Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


ภาพเขียนโบราณ ลำธารมรกต อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ครอบคลุมพื้นที่ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบที่มีธารน้ำไหลลอดภูเขา เหมาะสำหรับการพักผ่อน เล่นน้ำ พบแหล่งศิลปะ ถ้ำจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนสีโบราณที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม ธารโบกขรณี เดิมชื่อ "ธารอโศก" ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ 37.5 ไร่ เป็นป่าดงดิบอยู่ในระหว่างหุบเขา เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีธารน้ำไหลลอดภูเขาผ่านบริเวณนี้แล้วไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลแหลมสัก ต้นน้ำเกิดจากเขาถ้ำน้ำผุด เขาถ้ำเพชร ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กิโลเมตร แล้วไหลมาตามลำคลอง เรียกว่า "คลองอ่าวลึก" ในปี พ.ศ. 2496 นายวิเวก จันทโรจน์วงค์ ข้าหลวงประจำจังหวัดกระบี่ ได้แวะมาเยี่ยมชมธารอโศกแล้วเห็นว่า สถานที่นี้มีความสวยงามควรที่จะได้สงวนไว้เป็นพื้นที่ของทางราชการ เพื่อจะได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ไม่ให้ราษฎรเข้าบุกรุกถือครอง จึงได้สงวนไว้เป็นของทางราชการตั้งแต่นั้นมา ในปลายปี 2496 พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจราชการที่อำเภออ่าวลึก ได้แวะพักที่ธารอโศกและพอใจในทิวทัศน์แห่งนี้มาก เห็นว่าชื่อที่เคยเรียกไว้เดิมยังไม่เหมาะสมจึงตั้งชื่อใหม่ว่า "ธารโบกขรณี" ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2498 ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ได้เสนอกรมป่าไม้ขอให้จัดตั้งธารโบกขรณีเป็นสวนรุกขชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้รับในหลักการและดำเนินการตั้งแต่นั้นมา โดยอยู่ในความดูแลของกองบำรุง และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากจังหวัดพังงามาทรงประทับ ณ สวนรุกขชาติธารโบกขรณี ทั้งสองพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยที่หินปากถ้ำน้ำลอดด้านขวามือ และได้ทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ในสวนรุกขชาติแห่งนี้ด้วย จังหวัดกระบี่ ได้มีหนังสือที่ กษ 0009/11446 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2527 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นของ นายประพันธ์ อินทรมณี ผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดกระบี่ และนายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 และหนังสืออำเภออ่าวลึก ที่ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ โดยได้เสนอความเห็นว่า สวนรุกขชาติธารโบกขรณีประกอบด้วยทิวทัศน์สวยงามในบริเวณพื้นที่ป่าและภูเขาใกล้เคียงกับสวนรุกขชาติ ยังมีความสวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าแหล่งต้นน้ำลำธาร เห็นสมควรอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1516/2527 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติม ผลการสำรวจรายงานตามหนังสือลงวันที่ 5 ธันวาคม 2527 ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง การคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 336/2528 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2528 ให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่สวนรุกขชาติธารโบกขรณีและพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดกระบี่เป็นอุทยานแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี" ซึ่งอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้ทำการสำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติม โดยมีหนังสือที่ กษ 0713(ธน)/51 ลงวันที่ 10 กันยายน 2529 และที่ กษ 0713(ธน)/15 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว และสมควรที่จะอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติตลอดไป ผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2531 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2531 เห็นชอบในหลักการที่จะให้กำหนดพื้นที่ธารโบกขรณีและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้มีหนังสือที่ กษ 0718(ธน)/27 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2531 เสนอให้ผนวกพื้นที่หมู่เกาะเหลาบิเละ (เกาะห้อง) เข้ากับพื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีด้วย อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่าปากลาวและป่าคลองบากัน ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และบริเวณหมู่เกาะเหลาบิเละ ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลแหลมสัก ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก และตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ 104 ตารางกิโลเมตร ซึ่งได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 86 ของประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม