๐ ๒๒๖๑ ๐๙๒๕
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าพักแรมที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว หรือขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสถานีฯ ๒๕๔ หมู่ ๒ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๐๐ โทร. ๐ ๗๖๓๑ ๑๙๙๘
หาดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๔ กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ เมื่อถึงอนุสาวรีย์วีรสตรีแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก ๑๒ กิโลเมตร เป็นหาดที่อยู่ริมเชิงเขา บริเวณเหนือหาดมีต้นสนทะเลต้นใหญ่ๆ เรียงรายอยู่ และบริเวณเหนือหาดด้านขวามือเป็นสนามกอล์ฟ หาดสุรินทร์ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะมีลักษณะลาดชัน และในฤดูมรสุมจะมีคลื่นลมจัดมาก
แหลมสิงห์ จากหาดสุรินทร์ประมาณ ๑ กิโลเมตร จะมีทางแยกซึ่งเป็นถนนส่วนบุคคลเข้าสู่หาดแหลมสิงห์ อาจจะขออนุญาตผ่านถนนส่วนบุคคล หรือเดินเลี่ยงไปอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเดินไปตามลาดเขาลงสู่ชายหาด หาดทรายแหลมสิงห์เป็นหาดเล็กๆ ทรายขาวสะอาด ทางซ้ายมือของหาดเป็นแหลมเล็กๆ ที่มีโขดหินสวยงาม เรียกว่า แหลมสิงห์
อ่าวบางเทา อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๔ กิโลเมตร ตามถนนเทพกษัตรีไปทางเหนือสู่อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนศรีสุนทรไปอีก ๑๒ กิโลเมตร จนถึงหาดสุรินทร์เลี้ยวขวาไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงอ่าวบางเทา มีหาดทรายทอดยาวเหมาะสำหรับการเล่นน้ำและกีฬาทางน้ำต่างๆ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง) ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ อยู่ห่างจากตัวเมือง ๓๐ กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนเทพกษัตรี ผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ตรงไปเมื่อถึงหลักกิโลเมตร ๒๑-๒๒ จะมีทางแยกด้านซ้ายเข้าไป ๑๐ กิโลเมตร หรือจะไปทางแยกเข้าสนามบินเลี้ยวซ้าย ๒ กิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ ๕๖,๒๕๐ ไร่ เป็นหาดทรายที่มีความยาวต่อเนื่องกันถึง ๑๓ กิโลเมตร โดยเริ่มจาก
หาดในทอน ใช้เส้นทางไปอุทยานฯ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตร ๒๑-๒๒ เมื่อถึงทางแยกเข้าบ้านสาคู เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๓ กิโลเมตร หาดในทอน เป็นเวิ้งอ่าวที่งามแปลกตาทอดโค้งจากตัวเกาะเป็นที่กำบังคลื่นลมได้อย่างดี และเป็นหาดที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ
หาดในยาง เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นหาดที่มีสวนสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังขนาดใหญ่เป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด โดยเฉพาะเต่าทะเลซึ่งจะขึ้นมาวางไข่บนหาด ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ แต่ปัจจุบันเต่าทะเลมีจำนวนลดลงมากจนแทบจะไม่เห็นเต่าขึ้นมาวางไข่อีกเลย
หาดไม้ขาว หรือหาดสนามบิน ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรีผ่านทางแยกเข้าสนามบินตรงไปทางสะพานสารสินจะมีทางแยกด้านซ้ายมือ มีป้ายบอกทางเข้าหาดไม้ขาว เลี้ยวซ้ายไป ๓.๕ กิโลเมตร ก็จะถึงหาดไม้ขาว ซึ่งเป็นหาดที่มีจั๊กจั่นทะเลและเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เช่นเดียวกับหาดในยาง
หาดทรายแก้ว เป็นหาดทรายขาวทอดยาวขนานกับทิวต้นสนอยู่ถัดจากหาดไม้ขาวไปจนถึงสะพานสารสิน นับเป็นหาดที่อยู่เหนือสุดของเกาะภูเก็ต
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ มีที่พักบริการนักท่องเที่ยว บังกะโล จำนวน ๕ หลัง ราคาหลังละ ๖๐๐ บาท และเต็นท์ ราคา ๒๐๐ บาท หากนำเต็นท์มาเองเสียค่าธรรมเนียมเช่าพื้นที่คนละ ๒๐ บาท สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ หาดในยาง ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๔๐ โทร. ๐ ๗๖๓๒ ๘๒๒๖ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๒๙๑๙

การแสดงโชว์
ภูเก็ต แฟนตาซี ตั้งอยู่บริเวณหาดกมลา เป็นแหล่งบันเทิงยามราตรี ที่มีการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมไทยด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ภายในบริเวณมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและหัตถกรรมไทยต่างๆ ห้องเกมส์ แต่ละอาคารจะได้รับการออกแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ลักษณะต่าง ๆ โดยดึงเอาจุดเด่นของแต่ละภาคมาใช้ และตกแต่งโดยใช้แสงสีต่าง ๆ ดูตระการตา สิ่งที่ไม่ควรพลาดชมคือ การแสดงจินตมายา ในวังไอยรา เป็นการนำเอกลักษณ์ของไทยทั้งด้านวรรณคดี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม มาผสมผสาน และนำเสนอผ่านตัวเอกคือเจ้าชายกมลา และช้างคู่บารมี ไอยรา โดยใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วย คั่นการแสดงด้วยบัลเล่ต์กลางเวหา มายากลนำเสนอโดยนักแสดงที่แสดงเป็นอินจันแฝดสยามคู่แรกของโลก เปิดให้บริการเวลา ๑๗.๓๐-๒๓.๓๐ น. การแสดงเริ่มเวลา ๒๑.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมบริเวณ ๖๐ บาท อัตราค่าเข้าชมการแสดงรวมอาหารเย็น ผู้ใหญ่ ๑,๕๐๐ บาท เด็ก ๑,๐๐๐ บาท ชมการแสดงอย่างเดียว ผู้ใหญ่ ๑,๐๐๐ บาท เด็ก ๗๐๐ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๗๖๒๗ ๙๒๒๒, ๐ ๗๖๒๗ ๙๑๓๓ - ๖ หรือฝ่ายรับจองบัตร โทร. ๐ ๗๖๒๗ ๙๓๐๐ โทรสาร ๐ ๗๖๒๗ ๙๓๓๓-๔ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๑๔ ๒๙๕๐, ๐ ๒๙๑๔ ๒๙๕๑ www.phuket-fantasea.com
ไซมอน คาบาเร่ต์ ตั้งอยู่หาดป่าตอง เป็นการแสดงโชว์ลิปซิงก์โดยนักแสดงชายล้วน ตระการตาด้วยเครื่องแต่งกายและฉากบนเวทีที่สวยงาม การแสดงมี ๒ รอบ เวลา ๑๙.๓๐ น. และ ๒๑.๓๐ น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๖๓๔ ๒๑๑๔

งานเทศกาล
งานท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน
เทศกาลอาหารทะเล จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ
เทศกาลกินผัก กำหนดจัดในวันขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี ระหว่างถือศีลกินผัก ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด ฯลฯ มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่างๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุดประทัดเสียงอึกทึกไปตลอดสาย ประเพณีกินเจนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ตและเกาะภูเก็ตตลอดไป
งานประเพณีปล่อยเต่า ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต
งานประเพณีลอยเรือชาวเล จะมีพิธีในกลางเดือน ๖ และ ๑๑ ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า “รำรองเง็ง” นั่นเอง
งานผ้อต่อ เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีน จะมีพิธีในช่วงเดือน ๗ ของจีน หรือเดือน ๙ ของไทย โดยมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต ตรงกับวันที่ ๑ พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๘ ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เป็นต้น
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดในหานเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ลากูน่าภูเก็ตไตรกีฬา เป็นการแข่งขันกีฬา ๓ ประเภทต่อเนื่องกัน คือ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และวิ่ง บริเวณลากูน่าภูเก็ต หาดบางเทา มีผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก การแข่งขันจะจัดขึ้นในช่วงปลายปีของทุกปี


คำว่า “ภูเก็ต” นั้นเชื่อว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายูคือ “บูกิ๊ต” ซึ่งแปลว่าภูเขา ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๑ พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ.๒๓๒๘ โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น ๒ ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสองเป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
• ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ ๕๔๓ ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ ๔๘.๗ กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ ๒๑.๓ กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

อาณาเขต
• ทิศเหนือ จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานท้าวเทพกษัตรี
• ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
• ทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
• ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

ภูมิอากาศ
• ภูเก็ตมีอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน ฤดูร้อนเริ่มเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส

การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข ๓๕) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ข้ามสะพานสารสิน เข้าจังหวัดภูเก็ต ระยะทาง ๘๖๒ กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปภูเก็ตทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒ (รถปรับอากาศ) และโทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (รถธรรมดา) บริษัทเอกชน ติดต่อ บริษัท ภูเก็ต เซ็นทรัล ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๓๒๓๓ ภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๓๖๑๕, ๐ ๗๖๒๑ ๔๓๓๕ และบริษัท ภูเก็ตท่องเที่ยว กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๘, ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๓๔ ภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๒ ๒๑๐๗-๙ สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๑๔๘๐
• รถไฟ ไม่มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภูเก็ตโดยตรง หากต้องการเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจำทางเข้าจังหวัดภูเก็ต สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔
• เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ - ภูเก็ตทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๑๑๙๕, ๐ ๗๖๒๑ ๒๔๙๙, ๐ ๗๖๒๑ ๒๙๔๖

การเดินทางภายในจังหวัดภูเก็ต
• ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการเดินทางภายในจังหวัดสะดวก มีรถตุ๊กตุ๊ก และรถสองแถวบริการไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น หาดราไวย์ หาดป่าตอง อ่าวฉลอง แหลมพันวา หาดกมลา หาดสุรินทร์ ห้าแยกฉลอง อ่าวมะขาม หาดกะตะ หาดกะรน หาดไนยาง อำเภอกะทู้ สามารถขึ้นรถได้บริเวณตลาดสด ใกล้วงเวียนน้ำพุ ถนนระนอง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง
• นอกจากนั้นการเดินทางจากสนามบินมายังตัวเมืองภูเก็ต สามารถใช้บริการรถแท็กซี่เข้าตัวเมืองภูเก็ต หรือไปยังหาดต่างๆ ในอัตราค่าบริการตามระยะทาง ส่วนในตัวเมืองก็มีบริการรถตู้ปรับอากาศและรถแท๊กซี่รับส่งไปสนามบิน ติดต่อบริษัท ทัวร์รอยัล เอ็นเตอร์ไพรส์ ถนนวิชิตสงคราม โทร. ๐ ๗๖๒๓ ๕๒๖๘-๗๑ หรือสนามบินภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๓๕ ๑๒๒๑ สำหรับรถตู้ปรับอากาศ จะมีระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. รถออกทุกชั่วโมง สำหรับรถแท๊กซี่ ต้องโทรแจ้งล่วงหน้า ๑ ชั่วโมง

การเดินทางจากภูเก็ตไปจังหวัดใกล้เคียง
• จากภูเก็ต มีบริการรถโดยสารธรรมดาจากสถานีขนส่ง ถนนพังงา ไปจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล หาดใหญ่ และเกาะสมุย รายละเอียดติดต่อ สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๑๔๘๐, ๐ ๗๖๒๑ ๑๙๗๗ นอกจากนั้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากภูเก็ตไปจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และหาดใหญ่ และบริษัท บางกอกแอร์เวย์ มีเที่ยวบินระหว่างภูเก็ต-สมุย ให้บริการอีกด้วย


เป็นองค์พระเจดีย์ขนาดใหญ่ สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างแบบขององค์พระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม สูง 6 ชั้น ยอดฉัตรทองคำ มีความกว้าง ยาว และสูง อย่างละ 101 เมตร รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็ก 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม
• แต่ละชั้นของพระมหาเจดีย์ ถูกตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม ประดิษฐานรูปเหมือนสลักหินทรายของพระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีตและหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโนในจำนวน 101 องค์ รวมทั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานซึ่งเก็บรวบรวมอัฏฐะบริขารของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์อีกด้วย ชั้นบนสูงสุด เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปัน โน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
• ผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร แห่งวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงรวบรวมเรื่องราวของครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นศูนย์กลางสำหรับไว้ให้พุทธศาสนิกชนเข้ามาศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและสักการะบูชา สืบไป พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและพลังศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และต่อหลวงปู่ศรีของชาวร้อยเอ็ด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ซึ่งร่วมใจบริจาคทรัพย์ตามกำลัง จนเกิดเป็นพระมหาเจดีย์ยิ่งใหญ่ดังที่เห็น
• คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุวัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคล : วันทามิ พันเต เตติยัง พุทธปะระมะ สารีริกธาตุง สิระสานะมามิ
• อานิสงส์ที่ได้รับ : เสริมมงคลให้ชีวิต อลังการพระมหาเจดีย์ชัยมงคล เสริมส่งมงคล ท่วมท้นชัยชนะด้วยพุทธานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

• แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
• สักการะพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี พระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยในวัดบูรพาภิราม บุด้วยกระเบื้องโมเสก สูง 67.55 เมตร ศิลปะพื้นบ้านส่วนผิวหนังเป็นสีเนื้อแลเห็นเด่นชัด เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด สร้างโดยพระครูสิริวุฒเมธี เจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม พระนักพัฒนา ผู้ชอบก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ.2522 สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 55 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย
• ไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ที่อยู่ในบริเวณบึงพลาญชัย แหล่งหย่อนใจที่งดงามด้วยเกาะกลางบึงน้ำขนาดใหญ่ รอบด้านตกแต่งเป็นสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ มีสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ และเครื่องออกกำลังกาย นับเป็นสวนขนาดใหญ่ที่ร่มรื่นและงดงาม
• สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด แสดงปลาน้ำจืดหลากสายพันธุ์ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่อุโมงค์ลอดใต้ตู้ปลาขนาดใหญ่ เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
• สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี เป็นโครงการสวนพฤกษศาสตร์ในวรรณคดีประจำภาคอีสาน ซึ่งปลูกไม้ตามวรรณคดีมากมาย นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรหลากชนิด จัดแต่งบริเวณรอบได้อย่างงดงาม
• เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาภูไท พระอาทิตย์ตกดินที่ผาหมอกมิวาย มีทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีลานกางเต็นท์และบ้านพักบริการ



ถ้ำพระโพธิสัตว์ ที่ผนังมีภาพจำหลักนูนต่ำเป็นรูปพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม และภาพเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และภายในผนังถ้ำยังมีเจดีย์ทรงลังกา ศิลปะสมัยทวารวดี มีหินงอก หินย้อย บริเวณภายนอกถ้ำมีต้นไม้นานาพรรณ

นอกจากนั้นยังพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อทรงเสด็จทอดพระเนตรน้ำตก ถ้ำธรรมทัศน์ ถ้ำลุมพินี สวนหิน และถ้ำสงัดเจดีย์

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปถ้ำพระโพธิสัตว์
ถ้ำพระโพธิสัตว์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 32 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมาไปประมาณ 15 กิโลเมตร หากไปจากสระบุรีวัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีป้ายบอกไปวัดถ้ำพระโพธิสัตว์อีกประมาณ 11 กิโลเมตร


ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา จากปากทางเข้าจะปูด้วยหินอ่อนเป็นทางเดินชมทั่วบริเวณถ้ำโดยตลอด

ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ได้แก่

ห้องที่ 1 ชื่อว่า "ถ้ำบ่อปลา" มีปลาว่ายน้ำเข้ามาในบริเวณถ้ำเป็นจำนวนมาก
ห้องที่ 2 ชื่อว่า "ถ้ำท้องพระโรง" มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีรูปร่างคล้ายเจ้าแม่กวนอิม และฮก ลก ซิ่ว
ส่วนห้องที่ 3 ได้แบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ มีจุดเด่นอยู่ที่หินงอกหินย้อยหลายรูปแบบ มีรูปร่างคล้ายหินปะการังซึ่งจะเข้าได้ในช่วงฤดูแล้ง

นอกจากนั้นทางด้านหลังยังมีถ้ำขนาดใหญ่อีก 2 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำสามเขา และถ้ำเทพประทาน ถ้ำจะปิดในวันธรรมดา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น. ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา
สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรก ได้แก่ จากตัวเมืองสระบุรีไปตามถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตัวอำเภอแก่งคอย ผ่านตลาดแล้วข้ามสะพานอดิเรกสารซึ่งทอดข้ามแม่น้ำป่าสักไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ก็ถึงถ้ำพระธาตุเจริญธรรม
เส้นทางที่สอง จากสระบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ทางไปจังหวัดลพบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงหน้าโรงเรียนพุแควิทยา ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนจะมีถนนสายพุแค-แก่งคอย เข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรม เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ที่รู้จักกันในชื่อว่า ถ้ำบ่อปลา ตั้งอยู่ที่ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อยู่ในบริเวณวัดถ้ำพระธาตุเจริญธรรม จากปาก ทางเข้าจะปูด้วยหินอ่อนเป็นทางเดินชมทั่วบริเวณถ้ำโดยตลอด

ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องที่ 1 ชื่อว่า “ถ้ำบ่อปลา” มีปลาว่ายน้ำเข้ามาในบริเวณถ้ำเป็นจำนวนมาก ห้องที่ 2 ชื่อว่า “ถ้ำท้องพระโรง” มีหินงอกหิน ย้อยสวยงาม มีรูปร่างคล้ายเจ้าแม่กวนอิม และฮก ลก ซิ่ว ส่วนห้องที่ 3 ได้แบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ

ถ้ำพระธาตุเจริญธรรม มีจุดเด่นอยู่ที่หินงอกหินย้อยหลายรูปแบบ มีรูปร่างคล้ายหินปะการังซึ่งจะเข้าได้ในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนั้นทางด้านหลังยังมีถ้ำขนาดใหญ่อีก 2 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำสามเขา และถ้ำเทพประทาน ถ้ำจะปิดในวันธรรมดา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น.

นอกจากนี้ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก ได้แก่ จากตัวเมืองสระบุรีไปตามถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 12 กิโลเมตร


ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร

ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น

ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี
ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำและที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน
เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณนั้นก่อน


อุทยานแห่งชาติเขาหลัก - ลำรู่ แต่เดิมเป็นเพียงวนอุทยานป่าชายทะเลเขาหลัก ต่อมา นายสมจิต สูงสง่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลกะปง อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ได้มีหนังสือต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2527 ขอให้พิจารณาประกาศจัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณอำเภอกะปง กับพื้นที่ป่าอื่นๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพังงา ซึ่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าชุกชุม ทั้งยังประกอบไปด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม คือ น้ำตกขนาดเล็กหลายแห่ง จึงได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 66 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ให้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ครอบคลุมพื้นที่ 78,125 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาหลัก เขาลำรู เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาสูงที่สุดประมาณ 1,077 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ของจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำตะกั่วป่า และแม่น้ำพังงา และยังประกอบด้วยคลองและลำห้วยลำเล็กๆ มากมาย ส่วนบริเวณที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ เป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเล เป็นระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และกลุ่มประการัง
ลักษณะภูมิอากาศ
• อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกของฝั่งทะเลอันดามัน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยจะมีฝนตกชุก
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• สภาพป่าโดยทั่วไป ประกอบด้วย
• ป่าดิบชื้น โดยมีโครงสร้างป่าในแนวตั้งแบ่งเป็น 3 ชั้นเรือนยอด คือ เรือนยอดชั้นบนประกอบด้วยพรรณไม้วงศ์ยางได้แก่ ยางขน ยางปาย ยางมันหมู ยางกล่อง เป็นต้น เรือนยอดชั้นกลาง ประกอบด้วย มะปริง ยางขาว โพบาย พลับพลา เป็นต้นเรือนยอดชั้นล่าง ประกอบด้วย นวล นกนอน เปล้า จิกเขา จิกนม พลองขาว มะเม่าดง สลัด เป็นต้น
• ป่าชายหาด เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินทราย และบริเวณฝั่งทะเลที่เป็นโขดหินกระจายอยู่ทั่วไป พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายหาดจัดเป็นพืชทนเค็ม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากไอเค็มของน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งที่ติดกับทะเล พรรณไม้ที่พบได้แก่ กระทิง หูกวาง จิกเล เป็นต้น
• สัตว์ป่า ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กระแตใต้ บ่าง หมีขอ พังพอนเล็ก กระจ้อน ค้างคาว ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ได้แก่ เลียงผา สมเสร็จ เป็นต้น
• สัตว์เลื้อยคลาน แบ่งออกเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ออกหากินตอนกลางวัน เช่น กิ้งก่าบินปีกสีส้ม กิ้งก่าเขาหนามยาว และตะกวด เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้โดยตรงอีกกลุ่มคือ งู เช่น งูแสงอาทิตย์ งูลายสอสวน งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ อึ่งกรายลายเลอะ จงโคร่ง กบหลังตาพับ และอึ่งข้างดำ เป็นต้น
• นก จากการสำรวจสามารถจำแนกชนิดของนกภายในอุทยาน ได้เป็น 15 อันดับวงศ์ 108 สกุล เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกออก นกเขาเขียวและนกพญาไฟใหญ่ เป็นต้น ส่วนนกขนาดใหญ่ที่พบได้มี 3 ชนิด คือ นกเงือกปากดำ นกแก๊ก และนกกาฮัง
• ผีเสื้อกลางวัน พบส่วนใหญ่อยู่บริเวณป่าดงดิบชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าดิบชื้น ที่มีลำห้วยหรือแอ่งน้ำ ผีเสื้อกลางวันที่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ และผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์
• สัตว์ทะเล ได้แก่ สัตว์กลุ่มปลิง เช่น ปลิงดำ ปลิงขาว ปลิงลูกปัด เป็นต้น กลุ่มเม่น เช่น เม่นหนามยาง เป็นต้น กลุ่มทากทะเล เช่น ทากปุ่ม เป็นต้น กลุ่มปลา เช่น ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ ปลาปากคม ปลากระทุงเหว เม่นหนามยาว กลุ่มดาวขนนก เช่น ดาวขนนก กลุ่มปู กุ้ง หอย เช่น หอยสังข์หนาม หอยเบี้ยเสือดาว เป็นต้น
บ้านพักและบริการเขาหลัก
• มีบ้านพัก ร้านอาหาร ลานกางเต้นท์พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
แหล่งท่องเที่ยวเขาหลัก
• คลองลำรูใหญ่ ลักษณะเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยลำห้วยขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละห้วยมีน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงาม เช่น น้ำตกวังกล้วยเถื่อน เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 7 ชั้น ที่สวยงามยิ่ง คลองลำรูใหญ่เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอท้ายเหมือง
• ชายทะเลเขาหลัก เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นวนอุทยานชายทะเลเขาหลัก มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวและชายหาด มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่ามาทางอำเภอท้ายเหมืองตามถนนเพชรเกษม 33 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าไปเพียง 50 เมตร ฝั่งตรงข้ามเป็นศาลเจ้าพ่อเขาหลักซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป บริเวณนี้ประกอบด้วยแหลมหิน หาดหิน หาดทราย และปรากฏรอยเท้าที่จารึกบนแผ่นหินอยู่ใต้ต้นไทร มีจุดชมวิวในบริเวณแหลมเขาหลัก มีทางเดินศึกษาธรรมชาติจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหาดเล็ก ระยะทาง 2 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทางเดินเรียบชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีทางเดินป่าระยะไกลจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณชายทะเลเขาหลักยังสามารถดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้
• น้ำตกโตนช่องฟ้า มีต้นน้ำเกิดจากคลองบางเนียง ประกอบด้วยน้ำตกจำนวน 5 ชั้นใหญ่ๆ จัดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม แยกเข้าบริเวณวัดพนัสนิคมในหมู่บ้านบางเนียง เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางเดินป่าบริเวณเทือกเขาหลักไปตามแนวสันเขาถึงน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทาง 9 กิโลเมตร
• น้ำตกลำพร้าวและน้ำตกหินลาด มีต้นน้ำเกิดจากคลองปลายบางโต๊ะและน้ำตกทั้งสองอยู่ในลำห้วยเดียวกัน น้ำตกลำพร้าว มีชั้นน้ำตก 3 ชั้น ส่วนน้ำตกหินลาดมีชั้นน้ำตก 2 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 แยกเข้าบ้านทุ่งคาโงก 4 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปยังน้ำตกอีกเล็กน้อย
• น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สวยงามน่าชม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 (อำเภอกะปง-บ้านกะปง-หมู่บ้านลำรู่) ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังย้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร
• หาดเล็ก เป็นชายหาดทรายขาวละเอียด และเงียบสงบ สามารถว่ายน้ำ ดำน้ำ ดูปะการังโดยเดินเท้าจากที่ทำการอุทยาแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตลอดทางจะเดินผ่านป่า ลัดเลาะไปตามชายทะเลเขาหลัก
สถานที่ติดต่อและการเดินทาง
การเดินทางสู่เขาหลัก
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ อยู่ใกล้ถนนเพียง 50 เมตร มีจุดสังเกตคือ ศาลพ่อตาเขาหลัก ซึ่งเป็นที่สักการะของชาวบ้านและคนทั่วไป
• เครื่องบิน จะต้องใช้บริการของสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต แล้วโดยสารรถมาสู่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ โดยใช้เส้นทางตามถนนเพชรเกษมมุ่งสู่อำเภอท้ายเหมือง
• รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ มีทั้งรถปรับอากาศ และรถธรรมดาสายกรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-ตะกั่วป่า ซึ่งอัตราค่าโดยสาร กรุงเทพฯ-พังงา รถยนต์โดยสารธรรมดา ราคา 357 บาท ปรับอากาศ ราคา 459 บาท ปรับอากาศพิเศษ ราคา 685 บาท
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติเขาหลัก - ลำรู่ หมู่ที่ 7 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190


อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา เป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ระหว่างเตรียมการประกาศ มีพื้นที่ประมาณ 583 กิโลเมตร หรือ ประมาณ 364,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ท้องที่ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ ท้องที่ตำบลแม่ข่า ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ จังหวัดเชียงราย
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เทือกเขาวางตัวในเแนวทิศเหนือ – ใต้ เป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่ – เชียงราย มียอดดอยสูงสุดคือ ดอยเวียงผา มีความสูง 1,834 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารและแหล่งกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง และสาขาหนึ่งของน้ำแม่ลาว เช่น ห้วยแม่ฝางหลวง ห้วยแม่ฝางน้อย น้ำแม่ยางมิ้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ ของอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างช่วงเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม โดยจะมีฝนตกหนักในช่วงเดือน กันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงอากาศเย็นสบายเหมาะสำหรับเดินทางมาท่องเที่ยว ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อน จึงไม่เหมาะต่อการเดินมาท่องเที่ยว
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ซึ่งป่าแต่ละชนิด เหล่านี้จะอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตอุทยานฯตามระดับความสูงของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ประดู่ จำปีป่า สนสองใบ ก่อชนิดต่างๆ มอส เฟิร์น กล้วยไม้ เป็นต้น
เนื่องจากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และขึ้นผสมปะปนกันอยู่หลายชนิด ตลอดจนระดับความสูงของพื้นที่ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 300-1,834 เมตร จึงทำให้เกิดแหล่งอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า เลียงผา เม่น กระต่ายป่า ลิง อีเห็น กระรอก กระแต และนกนานาชนิด เช่น กางเขนดง นกเขา เหยี่ยว ไก่ป่า เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
• จุดชมวิวดอยเวียงผา ชมความงามของธรรมชาติ ทิวเขา ในยามเช้าและยามเย็นในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เป็นความงามที่น่าสัมผัส อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา ที่ วผ. 1 (หัวฝาย) ประมาณ 30 กิโลเมตร
• น้ำตกดอยเวียงผา เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 18 เมตร เกิดจากลำห้วยแม่ทะลบอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 8 กิโลเมตร
• น้ำตกป่าซับ อยู่บริเวณป่าทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมูเซอ เป็นน้ำตกขนาดกลาง น้ำไหลตลอดปี
• น้ำตกแม่ฝางหลวง เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 10 เมตร อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติที่ วผ. 1 (หัวฝาย) ประมาณ 10 กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย
• น้ำตกห้วยทรายขาว เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เกิดจากลำห้วยทรายขาว มี 3 ชั้น หน้าร้อนน้ำจะแห้งอยู่ห่างที่ทำการอุทยานฯประมาณ 300 เมตร
• น้ำตกห้วยหก อยู่บริเวณป่าทางทิศใต้ของหมู่บ้านมูเซอ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย เป้นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
บ้านพัก-บริการ
มีบ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ ลานกางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 ไปทาง อ.ไชยปราการ ถึง กม.ที่ 125 บ้านแม่ขิ เลี้ยวขวาไปตามทางอีก 10 กม. จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา ตู้ ปณ. 14 ปณจ.ไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ 50320


อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง มีพันธุ์ไม้มีค่าและสัตว์ป่า ที่สำคัญหลายชนิดและประกอบด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งเช่น น้ำตก หน้าผา น้ำพุร้อน อ่างเก็บน้ำเขื่อนต่างๆ เป็นต้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,229.8 ตารางกิโลเมตร หรือ 768,625 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีความสูงตั้งแต่ 400-1,947 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1 อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงภูเขาเป็นภูเขาหินปูน มีป่าเบญจพรรณขึ้นอยู่โดยทั่วไป และมีป่าดิบเขา ขึ้นตามแนวลำห้วยขุนห้วย หุบเขา และบริเวณป่าต้นน้ำลำธารอย่างหนาแน่น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ สัก แดง ประดู่ ยาง จำปี ประดู่ส้ม เหียง พลวง รัง ดำดง ตีนนก ไม้ชั้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ หวาย พง อ้อ เป็นต้น และจะมีสน 2 ใบ สน 3 ใบ ขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ ตามแนวสันเขาโดยทั่วไป
สัตว์ป่าประกอบด้วย หมูป่า ลิง ชะนี กวาง เก้ง เลียงผา เสือ กระต่าย ไก่ป่า นกนานาชนิด เช่น นกแก้ว นกกระยาง นกเค้าแมว เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
• ถ้ำเมืองออน ตั้งอยู่ที่อำเภอสันกำแพง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ มีปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก
• อ่างเก็บน้ำและเขื่อนเก็บน้ำ ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำ ห้วยผาแหน อ่างเก็นน้ำห้วยขมิ้น อ่างเก็บน้ำ ห้วยบง อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ตะไคร้ เขื่อนเก็บน้ำแม่กวง เขื่อนห้วยแม่ออน มีสภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม
มีลักษณะเด่นเป็นเขาหินปูน มีหินงอก หินย้อย ถ้ำ หน้าผา น้ำตก น้ำพุร้อน ลำห้วย และสภาพป่าที่สมบูรณ์
การเดินทาง
ทางรถยนต์ การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ใช้เส้นทางจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง ตำบลทาเหมือ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ โดยนักท่องเที่ยวจะต้องนำเต็นท์ ไปกางเอง
การติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ต.ท่าเหนือ อ.กิ่งอำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่ 50130 โทรศัพท์ : (053) 818348

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยสัตว์ป่าและสภาพป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ครอบคลุมเนื้อที่ป่าแม่งัด ป่าแม่แตง และป่าเชียงดาว ในท้องที่อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง และอำเภอเชียงดาว รวมเนื้อที่ ๖๕๒,๐๐๐ ไร่ ลักษณะเป็นป่าดิบเขา ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดตัวเป็นแนวเหนือใต้ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ไหลสู่แม่น้ำปิง
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
• น้ำตกม่อนหินไหล ตั้งอยู่บริเวณป่าแม่งัด อำเภอพร้าว ใช้ถนนสายเชียงใหม่-พร้าว ประมาณ ๘๕ กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าน้ำตก ๑๔ กิโลเมตรซึ่งเป็นทางลูกรังจึงต้องใช้รถขับเคลื่อน ๔ ล้อเท่านั้น น้ำตกมี ๙ ชั้น เป็นตาดหินลาดเขาตรง น้ำไหลตลอดปี แต่ละชั้นมีลักษณะเด่นที่แปลกตา และบนชั้นที่ ๙ คือยอดดอยม่อนหินไหลเป็นจุดชมวิวมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของอำเภอพร้าว มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติประมาณ ๑ กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ น้ำตกห้วยแม่ระงอง น้ำตกห้วยป่าพลู ถ้ำผาแดง เทือกเขาหินปูน เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณดอยแม่วะห่าง (จากที่ทำการประมาณ ๔ กิโลเมตร)
การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๗ สายเชียงใหม่-ฝาง และแยกขวาเข้าเส้นทางสู่เขื่อนแม่งัด-สมบูรณ์ชล ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ที่อุทยานฯ ยังไม่มีบ้านพักแต่มีจุดพักแรมห้วยกุ่ม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงติดกับหน่วยพิทักษ์ที่ ศล.๖ ห้วยกุ่ม ประมาณกิโลเมตรที่ ๒๖๐ เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๕๐
• น้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี(น้ำพุเย็น น้ำตกเย็น) ตั้งอยู่บริเวณแยกกิโลเมตรที่ ๔๒ สายเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหอพระ อำเภอแม่แตง เป็นน้ำแร่ซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอเนตพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วไหลเป็นลำธารและน้ำตกขนาดเล็ก มีพื้นดินที่ใต้ลำธารแข็งสีขาวเป็นประกาย เพราะมีแคลเซียมคาร์บอเนตเคลือบอยู่ ดูแปลกตา
• วัดดอยแม่ปั๋ง หมู่ที่ ๕ ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ไปตามถนนสายเชียงใหม่-แม่โจ้-พร้าว ทางหลวงหมายเลข ๑๐๐๑ กม.ที่ ๗๖ วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรรษาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๕ จนถึงมรณภาพในพ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า “โรงย่างกิเลส” หรือ “โรงไฟ” และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง


อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตท้องที่ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าและของป่าหลายชนิด มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงาม เช่น ถ้ำห้วยบอน บ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดเชียงใหม่ และสามารถเดินทางเข้าไปเที่ยวได้โดยสะดวกสบาย มีเนื้อที่ประมาณ 380 กิโลเมตร หรือ 237,500 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งเป็น "อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง" เมื่อวันที่4 กันยายน 2543
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนซึ่งเป็นเทือกเขาผีปันน้ำ ระดับความสูงในเขตอุทยาน แห่งชาติแม่ฝาง ประมาณ 400-2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยผ้าห่มปก (สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ) ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม ดอยอ่างขาง อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25.4๐C มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.7-19.0๐C ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39.1๐C และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,183.5 มม.
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนหรือป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้ตะเคียน มะไฟป่า ยางประดู่ ตะแบก สัก จำปีป่า มะขามป้อม ฯลฯ ที่สำคัญยังมีพรรณไม้ที่หายากของเมืองไทย อาทิ “เทียนหาง” และ “กุหลาบไฟ” ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณดอยผ้าห่มปก
ด้วยสภาพป่าเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งติดต่อกับพื้นที่ของประเทศพม่าจึงทำให้มีสัตว์ป่าต่าง ๆ ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวาง หมี หมูป่า นางอาย นกเขา รวมทั้งนกปีกแพรสีม่วง ซึ่งมีเฉพาะป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เลียงผา อันเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งของไทย และผีเสื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทยแล้ว คือ ผีเสืออิมพิเรียนหรือผีเสือไกเซอร์ และผีเสื้อสมิงเชียงดาวหรือผีเสื้อภูฐาน
แหล่งท่องเที่ยว
• ดอยผ้าห่มปก เป็นดอยที่สูงอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูงประมาณ 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปานกลางบนยอดดอยสูงสุดเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณีวิทยาที่มีชั้นดินตื้นชั้นหินเป็นหินแกรนิตประกอบกับอากาศมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งปี จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ทะเลหมอก และถนนบนสันเขาขนานกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งถือเป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่วนสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำ ป่าดิบเขา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมดุลและหลากหลายทางชีวภาพ ดังเช่น จะพบพันธุ์พืชและสัตว์ป่าหายากนานาชนิด อาทิ เทียนหาง ผีเสื้ออิมพิเรียน ผีเสื้อภูฐาน และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น
• ถ้ำห้วยบอน เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมากมีความลึกจากปากถ้ำหนึ่งถึงอีกปากถ้ำหนึ่งประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 20-30 เมตร ภายในถ้ำไม่มีจุดอันตรายต่อผู้เข้าชม และบริเวณใกล้เคียงมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยประมาณ 10 ถ้ำ อยู่ห่างจากอำเภอฝางประมาณ 12 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดย ทางเท้าจากบ่อน้ำร้อนระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
• น้ำตกตาดหมอก ตั้งอยู่ห่างจาก อ.แม่อาย ประมาณ 4 กม. อยู่ติดกับถนนลาดยาง ลักษณะที่น้ำตกลงมาเหมือนใยแก้ว ละอองน้ำกระจายอยู่ทั่วแผ่นผาคล้ายหมอก
• น้ำตกนามะอื้น อยู่บริเวณกลางป่าทึบใน ต.แม่สาว อ.แม่อาย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้นใหญ่ ๆน้ำตก ทั้ง 4 มีลักษณะคล้ายกัน คือ มีน้ำไหลตลอดปี และมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งจะเป็นได้จาก มอส เฟริ์นที่เกาะตามโขดหินข้าง ๆ ลำห้วย
• น้ำตกโป่งน้ำดัง ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง (มฝ.3) ณ บ้านแม่สูนน้อย ต.แม่สูน อ.ฝาง เป็นน้ำตกที่สวยงามมีการไหลของน้ำที่สม่ำเสมอ
• น้ำตกห้วยเฮี้ยน อยู่ทางตอนเหนือของลำห้วยเฮี้ยนห่างจากถ้ำห้วยบอนประมาณ 3 กม. เป็นน้ำตกใหญ่มีประมาณ 7ชั้น
• น้ำพุร้อน น้ำพุร้อนจะพุ่งขึ้นมากเหนือพื้นดินสูงประมาณ 50 เมตร เวลาประมาณ 2 นาที และหยุดพุ่งประมาณ 25 นาที แล้วจะพุ่งขึ้นมาอีกเป็นระยะๆ ตลอดเวลาเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว อยู่ใกล้บริเวณบ่อ น้ำร้อน
• บ่อน้ำร้อน เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดินมีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลาอุณหภูมิของน้ำ ประมาณ 90-130 องศาเซลเซียส มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 ม.) นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ และอาบน้ำแร่ อบไอน้ำกันเป็นจำนวนมาก ที่ตั้งของบ่อน้ำร้อนอยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
• ห้วยแม่ใจ เป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลมากตลอดปี น้ำใสสะอาด เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อยู่ห่างจากบ่อน้ำร้อนประมาณ 300 เมตร
บ้านพัก-บริการ
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง มีบ้านพัก ร้านอาหารและจัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ เริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่มาตามถนนหลวง (หมายเลข 107) ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอ แม่แตง อำเภอเชียงดาว ถึงอำเภอฝาง-บ้านลาน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แยกขวามาตามถนน (หมายเลข 54) บ้านแม่ใจใต้-บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นถนนลูกรังระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงบริเวณบ่อน้ำร้อนเป็นเส้นทางผ่านบ้านสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี รวมห่างจากอำเภอฝางประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสถานที่เหมาะในการจัดตั้งเป็นสำนักงานอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง รถประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัดและบริษัทรถร่วมเอกชนระหว่าง กรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึง อ.ฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อีกประมาณ 10 กม.
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ตู้ ปณ. 39 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110 โทร. 0 - 5345 - 1441


เกาะจาบัง
• ที่ตั้ง : ทิศตะวันออกของเกาะหินงาม
• การเดินทาง : เหมาเรือหางยาวจากเกาะหลีเป๊ะ โดยสามารถแวะเที่ยวเกาะข้างๆไดสะดวกเช่น เกาะหินงาม เกาะยาง เกาะอาดัง ฯลฯ
• จุดเด่น : หากเป็นคนต่างถิ่นแล้วนั่งเรือผ่านเกาะจาบัง จะมองไม่เห็นความโดเด่นของเกาะที่มีรูปร่างเป็นกองหินที่ดูแสนจะธรรมดา แต่หากเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับทะเลย่านนี้ ย่อมที่จะไม่ยอมพลาดกับการลอยลำผูกทุ่น แล้วนำนักท่องเที่ยวทยอยลงน้ำ ลอยตัวด้วยชูชีพ เพื่อชมความงดงามที่ไม่อาจมองเห็นได้จากบนเรือ
• โลกใต้ทะเลรอบเกาะจาบังนั้นโดดเด่นด้วยปะการังอ่อนสวยงาม หลายคนที่ดำน้ำเป็นระจำ พร้อมใจกันยกย่องว่าแนวปะการังหลากสีสันนี้ มีความงดงามระดับโลก เพราะเหตุนี้เองโปรแกรมดำน้ำที่เกาะจาบังจึงมักปรากฎอยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวในบริเวณนี้ หากเป็นฤดูท่องเที่ยว บริเวณนี่จะมีนักท่องเที่ยวนับร้อยลอยตัวอยู่เต็มไปหมด ดูคึกคักน่าสนุก ดังนั้นหากเหมาเรือมาเอง ไม่ควรพลาดที่จะแวะชมโลกใต้ทะเลที่เกาะจาบังแห่งนี้
• หลังจากดำน้ำที่เกาะจาบังแล้ว เดินทางไปอีกนิดเดียวก็จะถึงเกาะหินงาม แวะเที่ยวต่อเนื่องไปยังเกาะข้างเคียง บ่ายแก่ๆ กลับมาพักบนเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งมีรีสอร์ตและบังกะโลให้บริการหลายแห่ง


อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ในท้องที่ อ.ควนโดน และอ.เมือง จ.สตูล มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดคลองตูโย๊ะ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก จดเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พืชพรรณป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง มีเทือกเขาหินปูนที่ยังไม่สลายตัว จึงถูกปัจจัยธรรมชาติ คือน้ำที่อยู่ใต้ดินเกิดการกัดเซาะทำให้เป็นร่องรอยหรือรูโหว่ขนาดใหญ่ กลายเป็นถ้ำขนาดใหญ่ เช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำผาเดี่ยว ถ้ำลอดปูยู นอกจากนี้การเกิดของบึงทะเลบันก็เช่นเดียวคือเกิดการการยุบตัวของโพรงถ้ำหินปูนใต้ดินระหว่างหุบเขา ยอดเขาสูงสุดพื้นที่นี้คือเขาจีน สูง 756 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลเต็มที่จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ในระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดเข้ามาแทนที่
แต่เนื่องจากจังหวัดสตูลอยู่ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเล จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลมากนักจากมรสุมนี้ อย่างไรก็ตามในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ก็ยังมีฝนตกชุกอยู่หลังจากนี้ไปฝนจะเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในระยะนี้ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 27.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38.9 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 17.0 องศาเซลเซียส ในเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 2,280.9 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด คือ เดือนมกราคม วัดได้โดยเฉลี่ย 7.2 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนกันยายน วัดได้ 377.8 มิลลิเมตร
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณ สามารถจำแนกออกได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.พืชพรรณไม้ป่าบก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ป่าดงดิบ เป็นป่าผืนใหญ่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ ประกอบด้วยไม้ยืนต้นที่มีเรือนยอดสูงที่สุด เป็นระดับชั้นที่ 1 ได้แก่ สกุลไม้ยาง ตะเคียนทอง ไข่เขียว และไม้ยืนต้นที่มีความสูงของระดับเรือนยอดรองลงมา คือ ความสูงระหว่าง 15-30 เมตร เช่น มะหาดรุม ขนุนปาน ทุ่งฟ้า เป็นต้น
ป่าโปร่งและทุ่งหญ้า ป่าบริเวณตอนกลางมีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีหญ้าคาขึ้นอย่างหนาแน่น มีไม้เบิกนำขึ้นผสมกับพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ส้าน เป็นต้น
พืชพรรณไม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลุ่มต่ำน้ำขัง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
พืชพรรณที่พบในบึงน้ำจืดทะเลบัน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก พืชที่พบได้แก่ เทียนนา บอน บากง กูดช้าง เป็นต้น
พืชพรรณไม้ป่าชายเลน เป็นป่าที่พบบริเวณแนวเขตด้านทิศตะวันตกของอุทยาน แห่งชาติ พันธุ์ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม โปรงขาว และตีนเป็ดทะเล เป็นต้น
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบรวม 80 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวนจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เลียงผา พบสัตว์ชนิดใหม่ที่ยังไม่มีรายงานการพบในประเทศ 1 ชนิด ได้แก่ ค้างคาวมงกุฎ เป็นต้น
นก พบรวม 302 ชนิด นกที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เช่น นกหว้า ไก่จุก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกดำ นกหัวขวานใหญ่สีดำ เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน พบรวม 59 ชนิด เช่น เต่าจักร เต่าดำ ตุ๊กแกบินหางเฟิน เห่าช้าง งูจงอาง เป็นต้น
สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก พบรวม 28 ชนิด เช่น อึ่งกรายหัวแหลม จงโคร่ง คางคกแคระ เป็นต้น
ปลา เนื่องจากอุทยานแห่งชาติทะเลบันมีบึงขนาดใหญ่จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลามากมายหลายชนิด เช่น ปลาเลียหินหรือปลาติดหิน ปลากระทิช ปลาไส้ขม เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
ทางอุทยานฯ มีบ้านพัก ร้านอาหารและสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
ถ้ำโตนดิน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1.5 กิโลเมตร ความลึกของถ้ำประมาณ 700 เมตร ภายในพบหินงอกหินย้อย มีลำธารไหลผ่าน ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และยังมีเครื่องมือขุดแร่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลงเหลืออยู่
ถ้ำลอดปูยู เป็นถ้ำลอดคล้ายถ้ำลอดของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติบริเวณเขากายัง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย สองฝั่งลำคลองเป็นป่าโกงกาง การเดินทางไปถ้ำลอดปูยูต้องลงเรือที่ท่าเรือตำมะลัง ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสตูล ประมาณ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 58 กิโลเมตร
ทุ่งหญ้าวังประ เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ระหว่างภูเขาทางทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น สมเสร็จ เม่น กระจง ไก่ป่า ฯลฯ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าถนนลูกรังไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
น้ำตกยาโรย ต้นน้ำเกิดจากป่าหัวกะหมิง เทือกเขาจี มีน้ำตก 9 ชั้นอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 6.7 กิโลเมตร
บึงทะเลบัน เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่กลางหุบเขาขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม รอบบึงมีต้นบากงขึ้นอยู่หนาแน่นและเป็นที่อยู่ของกบว๊าก บางครั้งจะเห็นสมเสร็จลงมากินน้ำในบึง
การเดินทาง
รถยนต์ โดยใช้เส้นทางหลวงสายเพชรเกษมจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 (สายเอเชีย) ถึง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา แยกเข้าถนนหมายเลข 406 เข้าสู่ อ.ควนโดน ถึงทางแยกเข้า ต.วังประจัน ตามถนนสายชายแดนไทย-มาเลเซีย หมายเลข 4184
เครื่องบิน จากท่าอากาศยานดอนเมือง-หาดใหญ่ จากนั้นต่อรถมายัง จ.สตูล ด้วย รถตู้หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยกควนสตอ รถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เที่ยวแรก จากหาดใหญ่ เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. ราคา 60 บาท/คน และรถประจำทาง หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยก ควนสตอ รถออกทุกๆ 15 นาที จากหาดใหญ่ เที่ยวแรก 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ราคารถเมล์ ปรับอากาศ 38 บาท/คน ธรรมดา 35 บาท/คน
รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพมาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่ง ชาติเช่นเดียวกับข้อ 1
รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถประจำทางปรับอากาศเดินทางไปจังหวัดสตูลทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง ระยะทาง 973 กิโลเมตร
สถาที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
หมู่ 4 ถนน สมันกรัฐบุรินทร์ ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล 91160


เกาะหินงาม
• ที่ตั้ง : อยู่ห่างจากเกาะอาดังประมาณ 2.5 กิโลเมตร
• การเดินทาง : เหมาเรือหางยาวจากเกาะหลีเป๊ะไป ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที ก่อนถึงเกาะหินงามจะผ่านเกาะจาบัง ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ
• จุดเด่น : แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆแต่เกาะหินงามก็มีความพิเศษที่หาเกาะใดเหมือน นั่นคือเป็นเกาะที่ไร้หาดทราย เป็นหาดหินทั้งเกาะ บริเวณด้านหน้าหาดนั้นมีหินก้อนกลมมนขนาดเท่าๆกัน ยามน้ำทะเลซัดขึ้นมา หินเหล่านี้จะเปียกชุ่มส่องประกายมันวาวสะท้อนไปทั่วหาด หินเหล่านี้มีสีเทาดำ ยื่นเป็นปลายแหลมตัดออกไปในน้ำทะเลสีมรกต ยามน้ำลดแนวหาดหินจะปรากฏกว้างยิ่งขึ้น กลางเกาะเป็นป่าขนาดย่อมๆที่สมบุรณ์เขียวสด และมีหินขนาดใหญ่หลายก้อนระเกะระกะอยู่กลางเกาะ โปรแกรมเที่ยวเกาะหินงามนี้เป็นโปรแกรมสำคัญที่พลาดไม่ได้ เมื่อมาเที่ยวหมู่เกาะอาดัง-ราวี อาจจะพลาดเกาะอื่นๆได้แต่ต้องไม่ใช่เกาะหินงามแห่งนี้
• หากนั่งเรือมาจากเกาะหลีเป๊ะ ก่อนถึงเกาะหินงามจะเป็นเกาะจาบัง เกาะเล็กๆเกาะนี้เป็นปหล่งดำน้ำที่ยอดเยี่ยมแห่ง ตัวเกาะไม่น่าสนใจเพราะเป็นเกาะหิน แต่สำหรับโลกใต้ทะเล เพียงไม่กี่เมตรรอบเกาะจะได้ชมฝูงปลาหลากสีหลายพันธุ์ และปะการังอ่อนหลายชนิดให้ชม


อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์และความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ ๔๐ กิโลเมตร และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา ๒๒ กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ ๑,๔๙๐ ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน ๕๑ เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่ ๗ เกาะ ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี แบ่งออกเป็น ๒ หมู่เกาะใหญ่ คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๑๗ และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายน
ลักษณะภูมิประเทศ
• อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง ชายฝั่งทางด้านตะวันออก ส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชันสลับกับอ่าวและหาดทรายโคลน ทางด้านตะวันตกจะมีหน้าผาเฉพาะทางด้านเหนือบริเวณแหลมตันหยงมะระ(ด้านหัวเกาะ) มีที่ราบอยู่เป็นหย่อมๆ ทางเทือกเขาหลังอ่าว อ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวาว เป็นต้น อ่าวต่างๆ เหล่านี้มีคลองและลำธารไหลผ่านออกสู่ทะเล มีที่ราบเล็กน้อย เกาะอาดัง-ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงครอบคลุมเนื้อที่เกือบทั้งหมดของเกาะ มีที่ราบเฉพาะบริเวณเหนือชายหาดต่างๆ
ลักษณะภูมิอากาศ
• ข้อมูลภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในรอบปีที่ผ่านมา (มกราคม 2543-พฤศจิกายน 2543) พบว่า ฝนตกมากที่สุดในเดือน เมษายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 11.66 มิลลิเมตร รองลงมาเดือน มิถุนายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10.59 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือน มกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 0.01 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34.5 องศาเซลเซียสในเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10.5 ในเดือนกันยายน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณ สามารถจำแนกออกได้ เป็น 6 ประเภท ได้แก่
• ป่าดงดิบ พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น หงอกค่าง ยางปาย ยางเสียน เป็นต้น
• ป่าผสมผลัดใบ/ป่าเขาหินปูน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น รักขาว รักป่า สะแกแสง เป็นต้น
• ป่าชายหาด พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น เสม็ดชุน เสม็ดขาว สนทะเล รักทะเล เป็นต้น
• ป่าพรุ พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น จิกน้ำ ตีนเป็ดเล็ก กะลิง เป็นต้น
• ป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น เหงือกปลาหมอดอกม่วง ตีนเป็ดทะเล แคทะเลหรือแคป่า เป็นต้น
• ป่าแคระ/ไม้พุ่ม พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ปรงเขา ส้านใหญ่ ไกรทอง เป็นต้น
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
• สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย หมูป่า กระจงควาย กระจงเล็ก เป็นต้น
• นก ประกอบด้วย นกโจรสลัด นกกระสาใหญ่ นกยางเขียว เป็นต้น
• สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย ตะกวด เหี้ย งูเหลือม เป็นต้น
• สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วย กบภูเขา หรือเขียดแลว กบหนอง เป็นต้น
• แมลง ประกอบด้วย ผีเสื้อมรกตธรรมดา ผีเสื้อลายขีดเงินลายขอ ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง เป็นต้น
• สัตว์น้ำ ประกอบด้วย ตะพาบน้ำ ปูน้ำตก กุ้งก้ามกราม เป็นต้น
ทรัพยากรทางทะเล
• สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย พะยูน โลมาหัวขวดธรรมดา โลมาหัวขวดมลายู เป็นต้น
• สัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เป็นต้น
• ปลา ประกอบด้วย ปลากระเบน ปลาการ์ตูน ปลาเหลืองปล้อง เป็นต้น
• หอย ประกอบด้วย หอยเป๋าอื้อ หอยฝาชี หอยมงกุฎ เป็นต้น
• หมึก ประกอบด้วย หมึกกระดอง หมึกยักษ์ หมึกกล้วย เป็นต้น
• ปู ประกอบด้วย ปูหิน ปูเสฉวน ปูม้า ปูลม เป็นต้น
• กุ้ง ประกอบด้วย กั้ง กุ้งมังกร กุ้งชีแฮ้ เป็นต้น
• ปะการัง ประกอบด้วย ปะการังลายกลีบดอกไม้ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
• ทางอุทยานฯจัดบ้านพัก ร้านอาหาร สถานที่กางเต้นท์ไว้อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยงที่ เกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง
แหล่งท่องเที่ยว
• ถ้ำจระเข้ อยู่ปลายคลองพันเตมะละกา ใช้เรือพาดหางไปจอดท่าเทียบเรือหน้าถ้ำ ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปตามสะพานไม้ที่ทอดผ่านป่าชายเลนจนถึงถ้ำจระเข้ เพื่อเข้าไปชมความงามของหินงอกหินย้อย และเสาหิน
• น้ำตกโละโป๊ะ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณอ่าวสน ซึ่งห่างจากของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.4 (อ่าวสน) 5 กิโลเมตรโดยประมาณ ห่างจากที่ทำการ 13 กิโลเมตร
• น้ำตกลูดู เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณอ่าวสน ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.4 (อ่าวสน) 3 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 11 กิโลเมตร
• ผาชะโด ตั้งอยู่ในเกาะอาดัง อดีตเป็นจุดสังเกตการณ์ของกลุ่มโจรสลัดเพื่อเข้าโจมตีเรือสินค้า ชมทิวทัศน์สวยงามของท้องทะเล จะเห็นทิวสนและหาดทรายสีขาวของ เกาะอาดัง ทั้งยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ ความงามของเกาะหลีแป๊ะ ใช้ระยะเวลาในการเดินประมาณ 30 นาที อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 40 กิโลเมตร
• ผาโต๊ะบู สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 60 เมตร อยู่ด้านหลังอาคารที่ทำการ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ใช้เวลาเดินขึ้นประมาณ 20 นาที เป็นจุดชมวิวที่มีทัศวิสัยกว้างไกล มีศาลา สำหรับพักผ่อน
• เกาะจาบัง อยู่ระหว่างเกาะอาดังและเกาะราวี รอบๆเกาะถูกปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีชมพู สีม่วง สีแดง ไล่น้ำหนักอ่อนแก่อย่างสวยงาม มีฟองน้ำครก แส้ทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวขนนก รวมทั้งปลาสวยงามในแนวปะการังที่ตื่นตา ซึ่งเหมาะสำหรับการดำน้ำลึกและการดำน้ำตื้น
• เกาะดง เป็นเกาะสุดท้ายในทะเลลึก ความโดดเด่นของเกาะนี้คือ มีหินซ้อนตั้งเรียงกันอยู่อย่างงดงาม แปลกตา และยังมีจุดดำน้ำลึกและดำน้ำตื้นให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงามใต้ท้องทะเลรอบเกาะ ได้อีกด้วย
• เกาะไข่ เกาะเล็กๆที่มีหาดทรายขาวละเอียด งดงาม ห่างจากเกาะตะรุเตา 25 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง เกาะไข่มีสิ่งที่โดดเด่นอันถือเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล นั่นคือ ซุ้มประตูหินธรรมชาติ ที่ทอดโค้งจากผืนทรายจรดน้ำ นอกจากนี้เกาะไข่ยังเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลอีกด้วย
• เกาะยาง อยู่ถัดจากเกาะหินงามขึ้นมาทางเหนือ บริเวณรอบๆ เกาะถูกปกคลุมไปด้วยปะการังแข็ง เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังผักกาด ปะการังรูปโต๊ะ ฯลฯ จึงเหมาะสำหรับการดำน้ำตื้น หาดทรายสวยงาม น้ำใส มีปลาสวยงามในแนวปะการัง
• เกาะราวี มีหาดทรายขาว น้ำใส เงียบสงบ เหมาะแก่การกางเต็นท์พักผ่อน เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 6 (หาดทรายขาว) และหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 7 (ตะโละปะเหลียน)
• เกาะหลีเป๊ะ อยู่ห่างจากอาดังไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเล มีที่พักของเอกชน ร้านค้าและร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ห่างจากที่ทำการ 47 กิโลเมตร
• เกาะหินงาม เป็นเกาะเล็กๆ ที่เป็นหาดหิน เต็มไปด้วยก้อนหินสีดำ กลมเกลี้ยง เนื่องจากถูกขัดสีด้วยแรงคลื่น งามสดสวย เมื่อถูกน้ำประกายวาววับ หินทุกก้อนที่หาดแห่งนี้มีคำสาปเจ้าพ่อตะรุเตา ห้ามนำ เคลื่อนย้ายออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ
• เกาะอาดัง ในอดีตเป็นที่ซ่องสุมโจรสลัด ปล้นสะดมเรือ มีหาดทรายขาวละเอียด สวยงาม และมีแนวปะการังอยู่รอบๆเกาะ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้น เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 5 (แหลมสน) อยู่ห่างจากที่ทำการ 40 กิโลเมตร
• อ่าวจาก เป็นอ่าวเล็กๆ ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับเดินเล่น พักผ่อน
• อ่าวตะโละวาว อยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะตะรุเตา เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพหรือ ทัณฑสถาน นักโทษเด็ดขาด นักโทษกักกัน ระหว่าง พ.ศ. 2480 –2490 คงพบเห็นแต่มูลดิน ซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้าง และสุสาน 700 ศพ เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.1(ตะโละวาว) อยู่ห่างจากที่ทำการ 12 กิโลเมตร
• อ่าวตะโละอุดัง อยู่ด้านทิศใต้ของเกาะตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ประมาณ 8 กิโลเมตร อดีตเป็นที่กักขังนักโทษการเมือง กบฏบวรเดชและ กบฏนายสิบ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 2(อ่าวตะโละอุดัง) อยู่ห่างจากที่ทำการ 23 กิโลเมตร



• อ่าวพันเตมะละกา เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา หาดทรายขาวสะอาด เหมาะแก่การเดินชายหาด เล่นน้ำทะเลและพักผ่อน ค้างแรม กางเต็นท์
• อ่าวเมาะและ มีหาดทรายขาวสะอาดและดงมะพร้าวสวยงาม
• อ่าวฤาษี เป็นอ่าวเล็กๆ มีถ้ำไว้หลบฝน ปะการังแข็งเหมาะแก่การดำน้ำตื้น
• อ่าวมะขาม เป็นที่จอดพักเรือประมงขนาดเล็ก มีน้ำจืดสนิท ป่าไม้สมบูรณ์ มีสัตว์ป่า และนกชุม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.3 (อ่าวมะขาม)
• อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 8 กิโลเมตร หาดทรายยาวประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีหาดหิน น้ำตกและธารน้ำใส เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตาที่ ตต. 4 (อ่าวสน) มีจุดกางเต็นท์ บริการอาหาร ห้องน้ำ-ห้องสุขา
การเดินทาง
• เครื่องบิน จากกรุงเทพฯถึงหาดใหญ่ เดินทางโดยเครื่องบิน เดินทางต่อจากหาดใหญ่ถึงท่าเทียบเรือปากบารา เดินทางโดยรถแท็กซี่ หาดใหญ่-ละงู นั่งรถสองแถวจากอำเภอละงูไปงท่าเทียบเรือปากบารา หรือรถตู้ปรับอากาศ หาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถโดยสารประจำทางหาดใหญ่ปากบารา
• เรือ จากท่าเรือปากบารา อำเภอละงู ถึงเกาะตะรูเตา และเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีเรือโดยสารประจำทาง
• ปากบารา-ตะรูเตา เรืออกจากปากบารา 10.30 น. และ 15.00 น.
• ตะรูเตา-อาดัง เรือออกจากตะรุเตา 13.00 น.
• อาดัง-ตะรุเตา เรือออกจากอาดังเวลา 09.00 น.
• ตะรุเตา-ปากบารา เรือออกจากตะรุเตาเวลา 09.00 น. และ 13.00 น.
• เรือ จากท่าเรือตำมะลัง ถึงเกาะตะรูเตา และเกาะอาดังถึงหลีเป๊ะ มีเรือโดยสารประจำทาง(เรือเฟอร์รี่)
• ตำมะลัง- ตะรุเตา เรือออกจากตำมะลังเวลา 11.00 น.
• ตะรุเตา-อาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากตะรูเตาเวลา 12.00 น.
• อาดัง-หลีเป๊ะ-ตะรุเตา เรืออกจากอาดังเวลา 18.00 น.
• ตะรุเตา-ตำมะลัง เรือออกจากตะรุเตาเวลา 16.00 น.
• รถไฟ จากกรุงเทพฯถึงหาดใหญ่ เดินทางโดยรถไฟเดินทางต่อจากหาดใหญ่ถึงท่าเทียบเรือปากบารา เดินทางโดยรถแท็กซี่ หาดใหญ่-ละงู นั่งรถสองแถวจากอำเภอละงูไปงท่าเทียบเรือปากบารา หรือรถตู้ปรับอากาศ หาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถโดยสารประจำทางหาดใหญ่ปากบารา
• รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯถึงอำเภอละงู เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศและรถโยสารประจำทางสาย ตรัง-สตูล ถึงอำเภอละงูขึ้นรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือ ปากบารา
• รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ ถึงสตูล เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสารประจำทางเดินทางต่อจากสตูลไปท่าเรือตำมะลังโดยรถสองแถว
• รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯถึงหาดใหญ่ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง เดินทางต่อจากหาดใหญ่ถึงท่าเทียบเรือปากบารา เดินทางโดยรถแท็กซี่ หาดใหญ่-ละงู นั่งรถสองแถวจากอำเภอละงูไปงท่าเทียบเรือปากบารา หรือรถตู้ปรับอากาศ หาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถโดยสารประจำทางหาดใหญ่ปากบารา
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล 91110

บทความที่ได้รับความนิยม