Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

ส่วนผสมต้มข่าไก่


1. เนื้ออกไก่หั่นชิ้นพอคำ
2. ใบมะกรูด 5-7ใบ
3. เห็ดนางฟ้าหรือเห็ดฟาง 1/2 ถ้วย
4. ตะไคร้ล้างสะอาด ทำการทุบหั่นเฉียง 1/2 ต้น
5. ข่าอ่อน ทำการปอกเปลือกนำไปหั่นเป็นแว่นพอคำ 30 แว่น
6. มะเขือเทศ 3 ลูก หั่นเป็นแว่นๆ
7. หอมแดง
8. พริกขี้หนูสวนให้ทุบแตก 4 เม็ด
9. หางกะทิ 2 ถ้วย
10. หัวกะทิ 1 ถ้วย
11. เกลือป่น 1 ช้อนชา
12. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
13. น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
14. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
15. ผักชี สำหรับโรยหน้า

วิธีทำ
  1. หั่นเนื้อไก่และผักต่างๆตามสูตรเตรียมไว้ก่อนให้พร้อม
  2. ตั้งกระทะหรือหม้อ ใส่หางกะทิลงไปและใส่เกลือเล็กน้อย ใช้ไฟแรงปานกลาง ต้องคอยคนเป็นระยะๆ ไม่ให้กระทิมันแตกมันคนจนมันเริ่มเดือด
  3. แล้วจึงใส่ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูดลงไป 
  4. ใส่เนื้อไก่ลงไป ใช้ทัพพีกดไก่ให้มิดแต่ไม่ต้องคน รอให้เดือดอีกครั้ง
  5. ใส่หัวกะทิ เห็ด และมะเขือเทศลงไป คนให้เข้ากัน รอสักพักจนน้ำแกงเดือด
  6. จากนั้นใส่พริกขี้หนูทุบลงไป  คนให้เข้ากัน
  7. ปรุงรสเลย ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวก็ได้ และน้ำตาลทราย คนให้เข้ากัน…ชิมรสให้ออกเปรี้ยว เค็ม และหวาน กลมกล่อมจากกะทิ
  8. เสร็จแล้วตักใส่ชาม 

เครื่องปรุงและส่วนผสม



  1. ข้าวสวย 2 ถ้วยตวง
  2. เนื้อปูนึ่งแกะเป็นชิ้น 1 ถ้วยตวง
  3. หอมใหญ่หั่นแว่น1/2 ลูก 
  4. ต้นหอมซอย 2 ต้น
  5. แครอทหั่น
  6. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  7. กระเทียมสับ 1/2 ช้อนโต๊ะ
  8. ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
  9. ซ๊อสปรุงรส 1 ช้อนชา
  10. น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
  11. พริกไทยป่น ½ ช้อนชา
  12. แตงกวาหั่นเป็นชิ้น, มะนาวหั่น, ต้นหอม 3 ต้น

วิธีทำ
  1. ตั้งกระทะไฟแรงปานกลาง ใส่น้ำมันถั่วเหลืองเล็กน้อย และผสมเนยเพื่อให้หอมพอเนยละลาย ใส่กระเทียมลงไปผัดจนเหลืองหอม 
  2. ใส่ไข่ไก่ที่เราตีให้เข้ากันในถ้วยไว้แล้วลงไปใช้ตะหลิวยีไข่ จากนั้นใส่ข้าวสวยลงไปผัดให้เข้ากัน
  3. ใส่หัวหอมใหญ่, เนื้อปู แครอทหั่น และต้นหอมซอย ลงไปผัดคลุกเคล้ากัน ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว, ซ๊อสปรุงรสและน้ำตาล ผัดให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากัน จึงปิดไฟ
  4. ตักใส่จาน เหยาะพริกไทยโรยหน้านิดหน่อย เสริฟทันทีขณะร้อนพร้อมแตงกวา, ต้นหอม, มะนาวและพริกน้ำปลา

  • ใช้หอมใหญ่แทนกระเทียม เพราะหอมใหญ่จะทำให้ข้าวผัดนั้นหอมกว่าการใช้กระเทียม
  • การทำข้าวผัดปูไม่ควรปรุงรสด้วยน้ำปลา หรือน้ำมันหอย เพราะนั่นจะทำให้ข้าวผัดปูเสียรสชาติ แถมสีของข้าวผัดก็จะคล้ำ ไม่สวยด้วยค่ะ ให้ใช้เกลือป่นแทน

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา มีพื้นที่อยู่ในป่าตำบลบ้านนา ตำบลเชี่ยวเหลียง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพวน ท้องที่อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 
• ลักษณะภูมิประเทศ
• ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบน้อยมาก พื้นที่ โดยทั่วไปมีความลาดชันตั้งแต่ 26% ขึ้นไป ระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 300 ถึง 500 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ เขาหลังคาตึก ซึ่งมียอดสูงประมาณ 1,395 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นภูเขาที่แบ่งเขตจังหวัดระนองกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกจากกัน เนื่องจากมีเทือกเขาจำนวนมากจึงเป็นแหล่งกำเนิดลำคลองหลายสาย ได้แก่ คลองนาคา คลองบางมัน คลองชาคลี คลองแพรกซ้าย คลองแพรกขวา คลองเชี่ยวเหลียง คลองบางหิน คลองบางบอน และคลองกำพวน ซึ่งคลองเหล่านี้จะมีน้ำไหลตลอดปี ฤดูฝนมีน้ำไหลเชี่ยวมาก แต่เนื่องจากลำคลองกว้างและอยู่ใกล้ทะเลอันดามันจึงทำให้น้ำไหลลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็วไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมได้ง่าย 
• ลักษณะอากาศ
• เนื่องจากอยู่ติดกับฝั่งทะเลอันดามัน จึงได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้เป็นประจำ ทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี ฤดูฝนจะมีฝนตกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายนต่อจากนั้นก็เป็นฤดูแล้ง ซึ่งมีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นส่วนใหญ่ ฤดูหนาวเกือบจะไม่มีเพียงแต่อากาศเย็นลงกว่าปกติเท่านั้น 
• ชนิดป่าและพรรณไม้
• จากสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาจำนวนมาก และมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี จึงทำให้มีสภาพป่าหลายชนิดอยู่ในพื้นที่ ป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าดงดิบชื้น และป่าเบญจพรรณอยู่ทั่วไป นอกนั้นก็มีทุ่งหญ้าเป็นหย่อม ๆ พรรณไม้ที่พบจำนวนมาก ได้แก่ ยาง ยูง ตะเคียน หลุมพอ ตะแบก กระบาก จำปาป่า เสียดช่อ ตาเสือ อินทนิล ก่อ ส่วนไม้พื้นล่างมีพวก ไผ่ ปาล์ม เต่าร้าง หมากป่า ระกำ หวาย เฟิร์น และเถาวัลย์ต่าง ๆ พรรณไม้ที่เป็นอาหารของสัตว์ป่ามี เหรียง สะตอ มะขามป้อม มะกอก ไทร คอแลน มะไฟ ฯลฯ 
• สัตว์ป่า
• พื้นที่ป่าคลองนาคาเป็นป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าอย่างดี จึงยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น เลียงผา ช้างป่า สมเสร็จ กระทิง วัวแดง หมี เสือโคร่ง เสือดำ เสือดาว กวาง อีเก้ง กระจง ค่าง ชะนี ลิง อีเห็น ไก่ป่า และนกชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น นกกางเขนดง นกเงือก นกกวัก นกปรอด นกหว้า นกกะปูด นกขุนทอง นกเขียวคราม นกเปล้า นกกระทาดง นกตบยุง เต่าหก ฯลฯ 
• จุดเด่นที่น่าสนใจ 
• เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา มีป่าไม้หลายชนิด ภูเขาสูงชัน และลำธารที่มี น้ำไหลตลอดปี ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามมีน้ำตกหลายแห่ง แต่อยู่ห่างจากทางคมนาคมมาก พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่บางชนิดหายากมาก และผีเสื้อบางชนิดพบเฉพาะในป่าคลองนาคาเท่านั้น 

งานประเพณี• งานประจำปีจังหวัดชลบุรี เป็นงานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรีได้ร่วมกันจัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยรวมงานนมัสการพระพุทธสิหิงค์ งานสงกรานต์ และงานกาชาดไว้ด้วยกัน โดยถือเอาประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันจัดงานกิจกรรมของงานประกอบไปด้วย ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงโขน ของกรมศิลปากร และการแสดงทางวัฒนธรรม นิทรรศการ และการออกร้าน ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ตลอดจนปลูกฝังคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมไว้สืบไป• งานประเพณีวันไหล คือวันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเลในช่วงวันสงกรานต์ ของชาวจังหวัดชลบุรี มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำ ก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ และกีฬาพื้นบ้าน ในจังหวัดชลบุรี พื้นที่ที่จัดงานประเพณีวันไหล ดังนี้
งานประเพณีวันไหล พัทยา-นาเกลือและงานกองข้าวนาเกลือ กำหนดจัดงานในวันที่ ๑๘-๑๙-๒๐ เดือนเมษายน ของทุกปี ณ บริเวณสวนสาธารณลานโพธิ์ นาเกลือ และวัดชัยมงคล พัทยาใต้ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัว ขบวนแห่วันไหล การสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศ 
• งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและงานประเพณีกองข้าว เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี ปัจจุบันมีที่อำเภอศรีราชาที่ยังคงรักษาประเพณีนี้อยู่ โดยจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการบวงสรวงเทพเทวดาที่ปกป้องคุ้มครองมาตลอดปี กิจกรรมของงานประกอบด้วยการจัดขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่แต่งกายด้วยชุดไทย เข้าร่วมขบวน พิธีบวงสรวง และเซ่นสังเวยผี การสาธิตประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิต และจำหน่ายขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง • งานประเพณีก่อพระทรายวันไหล บางแสน เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุขได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมเรียกว่า “งานทำบุญวันไหล” คือ การที่ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ได้มาทำบุญร่วมกันเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ของไทย จัดทุกวันที่ ๑๖-๑๗ เมษายน ของทุกปี โดยการนิมนต์พระทุกวัดที่อยู่ในเขตตำบลแสนสุขมาประกอบพิธีสงฆ์ มีการทำบุญ ตักบาตร สรงน้ำ หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ การละเล่น และกีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น • งานบุญกลางบ้านและเครื่องจักสานพนัสนิคม เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวอำเภอพนัสนิคม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของสัปดาห์แรกเดือนพฤษภาคม หรือเดือน ๖ ของไทย • งานประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรี เริ่มต้นจากชาวบ้านในท้องที่ต่าง ๆ นำเวียนเทียมควายบรรทุกสินค้ามาจอดพักแถบบ้านท่าเกวียนในตัวเมืองชลบุรี ระหว่างนั้นได้นำควายมาวิ่งแข่งกันเพื่อความสนุกสนานจนกลายเป็นประเพณี โดยจัดขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปี นอกจากอำเภอเมืองแล้ว ยังมีการจัดที่อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในวันงานชาวไร่ ชาวนาจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงาม และนำควายมาชุมนุมกันที่บริเวณสนามหน้าเมืองชลบุรี มีการแข่งขันวิ่งควาย 

จังหวัดชลบุรี เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เมืองชล” เป็นจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเลตะวันออกที่มีชื่อเสียงมาช้านาน เป็นแหล่งเกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา รวมทั้งเป็นที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และแหล่งอุตสาหกรรมโรงงานที่สำคัญ
• ตามประวัติปรากฏหลักฐานว่า เมืองชลบุรีมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเป็นเมืองเล็ก ๆ หลายเมือง ได้แก่ เมืองบางทราย เมืองบางปลาสร้อย และเมืองบางพระ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รวบรวมเมืองดังกล่าวเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดชลบุรี
• เมืองชลบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๔,๓๖๓ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ และ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอหนองใหญ่ อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอพานทอง อำเภอบ่อทอง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอเกาะสีชัง และกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ สำหรับ พัทยา ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับนานาชาติ และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการบริหารปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ เรียกว่า เมืองพัทยา โดยแยกออกจากการปกครองของอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดระยอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย

บทความที่ได้รับความนิยม