Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

เกาะเกร็ด" ความงดงาม ความสวยงาม กลางแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งอารยธรรมอันทรงคุณค่าที่น่าค้นหา ชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งชเพิ่มรูปภาพาวไทยและชาวต่างประเทศแห่แหนเข้ามา ณ ที่แห่งนี้ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีแหล่งอารยธรรมของชาวมอญในพื้นที่ รวมถึงความอร่อยของอาหารที่หลากหลาย จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ผู้คนต่างพากันมาที่แห่งนี้
ประวัติเกาะเกร็ดบ้านเกร็ดน้อยน้ำอ้อมผ่านในย่านเกร็ดขุดคลองเสร็จเกิดเกาะเหมาะเหลือหลายชื่อเกาะเกร็ดเสร็จสมัยอยุธยาปลายพระเจ้าท้ายสระโปรดเกล้าฯกรุงธนบุรีคุมคนหมื่นเศษขุดคลองเดือนสามแล้วเสร็จตามความมุ่งหมายปลายเดือนสี่จุลศักราช ๑๐๘๔ จัตวาศกตกพอดีเทียบเป็นปี ๒๒๖๕ พุทธศักราชไทยกว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ความยาวบอก ๓๙ เส้น เป็นข้อไขคลองลัดเกร็ดจึงมีชื่อระบือไกล เดี๋ยวนี้ใหญ่ลึกกว้างทางสัญจรเกาะเกร็ดมีเนื้อที่ประมาณ 4500 ไร่ 4800 ตารางกิโลเมตร มี 1 ตำบล 7 หมู่บ้าน 5 วัด พลเมืองประมาณ 6085 คนเกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางลำน้ำเจ้าพระยา มีฐานะเป็นตำบล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้านเกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยา ตรงที่มีแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2265 เรียกคลองนี้ว่า คลองลัดเกร็ดน้อย ( คลองลัดเกร็ดใหญ่ อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก ) ขนาดกว้าง 6 วา ยาว 39 เส้นเศษ ลึก 6 ศอก ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกความแรงของกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังจึงกลายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด และกัดเซาะจนมีสภาพเป็นเกาะเช่นทุกวันนี้เมื่อลำคลองกว้างขึ้น สภาพความเป็นเกาะเด่นชัดขึ้น จึงเกิดเกาะ แต่ชื่อที่เรียกกันนั้นชั้นแรกนั้นเรียกว่า เกาะศาลากุน ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในโฉนดที่ดินที่ออกในสมัยรัชกาลที่ 5 เกาะศาลากุนนี้เรียกตามชื่อวัดศาลากุน สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากผู้สร้างถวายชื่อ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ( กุน ) ที่สมุหนายกรับราชการ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว เกาะศาลากุนจึงได้มีฐานะเป็นตำบลและเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงชื่อว่า เกาะเกร็ด จนถึงปัจจุบันเกาะเกร็ดยังมีสัญลักษณะที่เป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้มาเยือนจะต้องหยุดถ่ายรูปกับสิ่งๆนี้ นั่นก็คือ พระเจดีย์มุเตา (องค์เดิม) เป็นเจดีย์ทรงรามัญ ตั้งอยู่ด้านเหนือของวัดซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามารุ่นแรก ในสมัยกรุงธนบุรี เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ มีลักษณะเอียงแทบจะตกลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นลักษณะที่เห็นได้ชัด

ทะเลแหวก ลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำดุจทะเลแหวกออก จนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสามเกาะอย่างอัศจรรย์ ทะเลแหวกเป็นกลุ่มของเกาะ 3 เกาะ ที่มีหาดทรายเชื่อมติดกันได้แก่ เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ท่านสามารถเดินข้ามจากเกาะไก่ไปยังเกาะทับได้ในยามน้ำลง หากจะให้ดีก็ควรจะเป็นในช่วงน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือ มาตกปลา มากางเต้นท์ นอนนับดาวในคืนเดือนแรม หรือชมแสงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ ค้างคืนบนเกาะได้ แต่ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้นอนค้างแรมบนเกาะแล้ว ทะเลแหวกถือว่าเป็นไฮไลท์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของกระบี่เลยทีเดียว มาเที่ยวทะเลกระบี่ทั้งที ต้องมาเที่ยวทะเลแหวกให้ได้สักหนึ่งหนเกาะทัพ เป็นเกาะเล็กๆ มีหาดทรายเฉพาะด้านใต้ ยามน้ำลด หาดทรายทางด้านใต้นี้ จะเชื่อมต่อกับแนวสันทรายของเกาะปอดะนอก กลายเป็นสะพานธรรมชาติยาวประมาณ 200 เมตร แม้จะเป็นหาดทรายเล็กๆ แต่เม็ดทรายละเอียดและขาวมาก น้ำทะเลใสเกาะหม้อ เป็นโขดหิน ไม่มีชายหาดให้ขึ้นไปบนเกาะ น้ำทะเลใสสะอาด เกาะหม้อ อยู่ห่างจากเกาะทัพเพียง 70 เมตร หากน้ำลดจะมีสันทรายเชื่อมต่อกัน สามารถเดินจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะหนึ่งได้
เกาะปอดะนอก หรือ เกาะไก่ หรือเกาะด้ามขวาน เกาะรูปร่างประหลาด ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อเกาะอันหลากหลาย เนื่องจากชะง่อนผาที่ยื่นออกมาทางด้านใต้ ทำให้ผู้พบเห็นเกิดจินตนาการต่างๆกันไป บ้างก็เห็นเกาะคล้ายกับส่วนหัวของไก่ บ้างก็เห็นเป็นด้ามขวานที่วางตั้งอยู่ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวกลับมองเห็นเป็นป็อบอาย ตัวการ์ตูนดังในสมัยยังแรกรุ่น หรือบางท่านอาจจะยังอยู่ในวัยอ่อนเดียงสา กำลังนอนคาบไปป์อย่างมีความสุข ท่านสามารถดำผิวน้ำชมปะการังน้ำตื้น หรือปะการังแข็งได้ที่เกาะไก่นี้ แต่ความสมบูรณ์ของปะการังก็คงไม่อาจเทียบเท่ากับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆที่ห่างไกลจากผืนแผ่นดินใหญ่ ความประทับใจที่ท่านจะได้พบ ก็คงจะเป็น หาดทรายขาวทอดยาว เคียงคู่ไปกับน้ำทะเลสวยใส กับปลาลายเสือฝูงใหญ่ ที่มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ ที่มักจะมารอคอยต้อนรับ และ พร้อมที่จะเล่นกับผู้มาเยือนอยู่เสมอ


ตรัง หรือเมืองทับเที่ยง เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมืองสิบสองนักษัตรในสมัยก่อน ตรังเป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีนำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมืองตรังมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งน้ำตกและเกาะกลางทะเลอันงดงามเป็นจำนวนมาก
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง จากเชิงเขาบรรทัดลาดต่ำลงมาจนจดฝั่งอันดามัน ลักษณะพื้นที่เป็นควน (เนิน) สูงต่ำกระจายอยู่ทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด
ตรังเป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวเหยียดทางด้านตะวันตก มีเกาะในทะเลอันดามันอยู่ในการปกครองกว่า 46 เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดนครศรีธรรมราชทิศใต้ จดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดพัทลุงทิศตะวันตก จดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย



การปกครอง
แบ่งเป็น 8 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอกิ่งรัษฎา และกิ่งอำเภอหาดสำราญ ตรังมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,917 ตร. กม.


วนอุทยานน้ำตกพ่าน
วนอุทยานน้ำตกพ่าน อยู่ในท้องที่บ้านลำแคลง หมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาบรรทัด แปลงที่ 2 ตอนที่ 1 ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 108 (พ.ศ.2508) มีเนื้อที่ประมาณ 9,219 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2540
ภูมิประเทศ
เป็นเนินเขาหินปูน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของคลองปะเหลียน ประกอบด้วย คลองบาดหลุด คลองบ้านตก คลองเจ้าพระและห้วยแจ็ดแร็ด
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา เก้งหม้อ หมี นิ่ม ชะนี ค่างแว่นถิ่นใต้ และนกชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ หลุมพอ สาวดำ ตะเคียนทอง ตาเสือ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยางหิน ยางนา หวาย ปรง กล้วยไม้ป่า และพืชสมุนไพรต่างๆ
การเดินทาง
สามารถเดินทางจากจังหวัดตรัง ตามถนนทางหลวงลาดยางได้ 4 เส้นทาง คือ 1. เริ่มต้นจาก ตรัง-นาโยง-ถนนคด-ปะเหลียนใน-วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 2. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ลำปลอก-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 3. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ท่าพญา-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 50 กิโลเมตร 4. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ทุ่งยาว-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 68 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่ 3 จากอำเภอย่านตาขาวมีรถยนต์โดยสารประจำหมู่บ้านถึงบ้านปะเหลียนใน โดยสารรถจักยานยนต์รับจ้างไปวนอุทยานน้ำตกพ่าน ระยะทางประมาณ 3 กิโล


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เมื่อเริ่มแรกประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเทือก เขาบรรทัด จังหวัดตรัง สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านกะช่อง หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ต่อมาปี พ.ศ. 2518 จึงได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 จังหวัดตามเทือกเขาบรรทัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 805,000 ไร่ ปี พ.ศ. 2520 ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนครั้งแรกในท้องที่จังหวัดสตูลให้กับนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้เพื่อจัดที่ให้ราษฎรทำกิน คงเหลือพื้นที่ประมาณ 792,000 ไร่ ต่อมาปี พ.ศ. 2524 เกิด อุทกภัยภาคใต้อย่างร้ายแรงทำให้ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ ได้รับความเสียหายบางส่วน ประกอบกับกรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นซ้ำซ้อนในสถานที่เดียวกัน ทำให้ผู้มาติดต่อเกิดการเข้าใจผิด ไม่สามารถแยกแยะหน่วยงานและเขตรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้เป็นอิสระได้ จึงได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดไปอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านนาวงหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เนื่องจากมีความเหมาะสมและคล่องตัวในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยราชการอื่น ปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนออกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อสร้างและขยายถนนสายเพชรเกษม จากจังหวัดพัทลุงถึงจังหวัดตรัง และปี พ.ศ. 2530 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดออกอีก เพื่อให้กองทัพภาคที่ 4 จัดตั้งสถานที่ฝึกการรบพิเศษของกองทัพ ปัจจุบันมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 792,000 ไร่
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาว ประกอบด้วยภูเขาสูงหลายลูกสลับซับซ้อนเรียงกันเป็นแนว ยอดเขาที่สำคัญคือ เขาหลัก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมกันเป็นทะเลสาปสงขลา หล่อเลี้ยงประชากรในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา
ภูมิอากาศ
โดยทั่วไปแล้วจัดว่าอยู่ในประเภทอากาศร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อนเช่นเดียวกับภูมิอากาศของภาคใต้ทั่ว ๆ ไป
สัตว์ป่า
พื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดเป็นป่าดงดิบชื้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุม ทั้ง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีกเช่น นกเงือก นกกาฮัง นกหว้า เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น กวาง เสือ สมเสร็จ กระจง เลียงผา เม่น เก้ง ชะนี ลิง ค่าง บ่าง กระรอก ฯลฯ และสัตว์เลื้อยคลาน
ป่าและพันธุ์ไม้
พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ภูเขามีลักษณะเป็นดินมากกว่าหิน พรรณไม้ที่มีค่าและสำคัญของพื้นที่ ได้แก่ ไม้ตระกูลยาง หลุมพอ ตะเคียนต่าง ๆ ไข่เขียว ขานาง ฯลฯ นอกจากป่าดิบชื้นแล้วยังประกอบด้วยป่าดิบเขาซึ่งมีอยู่ประมาณ 20% ของพื้นที่
สิ่งอำนวยความสะดวก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีบ้านพักรับรองไว้ต้อนรับอยู่ 1 หลัง 2 ห้องนอน ตั้งอยู่ที่ น้ำตกเขาช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หากไม่เพียงพอก็อาศัยบ้านพักรับรองของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง จังหวัดตรังได้ เนื่องจากอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีไฟฟ้า น้ำประปา และวิทยุสื่อสารของทางราชการ ติดต่อได้ทุกวันในเวลาราชการ
การเดินทาง
สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดตั้งอยู่ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) จากจังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตร เดินทางได้สะดวกโดยทางรถยนต์ มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน ทางเครื่องบิน ลงที่สนามบินตรัง จากนั้นโดยสารรถประจำทางจากจังหวัดตรังไปตามถนนเพชรเกษม ตรัง-พัทลุง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถ้าลงที่สนามบินหาดใหญ่ โดยสารรถประจำทางไปตามถนนเพชรเกษมสายหาดใหญ่-ตรัง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 130 กม. ทางรถไฟ ลงที่สถานีรถไฟพัทลุง ต่อรถยนต์โดยสารประจำทางพัทลุง-ตรัง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร

อำเภอเมือง

กนกภัตตาคาร
ถนนวิเศษกุล โทร. 211008-9 อาหารจีน

กาแฟเขาช่อง
ถนนพัทลุง โทร. 218759

โกยาว
ถนนวิเศษกุล โทร. 075-219733 อาหารพื้นเมือง

โกหลั่น
ถนนกันตัง โทร. 222925 หมูย่างตรัง

แกงส้ม
ถนนห้วยยอด โทร. 219383 อาหารปักษ์ใต้

ข้าวต้มพุ้ย
ถนนพระราม 6 โทร. 210127

คอกม้าฮิลล์ไซด์
73/63 ถนนท่ากลาง โทร. 213044, 213033 อาหารไทย

ครัวบางรัก
ถนนกันตัง โทร. 211923 อาหารไทย

ตรอกปลาซีฟู้ด
ถนนพระราม 6 ซอย 2 โทร. 210025 อาหารทะเล

ธรรมนูญ
ถนนเวียงกะพัง โทร. 218934 อาหารไทย

นำมุ่ย
ถนนพระราม 6 โทร. 218504 อาหารพื้นเมือง

บ้านสุวิมล
113/3 ถนนเวียนกระพัง โทร. 218934 อาหารไทย

แม่จำเนียร
298 ถนนกันตัง โทร. 212664 อาหารไทย

เรือนแพริเวอร์ไซด์
โทร. 230387 อาหารทะเล

วังมังกรฟิชชิ่งปาร์ค
50/9 ถนนเวียนกระพัง โทร. 212006

อำเภอสิเกา
เลตรัง
ตำบลปากเม็ง โทร. 01-904-8185 อาหารทะเล

อำเภอกันตัง
หาดยาวซีฟู้ด
โทร. 219270 อาหารทะเล


ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือต่อกับหาดยาว เป็นพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ห่างจากตัวเมืองตรังประมาณ 40 กม.
ลักษณะ เป็นหาดรูปโค้งยาว ป่าสนขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
จุดเด่น เป็นหาดที่สงบเงียบไม่พลุกพล่าน เหมาะสำหรับพักผ่อน ระหว่างหาดสั้นและหาดหยงหลิงมีภูเขาหินปูนกั้น มีถ้ำที่สามารถเดินทะลุไปออกทะเลอีกด้านหนึ่งได้
เป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสน สุดชายหาดเป็นเขาสูงมีเวิ้งและโพรงถ้ำ สามารถลอดออกไปสู่หน้าผาริมทะเลที่มีโพรงถ้ำและโขดหินเหมือนป้อมโอบล้อมลานทรายไว้สวยงามมาก เหมาะที่จะเล่นน้ำและพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณหาดสามารถกางเต็นท์ได้ การเดินทาง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4046–4162 ถึงหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายเลียบชายหาดประมาณ 10 กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าถนนบ้านน้ำราบ-หาดเจ้าไหม ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าหาดหยงหลินอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือโดยสารรถตู้สายตรัง-หาดยาว จะผ่านหน้าหาดหยงหลิน-หาดสั้น
การเดินทาง จากตัวเมืองตรัง โดยสารรถตู้ปรับอากาศสายตรัง-หาดยาว ให้รถเข้าไปส่งที่หาดหยงหลิงหรือหาดสั้นก็ได้ ค่าโดยสารคนละ 40 บาท
ที่พัก บริเวณหาดมีที่กางเต้นท์ของอุทยานไว้บริการนักท่องเที่ยวสิ่งอำนวยความสะดวก มีห้องน้ำ ห้องสุขา ของอุทยานฯ และร้านค้าไว้บริการนักท่องเที่ยว โทรศัพท์สามารถใช้ได้
ฤดูกาลที่เหมาะสม สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี แต่ช่วงที่อากาศดีที่สุดคือ

ธารโบกขรณี เดิมชื่อ "ธารอโศก" เป็นป่าดงดิบอยู่ในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำไหลลอดใต้ภูเขาผ่านบริเวณนี้แล้วไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลแหลมสัก ต้นน้ำเป็นน้ำผุดเกิดขึ้นบริเวณเขาถ้ำเพชร และเขาถ้ำน้ำผุด ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึกจังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร น้ำผุดเกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไหลมาตามลำคลอง เรียกว่า "คลองอ่าวลึก" ในปี พ.ศ. 2496 นายวิเวก จันทโรจน์-วงค์ ข้าหลวงประจำจังหวัดกระบี่ ได้มาตรวจราชการในท้องที่อำเภออ่าวลึก และแวะพักผ่อนที่ธารอโศก เห็นว่า สถานที่นี้มีธรรมชาติสวยงามควรที่จะได้สงวนไว้เป็นพื้นที่ของทางราชการ เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และพลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มาพักผ่อน ณ สถานที่นี้และได้ตั้งชื่อธารอโศกใหม่ว่า "ธารโบกขรณี" กรมป่าไม้ได้จัดตั้งเป็นสวนรุกขชาติธารโบกขรณีอยู่ในความดูแลของกองบำรุง ในปี 2498 กรมป่าไม้ โดยกองอุทยานแห่งชาติ ได้เสนอให้จัดตั้งสวนรุกขชาติธารโบกขรณีและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 มี เนื้อที่ 104 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าปากลาวและป่าคลองบากัน ป่าคลองกาโหรดและป่าคลองหิน พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และบริเวณหมู่เกาะเหลาบิเละ ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลแหลมสัก ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก และตำบลเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี บางส่วนมีสภาพพื้นที่เป็นเขาสูงชันที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่บางส่วนมีลักษณะแบบคาร์ส (Karst Topography) มีบ่อหรือพื้นยุบตัวของหินเบื้องล่าง (sink hole) มีลักษณะของธารน้ำใต้ดิน สภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่น ทั้งลอนลาดและลอนชัน มีเขาโดดเตี้ย (monadnock) ของหินปูน ซึ่งมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบด้วย ถ้ำสระยวนทอง ควนสอง เขาลูกบ้า ถ้ำทะลุฟ้า เขาลอดใต้ เขาช่องลม เขานอก เขาตากรด เขาอ่าวน้ำ เขาอ่าวม่วง เขาใสโต๊ะดำ เขาใหญ่ปากช่องลาด และพื้นที่บางส่วนเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันประกอบด้วย เกาะเหลาบิเละ (เกาะห้อง) เกาะเหลากา เกาะเหลาเหรียม เกาะปากกะ เกาะเหลาลาดิง เกาะยะลาฮูดัง เกาะเหลาบุโล๊ะ (เกาะผักเบี้ย) เกาะกามิด เกาะปาหุเสีย เกาะฮันตู เกาะจาบัง เกาะเมย เกาะกาโรส เกาะแตก เกาะมีไลย เกาะอ่าวช้างตาย เกาะเลาดัว เกาะรงมารง (เกาะขลุ่ย) เกาะแหลมค้างคาว เกาะแหลมทะลุ เกาะแหลมตุโดด เกาะช่องลาดใต้ และเกาะฮาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารในพื้นที่อำเภออ่าวลึกหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ คลองมะรุย คลองกลาง คลองน้ำตก คลองอ่าวลึก และคลองกาโรส
ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมในเขตร้อน มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ฝนแปดแดดสี่" หมายถึงฤดูฝน 8 เดือน ฤดูร้อน 4 เดือน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี เดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่มีปริมาณฝนตกมากที่สุดในรอบปี เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในรอบปีประมาณ 26.4 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี เดือนกุมภาพันธ์จะเป็นเดือนที่มีปริมาณฝนตกน้อยที่สุดของปีอากาศช่วงนี้จะร้อน เหมาะแก่การท่องเที่ยว เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 29 องศาเซลเซียส
สัตว์ป่า
ด้วยสภาพพื้นที่ป่าในปัจจุบันไม่เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ติดต่อกัน ทำให้สัตว์ป่าที่หลงเหลืออยู่มีไม่มากนักที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เสือปลา กระจงหนู ชะนี ลิง ค่าง ชะมดหางปล้อง เม่นใหญ่แผงคอยาว ลิ่น นากเล็บสั้น กระแต กระรอก อ้นเล็ก พังพอนธรรมดา บ่าง หนู ไก่ป่า นกดุเหว่า นกเขาใหญ่ นกเขาชะวา นกกวัก นกเอี้ยงสาริกา นกยางเปีย เหยี่ยวแดง นกตบยุง นกขุนทอง นกแซงแซว นกขมิ้น นกหัวขวาน นกกางเขนดง นกกางเขนบ้าน นกเด้าลมหลังเทา นกปรอด เต่า งู กบ และอึ่งอ่าง ฯลฯ ในห้วยลำคลองมีปลาน้ำจืดที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาเสือข้างลาย ปลาแก้มช้ำ ปลาซิว ปลาดุก ปลาหัวตะกั่ว ปลาไหล ปลากดเหลือง ปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลากัด ปลาตูหนา ปลาหมอไทย ปลากระทุงเหวเมือง และปลากระสูบขีดอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีครอบคลุมท้องน้ำทะเลประมาณ 64.3 ตารางกิโลเมตร มีสัตว์น้ำที่สำคัญและมีเป็นจำนวนมากทั้งพวกหอย ปู กุ้ง ปลากะรัง ปลากระพงแดง ปลาผีเสื้อ ปลานกแก้ว ปลาสลิดหิน ปลาสิงโต ปลาการ์ตูน ปลิงทะเล ดาวทะเล แมงดาทะเล ดอกไม้ทะเล เม่นทะเล ฟองน้ำ ปะการังอ่อน ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง และปะการังเห็ด เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกออกได้เป็น 1) ป่าดงดิบ พบในบริเวณเทือกเขาสูงชัน พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ หลุมพอ ตะเคียน เคี่ยม อินทนิลน้ำ ตะแบก โสกน้ำ มะม่วงป่า ไข่เขียว ยางนา ตำเสา พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยเป็นพวกระกำ หวาย ไผ่ป่า เต่าร้าง หมากเทา บอน เฟิน กล้วยป่า และเอื้องป่า เป็นต้น 2) ป่าชายเลน ขึ้นอยู่ในดินเลนริมทะเลและตามบริเวณปากแม่น้ำใหญ่ ในบริเวณเขาถ้ำลอดใต้ อ่าวน้ำ แหลมสัก คลองบากัน และคลองกาโรสบางส่วน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว ลำพู ลำแพน ถั่วขาว ถั่วดำ พังกาหัวสุม และแสม 3) ป่าพรุ พบในบริเวณที่มีน้ำจืดขังอยู่ตลอดปีของเขาช่องลมตอนใต้ มีเนื้อที่ไม่มากนัก
สิ่งอำนวยความสะดวก
ที่พัก/บ้านพักโรงแรม จำนวน 16 แห่ง อยู่ บริเวณ อำเภออ่าวลึก จำนวน 2 แห่ง ชื่อ พี เอ็น แมนชั่นและเอ ที ในบริเวณอำเภอเมืองกระบี่ จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ กระบี่เมอร์รีไทม์ ไทยโฮเต็ล เวียงทอง แกรนด์แมนชั่น ซิตี้โฮเต็ล กระบี่รอยัล อโนเกสท์เฮาส์ แกรนด์ทาวเวอร์ เคเเอลเกสท์เฮาส์ เคอาร์แมนชั่น การ์เด้นเฮาส์ ชาเกสท์เฮาส์ โดมทอง และเล็กเกสท์เฮาส์ รีสอร์ท จำนวน 2 แห่ง ชื่อ อ่าวลึก รีสอร์ท และอ่าวลึก บังกะโล ที่พักนักท่องเที่ยว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 2 แห่ง ที่ทำการอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี และบริเวณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ธบ.1 (เกาะห้อง) เป็นพื้นที่กางเต็นท์ ขนาด 1,600 ตารางเมตร ร้านอาหาร ของที่ระลึก - ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และ ลานจอดรถไว้บริการนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน ขนาด 1,000 ตารางเมตร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว - จำนวน 1 แห่ง บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี (ชั่วคราว)
การเดินทาง
รถยนต์รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถมาตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ไปอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ถึงสี่แยกอ่าวลึก แล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4039 เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากตัวเมืองกระบี่ประมาณ 48 กิโลเมตร หรืออาจใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4035 สุดเส้นทางแล้ว ต่อเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4039 อีก 2 กิโลเมตร เครื่องบินการเดินทางโดยเครื่องบิน เที่ยวบินกรุงเทพฯ–กระบี่ จากท่าอากาศยานดอนเมือง สู่ท่าอากาศยานกระบี่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์หรือรถโดยสารประจำทางถึงสถานีขนส่งจังหวัดกระบี่ ไปยังอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ซึ่งมีรถประจำทางหลายสายให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการ เช่น รถโดยสารธรรมดา อัตราค่าโดยสาร ราคา 20 บาท ปรับอากาศ 30 บาท รถตู้ประจำทางปรับอากาศ ราคา 30 บาท จากสี่แยกอ่าวลึกไปอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ค่าโดยสารรถ 2 แถว หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ราคา 10 บาทรถโดยสารประจำทางรถโดยสารประจำทาง เส้นทาง กรุงเทพ-กระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารสำหรับรถธรรมดา ราคา 300 บาท รถปรับอากาศ 450 บาท ปรับอากาศชั้น 1 486 บาท 24 ที่นั่ง 650 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง

ตลอดแนวชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรังและเกาะแก่งนอกฝั่งนับจากปากอ่าวทางด้านเหนือในท้องที่อำเภอสิเกาถึงอำเภอกันตังอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีเนื้อที่ 144,292.35 ไร่ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 ตอนที่ 170 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36 ของประเทศไทย สามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่ดินชายฝั่งทะเลรวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะเมง เกาะปลิง และเกาะเจ้าไหม บริเวณชายฝั่งนี้ ประกอบด้วยเขาหินปูนสูงชัน ทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่ง กำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางลัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง 2. พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 85,762.5 ไร่ เป็นห้วงน้ำลึก มีความลึกเฉลี่ย 20 เมตร ทิศเหนือ จดเขาจองจันทร์ อำเภอกันตัง คลองเมง และคลองลำยาว ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ทิศใต้ จดช่องแคบมะละกา อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ทิศตะวันออก จดควนดินแดง ควนเม็ดจูน ควนลุ และควนแดง ทิศตะวันตก จดเกาะไหง เกาะมัง ช่องแคบมะละกา
ภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมประกอบด้วย ภาคพื้นดินและภาคพื้นน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ทางด้านทิศ ตะวันตกของภาคใต้ โดยเป็นพื้นดิน 58,530 ไร่ และพื้นน้ำในทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย 85,762.5 ไร่ ซึ่งพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นดินชายฝั่งทะเลรวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะเมง บริเวณนี้ประกอบด้วย ภูเขาหินปูนสูงชัน ซึ่งทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางสัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรังนอกจากนี้ยังประกอบด้วยทุ่งหญ้า ป่าดงดิบ ป่าชายเลน ป่าชายหาด และหาดทราย ส่วนภาคพื้นน้ำ เป็นห้วงน้ำลึก มีแนวปะการังเป็นบริเวณกว้างตามไหล่เขาที่มีความลาดชันสูง แนวปะการังจะปรากฎอยู่บนเกาะแหวน เกาะเชือก เกาะกระดาน
ภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดปี ทำให้เกิดฤดู 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม–เมษายน ส่วนฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–ธันวาคม ค่าอุณหูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือน เท่ากับ 35.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคมและเมษายน ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย รายเดือนเท่ากับ 21.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี เท่ากับ 2187.3 มิลลิเมตร เดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุด คือ เดือนกันยายน เท่ากับ 158.8 มิลลิเมตร
สัตว์ป่า
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ พะยูน เลียงผา ค่างดำ เก้ง และกระจงเล็ก ส่วนสัตว์ผู้ล่าที่พบเห็นได้ยาก ได้แก่ แมวดาว ส่วนที่พบเห็นตัวและร่องรอยได้ง่าย ได้แก่ นากเล็กเล็บสั้น ฯลฯนก พบนกที่มีสภาพใกล้จะสูญพันธุ์ 2 ชนิด ได้แก่ นกกระสาคอดำ และนกตะกรุม นกชายเลนอพยพที่มีสถานภาพหายาก ได้แก่ นกยางจีน นกทะเลขาเขียวลายจุด และนกนางนวลแกลบพันธุ์จีน สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่าบึงหัวเหลือง งูหลาม และงูเหลือม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบอ๋อง กบนา อึ่งน้ำเต้า เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
ป่าดิบชื้น พบป่าประเภทนี้ครอบคลุมพื้นที่ ในเขตพื้นดินชายฝั่งตอนในบริเวณเขาน้ำราบ บริเวณบ่อน้ำร้อน บริเวณทิศตะวันออกของหาดทรายเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ยางวาด ยูง ยางมันใส และไม้ชั้นล่างเป็นพวกที่พบในเขต ป่าดิบชื้นโดยทั่วไป เช่น หวาย เถาวัลย์ เป็นต้นป่าผสมบริเวณภูเขาหินปูน พบอยู่ด้านทิศตะวันตกของเกาะมุกต์เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะปลิง เขาแบนะ เขาเมง เขาหยงหลิง เขาเจ้าไหม ประกอบด้วยพืชพรรณไม้ที่ขึ้นเฉพาะพื้นที่ เช่น จันทน์ผา เป้ง สลัดได กล้วยไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้นป่าชายหาด พบบริเวณทิวเขาชายทะเลบริเวณเกาะมุกต์ เกาะเจ้าไหม เกาะเมง พันธุ์ไม้ที่ สำคัญ เช่น สนทะเล เมา กระทิง เป็นต้น ป่าชายเลน พบกระจายอยู่ตามอ่าวของเกาะมุกต์ พืชพรรณที่สำคัญได้แก่ โกงกาง โปรง ตะบูน เป็นต้น ด้านหลังป่าชายเลนมีพืชพรรณไม้น้ำกร่อยขึ้นอยู่ เช่น จาก หงอนไก่ทะเล เป็นต้น สังคมพืชน้ำ พบสังคมพืชน้ำประเภท หญ้าทะเล สาหร่าย แพลงตอน โดยเฉพาะท้องทะเล ของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์- พื้นที่กางเต็นท์ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หน้าเขาแบนะ 2 แห่ง ขนาด 1,064 ตารางเมตร และ 1,102 ตารางเมตร และบริเวณหน้าร้านสวัสดิการ 1 แห่ง ขนาด 2,465 ตารางเมตร มีบริการเช่าเต็นท์และอุปกรณ์อื่นๆร้านอาหารสวัสดิการ- บริการร้านค้า ร้านอาหาร และลานจอดรถบริเวณหน้าเขาแบนะ ขนาด 832 ตารางเมตร และขนาด 667 ตารางเมตร และบริเวณหน้าร้านสวัสดิการพื้นที่ขนาด 2,000 ตารางเมตรศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง บริเวณ หาดหยงหลิง และหาดปากเมง มีการจัดแสดง นิทรรศการ เพื่อให้ข้อมูลและความรู้กับนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง การเดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ อัตราค่าโดยสาร ราคา 750 บาท หรือนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางโดยรถไฟ อัตราค่าโดยสาร 691 บาท จากจังหวัดตรังไปตามทางหลวงหมายเลข 4046 (สายตรัง–สิเกา) ถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4162 สู่หาดปากเมง เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร จากหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบชายหาด อีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถตู้ประจำทางได้โดยมีอัตราค่าโดยสาร ราคา 50 บาท การเดินทางไปตามเกาะต่างๆ ให้ติดต่อเช่าเหมาเรือที่ท่าเรือปากเมง ท่าเรือหาดยาว และท่าเรือควน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อยอยู่ทางฝั่งทะเลอ่าวไทยกว่า 40 เกาะ วางเรียงตัวเรียงรายเป็นรูปยาวรีคู่ขนานไปกับชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด เช่น เกาะช้างน้อย เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะไม้ซี้ เกาะรัง และมีเกาะช้างเป็นเกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุด (ขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแหลมงอบ จังหวัดตราด ห่างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวจากเหนือลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 45 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ในท้องที่ตำบลเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง และตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร หรือ 406,250 ไร่ ทิศเหนือ จดทะเล ท้องที่ ต.บางปิด ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ทิศใต้ จดทะเล ท้องที่ ต.เกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จ.ตราด ทิศตะวันออก จดทะเล ท้องที่ ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ทิศตะวันตก จดทะเล ท้องที่ ต.เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด
ภูมิประเทศ
เกาะช้างมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนตลอดเกือบทั้งเกาะ เช่น เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขาคลองมะยม เขาสลักเพชร มียอดเขาใหญ่ของเทือกเขาสลักเพชรเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูง 743 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนบริเวณที่ราบมีความสูงตั้งแต่ 10-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะจะมีหาดโคลนและหินเป็นหาดหน้าแคบ ส่วนหาดทางด้านตะวันตกจะเป็นหาดทรายและหิน โครงสร้างทางธรณีส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นหินอัคนีในยุคไทรแอสซิกมีช่วงอายุ 230-195 ล้านปีมาแล้ว แม่น้ำลำธารในเกาะช้างเป็นคลองสายสั้นๆ ที่น้ำทะเลเข้าถึงต้นคลองเป็นห้วยน้ำจืดไหลมาจากน้ำตก ซึ่งเป็นสภาพหุบเขาหลังอ่าวต่างๆ ไหลแทรกไปตามบริเวณป่าชายเลนแล้วไหลลงสู่ทะเลรอบๆ เกาะที่สำคัญได้แก่ คลองสน คลองมะยม คลองค้าวคาว คลองบางเบ้า คลองพร้าว คลองนนทรี และคลองไชยเชษฐ์ เป็นต้นลำน้ำเหล่านี้ยังก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองพลู น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคีรีเพชร และน้ำตกคลองหนึ่ง
ภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ในระยะนี้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงอากาศหนาวเย็นฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน ในระยะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรไปทางซีกโลกเหนือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนค่อนข้างจะแปรปรวน มีฝนตกน้อยทำให้อากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะในเดือนเมษายน
สัตว์ป่า
การสำรวจประชากรสัตว์ป่าเมื่อปี 2535 พบว่ามี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 29 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็กได้แก่ หมูป่า เก้ง นางอาย ลิงเสน ค่างหงอก ตุ่น ชะมดเช็ด พังพอนเล็ก ลิ่นพันธุ์ชะวา ค้างคาวแม่ไก่เกาะ พญากระรอกดำ กระรอกท้องแดง กระแต หนูท้องขาว และหนุขนเสี้ยนดอย เป็นต้น นก 74 ชนิด เป็นนกที่มีถิ่นถาวรในประเทศไทยและไม่อพยพย้ายถิ่น 61 ชนิด ได้แก่ นกยางทะเล นกปรอดหน้านวล นกตบยุง นกนางแอ่นแปซิฟิค นกกวัก นกลุมพู และนกแก๊ก เป็นต้น เป็นนกอพยพเข้ามาในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว 8 ชนิด ได้แก่ นกยางเขียว นกหัวโตทรายใหญ่ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว นกน็อดดี้ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระจี๊ดขาสีเนื้อ นกกระจี๊ดขั้วโลกเหนือ และนกนางแอ่นบ้าน เป็นนกอพยพเพื่อผสมพันธุ์ 2 ชนิด คือ นกแต้วแล้วอกเขียว และนกแต้วแล้วธรรมดา ส่วนนกอพยพผ่านในฤดูกาลอื่น 3 ชนิด คือ นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม และนกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน 42 ชนิด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ตะกวด เหี้ย กิ้งก่าสวน แย้ ตุ๊กแกบ้าน จิ้งเหลนบ้าน งูเหลือม งูหลาม งูทางมะพร้าวธรรมดา งูสิง งูสิงหางลาย งูจงอาง งูกะปะ คางคกบ้าน เขียดบัว ปาดบ้าน อึ่งลายแต้ม เขียดงูธรรมดา กบนา และกบเกาะช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่หายาก พบเฉพาะในป่าดงดิบชื้นบริเวณเกาะช้างและเกาะใกล้เคียง เช่น เกาะไม้ซี้ เกาะกูด
ป่าและพันธุ์ไม้
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีความหลากหลายของพืชพรรณมาก สามารถจำแนกออกได้ เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ป่าดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อนข้างห่างจากชายฝั่ง พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สกุลพลอง สารภีป่า และไม้ในสกุลหว้า ขึ้นปนอยู่ประปราย พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางนา ตะเคียน กระบาก เป็นต้น 2. ป่าชายเลน พบขึ้นตามชายฝั่งที่เป็นดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่างๆ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงขาว แสม เป็นต้น 3. ป่าชายหาด เป็นป่าที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่พื้นดินเป็นดินทรายและกรวดหิน ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้ขึ้นอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น หูกวาง สารภีทะเล เตยทะเล เป็นต้น 4. ป่าพรุ เป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหงือกปลาหมอ และต้นกก เป็นต้น สังคมพืชน้ำ จำพวกสาหร่ายซึ่งจะขึ้นอยู่ตามต้นหรือรากของแสม และโกงกาง นอกจากนี้ ยังมีหญ้าทะเลและพวกแพลงก์ตอนพืชจำนวนมาก
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ - พื้นที่กางเต็นท์บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 1 (ธารมะยม) ขนาด 500 ตารางเมตร และ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 4 (คลองพลู) ขนาด 100 เมตรที่จอดรถ - ลานจอดรถขนาด 25 ตารางเมตร ที่ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 1 (ธารมะยม)ร้านอาหารสวัสดิการ - มีร้านอาหารสำหรับบริการนักท่องเที่ยว ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 1 (ธารมะยม) และ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 4 (คลองพลู)ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ - ท่าเทียบเรือ 1 แห่ง บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 1 (ธารมะยม)ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว - มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 1 แห่ง อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช. 1 (ธารมะยม) มีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และนิทรรศการ
การเดินทาง
การเดินทางไปยังหมู่เกาะช้าง สามารถเดินทางจากจังหวัดตราดมายังอำเภอแหลมงอบ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อโดย เรือโดยสารจากท่าเรือแหลมงอบ โดยจะใช้เวลาในการเดินทางมากน้อยแล้วแต่จุดใกล้ไกลที่จะไป ตั้งแต่ 45 นาที ถึง 5 ชั่วโมง ในหน้ามรสุม ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม แม้การเดินทางไปยังเกาะอื่นๆ มักมีอุปสรรค แต่สำหรับเกาะช้างสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยนั่งเรือ จากท่าเรือแหลมงอบไปยังชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นทะเลด้านในแล้วลงที่อ่าวสับปะรดของเกาะช้าง จากนั้นจึงนั่งรถสองแถวต่อไปยังที่ ที่ต้องการที่อำเภอแหลมงอบ มีท่าเรือที่สามารถโดยสารไปยังเกาะช้าง ทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่- ท่าเทียบเรือแหลมงอบ เรือโดยสารที่ใช้เป็นเรือประมงดัดแปลง ไปขึ้นที่ เกาะช้าง ที่บริเวณบ้านด่านเก่า ค่าเรือโดยสาร 50 บาท ใช้เวลาประมาณ 45 นาที มีเรือออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. เรือกลับจากเกาะช้างมีหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-16.00 น.นอกจากนั้นที่บริเวณท่าเรือยังมีตัวแทนรับจองห้องพักของรีสอร์ทต่างๆ ตั้งอยู่ และนักท่องเที่ยวสามารถหาเรือเช่า (เรือประมงดัดแปลงขนาดเล็กจุได้ประมาณ 10 คน) สามารถไปเกาะช้าง และเกาะอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงในอัตราวันละประมาณ 3,500-5,000 บาท หรือสามารถติดต่อ คุณแสงจันทร์ สิงหพันธุ์ ห้องอาหารแสงจันทร์ 99/3 หมู่ 1 ชายทะเลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โทร. 0 3959 7197, 0 3959 7299- ท่าเทียบเรือเกาะช้างเฟอร์รี่ มีเรือออกจากท่าเรืออนุสรณ์สถานไปขึ้นที่ท่าเรือด่านเก่า ที่เกาะช้าง ท่าเรือแหลมงอบอยู่ห่างลงมาทางใต้ประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะข้ามไปเกาะช้างแบบไปเช้า-เย็นกลับ ราคา 60 บาท และสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะนำรถยนต์ พร้อมคนขับข้ามไปเกาะช้างแบบไปเช้า-เย็นกลับ ราคา 250 บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที มีเรือออก เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 07.00–20.00 น. เที่ยวกลับ เวลา 08.00–20.00 น. ซึ่งเรือจะออกทุกๆ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3953 8328, 0 3953 8318บริเวณท่าเรือมีรถตู้บรีการไปพัทยา 400 บาท, ถนนข้าวสาร 220 บาท, และท่าเรือเกาะเสม็ด 250 บาท- ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ไปขึ้นที่เกาะช้างที่ท่าเรือเกาะช้างเฟอร์รี่บริเวณอ่าวสับปะรด มีบริการเรือเฟอร์รี่ข้ามไปเกาะช้าง ค่าบริการสำหรับรถยนต์ 4 ล้อ พร้อมคนขับข้ามแบบไปเช้า-เย็นกลับ ราคา 150 บาท และสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับ ราคา 60 บาท ใช้เวลาในการเดินทาง 25 นาที มีเรือออก เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 07.00–19.00 น. เที่ยวกลับ 07.00–19.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3959 7143, 0 3959 7434, 0 3952 1661 (เบอร์โทรที่ฝั่งอ่าวสับปะรด)การเดินทางบนเกาะ จากท่าเรือมีรถสองแถวไปยังหาดทรายขาว คลองพร้าว ไก่แบ้ อัตราค่ารถ 30 บาท ส่วนหาดอื่นๆ ต้องเหมา และตกลงราคาก่อนเดินทา

ด้วยสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่อง แผนการป้องกันอนุรักษ์ และพัฒนาป่าอนุรักษ์ภาคตะวันตก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมป่าไม้เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนา พิจารณาเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2534 คณะกรรมการการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ เสนอความเห็นชอบ การคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติรวมพื้นที่ป่าภาคตะวันตก ที่ต่อเนื่องจรดเขตแดนพม่าให้เป็นป่าผืนใหญ่ผืนเดียวกัน เพื่ออนุรักษ์ให้เป็นระบบนิเวศที่มั่นคง และเป็นแหล่งทรัพยากรพันธุ์กรรมพืชและสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศตลอดไป ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2534 ลงมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ โดยกรมป่าไม้ได้ดำเนินการตามแผนการป้องกันอนุรักษ์ และพัฒนาป่าอนุรักษ์ภาคตะวันตก ในรูปแบบอุทยานแห่งชาตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำเภอททองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ทิศเหนือ จรด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรทิศใต้ จรด อุทยานแห่งชาติไทรโยคทิศตะวันออก จรด อุทยานแห่งชาติเขาแหลมทิศตะวันตก จรด เขตแดนไทย - สหภาพพม่า
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มีเขาช้างเผือกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ มียอดเขาสูงสุด 1,249 เมตร จากระดับน้ำทะเลยอดเขาที่สำคัญฯ ได้แก่ เขาช้างเผือก เขานิซา เขาพุถ่อง เขาด่าง เขาปากประตู เขาเลาะโล เขาประหนองโทคี เขาชะโลง ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยมาลัย ห้วยกบ ห้วยซ่าน ห้วยองค์พระ ห้วยปีคี ห้วยปากคอก ห้วยเจ็ดมิตร ฯลฯ โดยไหลลงเขื่อนเขาแหลม และแม่น้ำแควน้อย จึงเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแควน้อยด้วย
ภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นป่าผืนเดียวกันกับประเทศสหภาพพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เสมอ และไม่มีราษฎรอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่ามากนักจึงทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน สามารถพบเห็นเป็นประจำ
ป่าและพันธุ์ไม้
ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียน ยางขาวป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ตะเคียน ยมหอม จำปาป่า ฯลฯป่าเบญจพรรณ (Dry Mixed Decidous Forest) พบมากที่สุด มีพรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ฯลฯป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ ไม้พื้นล่างได้แก่ มอส เฟิร์นต่างๆ
การเดินทาง
รถยนต์พื้นที่ที่ทำการสำรวจอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 175 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีไปยังพื้นที่ที่ทำการสำรวจได้ โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 323 จนถึงพื้นที่ที่ทำการสำรวจ โดยคณะผู้สำรวจได้ใช้พื้นที่บริเวณหมู่บ้านห้วยปากคอกเป็นจุดที่ตั้งที่ทำการสำรวจเป็นการชั่วคราว จากจุดที่ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอทองผาภูมิเป็นระยะทาง ประมาณ 30 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติเขาแหลม
อุทยานแห่งชาติเขาแหลม มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอสังขละบุรีและอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีสภาพป่าที่สมบูรณ์โดยรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม มีสัตว์ป่านานาชนิด สถานที่สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว ศึกษาหาความรู้ และเป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่งของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 มีเนื้อที่ประมาณ 814.65 ตารางกิโลเมตร หรือ 509,156.25 ไร่
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศอยู่ในแนวเทือกเขาตะนาวศรี มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวตามแนวเหนือใต้ มีความสูงประมาณ 200-1,700 เมตร และโดยเฉลี่ยมีความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่จะเป็นหินปูน หินลูกรัง เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแควน้อย แหล่งสำคัญ ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยเกริงกะเวีย ห้วยน้ำมุด ห้วยสีพี แม่น้ำรันตี ห้วยสะนีล๊อก แม่น้ำปีคลี่ใหญ่ เป็นต้น ส่วนที่เป็นพื้นน้ำครอบคลุมบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเขาแหลม เช่น ทะเลสาป เกาะแก่งต่างๆ
ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตโซนร้อนที่มีอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงใต้ และลมจากทะเลอันดามัน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียสฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ หมี เสือ กระทิง ช้างป่า เลียงผา กวาง เก้ง ลิง ค่าง ชะนี หมู่ป่า กระต่ายป่า ไก่ป่า เม่น กระรอก กระแต และนกนานาชนิดจำนวนมาก
ป่าและพันธุ์ไม้
สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง มีพรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง แดง ประดู่ ตะเคียนทอง ตะคร้อ เต็ง รัง เหียง พลวง และไม้พื้นล่างจำพวกไม้ไผ่ต่าง ๆ
การเดินทาง
รถยนต์จากจังหวัดกาญจนบุรี โดยรถยนต์ไปตามถนนสายกาญจนบุรี ทองผาภูมิ สังขละบุรี รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก สามารถไปกลับได้ภายในวันเดียว



อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี น้ำตกเอราวัณ มีน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศด้วยอาณาเขตอันกว้างขวางประกอบไปด้วยภูเขาสูง หน้าผา น้ำตก ถ้ำ และทิวทัศน์ที่งดงามตามธรรมชาติ ทั้งการคมนาคมที่สะดวกทำให้อุทยานฯ เอราวัณเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอันมาก มีเนื้อที่ประมาณ 550 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,750 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2518
ภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 165-996 เมตร สลับกับพื้นที่ราบโดยภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน (Lime Stone) ในแถบตะวันออกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวโดยเฉพาะบริเวณใกล้น้ำตกเอราวัณจะมีลักษณะเป็นหน้าผาใน ส่วนพื้นที่ซีกตะวันออกนี้จะมีลำห้วยที่สำคัญคือ ห้วยม่องไล่ และห้วยอมตะลา ซึ่งไหลมาบรรจบกันกลายมาเป็นน้ำตกเอราวัณ ทางตอนเหนือของพื้นที่มีห้วยสะแดะและห้วยหนองมน โดยห้วยสะแดะจะระบายน้ำลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ ส่วนห้วยหนองมนไหลไปรวมกับห้วยไทรโยค ก่อให้เกิดน้ำตกไทรโยคส่วน ทางทิศใต้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ลำห้วยเขาพัง เป็นต้น ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม ซึ่งเรียกว่า “น้ำตกเขาพัง” หรือน้ำตกไทรโยคน้อย
ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนอุทยานแห่งชาติเอราวัณได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือช่วยพัดพาให้เกิดฝน แต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน ทำให้มีปริมาณฝนตกไม่มากนักและอากาศค่อนข้างร้อน ลักษณะอากาศดังกล่าวจึงไม่เป็นปัญหาต่อการเที่ยวชมทำให้สามารถไปเที่ยวได้ทุกฤดู
สัตว์ป่า
จากการสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตพื้นที่อุทยานฯ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นกชนิดต่าง ๆ และสัตว์น้ำอื่น ๆ รวมทั้งปลานานาชนิดที่สำคัญ และมักจะพบเห็น ได้แก่ ช้างป่า เสือ เลียงผา อีเก้ง กวางป่า หมูป่า ชะนี ปูกาญจนบุรี เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีประมาณ 78% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนทอง ประดู่ กว้าว มะกอก ตะแบก ฯลฯ นอกจากนั้นเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งและป่าไผ่ พรรณไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม มะค่าแต้ ยางโอน ยมหิน ข่อยหนาม ก้นเกรา และไผ่ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
การเดินทาง
รถยนต์การเดินทางสามารถใช้เส้นทางได้ 2 ทาง คือ1. เริ่มต้นจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 ถึงเขตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 66 กิโลเมตร2. ถ้าเดินทางมาจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้านวังใหญ่อยู่ตอนใต้ของน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนา ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 323 อีกประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งชื่อตามบึงน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของป่าในบริเวณนี้ คำว่า ทะเลบัน นี้น่าที่จะเพี้ยนมาจาก ภาษามลายูว่า เลอ โอ๊ด กะ บัน มีความหมายว่าแผ่นดินยุบบริเวณที่เป็นทะเลบันนี้เล่ากันว่า เมื่อหลายร้อยอายุคนมาแล้ว เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มาก ต่อมาแผ่นดินบริเวณนี้ค่อยๆยุบลง เกิดเป็นแอ่งลึกมีน้ำขังกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่นักธรณีวิทยาได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ข้างล่างอาจเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ เพราะบริเวณนี้ขนาบด้วยเทือกเขาทั้ง 2 ด้าน คือเทือกเขาจีนและเทือกเขามดแดงเมื่อโพรงถ้ำเกิดการ พังลง พื้นที่บริเวณนี้ก็ยุบตัวลงไปด้วย ทะเลบันได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อเดือนตุลาคม 2523 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 122,500 ไร่ หรือ 196 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีแนวเขตทางด้านทิศใต้จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย และทางด้านทิศเหนือจดเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วย เขาวังช้าง เขาหินร้อง เขาฟ้าริน เขาวังพะเนียด เขาจีน เขามดแดง เขาหาบเคย เขากวงใหญ่ เขาวังหมัน เขากวงเล็ก เขาวังหมู เขาพัง เขาวังกลวง เขากายัง เขากล่ำ เขาปูยู และเขาคันวังกูนอง มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ในเทือกเขาจีน สูงประมาณ 756 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางสภาพทางธรณีโดยทั่วไป ของเทือกเขาเหล่านี้ พบว่าทางด้านอำเภอเมือง ทางด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติมีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูนซึ่งจะมีการกัดเซาะตาม ธรรมชาติเกิดเป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่หลายแห่ง เช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำผาเดี่ยว และถ้ำลอดปูยู เป็นต้น สำหรับทางด้านอำเภอควนโดน ทางด้าน ตะวันออกของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นหินแกรนิต นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติทะเลบันยังได้รวมพื้นที่เกาะ 1 เกาะ อยู่ติดแนวเขตประเทศ คือ เกาะปรัสมาน
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พืชพรรณป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง มีเทือกเขาหินปูนที่ยังไม่สลายตัว จึงถูกปัจจัยธรรมชาติ คือน้ำที่อยู่ใต้ดินเกิดการกัดเซาะทำให้เป็นร่องรอยหรือรูโหว่ขนาดใหญ่ กลายเป็นถ้ำขนาดใหญ่ เช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำผาเดี่ยว ถ้ำลอดปูยู นอกจากนี้การเกิดของบึงทะเลบันก็เช่นเดียวคือเกิดการการยุบตัวของโพรงถ้ำหินปูนใต้ดินระหว่างหุบเขา ยอดเขาสูงสุดพื้นที่นี้คือเขาจีน สูง 756 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางอุทยานแห่งชาติทะเลบันตั้งอยู่ในท้องที่ อ.ควนโดน และอ.เมือง จ.สตูล มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ จดคลองตูโย๊ะ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ทิศตะวันออก จดเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทิศใต้ จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ภูมิอากาศ
จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลเต็มที่จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ในระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดเข้ามาแทนที่ แต่เนื่องจากจังหวัดสตูลอยู่ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเล จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลมากนักจากมรสุมนี้ อย่างไรก็ตามในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ก็ยังมีฝนตกชุกอยู่หลังจากนี้ไปฝนจะเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในระยะนี้ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 27.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38.9 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 17.0 องศาเซลเซียส ในเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 2,280.9 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด คือ เดือนมกราคม วัดได้โดยเฉลี่ย 7.2 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนกันยายน วัดได้ 377.8 มิลลิเมตร
สัตว์ป่า
จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบรวม 80 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวนจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เลียงผา พบสัตว์ชนิดใหม่ที่ยังไม่มีรายงานการพบในประเทศ 1 ชนิด ได้แก่ ค้างคาวมงกุฎ เป็นต้น นก พบรวม 302 ชนิด นกที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เช่น นกหว้า ไก่จุก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกดำ นกหัวขวานใหญ่สีดำ เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน พบรวม 59 ชนิด เช่น เต่าจักร เต่าดำ ตุ๊กแกบินหางเฟิน เห่าช้าง งูจงอาง เป็นต้น สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก พบรวม 28 ชนิด เช่น อึ่งกรายหัวแหลม จงโคร่ง คางคกแคระ เป็นต้นปลา เนื่องจากอุทยานแห่งชาติทะเลบันมีบึงขนาดใหญ่จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลามากมายหลายชนิด เช่น ปลาเลียหินหรือปลาติดหิน ปลากระทิช ปลาไส้ขม เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
สามารถจำแนกออกได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ พืชพรรณไม้ป่าบก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ป่าดงดิบ เป็นป่าผืนใหญ่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ ประกอบด้วยไม้ยืนต้นที่มีเรือนยอดสูงที่สุด เป็นระดับชั้นที่ 1 ได้แก่ สกุลไม้ยาง ตะเคียนทอง ไข่เขียว และไม้ยืนต้นที่มีความสูงของระดับเรือนยอดรองลงมา คือ ความสูงระหว่าง 15-30 เมตร เช่น มะหาดรุม ขนุนปาน ทุ่งฟ้า เป็นต้น 2. ป่าโปร่งและทุ่งหญ้า ป่าบริเวณตอนกลางมีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีหญ้าคาขึ้นอย่างหนาแน่น มีไม้เบิกนำขึ้นผสมกับพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ส้าน เป็นต้น พืชพรรณไม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลุ่มต่ำน้ำขัง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พืชพรรณที่พบในบึงน้ำจืดทะเลบัน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก พืชที่พบได้แก่ เทียนนา บอน บากง กูดช้าง เป็นต้น2. พืชพรรณไม้ป่าชายเลน เป็นป่าที่พบบริเวณแนวเขตด้านทิศตะวันตกของอุทยาน แห่งชาติ พันธุ์ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม โปรงขาว และตีนเป็ดทะเล เป็นต้น
สิ่งอำนวยความสะดวก
บริการพื้นที่กางเต็นท์ บริการเช่าเต็นท์และอุปกรณ์อื่นๆมีลานจอดรถขนาด 300 ตารางเมตรศูนย์บริการนักท่องเที่ยว - มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบันมีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ร้านอาหาร และนิทรรศการ
การเดินทาง
รถยนต์ โดยใช้เส้นทางหลวงสายเพชรเกษมจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 (สายเอเชีย) ถึง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา แยกเข้าถนนหมายเลข 406 เข้าสู่ อ.ควนโดน ถึงทางแยกเข้า ต.วังประจัน ตามถนนสายชายแดนไทย-มาเลเซีย หมายเลข 4184เครื่องบินจากท่าอากาศยานดอนเมือง-หาดใหญ่ จากนั้นต่อรถมายัง จ.สตูล ด้วย รถตู้หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยกควนสตอ รถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เที่ยวแรก จากหาดใหญ่ เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. ราคา 60 บาท/คน และรถประจำทาง หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยก ควนสตอ รถออกทุกๆ 15 นาที จากหาดใหญ่ เที่ยวแรก 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ราคารถเมล์ ปรับอากาศ 38 บาท/คน ธรรมดา 35 บาท/คนรถไฟจากสถานีรถไฟกรุงเทพมาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่ง ชาติเช่นเดียวกับข้อ 1รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถประจำทางปรับอากาศเดินทางไปจังหวัดสตูลทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง ระยะทาง 973 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ 556 บาท

เนื่องจากมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย และนายชวน หลีกภัย ได้มีหนังสือแจ้งกรมป่าไม้ให้สำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ในบริเวณเกาะรอก กำหนดที่ดินเกาะไม้งามใต้ เกาะตะละเบ็ง เกาะลันตาใหญ่ เกาะไหง เกาะตุกนลิมา เกาะรอกนอก เกาะรอกใน เกาะหินแดง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลเกาะกลาง ตำบลเกาะลันตาน้อย และตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ให้เป็น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ในปี พ.ศ. 2533 มีเนื้อที่ 134 ตารางกิโลเมตรหรือ 83,750 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 62 ของประเทศไทย
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และค่อนข้างลาดชัน ปรากฏที่ราบเฉพาะบริเวณชายหาดทางตอนใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ไปจนถึงบริเวณตอนกลางของเกาะที่มีความลาดชันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 100 เมตร ไปจนถึงยอดเขาสูงที่สุด มีความสูง 488 เมตร
ภูมิอากาศ
ฝนจะตกมากในเดือนกันยายน เท่ากับ 391.4 มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคม 6.5 มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายน เท่ากับ 21.6 วัน และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับ 1.6 วัน
สัตว์ป่า
สัตว์ป่า แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. จำพวกสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 20 วงศ์ 30 สกุล 38 ชนิดในจำนวนสัตว์ทั้ง 38 ชนิดนั้น มี 2 ชนิดได้หมดไปจากเกาะลันตาแล้ว คือ กวางป่า และเสือโคร่ง ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ พะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน และอีก 2 ชนิดอยู่ในสถานะที่กำลังจะหมดไป คือ เก้ง และเสือปลา และสัตว์ที่หายากอีกชนิดหนึ่งคือ ค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล 2. นก มีทั้งสิ้น 58 วงศ์ 130 สกุล 185 ชนิด นกที่พบบ่อยอยู่ในอุทยานแห่งชาติ เช่น เหยี่ยวแดง นกนางนวลแกลบคิ้วขาว นกเขาเขียว เป็นต้น ส่วนนกที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก เช่น นกขุนแผนอกสีส้ม นกเดินดงสีเทาดำ และนกปลีกล้วยเล็ก เป็นต้น 3. สัตว์เลื้อยคลาน ชนิดที่พบได้ง่าย เช่น จิ้งจกหางแบน เหี้ย งูเหลือม และงูเห่าตะลาน เป็นต้น 4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่เพียง 2 ชนิด ชนิดที่พบเห็นได้ตามลำคลองทั่วไปคือ กบทูด และอึ่งน้ำเต้า ส่วนตามอาคารที่พักและตามแหล่งน้ำทั่วๆ ไปในป่าจะพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น เขียดตะปาด และคางคกแคระ ชนิดที่หายากและพบได้น้อย คือ กบดอร์เรีย 5. ปลาน้ำจืด และปลาทะเล แหล่งน้ำจืดต่างๆ สามารถพบปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวใบไผ่เล็ก ปลาช่อนก้าง ปลาตะเพียนจุด เป็นต้น สำหรับปลาทะเลที่พบตามแนวปะการัง ชายฝั่งหาดหิน และปากคลองน้ำจืด เช่น ปลาโทง ปลาปากคม และปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นต้น 6. สัตว์ในแนวปะการังปะการังที่พบ เช่น ปะการังลูกโป่ง ปะการังเขากวางขนาดใหญ่ ปะการังเห็ด ปะการังดอกไม้ ปะการังดาวใหญ่ เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของพรรณพืชมาก ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ดังนี้ 1. ป่าดิบชื้น คิดเป็นเนื้อที่ 19.42 ตารางกิโลเมตร ปรากฏอยู่บริเวณเกาะลันตาใหญ่ ตลอดแนวเทือกเขาลันตา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอาณาเขตของอุทยานแห่งชาติ ป่าดิบชื้นที่พบมีไม้ชั้นบน และไม้ชั้นกลางความสูงโดยเฉลี่ย 15-25 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เคี่ยมคะนอง ยางแดง ตะแบกนา ตะเคียนหิน เป็นต้น และมีพันธุ์ไม้จำพวกปาล์มและหวาย เป็นไม้พื้นล่างของป่า พันธุ์สำคัญที่พบ ได้แก่ กะพ้อ หวายขม หวายตะค้าทอง หวายงวย เป็นต้น 2. ป่าชายเลน พบบริเวณ เกาะไม้งาม เกาะไม้งามใต้ และเกาะงู เกาะเหล่านี้เป็นเกาะที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และมีสภาพเป็นป่าชายเลนทั้งเกาะ ไม้ส่วนใหญ่มีระดับความสูงที่ใกล้เคียงกันโดยมีความสูง 5 เมตร โดยเฉลี่ยพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ แสมขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ 3. ป่าชายหาด พบเป็นบริเวณไม่กว้างนัก ระหว่างรอยต่อของชายหาดกับป่าดิบชื้นของเกาะไหง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ หูกวาง หยีทะเล ผักบุ้งทะเล และเตยทะเล เป็นต้น
สิ่งอำนวยความสะดวก
ที่พัก/บ้านพักอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว 3 แห่ง คือ 1. บริเวณแหลมโตนด ซึ่งที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2. บริเวณเกาะรอกนอก ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ 3. บริเวณเกาะไหง ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติสถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ให้บริการสถานที่กางเต็นท์ มีห้องน้ำห้องสุขารวม และมีบริการเช่าเต็นท์ 2 แห่ง 1. บริเวณแหลมโตนด ซึ่งที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2. บริเวณเกาะรอกนอก ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติร้านอาหารสวัสดิการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ให้บริการร้านอาหารสวัสดิการ 2 แห่ง 1. บริเวณแหลมโตนด ซึ่งที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2. บริเวณเกาะรอกนอก ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
การเดินทาง
รถยนต์จากกรุงเทพฯ เดินทางไปจังหวัดกระบี่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4206 ไปจนถึงบ้านหัวหิน เพื่อข้ามแพขนขยนต์ไปเกาะลันตาใหญ่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างบ้านหัวหิน (บนฝั่ง) ไปเกาะลันตาน้อย และช่วงที่ 2 ระหว่างเกาะลันตาน้อย ไปเกาะลันตาใหญ่ จากนั้นขับรถต่อไปยังแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตารถโดยสารประจำทาง1.จากจังหวัดกระบี่ สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาได้ดังนี้ - โดยสารรถสองแถวหรือมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ไปท่าเรือเจ้าฟ้า (บนฝั่ง) ซึ่งอยู่ภายในตัวจังหวัดกระบี่ เพื่อโดยสารเรือต่อไปยังท่าเรือศาลาด่าน (บนเกาะลันตาใหญ่) จากนั้นโดยสารรถไปยังแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา หรือโดยสารเรือไปยังเกาะรอกหรือเกาะอื่นๆ ตามต้องการ - โดยสารรถตู้จากตัวเมืองกระบี่ ไปท่าเรือบ้านบ่อม่วง (บนฝั่ง) เพื่อโดยสารเรือไปท่าเรือศาลาด่าน (บนเกาะลันตาใหญ่) จากนั้นโดยสารรถไปยังแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา หรือโดยสารเรือไปยังเกาะรอกหรือเกาะอื่นๆ ตามต้องการ2. จากจังหวัดตรังหรืออำเภอห้วยยอด โดยสารรถไปยังท่าเรือบ้านปากเม็ง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง แล้วจ้างเหมา/เช่าเรือ หรือโดยสารเรือไปยังเกาะไหง เกาะรอก หรือเกาะลันตาใหญ่ ก็ได้เช่นกัน


ภาพเขียนโบราณ ลำธารมรกต อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ครอบคลุมพื้นที่ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบที่มีธารน้ำไหลลอดภูเขา เหมาะสำหรับการพักผ่อน เล่นน้ำ พบแหล่งศิลปะ ถ้ำจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนสีโบราณที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม ธารโบกขรณี เดิมชื่อ "ธารอโศก" ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ 37.5 ไร่ เป็นป่าดงดิบอยู่ในระหว่างหุบเขา เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีธารน้ำไหลลอดภูเขาผ่านบริเวณนี้แล้วไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลแหลมสัก ต้นน้ำเกิดจากเขาถ้ำน้ำผุด เขาถ้ำเพชร ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กิโลเมตร แล้วไหลมาตามลำคลอง เรียกว่า "คลองอ่าวลึก" ในปี พ.ศ. 2496 นายวิเวก จันทโรจน์วงค์ ข้าหลวงประจำจังหวัดกระบี่ ได้แวะมาเยี่ยมชมธารอโศกแล้วเห็นว่า สถานที่นี้มีความสวยงามควรที่จะได้สงวนไว้เป็นพื้นที่ของทางราชการ เพื่อจะได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ไม่ให้ราษฎรเข้าบุกรุกถือครอง จึงได้สงวนไว้เป็นของทางราชการตั้งแต่นั้นมา ในปลายปี 2496 พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจราชการที่อำเภออ่าวลึก ได้แวะพักที่ธารอโศกและพอใจในทิวทัศน์แห่งนี้มาก เห็นว่าชื่อที่เคยเรียกไว้เดิมยังไม่เหมาะสมจึงตั้งชื่อใหม่ว่า "ธารโบกขรณี" ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2498 ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ได้เสนอกรมป่าไม้ขอให้จัดตั้งธารโบกขรณีเป็นสวนรุกขชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้รับในหลักการและดำเนินการตั้งแต่นั้นมา โดยอยู่ในความดูแลของกองบำรุง และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากจังหวัดพังงามาทรงประทับ ณ สวนรุกขชาติธารโบกขรณี ทั้งสองพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยที่หินปากถ้ำน้ำลอดด้านขวามือ และได้ทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ในสวนรุกขชาติแห่งนี้ด้วย จังหวัดกระบี่ ได้มีหนังสือที่ กษ 0009/11446 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2527 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นของ นายประพันธ์ อินทรมณี ผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดกระบี่ และนายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 และหนังสืออำเภออ่าวลึก ที่ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ โดยได้เสนอความเห็นว่า สวนรุกขชาติธารโบกขรณีประกอบด้วยทิวทัศน์สวยงามในบริเวณพื้นที่ป่าและภูเขาใกล้เคียงกับสวนรุกขชาติ ยังมีความสวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าแหล่งต้นน้ำลำธาร เห็นสมควรอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1516/2527 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติม ผลการสำรวจรายงานตามหนังสือลงวันที่ 5 ธันวาคม 2527 ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง การคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 336/2528 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2528 ให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่สวนรุกขชาติธารโบกขรณีและพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดกระบี่เป็นอุทยานแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี" ซึ่งอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้ทำการสำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติม โดยมีหนังสือที่ กษ 0713(ธน)/51 ลงวันที่ 10 กันยายน 2529 และที่ กษ 0713(ธน)/15 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว และสมควรที่จะอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติตลอดไป ผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2531 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2531 เห็นชอบในหลักการที่จะให้กำหนดพื้นที่ธารโบกขรณีและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้มีหนังสือที่ กษ 0718(ธน)/27 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2531 เสนอให้ผนวกพื้นที่หมู่เกาะเหลาบิเละ (เกาะห้อง) เข้ากับพื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีด้วย อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่าปากลาวและป่าคลองบากัน ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และบริเวณหมู่เกาะเหลาบิเละ ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลแหลมสัก ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก และตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ 104 ตารางกิโลเมตร ซึ่งได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 86 ของประเทศ


ข้อมูลทั่วไป อุทยานแห่งชาติศรีพังงา มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่ง ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และสวยงามตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ มีสัตว์ป่าชุกชุม และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา อุทยานแห่งชาติศรีพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 153,800 ไร่ หรือ 246.08 ตารางกิโลเมตร ความเป็นมา : ในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 ราษฎรอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ได้เสนอผ่าน นายบรม ตันเถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ทางราชการจัดตั้งพื้นที่บริเวณน้ำตกตำหนัง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 พิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกตำหนัง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เดือนพฤษภาคม 2529 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 877/2529 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2529 ให้ นายธวัช ไชยพัฒน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจและจัดตั้งพื้นที่บริเวณป่าน้ำตกตำหนังเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติศรีพังงา” จากรายงานการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713 (ศง)/32 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2529 บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขานมสาว ในท้องที่ตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี และตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 60 ลงวันที่ 16 เมษายน 2531 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 56 ของประเทศลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแนวขนานกับฝั่งทะเลอันดามันในแนวเหนือใต้ บริเวณเทือกเขาจะมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้นกำเนิดลำห้วยต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดจุดเด่นทางธรรมชาติประเภทน้ำตก หน้าผา และสภาพป่าที่สวยงาม มีต้นน้ำลำธารมากมาย เช่น คลองคุรอด คลองตำหนัง คลองแพรกขวา คลองแพรกซ้าย คลองบางแดง คลองบางวัน คลองหลักเขต และคลองบางใหญ่ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปี มีเพียง 2 ฤดูกาล โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม ซึ่งสภาพอากาศจะชื้นและไม่หนาวหรือร้อนจัด มีอุณหภูมิตั้งแต่ 26-29 องศาเซลเซียส ตลอดปีพืชพรรณและสัตว์ป่า พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าดิบชื้นเป็นไม้ไม่ผลัดใบสภาพป่าค่อนข้างชื้น มีพรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ตะเคียน สะตอป่า กระท้อน ตาเสือ เสียดช่อ และนาคบุตร เป็นต้น ส่วนพืชพื้นล่างรกทึบด้วย หวาย เถาวัลย์ ว่าน สมุนไพร ระกำ มอส และเฟินชนิดต่างๆ รวมทั้งไผ่หลายชนิด มีสัตว์ป่าชุกชุมเนื่องจากพื้นที่ติดกับป่าเหนือเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้สัตว์ป่าอพยพหนีน้ำอันเกิดจากการปิดกั้นเขื่อนกักน้ำ มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สมเสร็จ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมี เสือ กระจง ชะนี ลิง ค่าง วัวแดง และนกชนิดต่างๆ อีกมากมาย เช่น นกแก้ว ไก่ป่า นกเงือก นกโพระดก นกแซงแซว นกปรอด นกหัวขวาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย เต่า ตะพาบน้ำ เห่าช้าง ตะกวด งู กิ้งก่า ฯลฯ ทั้งยังมีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบทูด คางคก เขียด อึ่งอ่าง และปลาที่สวยงามอยู่มากมายตามแอ่งน้ำต่างๆแหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติศรีพังงามีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าในท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และสวยงามตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ มีสัตว์ป่าชุกชุม และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามw เช่น น้ำตก สภาพป่า ฯลฯ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกตำหนัง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาหิน สูงประมาณ 60 ม. ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่เบื้องล่าง เหมาะแก่การเล่นน้ำมาก เป็นน้ำตกที่เดินทางไปเที่ยวได้สะดวกที่สุดของอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีทางรถยนต์ต่อเข้าไปอีกราว 1.5 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าผ่านแอ่งปลาพลวงและผืนป่าร่มรื่นไปอีก 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกตำหนัง ระหว่างทางมีนกหลายชนิดให้ชม เช่น นกหัวขวานสีน้ำตาล นกปรอดเล็กตาขาว นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล ฯลฯ น้ำตกโตนต้นไทร เกิดจากลำน้ำซึ่งตกจากโขดหินขนาดใหญ่ บริเวณใกล้น้ำตกจะมีต้นไม้ใหญ่น้อย และโขดหินสวยงาม สายน้ำไหลตกลงมาตามผาหินสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณน้ำตกมีต้นไทรอยู่หลายต้นจนเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ทางเข้าน้ำตกอยู่เลยด่านตรวจอุทยานแห่งชาติก่อนเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติมาเล็กน้อย เมื่อพบทางแยกให้เลี้ยวซ้าย ผ่านสวนผลไม้ชาวบ้านไปอีก 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเลาะลำธารเข้าไปถึงน้ำตก ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง แต่ในช่วงฤดูฝนจะเดินเข้าไปน้ำตกไม่ได้ จากน้ำตกโตนต้นไทรไปอีก 500 เมตร จะถึง ถ้ำค้างคาว ซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก น้ำตกโตนต้นเตย จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีทางเดินไปน้ำตกโตนต้นเตย ผ่านลำธารที่มีก้อนหินน้อยใหญ่ประมาณ 30 นาที จะถึงน้ำตกชั้นล่าง เรียกว่า น้ำตกโตนเตยน้อย สูง 10 เมตร จากนั้นเดินตามลำธารไปจนถึงน้ำตกโตนเตยที่ทิ้งตัวลงจากผาหินสูง 45 เมตร อยู่ท่ามกลางป่าดงดิบ มีเฟิน หวาย และนกหลายชนิดให้พบเห็น เช่น นกเขียวคราม นกเขียวก้านตอง นกโพระดกคางแดง ฯลฯ ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลากไม่สามารถเดินตามลำธารเข้าไปได้ ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทางเพราะอาจหลงทางได้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณลานจอดรถของน้ำตกตำหนัง มีทางเดินไต่เขาผ่านป่าดิบชื้นขึ้นไปจนถึงจุดชมทิวทัศน์ มองเห็นบริเวณที่คลองตำหนังไหลผ่านป่าชายเลนลงทะเลระหว่างทางมีต้นไทร ซึ่งถ้าโชคดีเป็นช่วงลูกไทรสุก ก็จะมีโอกาสได้พบนกหลากชนิดที่แวะมากินลูกไทร เช่น นกแก๊ก รวมทั้งนกเงือกหายาก เช่น นกชนหิน นกเงือกดำ ในบริเวณนี้ยังมีพืชหากยาก เช่น กระโถนพระฤาษี บัวผุด ด้วย จากนั้นเส้นทางจะผ่าน น้ำตกโตนอู น้ำตกโตนเด้ง แล้ววกกลับมายังจุดเริ่มต้นที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง มีลานกางเต้นท์ ร้านอาหาร ภายในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น. การเดินทาง รถยนต์ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ตะกั่วป่า-ระนอง) ผ่านป่าเทือกเขานมสาว เลี้ยวเข้าทางแยกสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติตรงหลักกิโลเมตรที่ 756 เป็นเส้นทางลำลองจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (จากปากทางบ้านตำหนัง) เข้าเขตน้ำตกตำหนังเป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรสถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติศรีพังงา ตู้ ปณ.22 ปทจ.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110 โทรศัพท์ 0 7641 9056

หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 เมื่อปีพ.ศ. 2525 มีขนาดพื้นที่ 128 ตารางกิโลเมตร (80000 ไร่) ในปีพ.ศ. 2541 มีการผนวกเกาะตาชัยและเกาะบอนเพิ่มอีก 12 ตารางกิโลเมตร รวมเป็น 140 ตารางกิโลเมตร (87,500ไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่บก 15 ตารางกิโลเมตร (9,375 ไร่) • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอยู่ในเขต อ.คุระบุรี จ.พังงา สิมิลัน เป็นภาษายาวี หมายถึง เก้า ตามจำนวนเกาะที่เรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเกาะหนึ่งอยู่ด้านทิศใต้ เกาะแปดหรือเกาะสิมิลันมีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร และมียอดสูงสุดที่ 244 เมตรกฎระเบียบข้อห้าม• การท่องเที่ยวพักผ่อนในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ มีกฎระเบียบที่นักท่องเที่ยวผู้มีจิตสำนึกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างยั่งยืนถาวร ดังนี้ -ไม่เก็บทุกอย่างออกจากพื้นที่นอกจากขยะ -ไม่ส่งเสียงดังอันเป็นการรบกวนผู้อื่น รวมทั้งสัตว์ป่า -ไม่ล่า ทำลาย หรือกระทำการใดๆ อันจะทำให้พืช สัตว์ และสภาพแวดล้อมเสียหาย -จงตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่เราทุกคนต้องใช้ร่วมกันและรักษาไว้เพื่อตัวเราเอง
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและกิจกรรมที่น่าสนใจ• เกาะเมียงหรือเกาะสี่ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ หาดทรายขาวละเอียดน่าเล่นน้ำทั้งหาดใหญ่และหาดเล็กซึ่งต้องเดินผ่านป่าดิบสภาพสมบูรณ์ประมาณ 20 นาที เป็นที่อาศัยของนกชาปีไหน ค้างคาวแม่ไก่ และปูไก่ที่มีเสียงร้องคล้ายลูกไก่ รวมทั้งสัตว์ป่าสารพัดชนิด บนเกาะมีแหล่งน้ำจืด มีบ้านพัก ลานกางเต็นท์ ร้านค้าสวัสดิการ และมีบริการเรือหางยาวพาดำน้ำตื้น• เกาะสิมิลันหรือเกาะแปด เป็นเกาะใหญ่ที่สุด มีอ่าวใหญ่โค้งสวยงาม เรียกว่า อ่าวเกือก ทรายขาวละเอียดราวแป้ง หน้าอ่าวสามารถดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้ ด้านขวาของอ่าวมีหินรูปร่างคล้ายเรือใบตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของสิมิลัน สามารถปีนขึ้นไปชมทิวทัศน์ได้• เกาะปาหยูหรือเกาะเจ็ด ด้านตะวันออกมีทั้งจุดดำน้ำตื้นและน้ำลึกที่สวยงามมาก นักดำน้ำหลายคนชอบที่นี่มากที่สุด เพราะมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน กัลปังหา และฝูงปลานานาชนิด รองลงไปคือด้านตะวันตก ส่วนด้านเหนือมีกองหินมีกัลปังหา เกาะนี้ไม่มีหาด• หินปูซาหรือหินหัวกะโหลก เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีก้อนหินรูปร่างคล้ายหัวกะโหลกอยู่เหนือน้ำ ส่วนใต้น้ำก็แปลกตาด้วยก้อนหินที่มีรูมีโพรงและมีช่องให้นักดำน้ำตื่นตาตื่นใจ• เกาะห้า ด้านตะวันตกมีกองหินขนาดใหญ่ที่มีปะการังอ่อนขึ้นอยู่ทั่ว พื้นที่ใกล้ๆ มีปลาไหลสวนที่มุดอยู่และชูคอออกมาดักอาหารกองหินแฟนตาซี เป็นจุดดำน้ำลึกอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบางูหรือเกาะเก้า มีกองหินสลับซับซ้อนที่เต็มไปด้วยปะการังอ่อนและกัลปังหา• หินสันฉลาม เป็นกองหินปริ่มน้ำใกล้ๆ เกาะปาหยันหรือเกาะสาม นักดำน้ำมักได้พบกับฉลามครีบเงิน ฉลามเสือดาว และฉลามหูขาว• เกาะบอน อยู่ระหว่างหมู่เกาะสิมิลันกับเกาะตาชัย ไม่มีหาด แม้ใต้น้ำไม่สวยเท่าจุดอื่นๆ แต่มีโอกาสพบกระเบนราหูได้มาก เหมาะสำหรับการดำน้ำลึก• เกาะตาชัย อยู่เหนือสุดของหมู่เกาะสิมิลัน บนเกาะมีหาดทรายขาวละเอียดสวยงาม มีแหล่งน้ำจืดและลานกางเต็นท์ เหมาะสำหรับการดำน้ำลึก เป็นที่ซึ่งพบฉลามวาฬได้บ่อยการเดินทางไปหมู่เกาะสิมิลัน • นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะไปลงเรือที่ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา จากทางหลวงหมายเลข 4 (ช่วงระนอง-พังงา) ช่วง ต.ลำแก่น มีทางแยกขวาไปท่าเรือทับละมุอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก่อนถึงท่าเรือด้านซ้ายมือเป็นที่ตั้งของที่ทำการและศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน• หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งสายใต้ สามารถไปได้ทุกคันที่วิ่งสายระนอง-พังงา ลงที่ทางแยกไปท่าเรือทับละมุแล้วต่อรถรับจ้างมาที่ท่าเรือ• ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม เป็นฤดูท่องเที่ยว มีเรือโดยสารจากท่าเรือทับละมุไปเกาะสิมิลันทุกวัน โดยเรือส่วนเรือออกช่วงเช้า หากมาเป็นหมู่คณะสามารถเช่าเหมาเรือได้• หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างจากฝั่งที่ท่าเรือทับละมุซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ที่สุดประมาณ 70 กิโลเมตร แต่ก็มีเรือท่าเรือโดยสารธรรมดาและเรือเร็วบริการพานักท่องเที่ยวมาจากภูเก็ตด้วย• หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างไกลจากฝั่ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จำกัด การเดินทางไปเกาะสิมิลันจึงต้องติดต่อล่วงหน้าเท่านั้น
การติดต่อและสำรองที่พัก• ติดต่อบ้านพักที่ที่ฝ่ายบริการบ้านพัก สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.0-2561-2918, 0-2561-2921, 0-2561-4292-4 ต่อ 746 หรือที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน โทร.0-7659-5045• อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนเยี่ยมชมหาความสำราญสนุกสนานเฮฮาเท่านั้น แต่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันยังเป็นสถานที่ซึ่งมีคุณค่าอันประเมินไม่ได้เป็นมรดกทางธรรมชาติและยังเป็นแหล่งความรู้สำหรับทุกคน เป็นที่รวมของธรรมทั้งพันธุ์พืชและเหล่าสัตว์ที่ยังหลงเหลือจากการถูกล่าอาจกล่าวได้ว่าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่สมบูรณ์บริสุทธิ์ เป็นที่รวมของป่าหลายประเภทเป็นที่บรรจบกันของป่าดิบกับแนวปะการัง ด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมทั้งทะเลและผืนป่าอันสุดสมบูรณ์ จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากตั้งแต่ปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ฉลามวาฬ จนถึงนกหายากอย่างเช่น นกชาปีไหน นกลุมพูขาว รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 27 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 22 ชนิด และสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก 4 ชนิด สัตว์เหล่านี้อยู่อาศัย หากิน และดำรงเผ่าพันธุ์มาช้านานในพื้นที่แห่งนี้โดยไม่มีมนุษย์ปะปน จึงไม่มีเหตุผลใดที่ผู้ไปเยือนจะก่อความเสียหาย ทำลาย หรือแม้แต่ทำการรบกวนต่อสิ่งมีชีวิตตังเล็กๆ สักตัวข้อห้ามดำเนินการในเขตอุทยานฯ (คัดลอกจากเอกสารของอุทยานแห่งชาติเกาะสิมิลัน) 1.ห้ามก่อกองไฟ 2.ห้ามประกอบอาหาร 3.ห้ามจุดเทียนไขในเต้นท์ 4.ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น 5.ห้ามเคลื่นย้ายเครื่องนอนทั้งในบ้านพักและเต็นท์ 6.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ 7.ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานฯอย่างเคร่งครัด
รายละเอียดบ้านพัก1.บ้านชมวิว มี 20 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 2,000 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่) 2.บ้านสิมิลัน มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 1,000 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่) 3.บ้านปูไก่ 1 มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)4.บ้านปูไก่ 2 มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่) 5.บ้านหูยง มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่) 6.บ้านปายัง มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่) 7.บ้านปาหยัน มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)8.เต็นท์ ราคา 400 บาท+อุปกรณ์เครื่องนอน พักได้ 2 ท่าน (มีทั้งเกาะสี่และเกาะแปด)• กรณีนำเต็นท์มากางเอง ให้กางที่เกาะแปด ค่าธรรมเนียมกางเต็นท์ 40 บาท/คน/คืนค่าธรรมเนียมบุคคลเข้าเขตอุทยานแห่งชาติ (เกาะสิมิลัน)คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท / เด็ก 20 บาทต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท / เด็ก 100 บาทค่าธรรมเนียมดำน้ำลึก : คนไทยและต่างชาติ 200 บาท/คน/วันค่าเช่าอุปกรณ์ดำน้ำ : หน้ากาก 100 บาท/วัน, ตีนกบ 100 บาท/วัน, ชูชีพ 50 บาท/วัน
สถานที่ติดต่อ • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน93 หมู่ 5 บ้านทับละมุ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82210โทร. 0 - 7659 - 5045 (บนฝั่ง), โทร. 0 - 7642 - 1365 (เกาะสี่), โทร. 0 - 7642 - 2136 (เกาะแปด)


เมืองพังงา เมืองที่สงบเงียบดูเรียบง่าย เป็นอำเภอที่มีภูเขารูปลักษณะสวยงามแปลกตาตลอดเส้นทาง ภูเขาเหล่านี้มีต้นไม้เขียวครึ้มขึ้นปกคลุม ทำให้ดูชุ่มชื้นและเย็นสบาย มีถนนหนทางที่สะอาด ตึกสองข้างทางยังเป็นตึกเตี้ย ๆ ที่ไม่บดบังความสวยงามของทิวทัศน์ธรรมชาติ เป็นเมืองที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเรียบง่ายในการพักผ่อนอยู่กับธรรมชาติไม่มีแสงสี และก่อนจะเข้าถึงตัวเมืองพังงา จะมองเห็น “เขารูปช้าง” สูงตระหง่านแต่ไกล ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพังงาที่น่าสนใจ• สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ถนนเขาช้าง ริมถนนเพชรเกษม เยื้องศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะที่มีทัศนียภาพสวยงาม มีรูปหล่อโลหะของ “สมเด็จย่า” ในท่าทรงประทับยืนอยู่กลางสวน ช่วงเย็นๆ จะมีประชาชนมาออกกำลังกายและพักผ่อนกันมาก• ถ้ำฤาษีสวรรค์ และถ้ำลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ถ้ำฤาษีสวรรค์ จะอยู่ด้านหน้าถ้ำลูกเสือ ภายในจะมีธารน้ำใส เย็นสบาย มีหินงอกหินย้อย สามารถเดินจากด้านหน้าถ้ำทะลุไปด้านหลังถ้ำได้ จากนั้นจึงเดินไปยังถ้ำลูกเสือ ที่มีขนาดเล็กกว่าถ้ำฤาษีสวรรค์ ในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอยู่ประปราย และมีฝูงลิงอยู่ด้านหน้าถ้ำด้วย• วนอุทยานสระนางมโนห์รา อยู่ตำบลนบปริง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาทอยนางหงษ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 180 ไร่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนเป็นแนวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทิศใต้ เป็นป่าประเภทป่าดงดิบหรือป่าฝน วนอุทยานฯ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีลำธารไหลจากป่าต้นน้ำที่อยู่บนสันเขาผ่านหุบเขาทั้งพื้นที่ราบ และพื้นที่ต่างระดับทำให้เกิดน้ำตกขนาดเล็ก มีไม้ทางเศรษฐกิจคือ ไม้หลุมพอ ตะเคียน จำปาป่า สัตว์ป่า ได้แก่ เลียงผา ลิง ค่าง หมูป่า ปลาเสือ ปลาพลวงหิน ตะพาบน้ำ ที่มาของชื่อวนอุทยาน “สระนางมโนราห์” ตามความเชื่อเล่าว่ามีนางกินรี 7 ตน บินจากเขาไกรลาศมาเล่นน้ำในสระ แล้วพรานบุญใช้บ่วงบาศจับน้องสุดท้อง ที่ชื่อว่ามโนราห์ไว้ได้ เพื่อนำไปถวายพระสุธน ชาวบ้านจึงใช้เรียกชื่อสระนี้สถานที่น่าสนใจภายในเขตวนอุทยานสระนางมโนราห์ ได้แก่• น้ำตกสระนางมโนราห์ มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดกลาง และมีน้ำตกขนาดเล็กที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี• ถ้ำเปลือกหอย อยู่ห่างจากที่ทำการ 1,300 เมตร เป็นถ้ำขนาดกลางที่มีสุสานหอยอยู่ภายใน เส้นทางเดินเป็นทางลาด เดินสบาย • ถ้ำขี้ค้างคาว อยู่ห่างจากที่ทำการ 2,300 เมตร เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำเปลือกหอย มีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก ทางเดินไม่ลาดชันสามารถเดินเที่ยวได้เอง• ถ้ำแก้ว อยู่ห่างจากที่ทำการ 3 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำขี้ค้างคาว อยู่ห่างจากถ้ำขี้ค้างคาวประมาณ 1,500 เมตร ในถ้ำมีหินงอก หินย้อยสวยงาม การเดินเที่ยวถ้ำแก้วจะต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง • นอกจากนี้วนอุทยานฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งมีป้ายสื่อความหมายแสดงความเป็นอยู่ร่วมกันของพืชและสัตว์ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถเดินได้เอง ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง • ที่พัก วนอุทยานฯ ไม่มีบ้านพัก แต่มีสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์ และเครื่องนอนพร้อมอุปกรณ์ในการพักแรมมาเอง และทางวนอุทยานฯ มีบริการร้านอาหาร เปิดตั้งแต่เวลา 09.00 น.–16.30 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ หัวหน้าวนอุทยานสระนางมโนราห์ ตำบลนบปริง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000• การเดินทาง จากตัวเมืองพังงาใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ไปทางตำบลนบปริง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีป้ายวนอุทยานฯ เลี้ยวขวาเข้าไป 4 กิโลเมตร• สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจังหวัดพังงา อยู่ริมถนนเพชรเกษม ตำบลตากแดด จากตัวเมืองพังงา อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 33 (เยื้ององค์การโทรศัพท์จังหวัดพังงา) มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกปรอดหัวโขนเคราแดง นกแก็บ นกแสก เหยี่ยวแดง ไก่ฟ้าสีทอง นกยูงไทย-อินเดีย นอกจากนี้ยังมีเลียงผา เม่น ชะนี ลิง ค่างดำ หมี เป็ด เปิดให้เข้าโดยไม่เสียค่าเข้าชมทุกวัน เวลา 08.30–16.30 น. หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าถึง หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจังหวัดพังงา สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจังหวัดพังงา โทร. 0 7641 3261• เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต อยู่ตำบลสองแพรก มีพื้นที่ 100,000 ไร่ ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มีน้ำตกโตนปริวรรต หรือชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกสองแพรก” ห่างจากเขตรักษาพันธุ์ฯ 100 เมตร เป็นน้ำตกไม่สูงนักเบื้องล่างเป็นแอ่งน้ำที่ยังมีเศษแร่ตกค้างอยู่ ช่วงหน้าฝนน้ำจะไหลแรง มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ตามเส้นทางสามารถจะเห็น บัวผุด เป็นพันธุ์ไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุดในโลก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร เป็นพืชกาฝากเกาะกินรากไม้เถาชื่อ ย่านไก่ต้ม กลีบดอกมี 5 กลีบ มีสีน้ำตาลแดง เป็นพืชที่หาดูได้ยากจะเกิดเฉพาะป่าที่มีความสมบูรณ์ ออกดอกปลายหน้าฝนประมาณเดือนตุลาคม นอกจากนั้นตามเส้นทางจะสังเกตุเห็น เหมืองเก่าร่องรอยแห่งอดีต จุดดูนก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของป่า ผ่านน้ำตกหินเพิง ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำ เป็นต้น การเดินศึกษาต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ปัจจุบันมีบริษัทนำเที่ยวจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งนั่งช้างผ่านป่าชมธรรมชาติสองข้างทางของลำธารซึ่งยังคงความบริสุทธิ์ของป่าที่ยังไม่มีใครเข้าไปรุกราน และล่องแก่ง ที่นี่มีเกาะแก่งมากทำให้สนุกสนานและตื่นเต้นเหมาะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัย โดยใช้เวลาในการล่องแก่งประมาณ 45 นาที และสามารถล่องได้ตลอดทั้งปี • ที่พัก มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 2 หลัง และมีที่กางเต็นท์โดยนักท่องเที่ยวจะต้องนำเต็นท์มาเอง ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต หมู่ 2 ตำบลสองแพรก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000 • การเดินทาง รถยนต์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 4 เลี้ยวขวาที่บ้านสองแพรกเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง สามารถนั่งรถสายกรุงเทพฯ-พังงา มาลงที่สถานีเดินรถโดยสารประจำทางจังหวัดพังงาแล้วทางเจ้าหน้าที่เขตฯ จะมารับ โดยต้องติดต่อล่วงหน้า• อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว อุทยานฯ แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งที่สองของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเล และเกาะน้อยใหญ่ มีเขาหินปูนลักษณะต่าง ๆ ที่มีความงามแตกต่างกันไปตามลักษณะของหิน สมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน และยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำอีกด้วย ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 ช่วงที่เหมาะจะมาท่องเที่ยวคือ เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นช่วงที่ฝนตกชุก คลื่นลมแรงสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพังงาที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ ได้แก่• เกาะปันหยี เป็นเกาะเล็ก ๆ มีที่ราบประมาณ 1 ไร่ มีบ้านเรือน 200 หลังคาเรือน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพประมง ขายของที่ระลึก และขายอาหารให้แก่นักท่องเที่ยว มีโรงเรียน และสถานีอนามัยอยู่บนเกาะ• เกาะพนัก เป็นเกาะที่สวยงาม มีถ้ำหินงอก หินย้อย และมีแอ่งน้ำตกขนาดเล็กเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันอยู่ในถ้ำด้วย• เขาพิงกัน เหตุที่ชื่อนี้เพราะภูเขาหินแตกออกจากกัน หินที่เล็กกว่าเลื่อนลงมา ฐานจมลงไปในดินแยกห่างจากกัน ส่วนด้านบนยังคงพิงกันอยู่ ด้านหลังของเขาพิงกันมีทิวทัศน์ที่สวยงาม มองออกไปในทะเลจะเห็น “เขาตะปู” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เกาะเจมส์บอนด์” มีลักษณะเหมือนตะปู อยู่กลางน้ำ อุทยานฯ เก็บค่าขึ้นเขาพิงกัน ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท เพราะเป็นเกาะที่อยู่บนหาด • เขาหมาจู อยู่ระหว่างทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี เขาหมาจู เป็นภูเขาหินมีลักษณะคล้ายรูปสุนัขแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัวและหางเป็นพู่เขาเขียน หรือ ภาพเขียนสี เป็นทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี บริเวณหน้าผาจะมีรูปเขียนเป็นภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดโดยนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการศึกษาว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี ถ้ำลอด เป็นภูเขาลักษณะเกาะทะลุ ปากถ้ำกว้างประมาณ 50 เมตร สูง 40 เมตร เรือขนาดเล็กสามารถแล่นผ่านทะลุไปอีกด้านของถ้ำได้ บนเพดานถ้ำมีหินย้อยดูแปลกตา • เกาะห้อง เป็นภูเขาเล็กใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อแล่นเรือเข้าไประหว่างเกาะ มองโดยรอบเหมือนอยู่ในห้องโถงใหญ่ที่มีประตู 2 บาน และเป็นแหล่งปะการังที่สวยงาม• การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา• ทางรถยนต์ อุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 4 จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือท่าด่านศุลกากร สามารถเช่าเรือจากบริเวณท่าเรือได้ หรือเดินทางโดยรถสองแถว มีรถออกจากตัวเมืองไปท่าเรือท่าด่านศุลกากรทุกวัน• การเช่าเรือล่องอ่าวพังงา มีเรือบริการนำเที่ยวออกจากท่าเรือต่าง ๆ ดังนี้• ท่าเรือท่าด่านศุลกากร ใกล้โรงแรมพังงาเบย์ รีสอร์ท มีเรือนำเที่ยวหลายขนาดให้เช่า เรือสำหรับ 5 คน ราคา 650 บาท 15 คน ราคา 1,500 บาท 40–50 คน ราคา 2,500 บาท 80 คน ราคา 3,500 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง• ท่าเรือสุระกุล หรือ ท่าเรือกะโสม ในอำเภอตะกั่วทุ่ง มีเรือให้เช่าหลายขนาด เรือสำหรับ 1–10 คน ราคา 1,000 บาท 11–20 คน ราคา 1,200 บาท 21–30 คน ราคา 1,500 บาท• ท่าเรือในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีเรือหลายขนาดไว้บริการนักท่องเที่ยว เรือสำหรับ 2-4 คน ราคา 800 บาท 10–15 คน ราคา 1,500 บาท 40 คน ราคา 3,500 บาท 41–60 คน ราคา 4,500 บาท 61–80 คน ราคา 5,500 บาท* ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง (อัตราค่าเรืออาจเปลี่ยนแปลงได้) • ที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 5 หลัง พักได้ 4 คน ราคา 500 บาท พักได้ 15 คน ราคา 900 บาท มีบริการเต็นท์ให้เช่า พักได้ 1-2 คน ราคา 200 บาท พักได้ 5 คน ราคา 250 บาท ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าอาบน้ำคนละ 20 บาท •
สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 80 หมู่ 1 ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000 โทร. 0 7641 1136, 0 7641 2188 หรือส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2561 2920-1


หลวงเชียงดาวข้างๆเป็นต้นซากุระสีหวาน กับสายลมเย็นยามเช้าช่วยทำให้ห้วงเวลาบน สันปาเกี๊ยะยิ่งใหญ่และน่าจดจำ ฤดูหนาวสำหรับคนเดินทางหลายๆคน จุดหมายคงหนีไม่พ้นเทือกเขา และยอดดอยแต่หากหนึ่งในเส้นทางของจุดหมายที่มีสีสัน และความหวานของสีชมพูแห่งจินตนาการเข้ามาสอดแทรก ใครเล่าอยากจะปฏิเสธที่จะเดินทางไปชื่นชมซากุระเจ้าหญิงแห่งดอกไม้สีชมพู ณ สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาวที่จังหวัดเชียงใหม่ ถึงแม้ชื่อสันปาเกี๊ยะอาจจะยังไม่คุ้นหูแต่นั่นคือ จุดเริ่มต้นที่จะเดินทางมาค้นหาดินแดนแห่งขุนเขาสูงเสียดฟ้าอบอวลด้วย ทะเลหมอกและดอกไม้ที่บานสะพรั่งคำว่าเกี๊ยะเป็นคำเมืองแปลว่า ต้นสนบนยอดดอย มีทิวสนต้นใหญ่เรียงรายไปตามแนวเขา มีแปลงดอกไม้และแปลงทดลองปลูกกาแฟ ที่สำคัญในช่วงฤดูหนาวจะมองเห็น ทะเลหมอกกับแสงแรกของดวงอาทิตย์ตรงเส้นขอบฟ้าบนยอดดอยหลวงเชียงดาว เป็นภาพที่ยิ่งใหญ่แอบแฝง ด้วยความอ่อนหวาน และงดงามณ จุด กางเตนท์ในยามค่ำคืนจะมองเห็นดาวเต็มท้องฟ้า และแสงระยิบระยับจากเมืองเชียงดาวช่วยขับกล่อม ให้เป็นค่ำคืนที่แสนหวานและน่าจดจำ
อร่อยประจำถิ่น • ก่อนกลับบ้านแวะทานขาหมูเสวยและยำสมุนไพรที่ขึ้น ชื่อของร้านครัวเชียงดาวขนมครกเสวยที่นี่ก็อร่อยไม่แพ้กันหรือใครที่ชอบทานอาหารเพื่อสุขภาพลองแวะไปร้านลองพิสูจน์-มังสวิรัติ อยู่หน้าตลาดเชียงดาวมีเมนูมังสวิรัติหลากหลายให้เลือกชิม• "ปาท่องโก๋"ที่ตลาดสดเชียงดาวขึ้นชื่อว่าอร่อยมากๆ ถ้าให้ดีต้องทานร่วมกันกับโอวัลตินร้อนหรือกาแฟสดรสชาติหอมปรุงจากเมล็ดกาแฟดอย นอกนั้นยังมีอาหารพื้นบ้านแบบชาวเหนือแท้ๆขาย โดยเฉพาะ"ข้าวนึ่งกับจิ้นทอด"ซื้อเก็บตุนเป็นเสบียงไว้ดีนักแลรู้ก่อนเดินทาง• ดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งจะผลิบานเต็มที่ช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม• การเดินทางค่อนข้างลำบากเป็นทางลูกรังและเป็นหลุมเป็นบ่อต้องใช้รถขับเคลื่อน4ล้อเท่านั้น• การเยี่ยมชมควรติดต่อขออนุญาตจากสถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาวคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างน้อยล่วงหน้า10วัน













ภาคเหนือ
กำแพงเพชร (กพ.)"กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ"
อุทัยธานี (อน.)"อุทัยธานีเมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ"
นครสวรรค์ (นว.)"เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ"
พิจิตร (พจ.)"เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพรชรวมใจ บึงสีไฟลือเลื่องยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน"
พิษณุโลก (พล.)"พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา"
ตาก (ตก.)"ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม"สุโขทัย (สท.)"มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจกสังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"
อุตรดิตถ์ (อต.)"เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก"
แพร่ (พร.)"ม่อฮ่อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ พระธาตุช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่มีน้ำใจงาม"
เพชรบรูณ์ (พช.)"เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"
ลำปาง (ลป.)"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างให้ลือโลก"
น่าน (นน.)"แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง"
ลำพูน (ลพ.)"พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำใยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญไชย"
เชียงใหม่ (ชม.)"ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา งามล้ำค่านครพิงค์"
พะเยา (พย.)"กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม"
แม่ฮ่องสอน (มส.)"หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง"
เชียงราย (ชร.)"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา"


ภาคใต้
ชุมพร (ชพ.)"ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก" ระนอง (รน.)"คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง"
สุราษฎร์ธานี (สฎ.)"เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
นครศรีธรรมราช (นศ.)"เราชาวนคร อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอรปกรรมดี มีมานะพากเพียรไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด"
พังงา (พง.)"แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบรูณ์ด้วยทรัพยากร"
กระบี่ (กบ.)"กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก"
ภูเก็ต (ภก.)"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"
พัทลุง (พท.)"เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาปงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน"
ตรัง (ตง.)"เมืองพระยารัษฎา ปวงประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรังปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา"
สงขลา (สข.)"นกน้ำเพลินตา สมิหราเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้"สตูล (สต.)"สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"
ปัตตานี (ปต.)"บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด"
ยะลา (ยล.)"ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน"
นราธิวาส (นธ.)ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน"


เช้าวันใหม่ในยามที่ดวงอาทิตย์ ยังไม่ทันโผล่พ้นขอบฟ้าเสียงกระซิบ ของสายลมยามเช้าลอยผ่าน เทือกเขาที่เรียงรายสลับซับซ้อนเบื้องหน้าที่เวิ้งว้างกว้างไกล เต็มไปด้วยทะเลหมอกสีเทาจางพืชพันธุ์ ชนิดต่างๆทยอยกันผลิดอกออกผลบานสะพรั่ง เต็มขุนเขา ณ ดอยภูคา แห่งนี้ได้ซ่อนความมหัศจรรย์ เอาไว้มากมายไม่ว่าจะเป็นผืนป่าแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีพรรณไม้หายากของโลกอย่างต้นชมพูภูคา หรือแม้กระทั่งต้นเต่าร้างยักษ์ภูคารวมไปถึง ต้นก่วมภูคาพรรณไม้เฉพาะถิ่นที่หายาก ของเมืองไทยหากมาเที่ยว ช่วงฤดูหนาวก็จะได้พบดอกนางพญาเสือโคร่งออกดอกสีชมพูบานสะพรั่ง หวานชื่นใจไปทั่วดอยนอกจากจะชมความงามของ ดอยสีชมพูแห่งนี้แล้วกิจกรรมง่ายๆที่อยากให้ทำ คือการเดินป่าระยะสั้นในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติแวะชม"น้ำออกรู"ที่ธารน้ำลอดหรือหากมี เวลาและชอบการผจญภัยไปเที่ยวชมน้ำตกภูฟ้าน้ำตกขนาดใหญ่ที่ซ่อนตัวอยู่กลางป่าลึกมีความสูงลดหลั่นกันถึง12ชั้นยามพระอาทิตย์ลับเหลี่ยม เขาพระจันทร์เคลื่อนตัวมาจับจองท้องฟ้าเพียงเร้นกายลงนอน ใต้หลังคาผ้าใบเปิดม่านออกมาชมดาว ณ จุดชมวิวลานดูดาวยอดดอยภูคาแห่งนี้ก็นับเป็นทริปที่ตรึงใจได้ไม่รู้ลืม• ถ้าไปน่านในฤดูฝนอย่าลืมหาหนอนรถด่วนมารับประทาน เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนแท้ๆ • ถ้าผ่านไปทางอ.เวียงสาลองแวะร้านกาแฟPPMilk & CoffeeHouseริมแม่น้ำน่านของขึ้นชื่อคือกาแฟสด วอฟเฟิลและแซนวิชไส้ต่างๆ• ต้นนางพญาเสือโคร่งจะเบ่งบานอวดสีชมพูสดเต็มยอดดอย ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ •ต้องการชมดอกชมพูภูคาให้ไปในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม


หากจะมีที่ไหนสักที่ที่สามารถทำให้คุณอยากหยุดเวลาเก็บลมหายใจไว้กับความ ทรงจำดีดีได้ปล่อยจินตนาการให้ล่องลอยไปกับสายลมภูชี้ฟ้าคงจะเป็นที่แห่งนั้น

ว่าไปแล้ว...ใครบ้างที่ไม่อยากเอื้อมมือไปจับก้อนเมฆ มีโลกแห่งความฝันที่สวยงาม และโรแมนติกบนยอดดอยที่สูงเสียดฟ้าทะเลหมอกที่ทอดยาวสุดสายตา ได้รวบรวมความฝันและจินตนาการทั้งหมดนี้ไว้ได้อย่างงดงาม ภูชี้ฟ้ายอดเขาสูงที่สุดแห่งดอยผาหม่นจังหวัดเชียงรายเป็นดินแดนที่มีไอหมอกโอบกอดทิวเขา สลับซับซ้อนยอดภูที่มองดูจากระยะไกลแลเห็นเป็นยอดเขาแหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้าอย่างน่าอัศจรรย์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น"หลังคาแห่งสยาม"บนจุดชมวิวจะมีทุ่งหญ้ากว้างราวๆ1ตารางกิโลเมตร และนี่คือส่วนที่เป็นปลายแหลมอันเป็นที่มาของชื่อภูปลายแหลมนี้เอง ยื่นไปทางฝั่งประเทศลาวจนใครหลายคนที่ได้ไปยืนจุดนี้มักจะพูดกันเล่นๆว่าได้ไปเที่ยวเมืองนอกมาแล้ว เมื่อม่านหมอกสลาย จะมองเห็นหมู่บ้านเชียงตองของลาวที่อยู่เบื้องล่างท่ามกลางผืนป่าเขียวครึ้มได้อย่างชัดเจน ในฤดูหนาวบนภูชี้ฟ้า จะมีดอกเสี้ยวหรือ

ดอกชงโค​ผลิ​ดอก​สี​ขาว​บาน​สะพรั่ง​เต็ม​เชิง​เขา ​ยาม​พระอาทิตย์​อวด​โฉม​บน​แผ่น​ฟ้า​ไม่​ว่า​จะ​ยืน​อยู่​จุด​ใด​ของ​ยอด​ภู​ภาพ​ที่​เห็น​เบื้อง​หน้า​ คือ​แสง​สี​ทอง​ตัด​สลับ​กับ​ทิว​เมฆ​ทั่ว​ท้องฟ้า ​เป็น​ภาพ​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​และ​ยอดภูที่มองดูจากระยะไกล แลเห็นเป็นยอดเขาแหลม ชี้ขึ้นไปบนฟ้าอย่างน่าอัศจรรย์

อร่อยประจำถิ่น • แวะดื่มกาแฟสดที่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอย ผาหม่นตั้งอยู่ก่อนถึงบ้านร่มฟ้าไทย ซึ่งเป็นหมู่บ้านเชิง ภูชี้ฟ้าทางด้านซ้ายมือราว10กิโลเมตรซึ่งที่นี่ยังเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับการพัฒนาและมีการจัดการ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบครบวงจรอีกด้วย • ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นคือ เดือนพฤศจิกายน-มกราคมหากจะชมดอกเสี้ยวออกดอก บานสะพรั่งต้องเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ • การจะมาชมทะเลหมอกที่นี่จำเป็นต้องมานอน ค้างคืนสามารถใช้บริการรีสอร์ทต่างๆก่อนทางขึ้นภู ส่วนวนอุทยานภูชี้ฟ้าไม่มีบ้านพักบริการต้องนำเต๊นท์ไป กางเองเต๊นท์ที่นำไปควรจะแข็งแรงและมีแผ่นผ้ายางกัน น้ำค้างด้วย


ณ หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆแห่งหนึ่ง ในตำบลอ่าวนางจังหวัดกระบี่ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติภูเขาหินปูน และผาสูงชันทำให้การเดินทางมาหมู่บ้านนี้ ต้องอาศัยการนั่งเรือเพียงอย่างเดียว หมู่บ้านนี้มีหาดทรายสวยงามเนื้อละเอียดชื่อ หาดไร่เลซึ่งยังไม่เป็นที่คุ้นหูกับคนไทยนัก แต่หารู้ไม่ว่าที่นี่ เป็นที่ที่หลายคนอุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลจากแดนไกล เพื่อจะบันทึกความทรงจำว่าครั้งหนึ่ง เคยได้สัมผัสบรรยากาศโรแมนติก ชมจันทร์สวยปีนหน้าผาสูงที่อ่าวไร่เล ที่นี่น้ำทะเลสีมรกตเวิ้งหาดทรายเนียนนุ่มของไร่เล โค้งตัวยาวไปตามแนวเขายามบ่ายนั่งเรือโทง เรือประมงท้องถิ่น ที่ชาวบ้านชาวเลพร้อมใจกันอนุรักษ์ไว้ ไปเที่ยวถ้ำพระนางอนุสรณ์ตำนานรักระหว่างหญิงสาว และพญานาค หรือจะแค่นอนแช่น้ำทะเลสีฟ้าใสก็สุขใจ พอกันหากใคร ที่ชอบแนวผจญภัยไร่เลโด่งดังมาก ในเรื่องกิจกรรมปีนหน้าผามีทีมงานฝีมืออาชีพ คอยดูแลเย็นย่ำค่ำลงบรรยากาศ ที่หาดไร่เลงดงามยิ่งนัก โดยเฉพาะคืนจันทร์เต็มดวงแสงสีหวานของพระจันทร์ จะอาบไล้ผิวนวล ของท้องทะเลกว้างสะท้อนให้เห็นภาพดวงจันทร์สองดวงอยู่คู่กัน เป็นความงดงามและความโรแมนติก ที่ยังคงอยู่คู่หมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ตลอดไปอร่อยประจำถิ่น • ที่อ่าวนางทานอาหารทะเลสดๆที่ร้าน"วังทราย"เมนูเด็ด ที่พลาดไม่ได้คือหอยชักตีนกุ้งเผาเนยปลาหมึกย่าง• ไปถึงกระบี่ต้องลองหอยชักตีน ลวกสดๆจิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือน้ำพริกกุ้งเสียบ แกงส้มปักษ์ใต้ แกล้มด้วยผักเหลียงผัดไข่ เข้าร้านไหนถามหาได้เลยรับรองไม่ผิดหวังรู้ก่อนเดินทาง • ควรหาโอกาสเช่าเรือออกไปเที่ยวตามเกาะต่างๆเช่นเกาะไก่เกาะทัพเกาะห้องเกาะปอดะทะเลแหวกซึ่งสามารถไปได้ทุกที่ในวันเดียวจะพายเรือแคนนูหรือเรือคายัคที่อ่าวท่าเลนลัดเลาะไปตามชายป่าโกงกางหรือรอบหมู่เกาะห้องกิจกรรมปีนเขาที่ไร่เลใครไปใครมาต้องหาโอกาสไปลองซักครั้ง• ช่วงฤดูท่องเที่ยวของไร่เลจะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนพฤษภาคม เดินทางจากได้สะดวกจากอ่าวนาง• ช่วงฤดูมรสุมกลางเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมให้เดินทางจากอ่าวน้ำเมา


ณ จุดสูงสุดของยอดเกาะสี่สิมิลัน เกาะสวรรค์ กับความงามที่ไม่เคยสูญสิ้นไปตามกาลเวลา บนหาดทรายขาวที่ทอดตัวยาวสู่กลางทะเลสีฟ้าใส ปล่อยให้กลิ่นอายของความสุขคลุกเคล้าไป กับสายลมบรรยากาศแบบนี้เกิดขึ้นได้ที่หมู่เกาะสิมิลันจังหวัดพังงา หมู่เกาะที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีปะการังน้ำลึกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย สิมิลันเป็นภาษายาวี แปลว่าเก้าหมายถึงหมู่เกาะทั้งเก้า ที่เรียงตัวอยู่ด้วยกันกลางทะเลอันดามันแห่งนี้ และมีน้องใหม่คือ เกาะตาชัยและเกาะบอน ที่เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกของหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อไม่นานไม่ใช่แค่ความงามบนพื้นดินบนผิวน้ำที่มองเห็น และสัมผัสได้ด้วยตาเปล่าก็ใสราวกับกระจก และงดงามอย่างน่าอัศจรรย์ความสมบูรณ์ของปะการัง และสัตว์น้ำใต้ท้องทะเลของสิมิลันยังเป็นที่เลื่องชื่อลือชา ในหมู่นักดำน้ำทั่วโลกว่าต้องมาดูให้เห็นกับตาสักครั้ง ยามบ่ายคล้อยกิจกรรมที่น่าสนใจที่สุด คือการได้ไปนั่งทอดอารมณ์ทบทวนความคิดความรู้สึก อาบแสงทองชมพู และชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ณ จุดชมวิวจุดสุดท้ายของแผ่นดินไทยที่จะได้เห็น พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าบนเกาะสี่ ของสิมิลันหรือถ้าอยู่ที่เกาะแปด ก็ให้ปีนขึ้นไปบนหินเรือใบ จะได้เห็นภาพหมู่เกาะน้อยใหญ่ และทะเลอันดามันไกลสุดลูกหูลูกตาทั่วอณูของท้องฟ้ากว้าง ทั่วขอบเขตของท้องทะเลไทย ถึงแม้จะเต็มไปด้วยการอำลาอาลัย แต่นั่นคือสัญญาณของการเริ่มต้นใหม่ที่กำลังจะตามมาอร่อยประจำถิ่น• บนเกาะสี่และเกาะแปดมีร้านอาหารสวัสดิการคอยบริการตั้งแต่เวลา08.00-20.00น.ทุกวันถ้าให้ดีลองชิมอาหารพื้นเมืองทางใต้เช่นแกงส้ม(แกงเหลือง)กับไข่เจียวรับรองจะติดใจรู้ก่อนเดินทาง • ปิดเกาะตั้งแต่วันที่16พฤษภาคม-15พฤศจิกายนของทุกปี แต่หากมีมรสุมเข้าก่อนกำหนด ทางอุทยานจะประกาศปิดเกาะก่อนขอให้ตรวจเช็คอีกครั้ง โทร.075629018-9หรือโทร.02-5620760• เกาะที่สามารถพักค้างแรมได้ คือเกาะสี่ และเกาะแปดจะมีบ้านพักเต๊นท์ และร้านค้าสวัสดิการไว้บริการ


อัศจรรย์น้ำพุร้อนกีเซอร์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยมากมายด้วยสรรพคุณเพื่อการบำบัดรักษาท่ามกลางธรรมชาติเขียวสดของหมู่ไม้โป่งเดือดป่าแป๋จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายในใจของคนรักสุขภาพเพราะเมืองไทยมีธรรมชาติอันน่าอัศจรรย์ซุกซ่อนอยู่มากมาย แม้แต่น้ำพุร้อนที่โป่งเดือดป่าแป๋ ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นน้ำพุร้อนกีเซอร์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ยังมอบความตื่นตา จากสายน้ำพวยพุ่งจากระดับผิวดินเป็นครั้งคราวตลอดเวลา ตามแรงดันใต้ผิวดิน ถ้าเทียบกับบ่อน้ำพุร้อนที่เป็นเพียงน้ำผุดขึ้นมาเท่านั้นนับว่าโป่งเดือดป่าแป๋ อลังการกว่ากันมากนัก ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบำบัดรักษาโรคปวดตามข้อได้ดีอีกด้วย ในอดีตน้ำพุร้อนจากที่แห่งนี้ พวยพุ่งจากพื้นดินสูงถึง2 เมตร จากบ่อใหญ่ที่สุดในบรรดา3 บ่อที่มีอยู่ ทุกๆ30 วินาที คุณจะได้พบน้ำพุร้อนอุณหภูมิสูงถึง99 องศาเซลเซียส ที่ทะยานขึ้นจากดินสู่ฟ้า ราวกับโชว์ อันตระการตาจากธรรมชาติที่กำนัลสู่มนุษย์ และเพื่อให้ผู้มาเยือนได้รับคุณประโยชน์จากน้ำพุร้อนกันเต็มอิ่ม จึงมีการสร้างห้องอาบน้ำโดยน้ำร้อนจากโป่งเดือดส่งผ่านเข้ามาทางท่อที่เชื่อมต่อกับน้ำพุร้อนว่ากันว่า...ด้วยแร่ธาตุที่มีในน้ำพุร้อนนั้นจะช่วยบำรุงรักษาผิวพรรณได้ดี
อร่อยประจำถิ่น • ที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีร้านอาหารสวัสดิการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยวในราคาสบายกระเป๋ารู้ก่อนเดินทาง • หากเดินทางมาเยือนในฤดูหนาวแนะว่าควรกางเต๊นท์ พักแรมณอุทยานฯเพื่อดื่มด่ำทะเลหมอกยามเช้า
ติดต่ออุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังโทร.053471669


ปายในอดีตนั้น เป็นเพียงจุดแวะพักของนักเดินทางที่จะขึ้นไปยังเมืองแม่ฮ่องสอน ความที่ปายนั้นอยู่บนที่สูงและล้อมกรอบตัวเองอยู่ในหุบเขา ทำให้ที่นี่อากาศดีตลอดทั้งปี เปรียบได้กับหลังคาของแม่ฮ่องสอน หรือที่ถูกขนานนามว่า "เมืองแห่งหมอกสามฤดู"ปาย คือชนบทเล็กๆ ที่ไม่มีกิจกรรมท่องเที่ยวอะไรเป็นที่หวือหวามากนัก แต่ก็เป็นเมืองที่เหมาะแก่การมาพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง วันๆ หนึ่งในปาย ก็คือวันที่ขี้เกียจได้ทั้งวันของใครหลายๆ คน การนั่งจิบกาแฟไป อ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม เท่านี้ก็มีความสุขแล้ว หลายคนยังได้เลือกที่จะมาตั้งถิ่นฐานและใช้ชีวิตอยู่ที่ปาย เหตุผลเพราะที่นี่ไม่มีความวุ่นวาย ไม่ต้องดิ้นรน และชาวบ้านมีอัธยาศัยดีงาม ด้วยความมีสเน่ห์เฉพาะตัว ทำให้เมืองปายกลับกลายเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างรวดเร็ว การเที่ยวสำรวจรอบตัวเมืองเล็กๆ แห่งนี้ การใช้สองเท้าเดินเที่ยวไปเรื่อยๆ ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ที่จะทำให้พบเห็นสิ่งต่างๆ ในเมืองได้ทั่วถึง หรือการปั่นจักรยาน, ขี่มอเตอร์ไซด์ที่มีให้เช่าทั่วไป ลัดเลาะไปยังที่เที่ยวต่างๆ รอบเมืองปายก็ได้ เพราะที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนักถึงแม้ทุกวันนี้ ปายจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้ามามากมาย ตามจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือนที่เพิ่มขึ้น แต่เมืองชนบทเล็กๆ บ้านๆ นี้ ก็ยังคงมีความเรียบง่าย สงบ ปลอดภัย แฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ และอากาศที่บริสุทธิ์

ดินทางไปปายขับรถไปขับรถไปปาย เริ่มจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 107 จากเชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่ริม ไปอำเภอแม่แตง ระหว่างทาง ให้เลี้ยวตัดตรงแยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1095 เพื่อไปยังอำเภอปายซึ่งเป็นเส้นทางที่คดเคี้ยวเป็นอย่างมาก ควรขับด้วยความระมัดระะวัง ระยะทาง 136 กิโลเมตรนั่งรถโดยสาร รถประจำทาง รถตู้ไปปายรถโดยสารประจำทางไปปายนั้น มีบริการในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนเท่านั้น ซึ่งหากขึ้นที่เชียงใหม่จะสะดวกที่สุด เพราะระยะทางไปปายจะใกล้กว่า รถออกมากกว่า และมีให้เลือกมากกว่า สำหรับจุดขึ้นรถโดยสารไปปายหลักๆ จะอยู่ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ หรือสถานีขนส่ง"อาเขต" ดำเนินการโดย บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด ซึ่งจะมีรถที่ให้บริการอยู่ 3 ชนิด คือรถโดยสารประจำทาง(พัดลม) ออกเวลา 07.00, 09.00, 10.30, 12.30 และ 14.00 น. ค่าโดยสารคนละ 80 บาทรถมินิบัส(ปรับอากาศ) ขนาด 18 ที่นั่ง ออกเวลา 7.30, 8.30 น. ค่าโดยสาร 150 บาทรถตู้ ออกทุกชั่วโมง เที่ยวแรกเริ่มเวลา 6.30 น. จนถึง 16.30 น. ค่าโดยสาร 150 บาทหรือเลือกบริการของบริษัท อยาเซอร์วิส(Aya Service) ซึ่งเป็นรถตู้โดยสาร ที่มีบริการไปรับตามเกสเฮาส์ต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ถึงที่ ซึ่งสามารถจองที่นั่งโดยตรงกับทางบริษัทหรือผ่านทางเกสเฮาท์

เครื่องบินไปปายการเดินทางไปปายโดยเครื่องบินนั้น เปิดให้บริการโดยสายการบิน เอส จี เอ (SGA Airlines) พันธมิตรในเครือนกแอร์ ซึ่งเป็นสายการบินที่เน้นการบินเชื่อมเมืองหรือการบินระยะสั้นเป็นหลัก สำหรับเจ้านกฟ้าใส เครื่องบินขนาดเล็กที่ใช้โดยสารไปปายนั้น เป็นเครื่องบินใบพัด รุ่น เชสนา 208 บี แกรนด์ คาราวาน จำนวน 12 ที่นั่ง ออกจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ และสนามบินปายทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที ค่าโดยสารตกอยู่ที่ 1,930 บาท นอกจากความสะดวกรวดเร็วแล้ว ความพิเศษนั้นอยู่ตรงที่ เครื่องบินจะบินในระดับความสูงที่พอเหมาะ ทำให้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากเบื้องบนท้องฟ้าขณะเดินทางได้เป็นอย่างดี

บทความที่ได้รับความนิยม