Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


วนอุทยานเขาแม่รำพึง อยู่ในท้องที่ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง มีเนื้อที่ประมาณ 4,550 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง มีพื้นที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นป่าบกมีเขาแม่รำพึงซึ่งเป็นภูเขาสูงชัน มียอดเขาสูงสุด 248 เมตร มีพื้นที่สามด้านติดกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันเกิน 35 % และมีทิศด้านลาดทุกทิศทาง ส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนสองฝั่งคลองแม่รำพึง ปากคลองแม่รำพึงมีสภาพเป็นดินเลนและชายหาดบางส่วน มีพื้นที่เป็นป่าบกประมาณ 1,500 ไร่ และพื้นที่ป่าชายเลน 3,050 ไร่
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าชายเลนมีพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง ใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ประสัก พังกาหัวสุม ตะบูน แสมทะเล โปรง ถั่ว เหงือกปลาหมอ โพธิ์ทะเล ปอทะเล
พื้นที่ป่าบกแบ่งเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กระแจะ กระดูกไก่ กระโดน ปลาไหลเผือก มะม่วงป่า มะหวด มะหาด มะเดื่อ มะนาวผี มะพลับ อ้อยช้าง อุโลก เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เก้ง อีเห็น กระต่ายป่า กระรอก กระแต ลิงแสม ลิงกัง ลิงลม ตะกวด แย้ ไก่ป่าูและนกชนิดต่างๆที่สำคัญมีนกเงือกขนาดเล็กที่เรียกว่านกแก๊กอาศัยอยู่หลายคู่
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานแม่รำพึงไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานแม่รำพึงโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงยื่นออกไปในทะเลคล้ายเกาะมีทั้งชายหาด โขดหิน เกาะแก่งสำหรับตกปลา มียอดเขาที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบทิศทาง มีน้ำพุร้อนที่ผุดขึ้นมาจากชายหาดโคลน สองฝั่งคลองมีป่าชายเลนสามารถล่องเรือชมวิวดูวิถีชีวิตของชาวบ้านสองฝั่งคลองได้ มีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่อยู่รอบพื้นที่อีกหลายแห่งได้แก่ ชายหาดอ่าวเทียน ชายหาดอ่าวบ้านกรูด ชายหาดอ่าวแม่รำพึง
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ผ่านจังหวัดนครปฐมถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงสามแยกอำเภอบางสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบางสะพานไปชายทะเล 16 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานฯ
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอปากท่อ ผ่านจังหวัดเพชรบุรีแล้วเดินทางต่อตามเส้นทางที่ 1 ก็จะถึงวนอุทยานฯ
รถไฟ จากกรุงเทพฯเดินทางโดยรถไฟถึงสถานีรถไฟอำเภอบางสะพานเดินทางต่อโดยรถเมล์รับจ้างอีกระยะทาง 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานแม่รำพึง
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานแม่รำพึง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์


ประวัติความเป็นมา
หว้ากอ...เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งทรงคำนวนไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถนำความรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ นำการเมืองทำให้ประเทศชาติปลอดภัย ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ
คณะรัฐมนตรีมีมติความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 ให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯและในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2536
อาคารดาราศาสตร์
อาคารดาราศาสตร์ ประกอบด้วยอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน คือ อาคารพันทิวาทิต พันพินิจจันทรา ดาราทัศนีย์ มีฐานการเรียนรู้ 11 ฐานการเรียน ได้แก่ บันทึกเกียรติยศ, โลกอนาคต, เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ, โลกของเด็ก, ฟากฟ้า ณ หว้ากอ, พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, มนุษย์กับดวงดาว, พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์, รวมใจชาวประจวบ, ความเป็นไปในจักวาลและเทคโนโลยีอวกาศและเอกภพ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ
สัมผัสกับมหัศจรรย์โลกใต้น้ำ มีทั้งสีสันความสวยงามของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มในมิติใหม่ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 6 ส่วน คือ ส่วนอัศจรรย์โลกสีคราม, ส่วนจากขุนเขาสู่สายน้ำ, ส่วนสีสันแห่งท้องทะเล, ส่วนเปิดโลกใต้ทะเล, ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและส่วนกิจกรรมปฏิบัติการ
กิจกรรมค่ายหว้ากอ
1. พบกับบรรยากาศแบบสบายๆ เป็นกันเอง ได้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคี การตรงต่อเวลาและอื่นๆ อีกมากมาย
2. พบกับกิจกรรมหลากหลาย เช่น พิธีถวายสักการะรัชกาลที่ 4 กิจกรรมดูนก ดูดาว กิจกรรมศึกษาฐานการเรียนรู้ กิจกรรม Walk Rally กิจกรรมชายหาด กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมี big tank และอุโมงค์ปลา ที่มีสัตว์น้ำต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ และเห็นถึงความแตกต่างของสรรพสิ่งในระดับความลึกของน้ำราวดำดิ่งสู่ก้นทะเลลึก จากนั้นไปต่อกันที่อุโมงค์ปลาซึ่งเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ให้คุณสัมผัสดุจดั่งกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลเลยทีเดียว
3. มีที่พักสะอาดบรรยากาศติดทะเล สามารถรองรับสมาชิกได้ประมาณครั้งละ 120-200 คน มีทั้งห้องพักและเต้นท์ ห้องพักเป็นแบบห้องพักรวม แยกชายหญิง ห้องพักพัดลม มีห้องน้ำอยู่นอกห้องพักหลังอาคารพัก
4. มีอาหาร น้ำดื่ม บริการในราคาแบบเป็นกันเอง
หลักสูตรที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
1. ค่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ค่ายสิ่งแวดล้อม
3. ค่ายสอนน้องดูดาว
4. ค่ายปักษี
5. ค่ายอนุรักษ์พลังงาน
6. ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. ค่าสำหรับเด็กพิการ
8. ค่ายครอบครัว
9. ค่ายทักษะชีวิต
ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายตลอดหลักสูตร 3 วัน 2 คืน รวมค่าอาหาร ที่พัก วัสดุอุปกรณ์และค่าตอบแทนวิทยากรประมาณ 250-300 บาท/คน
สามารถจองค่ายและสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานการตลาด โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 ในวันและเวลาราชการ
สวนผีเสื้อ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองให้คุณได้ชื่นชมมากกว่า 20 ชนิด บรรยากาศภายในสวนร่มรื่น มีมุมนั่งพักผ่อนชมปลาแหวกว่ายเวียนวน และดูน้ำตกสวยๆ เพียบพร้อมด้วยเกร็ดความรู้ให้คุณได้ศึกษา เกี่ยวกับวงจรชีวิตผีเสื้อในห้องจัดแสดงวงจรชีวิตผีเสื้อ ซึ่งคุณจะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อครบทั้ง 4 ระยะ นอกจากนี้ยังมีศาลาแห่งชีวิตและมีตัวอย่างผีเสื้อที่เก็บรักษาไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย
เวลาทำการ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ : สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคมฯ ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะ โปรดทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าในเวลาราชการ โดยทำหนังสือส่งถึง : ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หมู่ 4 ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 โทรสาน. 032 661 727

เมื่อ 100 กว่าปี ล่วงมาแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลก ได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จึงถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไดัรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์ใน วันที่14 กันยายน 2525 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536
สถานที่ตั้ง
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อวจ.) ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ หมู่ 4 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77000 บริเวณกิโลเมตรที่ 335 ถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ ไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 314 กิโลเมตร มีเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินจำนวน 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา อยู่ติดชายทะเลบริเวณอ่าวหว้ากอ มีชายหาดยาว 2.7 กิโลเมตร ขนานทางรถไฟสายใต้ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข (032) 661098, 661726-7,661103 โทรสาร ต่อ 133
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งขึ้นตามแผนหลักของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
เริ่มดำเนินดารก่อสร้าง มาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543 กำหนดแล้วเสร็จ ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างจำนวน 164 ล้านบาท หลังจากก่อสร้างเสร็จก็จะจัด นิทรรศการและการแสดง ภายในเวลา 1 ปี การบริหารจัดการจะเป็นการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน คาดว่าจะเปิดบริการให้เข้าชมได้ในปี 2547
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
การเดินทางไปอุทยานวิทยาศาสตร์
ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ( สายธนบุรี ปากท่อ ) ผ่านทาง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วเลี่ยวซ้าย สู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน มุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร หรืออาจจะเดินทาง จากกรุงเทพ มาทางสายพุทธมณฑล ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี แล้วมุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานวิทยาศาตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางได้โดยรถประจำทางธรรมดาและรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งสายใต้ โดยรถประจำทางสายกรุงเทพ-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีรถออกเดินทางวันละหลายเที่ยว
ทางรถไฟ เดินทางออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีขบวนรถเดินทางวันละ 9 เที่ยว


* กุ้งขนาดกลาง 5 - 8 ตัว

(ล้างทำความสะอาดและปอกเปลือก)

* หมูสับ 200 กรัม (หรือเนื้อไก่ก็ได้)

* ก้านคะน้า (ปอกเปลือกหั่นยาว 1 ซม.) 25 ท่อน

* มะเขือเทศหั่น 2 ลูก

* หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาล 1 1/2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกขี้หนูทุบและหั่นหยาบ 5-8 เม็ด

(ปรับเพิ่ม/ลด ตามความชอบ)

* ใบสาระแหน่ (สำหรับโรยหน้า)
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ต้มน้ำในหม้อจนเดือด จากนั้นนำก้านคะน้าที่ปอกเปลือกและหั่นเตรียมไว้ไปลวกพอสุก นำขึ้นมาสะเด็ดน้ำ เสร็จแล้วนำกุ้งไปลวกต่อจนสุก จึงนำขึ้นสะเด็ดน้ำพักไว้

2. นำหมูสับไปต้มต่อในหม้อใบเดียวกันจนสุก ถ้าใช้เนื้อไก่ก็นำไปต้มจนสุก แล้วจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำและฉีกเป็นชิ้นๆ เตรียมไว้

3. เตรียมทำน้ำยำ โดยผสมน้ำปลา,น้ำตาล, น้ำมะนาว, พริกขี้หนูและหอมแดงซอยเข้าด้วยกัน ปรับรสตามความชอบ

4. ในชามขนาดใหญ่ ผสมกุ้ง, หมูสับ (หรือไก่), คะน้า, มะเขือเทศ และน้ำยำเข้าด้วยกัน คลุกเคล้าจนเข้ากันทั่ว จึงจัดใส่จาน โรยหน้าด้วยใบสาระแหน่ เสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ หรือเป็นกับแกล้มทานเล่นก็ดี

(เคล็ดลับ : เมื่อคลุกน้ำยำแล้วควรเสริฟทันที จะได้รสชาตดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะน้ำในส่วนผสมอื่นจะออกมาทำให้รสชาตน้ำยำจืดชืดลงไป)


* สันในไก่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 800 กรัม

* ซี่โครงไก่ 3 ตัว

* กระเทียมสับ 3/4 ถ้วยตวง

* รากผักชี 5 ราก

* น้ำมันงา 4 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ

* เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ

* ซิอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ

* ซ๊อสปรุงรส 8 ช้อนโต๊ะ

* เหล้าจีน 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยป่น 3 ช้อนโต๊ะ

* แป้งข้าวโพด 1/2 ถ้วยตวง (ละลายกับน้ำ)

* ผักต้ม

(แครอท, ข้าวโพดอ่อน, อื่นๆ สำหรับทานกับข้าวหน้าไก่)

* พริกดองน้ำส้ม (เสริฟทานพร้อมกับข้าวหน้าไก่)

* ผักชี (สำหรับแต่งหน้าอาหาร)

* น้ำมันพืช
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. หมักไก่โดยใส่น้ำตาลทราย (2 ช้อนโต๊ะ), พริกไทยป่น (2 ช้อนโต๊ะ), ใส่กระเทียมสับ (1/4 ถ้วยตวง), ซ๊อสปรุงรส (4 ช้อนโต๊ะ), ซิอิ๊วขาว (4 ช้อนโต๊ะ) และ่น้ำมันงา (4 ช้อนโต๊ะ) เคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ อย่างน้อย 30 นาที

2. ระหว่างรอหมักไก่ เตรียมทำน้ำซุป : ตั้งน้ำสะอาดในหม้อด้วยไฟร้อนปานกลาง ใส่ซี่โครงไก่, รากผักชี, พริกไทย (1 ช้อนโต๊ะ)และ เกลือ ต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 ชั่วโมง

3. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง ใส่กระเทียม (1/2 ถ้วยตวง) ลงไปเจียวจนเหลืองหอม จากนั้นใส่ไก่ลงไปผัดจนเกือบสุก

4. ปรุงรสด้วย น้ำตาลทราย (2 ช้อนโต๊ะ), ซ๊อสปรุงรส (4 ช้อนโต๊ะ) และเหล้าจีน ผัดให้เข้ากัน แล้วจึงนำน้ำซุปที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในกระทะ ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันกับน้ำซุป เสร็จแล้วย้ายส่วนผสมทั้งหมดไปในหม้อขนาดใหญ่

5. ตั้งหม้อบนไฟอ่อนๆ รอจนเดือดจึงใส่น้ำแป้งข้าวโพดลงไป ค่อยๆเติม และคนต่อเนื่องเพื่อไม่ให้น้ำแป้งจับตัวเป็นก้อน

6. ตักราดบนข้าวสวยร้อนๆพร้อมผัก หรือจะเสริฟแยกโดยใส่ถ้วยต่างหากก็ได้ ก่อนเสริฟโรยหน้าด้วยผักชี และเสริฟข้าวหน้าไก่พร้อมน้ำส้มพริกดอง


* ปลาหมึกกล้วย หั่นเป็นแว่น 1 ถ้วยตวง

* แป้งทอดกรอบ 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำเปล่า 3 ช้อนโต๊ะ

* ไข่ไก่ 1 ฟอง

* กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ

* ซ๊อสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา

* น้ำมันสำหรับทอด

* น้ำจิ้ม (ซ๊อสมะเขือเทศ, ซ๊อสพริก, น้ำจิ้มบ๊วยหรือน้ำจิ้มไก่ แล้วแต่ชอบ)

* ผักสดสำหรับเสริฟพร้อมปลาหมึกทอด (แตงกวา, มะเขือเทศ, อื่นๆ)
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. เตรียมแป้งสำหรับทอด โดยผสมแป้งทอดกรอบ, น้ำเปล่า, พริกไทยป่น, ซ๊อสปรุงรส, และกระเทียมเข้าด้วยกันในชามขนาดใหญ่ นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี

2. ใส่ปลาหมึกที่หั่นเตรียมไว้ลงไปในส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ในข้อ 1 ทิ้งไว้สักครู่

3. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง จากนั้นจึงใส่ปลาหมึกที่ชุบแป้งแล้วลงไปทอดจน สุกเหลืองกรอบ เสร็จแล้วจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำมัน

4. จัดปลาหมึกทอดใส่จานแต่งด้วยผักสดพร้อมน้ำจิ้ม เสริฟเป็นของว่างทานเล่นหรือกับแกล้มก็ดี


* หมูสับละเอียด 1 ถ้วยตวง

* กุ้งสับละเอียด 1/2 ถ้วยตวง

* หอมใหญ่สับเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/4 ถ้วยตวง

* พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 3 เม็ด

* ผักชีเด็ดเอาแต่ใบ 1/4 ถ้วยตวง

* ถั่วลิสงคั่วบุบ 1/4 ถ้วยตวง

* น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทย 5-8 เม็ด

* กระเทียม 4 กลีบ

* น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ

* รากผักชี 1 ราก

* ไข่เป็ดตีให้เข้ากัน 5 ฟอง
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. โขลกรากผักชี กระเทียมและพริกไทย ให้ละเอียด ตักขึ้นมาเตรียมไว้ผัด

2. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง แล้วเอาส่วนผสมที่โขลกเตรียมไว้ (ในขั้นตอนที่ 1) ลงไปผัดจนหอม จากนั้นใส่หมู, กุ้งและหอมใหญ่ลงผัดให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล สุดท้ายใส่ถั่วลิสง ผัดจนงวดและแห้ง จึงปิดไฟ (ต้องผัดจนแห้งไม่เช่นนั้นจะยากต่อการห่อในขั้นตอนต่อไป)

3. ตั้งกระทะบนไฟร้อนปานกลาง ทาน้ำมันให้ทั่วก้นกระทะ พอกระทะร้อน ใช้มือจุ่มไข่และสะบัดให้เป็นตารางขนาดใหญ่พอห่อได้ 1 คำ พอไข่สุกค่อยๆ แคะขึ้นมาวางพักไว้บนจาน ทำเช่นนี้จนไข่หมด

4. ถึงขึ้นตอนการห่อ นำแผ่นไข่ที่ทำไว้วางบนพื้นเรียบสะอาด จากนั้นวางพริกแดงและผักชีลงที่กลางแผ่นไข่ แล้วตักไส้พอคำวางทับพริกและผักชี พับห่อให้เป็นรูปสี่เหลียม ห่อจนหมด

5. จัดใส่จาน ตกแต่งหน้าด้วยใบผักชี เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ หรือเป็นของว่างทานเล่นก็ดี


* หมูสับติดมัน 300 กรัม

* ตับหมูหั่นเป็นชิ้น 100 กรัม (ลวกน้ำร้อนจัดจนเกือบสุก)

* ไส้อ่อนหมู 200 กรัม

* ปลายข้าว 1 ถ้วยตวง

* กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ

* ขิงหั่นฝอย 1/4 ถ้วยตวง

* ต้นหอมซอย 50 กรัม

* ผักชีซอย 50 กรัม

* ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ

* ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำซุปกระดูกหมู 3 ถ้วยตวง

* แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. เตรียมหมักเนื้อหมูโดย ผสมหมูสับเข้ากับกระเทียม, น้ำมันหอย, ซอสปรุงรส, ซีอิ๊วขาว (2 ช้อนโต๊ะ) และแป้งข้าวโพด นวดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน พักไว้

2. ต้มปลายข้าวโดยใส่น้ำเปล่าพอท่วม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆจนสุกข้น จึงปิดไฟ (หมั่นคน ระวังไหม้ที่ก้นหม้อ)

3. ตักปลายข้าวที่ต้มจนสุกดีแล้ว ไปใส่ในหม้ออีกใบ เติมน้ำซุปกระดูกหมูลงไป (อย่าเติมน้ำซุปมากจนในเกินไป) ต้มจนเริ่มเดือดจึงใส่หมูบด (ใช้ช้อนตักเป็นก้อนกลมๆ) และตับหมู

4. รอจนเนื้อหมูเกือบสุก จึงปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว (ที่เหลืออีก 2 ช้อนโต๊ะ) ถ้ารสยังจืดไป ก็สามารถเติมเพิ่มได้อีก (แต่ควรทำรสอ่อนไว้ก่อน เวลารับประทานถ้ายังเค็มไม่พอสามารถใส่เพิ่มได้) ต้มจนหมูและตับสุกดีจึงปิดไฟ (ถ้าต้องการใส่ไข่ ก็ตอกไข่ใส่แล้วรอจนไข่สุกก่อนจึงค่อยปิดไฟ)

5. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยต้นหอม, ผักชีและขิงหั่นฝอย เสริฟทันทีร้อนๆ หรือจะทานพร้อมกับ ปาท๋องโก๋ (หรือหมี่กรอบ) ก็อร่อยไปอีกแบบ


* ปูม้า 3 ตัว (นึ่งจนสุกแล้วแกะเอาแต่เนื้อ)

* หมูสับ 200 กรัม

* ฟองเต้าหู้แผ่นใหญ่ (ปริมาณแล้วแต่ขนาดที่จะห่อ)่

* มันหมูหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/2 ถ้วยตวง

* ไข่เป็ด 2 ฟอง

* แป้งสาลี 3 ช้อนโต๊ะ

* รากผักชี 3 ราก

* กระเทียม 1/2 ถ้วยตวง

* พริกไทย 20 เม็ด

* เกลือ 1 ช้อนชา

* ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

* ต้นหอม+ผักชีซอย 1/2 ถ้วยตวง

* เหล้าจีนหรือวิสกี้ 2 ช้อนโต๊ะ

* แตงกวา+มะเขือเทศ(เสริฟเป็นเครื่องเคียง) และน้ำจิ้มบ๊วย

* น้ำมันสำหรับทอด
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. โขลกกระเทียม, รากผักชี, เกลือและพริกไทยเข้าด้วยกันจนละเอียด ในชามขนาดใหญ่ ใส่ส่วนผสมที่โขลกเตรียมไว้ลงไปผสมกับเนื้อปู, หมูสับ, มันหมู, แป้งสาลี, ไข่เป็ด, น้ำตาล, ซิอิ๊วขาว, เหล้า, ต้นหอมและผักชี นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี

2. นำฟองเต้าหู้ไปแช่น้ำให้นิ่ม จากนั้นจึงนำมาแผ่ขยาย ตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 5 นิ้ว

3. ตักส่วนผสมที่นวดจนเข้ากันดีแล้วในข้อหนึ่งไปวางบนฟองเต้าหู้ ม้วนส่วนผสมด้วยฟองเต้าหู้ (คล้ายๆห่อโรตี) เสร็จแล้วมัดหัวและท้าย จากนั้นจึงมัดเป็นปล้องตรงกลางให้แน่น โดยแบ่งให้แต่ละปล้องหนาประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว

4. นำไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 10 นาทีหรือจนสุกดี จากนั้นจึงนำมาตัดออกเป็นท่อนตามปล้องที่มัดไว้

5. นำหอยจ้อที่ตัดออกเป็นท่อนไปทอดในน้ำมันร้อนจัด (ใส่น้ำมันให้ท่วม) ทอดสักพักจนเหลืองกรอบจึงตัก ขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน จัดใส่จานกับแตงกวาและมะเขือเทศหั่น เสริฟพร้อมน้ำจิ้มเป็นของท่านเล่นหรือกับข้าวก็ดี


* กุ้งขนาดปานกลาง 6 ตัว (ล้างทำความสะอาดและปอกเปลือก)

* พริกขี้หนู 8-12 เม็ด (ปรับลด/เพิ่ม ตามความชอบ)

* หอมแดงหั่น 1 ช้อนโต๊ะ

* ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยเม็ด 2 ช้อนชา

* รากผักชีหั่น 1 ช้อนชา

* กระชายซอย 1/4 ถ้วยตวง

* พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ 3-5 เม็ด

* ใบโหระพา 1/2 ถ้วยตวง

* ใบมะกรูด 3 ใบ, ฉีกเป็นชิ้นๆ

* พริกไทยอ่อน 3-4 ช่อ, * น้ำซุป 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา, * น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ, * น้ำมันพืช
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. โขลก พริกขี้หนู, หอมแดง, กระเทียม, ตะไคร้, พริกไทยเม็ดและรากผักชีเข้าด้วยกัน จนละเอียดและเป็นเนื้อเดียวกัน

2. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง ใส่น้ำพริกที่โขลกลงไปผัดจนหอม จากนั้นจึงใส่กุ้งลงไปผัดจนเกือบสุก

3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำตาล และน้ำมันหอย เร่งไฟให้แรงขึ้น ใส่กระชาย, พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ, ใบโหระพา, ใบมะกรูด, พริกไทยอ่อนและน้ำซุป ผัดอย่างรวดเร็วจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี จึงปิดไฟ

4. ตักใส่จาน เสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ


วัดกลาง อยู่ที่ตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ
• วัดน้ำฮู อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ ประวัติการสร้างไม่แน่นอนแต่เชื่อกันว่าสร้างโดยพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนปิดเปิดได้และมีน้ำขังอยู่เสมอ นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมือง ต้องขออนุญาตจากเจ้าอาวาสเพื่อเปิดโบสถ์เสียก่อน
• น้ำตกหมอแปง อยู่หมู่ที่ 4 บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก และมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง บริเวณรอบน้ำตกมีป่ายางร่มรื่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ประมาณ 8-9 กิโลเมตร (สายปาย-แม่ฮ่องสอน)
• โป่งน้ำร้อนเมืองแปง อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 28 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) และแยกเข้าสาย 1265 ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 85-86 ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิง เป็นทางลูกรัง อุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง 95 องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ
• เจดีย์พระธาตุแม่เย็น อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว
• อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีภูเขาที่สูงที่สุดคือดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย
จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ
• จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ตั้งอยู่ที่ตำบลกึ้ดช้าง อำเภอแม่แตง เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก นักท่องเที่ยวจะได้ชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่และคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นงดงามมาก
• จุดชมวิวดอยช้าง อยู่ทางเหนือของห้วยน้ำดัง เป็นจุดที่สามารถมองเห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อน และทะเลหมอกในยามเช้าตรู่
• น้ำตกห้วยน้ำดัง เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย น้ำตกสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก
• การเดินทางจากแม่ฮ่องสอน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 ผ่านอำเภอปาย ถึงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางลูกรังแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงบริเวณห้วยน้ำดัง และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงจุดชมวิวดอยช้างทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะพักค้างแรม รายละเอียดติดต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-5734, 579-7223
• โป่งน้ำร้อนท่าปาย อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87-88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางลาดยางตลอดทั้งสาย มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ และมีน้ำร้อนไหลผ่านทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นเป็นน้ำผุดหลายจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส รอบๆโป่งน้ำร้อนเป็นป่าไม้สัก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น
• น้ำพุร้อนเมืองแปง อยู่บริเวณบ้านเมืองแปง ตำบลเมือง แปง เป็น บ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 29 กิโลเมตร อุณหภูมิร้อนประมาณ 95 องศาเซลเซียสและเดือดพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ
• ห้วยจอกหลวง เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยจอกหลวงอยู่บริเวณป่าแม่ยะ ตำบลแม่ฮี้ มีการปลูกดอกไม้เมืองหนาวหลายชนิดและออกดอกในฤดูหนาวตั้งอยู่บนภูเขาและมีทิวทัศน์สวยงามมากอยู่ห่างจากอำเภอปายประมาณ 43 กิโลเมตร ฤดูที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวคือ ฤดูหนาว


อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา มีเนื้อที่ครอบคลุมท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเขาพนม และอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เขาพนมเบญจาเป็นสัญลักษณ์แห่งความงามที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่ สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีไอหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ลำธาร น้ำตก ถ้ำต่าง ๆ และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 50.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 31,325 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาที่เขียวชะอุ่มสลับซับซ้อน มีหน้าผาสูงชัน ประกอบด้วยเขาพนมและเขาพนมเบญจาซึ่งมียอดเขาสูงสุด 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำสายสำคัญที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในตัวเมืองกระบี่หรือคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เทือกเขาเหล่านี้มีลักษณะเป็นแนวยาวตลอดจากเหนือจรดใต้ ผ่านกลางอุทยานฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น คลองโตน คลองกระบี่น้อย คลองพอทาก คลองปกาไสย ห้วยสะเค ห้วยล้าน และห้วยไผ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน และฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เนื่องจากป่าเขาพนมเบญจา เป็นป่าดิบชื้น ฝนตกชุกเกือบตลอดปี จึงมีไม้ที่สำคัญหลายชนิด คือ ตะเคียนทอง ยาง ตะแบก หลุมพอ จำปา สะตอป่า มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย เข็มป่า และไผ่ชนิดต่าง ๆ สำหรับสัตว์ป่านั้นยังชุกชุมอยู่มาก เพราะมีแหล่งน้ำและอาหารอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ โครำหรือเลียงผา หมูป่า เสือดำ เสือลายเมฆ หมีควาย กระจง ค่าง ชะนี ลิงเสน หมาไน กระรอก หมูสังหรือชะมด นางอาย นกกางเขนดงหรือนกบินหลา นกเงือก นกคุ้ม ไก่ฟ้า และไก่ป่า
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยโต้ กำเนิดจากเขาพนมเบญจา ตกจากหน้าผาสูง มี 11 ชั้น บางชั้นสูงประมาณ 70 - 80 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างใสสะอาดเหมาะสำหรับเล่นน้ำ แอ่งน้ำแต่ละชั้นมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น วังเทวดา วังชก และวังสามหาบ น้ำตกห้วยโต้ อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 350 เมตร
น้ำตกห้วยสะเค ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 300 เมตรน้ำตกจากหน้าผาสูง มี 3 ชั้น และอยู่ใกล้กับน้ำตกห้วยโต้
ถ้ำเขาผึ้ง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร เขาผึ้งมีถ้ำทั้งหมด 5 ถ้ำ บริเวณเดียวกัน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม เป็นรูปต่าง ๆ เช่น เป็นเชิงชั้นคล้ายดอกเห็ด รูปทรงเจดีย์ มีหลืบม่านหินย้อยเป็นฉากกั้น ผนังถ้ำสีขาวสะอาดตาเมื่อยามกระทบแสงไฟ เกิดประกายระยิบระยับดูงดงามยิ่ง
เขาพนมเบญจา เป็นยอดเขาสูงถึง 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองกระบี่ได้กว้างไกล เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาจะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์หนาแน่นด้วยต้นไม้ ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ได้จัดสถานที่สำหรับกางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ จากสามแยกบ้านตลาดเก่า จังหวัดกระบี่ ไปตามถนนศรีตรัง ระยะทาง 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางตลาดเก่า- บ้านห้วยโต้ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารสองแถววิ่งประจำทาง จากตลาดเก่าถึงน้ำตกห้วยโต้
สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
ตู้ ปณ. 26 ปท.กระบี่,อ. เมืองกระบี่ จ. กระบี่ 81000 โทรศัพท์ : (075) 629013


กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจและจัดตั้งกำหนดบริเวณที่ดินสุสานหอย 45 ล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง ตำบลไสไทย และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ประมาณ 243,725 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 47 ของประเทศไทย ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี ต่อมาได้ดำเนินการผนวกพื้นที่บริเวณสุสานหอยและเกาะใกล้เคียง เพิ่มอีกจำนวน 12 ไร่ 68 ตารางวา และเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ สำหรับกองทัพเรือ ใช้ในการสร้างฐานทัพเรือ และเป็นเขตพระราชฐาน ดังนั้นจึงมีเนื้อที่ทั้งหมดคงเหลือ 242,437 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• ประกอบด้วยพื้นที่ภาคพื้นดินบนชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเขาอ่าวน้ำเมา และป่าอ่าวนาง-หางนาค และหมู่เกาะต่างๆ ธรณีสัณฐานของพื้นที่เป็นเทือกเขามีความสูงชันเรียงตัวยาวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณชายฝั่งเป็นเขาสูงชัน ทางด้านตะวันตกมีความลาดชันมากกว่าตะวันออก ธรณีสัณฐานของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากแนวการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เรียกว่า Indosenia Teotonic Movement และในบริเวณป่าชายเลนเขาหางนาค ริมฝั่งทะเลมีลำคลองเขากลม ได้รับน้ำจืดที่ระบายมาจากบึงขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “หนองทะเล” ทำให้เกิดสภาพป่าชายเลน และที่ราบต่ำป่าเสม็ดบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่เรียกว่า “คลองแห้ง (หาดนพรัตน์ธารา)”
ลักษณะภูมิอากาศ
• อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเขตร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ลักษณะภูมิอากาศจึงแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน จากต้นเดือนพฤษภาคม–เดือนธันวาคม และฤดูร้อนจากต้นเดือนมกราคม–เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยทั่วไป 17-37 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเฉลี่ยประมาณ 2,231 มิลลิลิตร ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• พันธุ์พืชในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
• ป่าดงดิบชื้น พบบริเวณที่เป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาหินปูนซึ่งมีชั้นดินบาง และรับลมแรงจึงเป็นป่าดิบชื้นที่ไม่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ พันธุ์พืชที่พบ ได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ยาง พะยอม และไม้ชั้นล่าง ประกอบด้วย จันทน์ผา หวาย ไทร และเถาวัลย์หลายชนิด
• ป่าชายเลนมีอยู่ในบริเวณคลองแห้ง และบริเวณคลองย่านสะบ้า พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว เป็นต้น
• ป่าพรุ เป็นสังคมพืชเด่นที่พบต้นเสม็ดขึ้นอย่างหนาแน่น บริเวณหาดนพรัตน์ธาราพันธุ์พืชที่พบนอกจากต้นเสม็ดขาวที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นแล้วยังพบ พะยอม หว้าหิน ไม้นน ไม้เนียน และหญ้าคา เป็นต้น
• พันธุ์สัตว์ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาพีพี จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ เท่าที่สำรวจพบได้ดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, ปลา นอกจากสัตว์ป่าที่กล่าวมาแล้ว พันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญสัตว์น้ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิด เช่น ปลิงทะเล สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญที่สุด คือ ปะการัง ได้แก่ ปะการังหนาม ปะการังผิวถ้วย ปะการังผักกาด และปะการังต้นไม้ เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
• บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ พพ.2 (สุสานหอย) บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ พพ. 3 (เกาะไม้ไผ่) และบริเวณศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารไรเลย์ ที่พักนักท่องเที่ยว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 2 แห่ง บริเวณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นบ้านพัก จำนวน 6 หลัง ได้แก่ บ้านธารา 1 ,2 บ้านพีพี บ้านพระนาง บ้านหางนาค และบ้านปะการัง
แหล่งท่องเที่ยว
•เกาะพีพีดอน มีเนื้อที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของ หมู่บ้านชาวเล ประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาดยาว และหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงาม ติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมาก บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
• เกาะพีพีเล มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับพื้นผิวทะเลโดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา อ่าวโละซะมะ นอกจากนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมี ถ้ำไวกิ้ง ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า ถ้ำพญานาค ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่เก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้าง และรูปเรือชนิดต่างๆ
• เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอนไม่ไกลจากเกาะยูงเท่าใดนัก ด้านทิศเหนือและ ทิศตะวันออก มีหาดทรายสวยงามและแนวปะการัง ซึ่งส่วนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาวไปถึงทางทิศใต้ของตัวเกาะ
• เกาะยูง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน มีชายหาดซึ่งเป็นหาดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีหาดทรายเล็กน้อยตามหลืบเขา นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังสวยงามชนิดต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์
• หมู่เกาะปอดะ อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวพระนาง เมื่อมองจากฝั่งจะเห็นหาดทรายขาว บริเวณชายฝั่งจะมีแนวปะการังหลากชนิด ประกอบกับความใสสะอาดของน้ำทะเลจึงเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดทั้งปี
• หมู่เกาะพีพี จากคำบอกเล่า เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า ปูเลาปิอาปี คำว่า ปูเลา แปลว่า เกาะ คำว่า ปิอาปี แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม ต่อมาเรียกว่า ต้นปีปี ภายหลังกลายเสียงเป็น พีพี หมู่เกาะพีพีประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะปิด๊ะนอก เกาะปิด๊ะใน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ อยู่ห่างจากชายฝั่งกระบี่ประมาณ 42 กิโลเมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นเวิ้งอ่าวรูปครึ่งวงกลม อยู่ในวงล้อมของภูเขาหินปูนที่สูงชันจนเกือบเป็นทะเลใน หรือที่ชาวเกาะเรียกว่า ปิเละ
• หาดนพรัตน์ธารา เดิมชาวบ้านเรียกว่า คลองแห้ง ทั้งนี้เพราะเมื่อน้ำลง น้ำคลองที่ไหลมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอดกลายเป็นหาดทรายยาวเหยียดทอดลงไปในทะเลบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยชักตีน แหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่ง
• สุสานหอย เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ คือ หลักฐานทางธรณีที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ ของหอยน้ำจืดชนิดต่างๆ ประมาณว่ามีอายุ 75 ล้านปีมาแล้ว จึงเรียกว่า สุสานหอย 75 ล้านปี ต่อมาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการค้นพบหลักฐานด้านธรณีวิทยามีมากขึ้น ซึ่งกำหนดอายุใหม่เหลือประมาณ 40-20 ล้านปี
• อ่าวนาง มีทิวทัศน์โดยรวมสวยงามแปลกตากว่าหาดอื่นๆ เพราะด้านหนึ่งของหาดทรายเป็นภูเขาและมีถ้ำหินงอกหินย้อยคือ ถ้ำพระนาง เป็นอ่าวที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาพักผ่อน เพราะมีความเงียบสงบและไม่มีผู้คนพลุกพล่าน
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ รวมระยะทางประมาณ 946 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา เข้าอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 4035 ผ่านอำเภออ่าวลึก ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร
• เครื่องบิน จากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มาลงที่สนามบินจังหวัดกระบี่
• รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มาลงได้ทั้งที่สถานีรถไฟ จังหวัดตรัง สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือสถานีรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นต่อรถโดยสารเข้า จังหวัดกระบี่
• รถโดยสารประจำทาง การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อซื้อตั๋วได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ มีบริษัทเดินรถ 2 บริษัท คือ บริษัทขนส่ง จำกัด และบริษัทลิกไนท์ทัวร์
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
79 หมู่ 5 บ้านคลองแก้ว ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ 81000


อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอันเป็นพื้นที่เป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีเนื้อที่ประมาณ 307 ตารางกิโลเมตร หรือ 181,875 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูลมโลเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,664 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
• ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา ป่าเต็งรังเป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ ส่วนป่าดิบเขาจะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ส่วนไม้พื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่าง ๆ สำหรับ ป่าสนเขาเป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
• นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิร์น ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม
• ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวาง เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่าง ๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น

แหล่งท่องเที่ยว
• โรงเรียนการเมืองการทหาร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็ก ๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบ ๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้
• สำนักอำนาจรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล
• หมู่บ้านมวลชน เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมทางที่ตัดมาจากอำเภอหล่มสักลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้หลังเล็ก ๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้บ้านแต่ละหลังจะมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย
• กังหันน้ำ อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษาโดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครกกระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.
• โรงพยาบาล อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก
• ลานหินแตก อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
• ลานหินปุ่ม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบายเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน
• ผาชูธง อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 500 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพวิวพระอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมวิวอื่น ๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล
• น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 32 ชั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง หากจะเข้าไปเที่ยวให้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง
• น้ำตกร่มเกล้าภราดร เป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก
• น้ำตกศรีพัชรินทร์ ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึงและยังไม่พร้อมสำหรับการท่องเที่ยว
• น้ำตกผาลาด และ น้ำตกตาดฟ้า ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ที่สวยงาม
สิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพัก ร้านอาหารและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
• จากตัวเมืองพิษณุโลก โดยสารรถยนต์ไปตามเส้นทางพิษณุโลก - หล่มสัก ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านแยง เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอนครไทย เป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร จากนั้นเดินทางต่อโดยรถสองแถว อีกประมาณ 31 กิโลเมตร จะถึงหน่วยบริการนักท่องเที่ยวและที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
• จากเมืองเพชรบูรณ์ไปอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า บ้านวังบาน บ้านโจ๊ะโหวะ จนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ระยะทางประมาณ 115 กิโลเมตร
การติดต่อ
• ขอรายละเอียดและสำรองที่พักได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม.10900 โทร. 0-2579-7223 , 0-2561-2919 หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาตภูหินร่องกล้า ตู้ ปณ. 3 อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 65120 โทร. 0-5523-3527


พระตำหนักดอยตุง
• พระตำหนักดอยตุง นับไว่าเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จพระศรนครินทราบรมราชชนนี ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชาทรัพย์ส่วนพระองค์พระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯได้พระราชทานแนวพระราชดำริ โดยเน้นความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ได้ดี พระตำหนักดอยตุง เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อพระองค์ท่านเจริญพระชนมายุได้ 88 พรรษา โดยมีพิธีลงเสาเอกซึ่งทางเหนือเรียกว่า พีธีปกเสาเฮือน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2530
พระตำหนักดอยตุง เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิสเซอร์แลนด์ และบ้านไม้ซุง ตัวอาคารมีสองชั้นและชั้นลอย ที่ประทับชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน ทุกส่วนเชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียวเสมอกับลานกว้างยอดเนินเขา ส่วนชั้นล่างจะเกาะอยู่ตามไหล่เนินเขา ลักษณะเด่นอยู่ที่กาแล และเชิงชายแกะสลักลายเมฆไหลรอบพระตำหนัก ภายในท้องพระโรงจะเห็นเพดานดาว ทำด้วยไม้สนแกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะจักรวาล และที่เชิงบันได แกะเป็นตัวพยัญชนะไทยพร้อมภาพประกอบ ไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในพระตำหนักส่วนใหญ่ เป็นไม้ลังใส่สินค้ามาจากต่างประเทศ ส่วนภายนอกพระตำหนักสดสวยสะพรั่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวนานาพันธุ์ที่สวยงามและสดชื่นตลอดปี
• สวนแม่ฟ้าหลวง
• สวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 บนพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ใกล้กับพระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับการออกแบบให้สวยงามตลอด 365 วัน แปลงไม้ดอกหลากหลายพันธ์นับหมื่นดอกถูกจัดแต่งหมุนเวียนให้สวยงามไม่ซ้ำกันทั้งสามฤดู ประกอบกับประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวโดดเด่นอยู่กลางสวน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า ความต่อเนื่อง อันตรงกับพระราชดำริของสมเด็จย่าที่ว่า ทำงานอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง
• สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวัล พาต้าโกลด์ อะวอร์ด (PATA GOLD AWARDS )ประจำปี 2536 ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคแปซิฟิค ในนามของประเทศไทย ประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
• ปัจจุบันสวนแม่ฟ้าหลวงได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 13 ไร่ เป็นสวนหิน สวนน้ำ สวนปาล์ม และสวนไม้ประดับ รวมเนื้อที่สวนแม่ฟ้าหลวงทั้งหมดเป็น 25 ไร่
• ดอยช้างมูบ
• ช้างมูบ เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอนในโครงการพัฒนาดอยตุง เดิมเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์โดยรอบที่งดงาม แต่ได้ถูกทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกฝิ่น เมื่อครั้งสมเด็จย่าเสด็จมา ที่นี่เป็นเพียงภูเขาที่มีแต่หญ้าปกคลุม พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นความงดงามของพื้นที่นี้จึงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม
• เมื่อปี พ.ศ.2535 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนองพระราชดำริ สร้างสวนรุกชาติบนพื้นที่ 250 ไร่บนดอยช้างมูบนี้ โดยรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นเมืองและพันธุ์ไม้ป่าหายาก จากแหล่งต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ ต้นกุหลาบพันปี ที่พบในภูเขาสูงของไทย พม่าและจีน โดยเฉพาะต้นที่มีดอกสีแดงที่ทรงโปรด นอกจกนั้นยังมีต้นนางพญาเสือโคร่ง ไม้หัวที่ให้ดอกออกใบหลากสีตลอดปี
• สวนรุกชาติแม่ฟ้าหลวง มีทางเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาสำหรับชมต้นไม้ดอกไม้ มีลานปิคนิค ศาลานั่งพักผ่อน มีระเบียงชมวิวซึ่งมองเห็นดินแดนพม่า แม่น้ำโขง ไปจนถึงฝั่งลาว และน้ำผุดที่มีชื่อว่า น้ำพระทัย อันหมายถึงน้ำพระทัยของสมเด็จย่า ที่หลั่งรินไม่เหือดแห้งสู่ราษฏรผู้ยากไร้ เหมือน้ำจากยอดดอยที่ไหลสู่ที่ราบอย่างไร้พรหมแดน
• ผลิตภัณฑ์งานเกษตร
• เพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่มีอาชีพ และมีรายได้เลี้ยงตัว โครงการพัฒนาดอยตุงได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมขึ้น ฝึกอาชีพและสร้างงานให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆทางการเกษตรและนำไปประกอบอาชีพของตนเอง งานของศูนย์ส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ งานเพาะเนื้อเยื่อ เห็ด กาแฟ ไม้ตัดดอกตัดใบ ไม้กระถาง ไม้ประดับจากต่างประเทศ ผลผลิตทางการเกษตรของดอยตุงมีคุณภาพดี เนื่องจากมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำเทคโนโลยีทางการเกษตรยุคใหม่มาใช้จนได้ผลิตที่มีมาตรฐานดีเป็นที่ยอมรับของตลาด
• ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ
• ผ้าและพรหมทอกี่ ผู้หญิงในหมู่บ้านชาวเขาและชาวไทยใหญ่ มีความประณีตในงานทอผ้ากันเป็นส่วนใหญ่ โครงการฯได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาเสริมสร้างเทคนิคการทอผ้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ผ้าและพรหมทอกี่ที่มีคุณภาพและสีสัน เป็นที่ถูใจของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
• พรหมทอมือ ด้วยฝีมือแรงงานของหนุ่มสาวชาวบ้านบนดอยตุง ที่สามารถทอลวดลายตามแบบได้ทุกแบบเป็นผลผลิตคุณภาพ ที่ส่งจำหน่ายยังต่างประเทศได้
• กระดาษสา จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่า นำมาปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ โดยนำเปลือกมาทำกระดาษสาด้วยขั้นตอนที่ประณีตจนมีสีสันและลวดลายต่างๆ เพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า
• กาแฟดอยตุง ต้นตำหรับกาแฟอาราบิกาเป็นส่วนหนึ่งของป่าเศรษฐกิจของโครงการดอยตุง ปลูกอยู่บนที่สูงมีคุณภาพดี เมื่อนำมาคั่ว จึงได้กาแฟที่มีรสชาติละเมียดอร่อย เป็นเอกลักษณ์ของดอยตุงและได้รับการยอมรับว่ารสชาติระดับมาตรฐานโลก
• สวนสัตว์ดอยตุง
• สวนสัตว์ดอยตุงเป็นสวนสัตว์เปิดบนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ในโครงการพัฒนาดอยตุง จัดตั้งเพื่อเป็นสถานีเพาะเลี้ยง และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าเสื่อโทรมที่ถูกทำลาย ทำให้สัตว์ป่าอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่ด้วยพระราชดำริของสมเด็จย่าในการฟื้นฟูสภาพป่า ทำให้ความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่พื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง สัตว์ต่างๆที่มีถิ่นฐานบริเวณนี้ เช่นไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง หมี กวาง เก้ง เนื้อทราย ที่หาดูได้ยากมาเลี้ยง และเปิดให้เข้าชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในสภาพธรรมชาติ
• ศูนย์ฝึกอาชีพผาหมี
• สมเด็จย่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดขึ้นที่บริเวณดอยผาหมีแห่งนี้ เพื่อทำการบำบัดรักษา ผู้ติดยาทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งฝึกฝนอาชีพควบคู่ไปด้วยเพื่อที่จะให้ผุ้เข้ารับการบำบัด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองเมื่อหายเป็นปรกติ ปัจจุบันศูนย์บำบัดฯดอยผาหมีได้กลายมาเป็นศูนย์ฝึกอาชีพอย่างเต็มตัว การฝึกฝนอาชีพที่นี่เป็นต้นกำเนิดของผลผลิตหลากหลาย ของโครงการดอยตุง เช่นเครื่องจักสาน ผักสดต่างๆ อันเนื่องมาจากการฝึกฝนอาชีพของอดีตผู้ติดยาเสพติดเหล่านั้น
• หมู่บ้านชาวเขา
• ในบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง มีหมู่บ้าน 26 หมู่บ้านประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ ได้แก่ ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ชาวเขาเผ่าอาข่า และมูเซอ ปัจจุบันชาวบ้านเหล่านี้ ตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง มีถนนหนทางติดต่อกันโดยสะดวก แต่ละหมู่บ้านมีเอกลักษณ์และการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป ชาวบ้านเหล่านี้เข้ามาทำงานและฝึกอาชีพกับโครงการฯ ทำให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาเหล่านี้ก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่าไว้อย่างดี ทำให้มีพิธีงานฉลองประจำเผ่าที่สวยงามตลอดทั้งปี
• การเดินทางสู่ดอยตุง
• จากตัวเมืองเชียงราย ตามทางหลวงหมายเลข 10 (สายเชียงราย – แม่สาย) ประมาณ 48 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าดอยตุงที่หลักกิโลเมตรที่ 870 –871 บ้านสันกอง (สายใหม่)หรือแยกซ้ายเข้าดอยตุงที่ 871 –872 ตรงข้ามตู้ยามห้วยไคร้ (สายเก่า)ตามทางหลวงหมายเลข 1149 เส้นทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวบนดอยตุง สามารถเดินทางเป็นวงรอบสู่อำเภอแม่สายใต้ เป็นเส้นทางลาดยางขึ้นเขาคดเคี้ยวลัดเลาะไปตามภูมิประเทศที่สวย


ด้วยระยะห่างจากปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร และจากอ่าวบ้านดอน
สุราษฎร์ธานี 120 กิโลเมตร และจากเกาะพะงัน 45 กิโลเมตร ทำให้เกาะเต่า
กลายเป็นเกาะกลางทะเลไทย ที่ค่อนข้างจะโดดเดี่ยวโดยแท้

เกาะเต่าประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะเต่า และเกาะนางยวน พื้นที่
เกือบทั้งหมดเป็นภูเขามีพื้นที่ราบอยู่เพียง 30%ของตัวเกาะ เกาะเต่าประกอบด้วย
3 หมู่บ้าน คือบ้านหาดทรายรี บ้านแม่หาด และบ้านโฉลกบ้านเก่า รูปร่างของ
เกาะเตามีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว แต่บ้างก็ว่ามีลักษณะคล้ายตัวเต่า มีเกาะนางยวน
เป็นหาง จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะ ลักษณะของเกาะเต่าจะมีเว้าแหว่งของอ่าวอยู่
มากมาย จึงมีความงดงามตามธรรมชาติของอ่าวถึง 11 อ่าว และแหลม 10 แหลม
ตลอดแนวชายฝั่งของเกาะซึ่งยาว 28.6 กิโลเมตร รวมทั้งเป็นเกาะที่มีแนวปะการัง
ยาวถึง 8 กิโลเมตรอยู่โดยรอบ

เกาะเต่าแม้จะอยู่ในทะเลด้านที่รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านมา
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม แต่ก็มีเกาะน้อยใหญ่ ช่วยกำบังคลื่นลม
ให้อยู่บ้าง นักท่องเที่ยวจึงสามารถ เดินทางไปเกาะเต่าได้ตลอดปี

บนเกาะเต่ามีบังกะโลกระจายอยู่ตามชายหาดต่างๆ มีบริการรถจี๊บ รถมอเตอร์ไซค์
และจักรยาน เสือภูเขาให้เช่า รวมทั้งบริการเรือเช่า และอุปกรณ์ดำน้ำ ตอนกลางวัน
จะไม่ค่อยพบเห็นนักท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่ จะนั่งเรือ ออกไปดำน้ำกันตั้งแต่เช้า
กว่าจะกลับเข้าฝั่งก็เย็นย่ำ
สถานที่ท่องเที่ยวและจุดที่น่าสนใจบนเกาะเต่าโดยส่วนใหญ่จุดท่องเที่ยวของเกาะ
จะเป็นจุดดำน้ำซึ่งจะมีทั้งจุดดำน้ำลึก และดำน้ำตื้น ซึ่งถ้าคุณเพียงต้องการชื่นชม
ธรรมชาติรอบเกาะแวะลงเล่นน้ำดำน้ำตื้นชมปะการัง คุณก็สามารถเลือกโปรแกรม
ท่องเที่ยวรอบเกาะได้ภายใน 1 วัน ซึ่งคุณสามารถใช้บริการเรือเช่า หรือเรือแท็กซี่
ซึ่งมีอยู่มากมายบริเวณท่าแม่หาด

แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำลึกแล้ว ระยะเวลาเพียง 1 วัน คงไม่พอที่จะให้คุณ
ได้ค้นหาความงามของโลกใต้ทะเลที่นี่ เพราะรอบๆ เกาะเต่าจะมีจุดดำน้ำลึกให้คุณ
พบความแตกต่างอยู่มากมาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ ระยะเวลา 3-4 วัน น่าจะได้ความ
อิ่มเอมมากกว่า ส่วนเรื่องของอุปกรณ์การดำน้ำและการฝึกการดำน้ำลึกสำหรับผู้ที่
ไม่เป็นสำหรับที่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะจะมีร้านให้เช่าอุปกรณ์ และโรงเรียน
สอนดำน้ำอยู่มากมาย ให้คุณได้เลือกเรียนหลากหลายหลักสูตรจนจบ ได้ใบรับรอง
จากสถาบันดำน้ำที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งคุณสามารถจะไปดำน้ำในที่แห่งใดก็ได้ทั่วโลก

สำหรับจุดท่องเที่ยว หรือจุดดำน้ำ บนเกาะเต่ามีจุดดำน้ำชมปะการังอยู่หลายจุดด้วยกัน
แต่ละจุดก็มีโลกใต้ทะเลที่มีความงดงามแตกต่างกันไปไม่ว่าที่อ่าวลึก แหลมเทียน
กองหินวง อ่าวมะม่วง กงทรายแดงหรือเกาะฉลาม ที่วันดีคืนดีนักดำน้ำก็สามารถ
เห็นฉลามขนาด 2-3 เมตร ฝูงละประมาณ 7-8 ตัว ว่ายแวะเวียนมาให้ชมกัน

ส่วนจุดท่องเที่ยวทางบก นอกจากหาดมากมายที่อยู่รอบเกาะ ก็ยังมีจุดที่น่าสนใจ
ซึ่งนักท่องเที่ยว มักจะแวะไปเที่ยวชมก็คือ สวนหิน จปร. ซึ่งมีโขดหินรูปร่าง
แปลกตา อยู่หย่อมหนึ่ง และมีรอยจารึกทาง ประวัติศาสตร์ถึงการเสด็จประพาส
เกาะเต่าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยการจารึกพระปรมาภิไธย
จปร.ไว้ให้เป็นที่ปรากฏอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ และรวมถึงจุดชมวิวจอห์น-สุวรรณ
ที่โฉลกบ้านเก่า เกาะเต่าด้านทิศใต้ จะเห็นอ่าวโฉลกบ้านเก่า และอ่าวเทียนออก ซึ่งมี
เว้าอ่าว เกือบติดกันคล้ายกับ เกาะพีพีดอน ที่จ.กระบี่ ที่นักท่องเที่ยวหากมีโอกาส
เดินทางไปเกาะเต่า ไม่ควรพลาดทีเดียว

และอีกเกาะเล็กๆที่อยู่ทางทิศเหนือของเกาะเต่า นั่นคือเกาะนางยวน ประกอบกันด้วย
เกาะเล็กเกาะน้อย 3 เกาะ ที่เชื่อมต่อกันด้วยสันทรายสีขาว จนบางครั้งยามน้ำลง ก็
สามารถเดินถึงกัน และกลายเป็นเกาะเดียวต่อเนื่องกันไปได้ สภาพธรรมชาติโดยรอบ
ประกอบด้วย ดงปะการัง อันอุดมสมบูรณ์อยู่ภายใต้ท้องทะเลสีเขียวมรกต จึงนับเป็น
แหล่งที่เหมาะกับการเล่นน้ำ และดำดู ปะการังเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เกาะนางยวน
ยังมีจุดชมวิวที่นับว่าสวยงาม และคุ้มค่ากับการปีน ขึ้นไปชมอีกด้วย ใช้เวลาในการ
เดินขึ้นไป ราว20 นาที ซึ่งเมื่อปีนขึ้นไปถึง ข้างบนแล้ว จะเป็นลานหินกว้างใหญ่
แห่งหนึ่งสำหรับนั่งชมวิวได้เป็นอย่างดี และมุมมองแห่งนี้ อาจนับได้ว่าเป็นมุมมอง
ที่สวยที่สุดของเกาะนางยวนก็ว่าได้ โดยเมื่อมองย้อนกลับลงมา ก็จะเห็นสันทรายสีขาว
ทอดตัวยาวเหยียด เชื่อมต่อเกาะอีก 2 เกาะเข้าด้วยกันใน ท่ามกลางน้ำทะเลสีเขียวเข้ม
ที่รายล้อมอยู่โดยรอบ อย่างงดงามยิ่งนัก
ณ หาดทรายแดง จากจุดนี้สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้น ระหว่างเกาะเต่า และเกาะ
หินเล็กๆ ชื่อ กงทรายแดง ได้อย่างสวยงาม เป็นจุดดำน้ำ (ลึก) ที่เลื่องชื่ออีกจุดหนึ่ง
และจุดดำดูฉลาม นายท้ายเรือเล่าว่ามีอยู่สัก 7-8 ตัว ยาวประมาณ 1-2 วา ไม่มีอันตราย
เพราะตัวไม่ใหญ่มากนัก ไม่ทำร้ายคน

ความงดงามของธรรมชาติทั้งโลกเหนือและใต้ทะเลของเกาะเต่าเหล่านี้ ด้วยระยะทาง
ที่ห่างจากผืนฝั่งอยู่พอสม ควรส่วนหนึ่งจึงเป็นเหมือนปราการช่วยรักษาความเ


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ

สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่

สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล

เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี รวมถึงฤดูร้อนด้วย บนยอดดอยมีความชื้นสูงมาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี สามารถพบเห็น แม่ขะนิ้ง หรือ น้ำค้างแข็งได้ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง

แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ ตำบลป่าบอน ตำบลนาประดู่ ตำบลทรายขาว ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่ตำบลโหนก ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติ น้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมดจะอยู่บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นเทือกเขายาวที่สลับซับซ้อนติดต่อกันมียอดเขาบางจันทร์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ส่วนใหญ่พื้นที่จะลดลงไปทางทิศตะวันตก เป็นที่เนินเขา และเป็นที่ราบ ดินจะเป็นดินเหนียวปนทราย ส่วนมากหินเป็นหินปูนและหินแกรนิต
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือพัดผ่านฤดูฝนอยู่ระหว่าง เดือนพฤษภาคม-เดือนมกราคม จะมีฝนตกตลอด ช่วงเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม จะมีฝนตกหนัก และฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน อากาศจะไม่ร้อนจัดนัก
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกทรายขาว เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 30 เมตร แล้วไหลลงไปตามลำธาร ซึ่งบางตอนเป็นแอ่งสวยงามมาก ความยาวประมาณ 700 เมตร สองข้างลำธารมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมตลอดให้ความร่มรื่นและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง อยู่บริเวณตำบลนาประดู่ไปตามเส้นทางโคกโพธิ์-ยะลาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409
น้ำตกโผงโผง เป็นน้ำตกที่ไหลตกลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันไดมี 7 ชั้น จากที่ราบชั้นล่างสุดซึ่งมีแอ่งน้ำตกขนาดใหญ่ มองขึ้นไปยังผาน้ำตกชั้นบน จะเห็นน้ำตกไหลลงมาเป็นสายน้ำคดเคี้ยวตามหน้าผาและโขดหิน พื้นที่บริเวณสองข้างลำธารและบริเวณใกล้น้ำตกมีความร่มรื่น ถูกปกคลุมด้วยกิ่งใบของพันธุ์ไม้นานาชนิดซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น อยู่บริเวณปากหล่อ ใช้เส้นทางสายโคกโพธิ์–ยะลา
น้ำตกพระไม้ไผ่ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ตกจากผาหินกว้างสูงประมาณ 10 เมตร ซอกซอนไปตามโขดหินจนถึงลานหินแกรนิตขนาดใหญ่ จากนั้นสายน้ำจะแผ่กว้างออกแล้วไหลลงสู่ลำธารเบื้องล่างซึ่งจะไหลไปรวมกับแม่น้ำเทพาในที่สุด บริเวณน้ำตกมีพระพุทธรูปซึ่งชาวบ้านโหนดร่วมใจกันสร้างไว้ นามว่า “พระเวฬุวัน” น้ำตกพระไม้ไผ่อยู่ห่างจากน้ำตกทรายขาว 12 กม. ใช้เส้นทางสายทรายขาว-สะบ้าย้อย มีทางแยกที่บ้านโหนดเข้าสู่น้ำตก
น้ำตกอรัญวาริน มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นผาหินสูง 30 เมตร สายน้ำตกลงมาตามโขดหินลดหลั่นกันลงสู่แอ่งน้ำตกเบื้องล่าง น้ำตกอรัญวารินอยู่ในเขต อ.โคกโพธิ์ กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.ปัตตานี
สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ สู่ที่ว่าการอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ซึ่งตั้งบริเวณตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตำบลทรายขาว,อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี 94120 โทรศัพท์ : (6673) 339138

• ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ ๑,๙๔๐.๓๕๖ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำที่สำคัญ ๒ สาย คือ แม่น้ำตานี และ แม่น้ำสายบุรี ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธในพุทธศตวรรษที่ ๗ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รัฐกลันตัน กับรัฐตรังกานูในมาเลเซีย ปัจจุบันยังมีซากเมืองเก่าของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่อำเภอยะรังในปัจจุบัน และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และวัฒนธรรม มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และด้านประเพณีวัฒนธรรม
• ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี ยะรัง หนองจิก โคกโพธิ์ ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ สายบุรี กะพ้อ ไม้แก่น ทุ่งยางแดง และแม่ลาน
อาณาเขต

• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดสงขลา
• ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา
• ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
การเดินทาง
• รถยนต์ ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑,๐๕๕ กิโลเมตรโดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดปัตตานี
• รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีปัตตานี(โคกโพธิ์) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔ สำรองตั๋วโดยสาร ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ หรือสถานีปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๔๓ ๑๒๓๒ หรือ www.railway.co.th
จากสถานีปัตตานี จะมีรถโดยสารประจำทางและรถแท๊กซี่บริการระหว่างอำเภอโคกโพธิ์-อำเภอเมือง ระยะทางประมาณ ๒๙ กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปจังหวัดปัตตานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๑๙ , ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ หรือ www.transport.co.th
• เครื่องบิน บมจ.การบินไทย ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดปัตตานี นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้โดยลงที่หาดใหญ่ (บมจ.การบินไทย มีบริการรถรับส่งระหว่างสนามบินหาดใหญ่-ปัตตานี ไป-กลับ ทุกวัน ๆละ ๒ เที่ยว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า)หรือนักท่องเที่ยวสามารถต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถแท๊กซี่จากหาดใหญ่ไปปัตตานีได้ ระยะทางประมาณ ๑๐๔ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๑.๓๐ ชั่วโมง สอบถามเที่ยวบิน ได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. ๑๕๖๖ , ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ , ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๕๙๓๘ หรือ www.thaiairways.com
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอหนองจิก ๘ กิโลเมตร
อำเภอยะหริ่ง ๑๔ กิโลเมตร
อำเภอยะรัง ๑๕ กิโลเมตร
อำเภอโคกโพธิ์ ๒๖ กิโลเมตร
อำเภอมายอ ๒๙ กิโลเมตร
อำเภอแม่ลาน ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอปะนาเระ ๔๓ กิโลเมตร
อำเภอทุ่งยางแดง ๔๕ กิโลเมตร
อำเภอสายบุรี ๕๐ กิโลเมตร
อำเภอไม้แก่น ๖๕ กิโลเมตร
อำเภอกะพ้อ ๖๘ กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดปัตตานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
ยะลา ๓๕ กิโลเมตร
นราธิวาส ๑๐๐ กิโลเมตร
สงขลา ๙๙ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๐๑๕
เทศบาลเมืองปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๔๓๓๓, ๐ ๗๓๓๓ ๗๑๔๑
บริษัท ขนส่ง จำกัด จังหวัดปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๘๘๑๖
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน ) สาขาปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๕๙๓๘
ประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๘๔๓๕, ๐ ๗๓๓๑ ๓๙๐๙
ตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๓๒๐ , ๐ ๗๓๓๔ ๙๔๘๐
โรงพยาบาลปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๑๘๕๙–๖๓
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๐๑๘ , ๐ ๗๓๓๔ ๘๖๐๒
สำนักงานจังหวัดปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๐๐๒ , ๐ ๗๓๓๓ ๑๑๕๔
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต ๓ (นราธิวาส)
๑๐๒/๓ หมู่ ๒ ถนนนราธิวาส-ตากใบ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๖๑๔๔ โทรสาร ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๒ E-mail : tatnara@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

ที่ตั้ง : ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง ห่างจากท่าเรือเจ้าฟ้าประมาณ 42 กิโลเมตร
• การเดินทาง : จากกระบี่ มีเรืออกจากท่าเรือเจ้าฟ้า ในตัวเมือง มีเรือให้บริการตลอดปี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.30 ชั่วโมง และห่างจากท่าเรืออ่าวนาง มีเรือให้บริการวันละ 1 เที่ยว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
• จุดเด่น : หมู่เกาะพีพีอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยสองเกาะใหญ่ คือ เกาะพีพีดอน และเกาะพีพีเล และเกาะเล็กๆ ข้างเคียง คือ เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะปิเต๊ะ ฯลฯ เกาะเล็กๆ นี้มีโลกใต้ทะเลที่ได้รับการยอมรับว่าสวยงามมาก และเกาะพีพีดอนเองก็มีทิวทัศน์ที่ครั้งหนึ่งเคยติดอันดับงดงามที่สุด 1 ใน 10 ของโลกเลยทีเดียว
• เกาะพีพีดอนเป็นศูนย์กลางของหมู่เกาะพีพี มีทั้งที่พัก ท่าเรือ ร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันรวมทั้งยังมีทิวทัศน์ที่งดงามอีกด้วย คั่นด้วยที่ราบเล็กๆ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าว


• หากมาเที่ยวที่เกาะนี้สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย ตั้งแต่เดินเล่นชมวิวหรือเหมาเรือชมวิว เล่นน้ำบริเวณชายหาด ดำน้ำตื้นที่อ่าวต้นไทร อ่าวนุ้ย อ่าวหยงกาเส็ม อ่าวผักหนาม อ่าวลันดี โดยสามารถเช่าอุปกรณ์ดำน้ำได้จากร้านค้าทั่วไป หรืออาจเช่าเรือหางยาวไปดำน้ำลึกก็ได้ โดยติดต่อร้านบริการนำเที่ยวซึ่งจะมีอุปกรณ์ดำน้ำครบครัน เหมาะทั้งสำหรับมือสมัครเล่นและมืออาชีพ
• นอกจากเกาะพีพีดอนแล้ว หมู่เกาะพีพียังมีเกาะสวยๆอีกหลายเกาะ เช่นเกาะไผ่ ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเกาะพีพีดอน ห่างจากหัวเกาะพีพีดอนไป 3 กิโลเมตร เหมาเรือหางยาวไปเที่ยวได้สะดวก เกาะไผ่ เป็นจุดดำน้ำตื้นที่เป็นที่นิยมมากมีหาดทรายที่ขาวสะอาดและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สามารถกางเต็นท์พักแรมได้ ไกลออกไปเป็นที่ตั้งของเกาะยูง เกาะปิเต๊ะ เป็นจุดดำน้ำลึกที่สวยงามมาก
• สิ่งอำนวยความสะดวก : เกาะพีพีดอนมีที่พักมากมายให้เลือกใช้บริการโดยเฉพาะอ่าวต้นไทรและอ่าวโละดาลัม สำหรับร้านอาหารก็มีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่อาหารไทย อาหารยุโรป และอาหารทะละให้ลองลิ้มชิมรส เช่นเดียวกับบาร์เบียร์ริมหาดที่ครึกครื้นทุกค่ำคืน

เกาะพีพีเล
• ที่ตั้ง : ห่างจากเกาะพีพีดอนลงมาทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร
• การเดินทาง : เหมาเรือหางยาวจากท่าเรืออ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน
• จุดเด่น : เกาะพีพีเลเป็นเกาะหินเกือบทั้งเกาะ แม้จะมีชายหาดเพียงเล็กน้อย แต่โดดเด่นด้วยเป็นจุดดำน้ำตื้นและน้ำลึกที่สวยงาม โดยสามารถดำชมได้บริเวณอ่าวปิเละและอ่าวโละซามะ หากเหมาเรือหางยาวมาเที่ยว เรือจะบริการพาเที่ยวเสร็จสรรพ เช่น เริ่มต้นที่การเที่ยวถ้ำไวกิ้ง ชมถ้ำรังนกนางแอ่น ซึ่งสามารถเดินเข้าไปชมเองได้ บางวันจะมีสาธิตเก็บรังนกนางแอ่นด้วย จากนั้นไปที่อ่าวปิเละทางตอนเหนือของเกาะ น้ำทะเลสีสวย โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูนรอบด้านเหมือนเป็นห้อง แต่น้ำลึกไม่เหมาะแก่การลงเล่น จากนั้นไปที่อ่าวมาหยา อ่าวที่สวยที่สุดที่เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรือ เดอะบีช อ่าวนี้มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส นับเป็นหาดทรายหนึ่งเดียวและเป็นจุดที่สวยงามที่สุดบนเกาะหินแห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เด่นที่สุดที่นักท่องเที่ยวมาเยือนเกาะพีพีไม่ยอมพลาด
• สิ่งอำนวยความสะดวก : เกาะพีพีเลไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกจากที่พักและร้านอาหาร เพราะเป็นเกาะหินเกือบทั้งหมด


เกาะไม้ไผ่ หรือ เกาะไผ่
• ที่ตั้ง : อยู่ทางทิศเหนือของเกาะพีพีดอน ห่างจากเกาะพีพีดอนประมาณ 3 กิโลเมตร
• การเดินทาง : สามารถเหมาเรือหางยาวจากท่าเรืออ่าวต้นไทรบนเกาะพีพีดอน นักท่องเที่ยวนิยเหมาเรือแบบครึ่งวันและเต็มวัน ไปเที่ยวเกาะพีพีเลและเกาะไผ่
• จุดเด่น : เกาะไผ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีขนาดเล็กกว่าเกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเล แต่ที่เด่นกว่าคือเป็นอุทยานฯ ทั้งเกาะจึงไม่มีความพลุกพล่านจากผู้คนและไม่มีสิ่งก่อสร้างมากมายเหมือนกาะพีพีดอน
• เกาะไผ่หรือที่เรียกกันว่าเกาะไม้ไผ่ มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์มาก หาดทรายขาวสะอาดรอบๆ เกาะนั้นร่มรื่นด้วยทิวสน น้ำทะเลสี่สวยดุจมรกต มากมายไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นทั้งปะการังเขากวาง ปะการังแผ่น ปะการังสมอง ปะการังก้อน รวมทั้งเจ้าถิ่นอย่างฝูงปลาหลากสีพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ห่างจากเกาะไผ่ไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของเกาะยูง สามารถเหมาเรือไปดำน้ำรอบเกาะเล็กๆได้เช่นกัน
• สิ่งอำนวยความสะดวก : นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการที่พักคือ เต็นท์จากอุทยานฯ เพื่อสัมผัสด่ำและวันอันสงสบสวยบนเกาะไผ่ เพลิดเพลินไปกับการเล่นน้ำทะเล ชมปะการังใต้น้ำพายรือคายัค หรือพักผ่อนหย่อนใจก็เหมาะ


อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอปราณบุรี กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา : จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาขวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อันเป็นเทือกเขาซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งมีสภาพพื้นที่แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ แบบลูกคลื่นลอนชั้นถึงเนินเขา มีความลาดชันประมาณ 80-100 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกบุกรุกแผ้วถางทำไร่สับปะรด อ้อย ผักต่างๆ และแบบภูเขา ประกอบด้วยภูเขาสูงชัน ลาดชันประมาณ 35% และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 750 เมตรขึ้นไป ประกอบด้วยเขาวังไทรดิ่ง เขาหนองหว้า..เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตะลุยแพรกขวา ห้วยตะลุยแพรกซ้าย คลองกุย เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน เป็นฤดูฝน :ซึ่งจะมีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม หลังจากนั้นจะตกหนักในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,179 มิลลิเมตร อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พลอง ทะลายเขา เขล็ง กระชิด พลวง สมอ ตะเคียนหิน มะไฟป่า พืชตระกูลปาล์มชนิดต่างๆ เช่น หมากเขียว หวายชนิดต่างๆ เต่าร้าง โดยเฉพาะหวายมีเป็นจำนวนมาก พืชชั้นล่างหลายชนิด เช่น พวกพืชในวงศ์ขิง ข่า เฟิน บอน เป็นต้น
สำหรับสัตว์ป่ายังมีชุกชุม เนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า หมี เก้ง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่าง เลียงผา กระจง หมูป่า กระต่ายป่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกชนิดต่างๆ เช่น นกกาฮัง ไก่ป่า นกระวังไพร นกกางเขนดง นกเขา นกยางกรอก นกยางแดง และยังมีสัตว์เลื้อยคลานได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบทูด คางคก เขียด และปลาชนิดต่างๆ
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยดงมะไฟเป็นน้ำตกที่ลดหลั่นกันลงมา 15 ชั้น จากต้นน้ำกุยบุรีแพรกขวา มีลักษณะเป็นแก่นหินแกรนิต มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นได้ มีความสวยงาม ร่มรื่น ของสภาพป่าสองฝั่ง ลำธาร น้ำใสและบริสุทธิ์มาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
น้ำตกผาหมาหอน เป็นน้ำตกที่มีระดับลดหลั่นกันลงมา 3 ชั้น เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีลักษณะเป็นผาลาดสูงชันเกือบตั้งฉาก มีสายน้ำใสไหลแรงตลอดเวลา บริเวณตอนกลางมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และบริเวณพื้นล่างมีพันธุ์ไม้จำนวนมาก เช่น เฟิน ปาล์ม หลากชนิดเหมาะแก่การเดินชมศึกษาสภาพธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เส้นทางผ่านป่าดิบแล้ง ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น เถาวัลย์ ไทร จุดชมทิวทัศน์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของช้างป่าให้พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งกองมูลและรอยตีนช้าง
หากต้องการศึกษาสภาพการดำรงชีวิตของช้างป่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.1 (ป่ายาง) หมู่ที่ 7 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี เวลาที่เหมาะสมในการชมช้างป่าอยู่ในช่วง 16.00-18.00 น.
สันมะค่า เป็นจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดนี้ ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวสามารถชมทะเลหมอกและน้ำตกได้
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและมีสถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางสายกรุงเทพฯ–ภาคใต้ จะผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกสาย มีเส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ป่า ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 295 แยกขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3217 (กุยบุรี-ยางชุม) ระยะทาง 20 กิโลเมตร ถึงบ้านยางชุม แล้วแยกซ้ายตามถนนข้างอ่างเก็บน้ำยางชุม ถึงบ้านย่านซื่อ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตู้ ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77150


ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนล่างซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับภาคใต้ และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ปากคลองอีรม ชื่อว่า เมืองบางนางรม และในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นหมู่ ๆ โดยมีที่ว่าการเมืองอยู่ที่เมืองกุย จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 จึงย้ายที่ว่าการมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลัก หรืออ่าวประจวบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่แคบเป็นคาบสมุทรยาวลงไปทางใต้ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดจากเขตแดนไทย-พม่า ด้านตะวันตก จนถึงฝั่งทะเลด้านตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร และมีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ 212 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน ปราณบุรี กุยบุรี ทับสะแก บางสะพาน บางสะพานน้อย และกิ่งอำเภอสามร้อยยอด
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับสหภาพพม่าโดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นพรมแดน
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
เส้นทางแรก ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ทางหลวงหมายเลข 35 ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรเกษม เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี เข้าสู่ตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง
เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี เข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-ปราณบุรี และกรุงเทพฯ-บางสะพาน เป็นประจำทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ โทร. 435–1199–200 (ปรับอากาศ) , 434–5557-8 (ธรรมดา)
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงมีบริการรถไฟสายใต้ไปหัวหิน ปราณบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 223–7010, 223–7020


ทุ่ง 5 บาท ก่อนถึงทุ่งดอกบัวตอง ซึ่งชาวบ้านจะมาปลูกดอกไม้และมีที่พักเล็กๆในช่วงเทศกาลทุ่งดอกบัวตองบาน
วนอุทยานทุ่งบัวตอง อยู่ในท้องที่ บ้านแม่อูคอ หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 4,437 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2542ลักษณะภูมิประเทศ• วนอุทยานทุ่งบัวตอง ตั้งอยู่บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,600 เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม มองเห็นภูเขาสลับซับซ้อนคล้ายคลื่นในทะเล ในบริเวณพื้นที่ของวนอุทยานฯจะมีป่าธรรมชาติและป่าสนปลูกขึ้นสลับกันลักษณะภูมิอากาศ• มีอากาศเย็นตลอดปี ฤดูหนาวอากาศหนาวมาก ตอนเช้าจะมีหมอกทึบ ตอนกลางวันอากาศเย็น เพราะมีลมพัดตลอดวัน พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า• ป่าดิบเขาและป่าสนเขา ป่าดิบเขาส่วนใหญ่จะพบบริเวณด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของทุ่งบัวตอง บริเวณลาดเขาและหุบเขามีพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อนก เป็นต้น• ป่าสนเขาจะพบบริเวณด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของทุ่งบัวตอง เป็นป่าที่ปลูกขึ้นใหม่โดยออป.ตามเงื่อนไขสัมปทานป่าไม้ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ • สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ไก่ป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เม่น ตะกวด กระรอก กระแต กระต่ายป่า พังพอน ตุ่น หนู อ้น งู และนกชนิดต่างๆ บ้านพัก-บริการ • วนอุทยานทุ่งบัวตอง ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาต ใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานทุ่งบัวตอง โดยตรงแหล่งท่องเที่ยว • ทุ่งบัวตอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดเด่นที่เป็นทุ่งที่มีดอกบัวตองซึ่งเป็นดอกไม้สีเหลืองขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่บนภูเขาสูง เห็นวิวทิวทัศน์รอบๆทุ่งบัวตองเป็นภูเขาสลับซับซ้อนสวยงามมาก มีอากาศเย็นตลอดปี มีหมอกปกคลุมในตอนเช้า• น้ำตกแม่ยวมหลวง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ทางทิศใต้ของทุ่งบัวตอง อยู่ห่างจากทุ่งบัวตอง 11 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอขุนยวม 15 กิโลเมตร• น้ำตกแม่สุรินทร์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่สุรินทร์ อยู่ทางทิศเหนือของทุ่งบัวตอง ห่างจากทุ่งบัวตอง 11 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอขุนยวม 37 กิโลเมตร • โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทุ่งบัวตอง ห่างจากทุ่งบัวตอง 6 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอขุนยวม 32 กิโลเมตร การเดินทาง • รถยนต์ เส้นทางเข้าสู่ทุ่งบัวตองมี 2 เส้นทาง คือ • ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 201 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข1263 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางสายบ้านนางิ้ว-บ้านหัวฮะ ไปอีก 14 กิโลเมตร • จากอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตามทางหลวงหมายเลข 1263 (แม่แจ่ม-ขุนยวม) ถึงทางแยกเข้าบ้านนางิ้ว-บ้านหัวฮะ ระยะทาง 76 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าไปอีก 14 กิโลเมตร สถานที่ติดต่อ • วนอุทยานทุ่งบัวตอง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 17 อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

วิธีทำต้มยำกุ้งรสชาติกลมกล่อมด้วยวัตถุดิบที่หาซื้อได้ทั่วไป

เครื่องปรุงกุ้ง 7-8 ตัวเห็ด 350 กรัมตะไคร้ 1 ต้นใบมะกรูด 7-8 ใบผักชี 2 ต้นพริกสด 5 เม็ดซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 3 ช้อนโต๊ะน้ำพริกเผา 2 ช้อนโต๊ะน้ำมะนาว 4 ช้อนโต๊ะน้ำซุปไก่ 5 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำกุ้งและเห็ดมาล้างให้สะอาด ปลอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลังเอาเส้นดำออก ส่วนเห็ดนำมาผ่าเป็น 4 ส่วน

2. นำตะไคร้ ใบมะกรูด พริกสด และผักชีมาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นตะไคร้เฉียงๆ ฉีกใบมะกรูดเอาเส้นกลางใบออก ทุบพริกแล้วหั่นเป็นท่อน ส่วนผักชีนำมาหั่นหยาบๆ

3. เปิดเตาที่ไฟแรงปานกลาง นำน้ำซุปใส่หม้อ รอจนเดือดจึงใส่ตะไคร้และใบมะกรูดลงไป เคี่ยวไปประมาณ 5 นาที

4. ใส่เห็ดและกุ้งลงไป รอจนเดือดประมาณ 2-3 นาทีจึงปิดเตา

5. ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำมะนาว น้ำพริกเผา และพริกทุบ ชิมรสตามชอบ ใส่ผักชีโรยหน้า คนให้เข้ากัน6. ตักต้มยำกุ้งใส่ถ้วย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ


เครื่องปรุงข้าวสวย 4 ถ้วย
แหนม 2 แท่ง
ไข่ไก่ 2 ฟอง
ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 1 ช้อน
ชาน้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
หัวหอมใหญ่ ½ หัว
กระเทียมกลีบใหญ่ 3 กลีบ
ผักกาดหอม 4 ใบ
มะเขือเทศ 1 ลูก
ต้นหอม 3 ต้น
ผักชี 1 ต้น
น้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ1. ปลอกเปลือกหัวหอมใหญ่ กระเทียม ตัดก้านต้นหอม ผักชี และผักกาดหอม นำผักทั้งหมดไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำ แล้วหั่นหัวหอมใหญ่เป็นลูกเต๋าเล็กๆ สับกระเทียมให้ละเอียด หั่นต้นหอมเป็นท่อน หั่นมะเขือเทศเป็นแว่น และเด็ดผักชีเป็นใบๆ
2. หั่นแหนมเฉียงๆ เป็นชิ้นขนาดพอคำ (ถ้ามีพริกในแหนมก็ให้หั่นเป็นท่อนแล้วใส่ลงไปผัดพร้อมหัวหอมใหญ่และกระเทียมสับได้เลยค่ะ) จากนั้น เปิดเตาที่ไฟปานกลาง ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันเริ่มร้อนให้นำหัวหอมใหญ่หั่นเต๋าและกระเทียมสับลงไปผัดให้หอม (สังเกตหัวหอมใหญ่เริ่มใส)
3. ใส่แหนมที่หั่นไว้ลงไปผัดไปซักพัก พอแหนมเริ่มสุกให้ทำหลุมตรงกลางกระทะ ตอกไข่ลงไป ตีไข่ให้กระจาย จากนั้นก็เติมเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) ซอสปรุงรส และน้ำตาลทรายลงไป (พยายามโรยเครื่องปรุงให้ทั่วๆ )

4. รอจนไข่เริ่มสุกก็กลับด้านไข่ (ควรรอให้ไข่เริ่มแห้งก่อนค่อยผัดต่อนะคะ ไม่อย่างนั้นไข่จะเละหมด) พอไข่สุกให้ใส่ข้าวสวยลงไป เติมน้ำมันหอย ผัดเครื่องทั้งหมดกับข้าวให้เข้ากัน

5. โรยต้นหอมลงไป ผัดข้าวให้ทั่วแล้วปิดเตา
6. จัดผักกาดหอมและมะเขือเทศวางบนจาน ตักข้าวลงไป โรยหน้าด้วยผักชี จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ


อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ ๒ อำเภอ คือ อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา มีอาณาเขตชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่หาดฉางหลาง ตำบลไม้ฝาด ห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๔๗ กิโลเมตร ใช้เส้นทางตรัง-สิเกา-ปากเมง (ทางหลวงหมายเลข ๔๑๖๒) ระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายตามถนนเลียบชายหาดอีก ๗ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ สถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานฯ ที่อยู่บนบก ได้แก่ หาดปากเมง หาดฉางหลาง หาดสั้น หาดยาว หาดหยงหลิง หาดเจ้าไหม ถ้ำเจ้าไหม สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้รถยนต์สามารถเข้าถึงได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีเกาะน้อยใหญ่อีก ๗ เกาะในทะเลตรังที่อยู่ในความดูแลของอุทยานฯ ได้แก่ เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะแหวน เกาะเมง และเกาะเจ้าไหม อุทยานฯ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๕ นอกจากนั้นบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติทางทะเล จะทำการวิจัยหญ้าทะเล เป็นแหล่งคุณค่าทางนิเวศวิทยาของฝั่งทะเลอันดามัน สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๐๖๖๔ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวบริการ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้ โทร. ๕๖๑-๒๙๑๘-๒๑ หรือ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม หมู่ ๕ ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ตู้ ปณ. ๙ โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๓๒๖๐
เกาะไหง เป็นเกาะที่อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวจัดอยู่ในกลุ่มของทะเลตรัง เนื่องจากการเดินทางจากจังหวัดตรังสะดวกกว่า บนเกาะมีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส รอบเกาะอุดมด้วยปะการังที่สมบูรณ์ การเดินทางไปเกาะไหง มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง นอกจากนั้นมีเรือของเอกชนให้เช่า เรือขนาด ๑๐ คน ค่าเช่าเรือเหมาลำราคา ๑,๕๐๐ บาท หรือเรือท่องเที่ยวขนาดผู้โดยสาร ๒๐-๔๐ คน ค่าเช่าเรือราคา ๖,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท มีที่พักบนเกาะ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคล (Aquarium) ใช้เส้นทางตรัง-สิเกา-ปากเมง ทางหลวงหมายเลข 4046-4162 ห่างจากตัวเมืองตรังประมาณ ๓๐ กิโลเมตร เป็นอาคารหลังใหญ่อยู่ภายในบริเวณคณะประมง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจังหวัดตรัง ตำบลไม้ฝาด มีการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำด้วยตู้ขนาดใหญ่จำนวน ๖๑ ตู้ ไม่นับรวมบ่อเลี้ยงปลา บรรจุทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์ทะเล สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและจำลองชีวภาพป่าชายเลนที่เหมือนจริงมากที่สุด รวมทั้งมีร้านอาหารและร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกไว้คอยบริการ เปิดบริการตามวันและเวลาราชการ โทร. ๐ ๗๕๒๔ ๘๒๐๑-๕ หาดปากเมง ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้ฝาด ห่างจากตัวเมืองตามถนนสายตรัง-สิเกา-ปากเมง ตามทางหลวงหมายเลข ๔๐๔๖–๔๑๖๒ ระยะทาง ๓๘ กิโลเมตร เป็นหาดที่สวยงามและเงียบ เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร มีป่าสนตามธรรมชาติขึ้นอยู่สวยงาม กลางทะเลมีเกาะน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันมองดูลักษณะคล้ายคนนอนหงายอยู่ในทะเล ประชาชนในจังหวัดตรังและจากต่างจังหวัดไปพักผ่อนและลิ้มรสอาหารทะเลจัด ๆ จากร้านอาหารในบริเวณนั้น บริเวณหาดปากเมงมีท่าเทียบเรือปากเมง มีเรือบริการไปเกาะไหงและเกาะต่าง ๆ ในบริเวณนั้น การเดินทางไปท่าเรือปากเมงใช้เส้นทางเดียวกับหาดปากเมง แต่เมื่อถึงหาดปากเมงแล้วเลี้ยวขวาประมาณ ๑ กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีรถตู้ ตรัง-สิเกา-ปากเมง ให้บริการที่ถนนท่ากลาง


ส่วนผสม สปาเก็ตตี้ผัดหอยลาย
– สปาเกตตี้ 1 ห่อ สำหรับ 2-3 ท่าน– หอยลาย 20–30 ตัว– น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ– กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ– พริกขี้หนู 1 ช้อนโต๊ะ– น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ– น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนโต๊ะ– ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ– ใบโหระพา
วิธีทำ สปาเก็ตตี้ผัดหอยลาย
1. ลวกเส็นสปาเก็ตตี้ พอสุก ตักขึ้นตะแกรง พักทิ้งไว้2. ตั้งไฟ ใส่หอยลายลงในกระทะ ใส่น้ำพริกเผา น้ำมันหอย3. ใส่กระเทียม พริกขี้หนู ผัดให้เข้ากัน4. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลทราย5. ใส่ใบโหระพา ผัดสุกได้ที่6. นำเส้นสปาเก็ตตี้ใส่ลงไปในกระทะ ผัดให้เข้ากัน


เคล็ดลับกับอาหาร
หอย มีสารสังกะสี ช่วยในการบำรุงสมอง ทำให้ความจำดี ป้องกันความจำเสื่อมได้
ข้าวโพด กินข้าวโพดช่วยบรรเทาอาการเครียด หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ในผู้หญิงสูงอายุได้
ขมิ้น มีสารเคอร์คูมินมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อต่ออักเสบได้
นมถั่วเหลือง เพียงดื่มวันละแก้ว ช่วยลดปริมาณไขมันที่สะสมที่กระเพราะอาหารได้
แกงเลียง สมุนไพรในแกงเลียงช่วยบรรเทาอาการป่วยจากไข้หวัดใหญ่ได้ดี
ว่านหางจระเข้ ใช้ประคบทาผิวคนไข้ที่เป็นมะเร็งหลังจากฉายแสง เพื่อบรรเทาอาการระบมได้
อาหารทะเล ช่วยรักษาสมดุลของสารสื่อปราสาทช่วยลดการหิว ทำให้ไม่หิวบ่อยได้
วิตามินซี เช่น ผักผลไม้สดต่างๆ ช่วยป้องกันมะเร็งหลอดอาหารได้
วิตามินเอ อาหารที่มีเบต้าแคโรทีน หรือ วิตามินเอสูง เช่นผักผลไม้สีเขียวเหลือง ช่วยป้องกันมะเร็งปอด
น้ำส้มสายชู แช่เล็บเหลืองจากการทำสีเล็บบ่อยๆ ในน้ำส้มสายชูประมาณ 5–10 นาที ช่วยทำให้เล็บขาวได้
น้ำผลไม้ ดื่มน้ำผลไม้ขณะท้องว่างจะช่วยล้างพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายได้
อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีกรดออกซาลิกที่ช่วยในการรักษาสิวได้
น้ำเก็กฮวย เป็นยาเย็น แก้ร้อนใน แก้ปวดท้อง ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้
น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันดอกทานตะวัน ใช้ปรุงอาหารช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้
แอปเปิ้ลสด กินทั้งเปลือกช่วยลดอาการท้องร่วงและปั่นป่วนในท้องได้
ผักผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดเข้มข้นสูง ช่วยเพิ่มความจำ
ใบผักชีฝรั่ง หรือกานพลู ใช้เคี้ยวหลังมื้ออาหาร ช่วยลดกลิ่นปากได้
มะละกอ ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่และป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้
น้ำชา ผู้ที่มีไตบกพร่อง ไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามากเกินไปเพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย ไตทำงานหนักได้

เกาะเกร็ด" ความงดงาม ความสวยงาม กลางแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งอารยธรรมอันทรงคุณค่าที่น่าค้นหา ชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งชเพิ่มรูปภาพาวไทยและชาวต่างประเทศแห่แหนเข้ามา ณ ที่แห่งนี้ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีแหล่งอารยธรรมของชาวมอญในพื้นที่ รวมถึงความอร่อยของอาหารที่หลากหลาย จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ผู้คนต่างพากันมาที่แห่งนี้
ประวัติเกาะเกร็ดบ้านเกร็ดน้อยน้ำอ้อมผ่านในย่านเกร็ดขุดคลองเสร็จเกิดเกาะเหมาะเหลือหลายชื่อเกาะเกร็ดเสร็จสมัยอยุธยาปลายพระเจ้าท้ายสระโปรดเกล้าฯกรุงธนบุรีคุมคนหมื่นเศษขุดคลองเดือนสามแล้วเสร็จตามความมุ่งหมายปลายเดือนสี่จุลศักราช ๑๐๘๔ จัตวาศกตกพอดีเทียบเป็นปี ๒๒๖๕ พุทธศักราชไทยกว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ความยาวบอก ๓๙ เส้น เป็นข้อไขคลองลัดเกร็ดจึงมีชื่อระบือไกล เดี๋ยวนี้ใหญ่ลึกกว้างทางสัญจรเกาะเกร็ดมีเนื้อที่ประมาณ 4500 ไร่ 4800 ตารางกิโลเมตร มี 1 ตำบล 7 หมู่บ้าน 5 วัด พลเมืองประมาณ 6085 คนเกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางลำน้ำเจ้าพระยา มีฐานะเป็นตำบล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้านเกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยา ตรงที่มีแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2265 เรียกคลองนี้ว่า คลองลัดเกร็ดน้อย ( คลองลัดเกร็ดใหญ่ อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก ) ขนาดกว้าง 6 วา ยาว 39 เส้นเศษ ลึก 6 ศอก ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกความแรงของกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังจึงกลายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด และกัดเซาะจนมีสภาพเป็นเกาะเช่นทุกวันนี้เมื่อลำคลองกว้างขึ้น สภาพความเป็นเกาะเด่นชัดขึ้น จึงเกิดเกาะ แต่ชื่อที่เรียกกันนั้นชั้นแรกนั้นเรียกว่า เกาะศาลากุน ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในโฉนดที่ดินที่ออกในสมัยรัชกาลที่ 5 เกาะศาลากุนนี้เรียกตามชื่อวัดศาลากุน สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากผู้สร้างถวายชื่อ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ( กุน ) ที่สมุหนายกรับราชการ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว เกาะศาลากุนจึงได้มีฐานะเป็นตำบลและเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงชื่อว่า เกาะเกร็ด จนถึงปัจจุบันเกาะเกร็ดยังมีสัญลักษณะที่เป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้มาเยือนจะต้องหยุดถ่ายรูปกับสิ่งๆนี้ นั่นก็คือ พระเจดีย์มุเตา (องค์เดิม) เป็นเจดีย์ทรงรามัญ ตั้งอยู่ด้านเหนือของวัดซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามารุ่นแรก ในสมัยกรุงธนบุรี เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ มีลักษณะเอียงแทบจะตกลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นลักษณะที่เห็นได้ชัด

ทะเลแหวก ลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำดุจทะเลแหวกออก จนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสามเกาะอย่างอัศจรรย์ ทะเลแหวกเป็นกลุ่มของเกาะ 3 เกาะ ที่มีหาดทรายเชื่อมติดกันได้แก่ เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ท่านสามารถเดินข้ามจากเกาะไก่ไปยังเกาะทับได้ในยามน้ำลง หากจะให้ดีก็ควรจะเป็นในช่วงน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือ มาตกปลา มากางเต้นท์ นอนนับดาวในคืนเดือนแรม หรือชมแสงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ ค้างคืนบนเกาะได้ แต่ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้นอนค้างแรมบนเกาะแล้ว ทะเลแหวกถือว่าเป็นไฮไลท์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของกระบี่เลยทีเดียว มาเที่ยวทะเลกระบี่ทั้งที ต้องมาเที่ยวทะเลแหวกให้ได้สักหนึ่งหนเกาะทัพ เป็นเกาะเล็กๆ มีหาดทรายเฉพาะด้านใต้ ยามน้ำลด หาดทรายทางด้านใต้นี้ จะเชื่อมต่อกับแนวสันทรายของเกาะปอดะนอก กลายเป็นสะพานธรรมชาติยาวประมาณ 200 เมตร แม้จะเป็นหาดทรายเล็กๆ แต่เม็ดทรายละเอียดและขาวมาก น้ำทะเลใสเกาะหม้อ เป็นโขดหิน ไม่มีชายหาดให้ขึ้นไปบนเกาะ น้ำทะเลใสสะอาด เกาะหม้อ อยู่ห่างจากเกาะทัพเพียง 70 เมตร หากน้ำลดจะมีสันทรายเชื่อมต่อกัน สามารถเดินจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะหนึ่งได้
เกาะปอดะนอก หรือ เกาะไก่ หรือเกาะด้ามขวาน เกาะรูปร่างประหลาด ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อเกาะอันหลากหลาย เนื่องจากชะง่อนผาที่ยื่นออกมาทางด้านใต้ ทำให้ผู้พบเห็นเกิดจินตนาการต่างๆกันไป บ้างก็เห็นเกาะคล้ายกับส่วนหัวของไก่ บ้างก็เห็นเป็นด้ามขวานที่วางตั้งอยู่ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวกลับมองเห็นเป็นป็อบอาย ตัวการ์ตูนดังในสมัยยังแรกรุ่น หรือบางท่านอาจจะยังอยู่ในวัยอ่อนเดียงสา กำลังนอนคาบไปป์อย่างมีความสุข ท่านสามารถดำผิวน้ำชมปะการังน้ำตื้น หรือปะการังแข็งได้ที่เกาะไก่นี้ แต่ความสมบูรณ์ของปะการังก็คงไม่อาจเทียบเท่ากับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆที่ห่างไกลจากผืนแผ่นดินใหญ่ ความประทับใจที่ท่านจะได้พบ ก็คงจะเป็น หาดทรายขาวทอดยาว เคียงคู่ไปกับน้ำทะเลสวยใส กับปลาลายเสือฝูงใหญ่ ที่มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ ที่มักจะมารอคอยต้อนรับ และ พร้อมที่จะเล่นกับผู้มาเยือนอยู่เสมอ


ตรัง หรือเมืองทับเที่ยง เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมืองสิบสองนักษัตรในสมัยก่อน ตรังเป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีนำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมืองตรังมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งน้ำตกและเกาะกลางทะเลอันงดงามเป็นจำนวนมาก
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง จากเชิงเขาบรรทัดลาดต่ำลงมาจนจดฝั่งอันดามัน ลักษณะพื้นที่เป็นควน (เนิน) สูงต่ำกระจายอยู่ทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด
ตรังเป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวเหยียดทางด้านตะวันตก มีเกาะในทะเลอันดามันอยู่ในการปกครองกว่า 46 เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดนครศรีธรรมราชทิศใต้ จดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดพัทลุงทิศตะวันตก จดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย



การปกครอง
แบ่งเป็น 8 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอกิ่งรัษฎา และกิ่งอำเภอหาดสำราญ ตรังมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,917 ตร. กม.


วนอุทยานน้ำตกพ่าน
วนอุทยานน้ำตกพ่าน อยู่ในท้องที่บ้านลำแคลง หมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาบรรทัด แปลงที่ 2 ตอนที่ 1 ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 108 (พ.ศ.2508) มีเนื้อที่ประมาณ 9,219 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2540
ภูมิประเทศ
เป็นเนินเขาหินปูน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของคลองปะเหลียน ประกอบด้วย คลองบาดหลุด คลองบ้านตก คลองเจ้าพระและห้วยแจ็ดแร็ด
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา เก้งหม้อ หมี นิ่ม ชะนี ค่างแว่นถิ่นใต้ และนกชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ หลุมพอ สาวดำ ตะเคียนทอง ตาเสือ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยางหิน ยางนา หวาย ปรง กล้วยไม้ป่า และพืชสมุนไพรต่างๆ
การเดินทาง
สามารถเดินทางจากจังหวัดตรัง ตามถนนทางหลวงลาดยางได้ 4 เส้นทาง คือ 1. เริ่มต้นจาก ตรัง-นาโยง-ถนนคด-ปะเหลียนใน-วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 2. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ลำปลอก-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 3. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ท่าพญา-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 50 กิโลเมตร 4. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ทุ่งยาว-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 68 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่ 3 จากอำเภอย่านตาขาวมีรถยนต์โดยสารประจำหมู่บ้านถึงบ้านปะเหลียนใน โดยสารรถจักยานยนต์รับจ้างไปวนอุทยานน้ำตกพ่าน ระยะทางประมาณ 3 กิโล


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เมื่อเริ่มแรกประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเทือก เขาบรรทัด จังหวัดตรัง สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านกะช่อง หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ต่อมาปี พ.ศ. 2518 จึงได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 จังหวัดตามเทือกเขาบรรทัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 805,000 ไร่ ปี พ.ศ. 2520 ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนครั้งแรกในท้องที่จังหวัดสตูลให้กับนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้เพื่อจัดที่ให้ราษฎรทำกิน คงเหลือพื้นที่ประมาณ 792,000 ไร่ ต่อมาปี พ.ศ. 2524 เกิด อุทกภัยภาคใต้อย่างร้ายแรงทำให้ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ ได้รับความเสียหายบางส่วน ประกอบกับกรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นซ้ำซ้อนในสถานที่เดียวกัน ทำให้ผู้มาติดต่อเกิดการเข้าใจผิด ไม่สามารถแยกแยะหน่วยงานและเขตรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้เป็นอิสระได้ จึงได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดไปอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านนาวงหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เนื่องจากมีความเหมาะสมและคล่องตัวในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยราชการอื่น ปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนออกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อสร้างและขยายถนนสายเพชรเกษม จากจังหวัดพัทลุงถึงจังหวัดตรัง และปี พ.ศ. 2530 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดออกอีก เพื่อให้กองทัพภาคที่ 4 จัดตั้งสถานที่ฝึกการรบพิเศษของกองทัพ ปัจจุบันมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 792,000 ไร่
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาว ประกอบด้วยภูเขาสูงหลายลูกสลับซับซ้อนเรียงกันเป็นแนว ยอดเขาที่สำคัญคือ เขาหลัก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมกันเป็นทะเลสาปสงขลา หล่อเลี้ยงประชากรในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา
ภูมิอากาศ
โดยทั่วไปแล้วจัดว่าอยู่ในประเภทอากาศร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อนเช่นเดียวกับภูมิอากาศของภาคใต้ทั่ว ๆ ไป
สัตว์ป่า
พื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดเป็นป่าดงดิบชื้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุม ทั้ง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีกเช่น นกเงือก นกกาฮัง นกหว้า เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น กวาง เสือ สมเสร็จ กระจง เลียงผา เม่น เก้ง ชะนี ลิง ค่าง บ่าง กระรอก ฯลฯ และสัตว์เลื้อยคลาน
ป่าและพันธุ์ไม้
พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ภูเขามีลักษณะเป็นดินมากกว่าหิน พรรณไม้ที่มีค่าและสำคัญของพื้นที่ ได้แก่ ไม้ตระกูลยาง หลุมพอ ตะเคียนต่าง ๆ ไข่เขียว ขานาง ฯลฯ นอกจากป่าดิบชื้นแล้วยังประกอบด้วยป่าดิบเขาซึ่งมีอยู่ประมาณ 20% ของพื้นที่
สิ่งอำนวยความสะดวก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีบ้านพักรับรองไว้ต้อนรับอยู่ 1 หลัง 2 ห้องนอน ตั้งอยู่ที่ น้ำตกเขาช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หากไม่เพียงพอก็อาศัยบ้านพักรับรองของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง จังหวัดตรังได้ เนื่องจากอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีไฟฟ้า น้ำประปา และวิทยุสื่อสารของทางราชการ ติดต่อได้ทุกวันในเวลาราชการ
การเดินทาง
สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดตั้งอยู่ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) จากจังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตร เดินทางได้สะดวกโดยทางรถยนต์ มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน ทางเครื่องบิน ลงที่สนามบินตรัง จากนั้นโดยสารรถประจำทางจากจังหวัดตรังไปตามถนนเพชรเกษม ตรัง-พัทลุง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถ้าลงที่สนามบินหาดใหญ่ โดยสารรถประจำทางไปตามถนนเพชรเกษมสายหาดใหญ่-ตรัง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 130 กม. ทางรถไฟ ลงที่สถานีรถไฟพัทลุง ต่อรถยนต์โดยสารประจำทางพัทลุง-ตรัง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร

บทความที่ได้รับความนิยม