Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอันเป็นพื้นที่เป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีเนื้อที่ประมาณ 307 ตารางกิโลเมตร หรือ 181,875 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูลมโลเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,664 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
• ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา ป่าเต็งรังเป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ ส่วนป่าดิบเขาจะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ส่วนไม้พื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่าง ๆ สำหรับ ป่าสนเขาเป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
• นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิร์น ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม
• ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวาง เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่าง ๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น

แหล่งท่องเที่ยว
• โรงเรียนการเมืองการทหาร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็ก ๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบ ๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้
• สำนักอำนาจรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล
• หมู่บ้านมวลชน เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมทางที่ตัดมาจากอำเภอหล่มสักลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้หลังเล็ก ๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้บ้านแต่ละหลังจะมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย
• กังหันน้ำ อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษาโดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครกกระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.
• โรงพยาบาล อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก
• ลานหินแตก อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
• ลานหินปุ่ม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบายเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน
• ผาชูธง อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 500 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพวิวพระอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมวิวอื่น ๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล
• น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 32 ชั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง หากจะเข้าไปเที่ยวให้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง
• น้ำตกร่มเกล้าภราดร เป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก
• น้ำตกศรีพัชรินทร์ ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึงและยังไม่พร้อมสำหรับการท่องเที่ยว
• น้ำตกผาลาด และ น้ำตกตาดฟ้า ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ที่สวยงาม
สิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพัก ร้านอาหารและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
• จากตัวเมืองพิษณุโลก โดยสารรถยนต์ไปตามเส้นทางพิษณุโลก - หล่มสัก ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านแยง เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอนครไทย เป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร จากนั้นเดินทางต่อโดยรถสองแถว อีกประมาณ 31 กิโลเมตร จะถึงหน่วยบริการนักท่องเที่ยวและที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
• จากเมืองเพชรบูรณ์ไปอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า บ้านวังบาน บ้านโจ๊ะโหวะ จนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ระยะทางประมาณ 115 กิโลเมตร
การติดต่อ
• ขอรายละเอียดและสำรองที่พักได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม.10900 โทร. 0-2579-7223 , 0-2561-2919 หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาตภูหินร่องกล้า ตู้ ปณ. 3 อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 65120 โทร. 0-5523-3527


พระตำหนักดอยตุง
• พระตำหนักดอยตุง นับไว่าเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จพระศรนครินทราบรมราชชนนี ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชาทรัพย์ส่วนพระองค์พระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯได้พระราชทานแนวพระราชดำริ โดยเน้นความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ได้ดี พระตำหนักดอยตุง เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อพระองค์ท่านเจริญพระชนมายุได้ 88 พรรษา โดยมีพิธีลงเสาเอกซึ่งทางเหนือเรียกว่า พีธีปกเสาเฮือน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2530
พระตำหนักดอยตุง เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิสเซอร์แลนด์ และบ้านไม้ซุง ตัวอาคารมีสองชั้นและชั้นลอย ที่ประทับชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน ทุกส่วนเชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียวเสมอกับลานกว้างยอดเนินเขา ส่วนชั้นล่างจะเกาะอยู่ตามไหล่เนินเขา ลักษณะเด่นอยู่ที่กาแล และเชิงชายแกะสลักลายเมฆไหลรอบพระตำหนัก ภายในท้องพระโรงจะเห็นเพดานดาว ทำด้วยไม้สนแกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะจักรวาล และที่เชิงบันได แกะเป็นตัวพยัญชนะไทยพร้อมภาพประกอบ ไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในพระตำหนักส่วนใหญ่ เป็นไม้ลังใส่สินค้ามาจากต่างประเทศ ส่วนภายนอกพระตำหนักสดสวยสะพรั่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวนานาพันธุ์ที่สวยงามและสดชื่นตลอดปี
• สวนแม่ฟ้าหลวง
• สวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 บนพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ใกล้กับพระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับการออกแบบให้สวยงามตลอด 365 วัน แปลงไม้ดอกหลากหลายพันธ์นับหมื่นดอกถูกจัดแต่งหมุนเวียนให้สวยงามไม่ซ้ำกันทั้งสามฤดู ประกอบกับประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวโดดเด่นอยู่กลางสวน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า ความต่อเนื่อง อันตรงกับพระราชดำริของสมเด็จย่าที่ว่า ทำงานอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง
• สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวัล พาต้าโกลด์ อะวอร์ด (PATA GOLD AWARDS )ประจำปี 2536 ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคแปซิฟิค ในนามของประเทศไทย ประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
• ปัจจุบันสวนแม่ฟ้าหลวงได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 13 ไร่ เป็นสวนหิน สวนน้ำ สวนปาล์ม และสวนไม้ประดับ รวมเนื้อที่สวนแม่ฟ้าหลวงทั้งหมดเป็น 25 ไร่
• ดอยช้างมูบ
• ช้างมูบ เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอนในโครงการพัฒนาดอยตุง เดิมเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์โดยรอบที่งดงาม แต่ได้ถูกทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกฝิ่น เมื่อครั้งสมเด็จย่าเสด็จมา ที่นี่เป็นเพียงภูเขาที่มีแต่หญ้าปกคลุม พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นความงดงามของพื้นที่นี้จึงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม
• เมื่อปี พ.ศ.2535 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนองพระราชดำริ สร้างสวนรุกชาติบนพื้นที่ 250 ไร่บนดอยช้างมูบนี้ โดยรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นเมืองและพันธุ์ไม้ป่าหายาก จากแหล่งต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ ต้นกุหลาบพันปี ที่พบในภูเขาสูงของไทย พม่าและจีน โดยเฉพาะต้นที่มีดอกสีแดงที่ทรงโปรด นอกจกนั้นยังมีต้นนางพญาเสือโคร่ง ไม้หัวที่ให้ดอกออกใบหลากสีตลอดปี
• สวนรุกชาติแม่ฟ้าหลวง มีทางเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาสำหรับชมต้นไม้ดอกไม้ มีลานปิคนิค ศาลานั่งพักผ่อน มีระเบียงชมวิวซึ่งมองเห็นดินแดนพม่า แม่น้ำโขง ไปจนถึงฝั่งลาว และน้ำผุดที่มีชื่อว่า น้ำพระทัย อันหมายถึงน้ำพระทัยของสมเด็จย่า ที่หลั่งรินไม่เหือดแห้งสู่ราษฏรผู้ยากไร้ เหมือน้ำจากยอดดอยที่ไหลสู่ที่ราบอย่างไร้พรหมแดน
• ผลิตภัณฑ์งานเกษตร
• เพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่มีอาชีพ และมีรายได้เลี้ยงตัว โครงการพัฒนาดอยตุงได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมขึ้น ฝึกอาชีพและสร้างงานให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆทางการเกษตรและนำไปประกอบอาชีพของตนเอง งานของศูนย์ส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ งานเพาะเนื้อเยื่อ เห็ด กาแฟ ไม้ตัดดอกตัดใบ ไม้กระถาง ไม้ประดับจากต่างประเทศ ผลผลิตทางการเกษตรของดอยตุงมีคุณภาพดี เนื่องจากมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำเทคโนโลยีทางการเกษตรยุคใหม่มาใช้จนได้ผลิตที่มีมาตรฐานดีเป็นที่ยอมรับของตลาด
• ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ
• ผ้าและพรหมทอกี่ ผู้หญิงในหมู่บ้านชาวเขาและชาวไทยใหญ่ มีความประณีตในงานทอผ้ากันเป็นส่วนใหญ่ โครงการฯได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาเสริมสร้างเทคนิคการทอผ้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ผ้าและพรหมทอกี่ที่มีคุณภาพและสีสัน เป็นที่ถูใจของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
• พรหมทอมือ ด้วยฝีมือแรงงานของหนุ่มสาวชาวบ้านบนดอยตุง ที่สามารถทอลวดลายตามแบบได้ทุกแบบเป็นผลผลิตคุณภาพ ที่ส่งจำหน่ายยังต่างประเทศได้
• กระดาษสา จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่า นำมาปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ โดยนำเปลือกมาทำกระดาษสาด้วยขั้นตอนที่ประณีตจนมีสีสันและลวดลายต่างๆ เพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า
• กาแฟดอยตุง ต้นตำหรับกาแฟอาราบิกาเป็นส่วนหนึ่งของป่าเศรษฐกิจของโครงการดอยตุง ปลูกอยู่บนที่สูงมีคุณภาพดี เมื่อนำมาคั่ว จึงได้กาแฟที่มีรสชาติละเมียดอร่อย เป็นเอกลักษณ์ของดอยตุงและได้รับการยอมรับว่ารสชาติระดับมาตรฐานโลก
• สวนสัตว์ดอยตุง
• สวนสัตว์ดอยตุงเป็นสวนสัตว์เปิดบนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ในโครงการพัฒนาดอยตุง จัดตั้งเพื่อเป็นสถานีเพาะเลี้ยง และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าเสื่อโทรมที่ถูกทำลาย ทำให้สัตว์ป่าอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่ด้วยพระราชดำริของสมเด็จย่าในการฟื้นฟูสภาพป่า ทำให้ความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่พื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง สัตว์ต่างๆที่มีถิ่นฐานบริเวณนี้ เช่นไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง หมี กวาง เก้ง เนื้อทราย ที่หาดูได้ยากมาเลี้ยง และเปิดให้เข้าชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในสภาพธรรมชาติ
• ศูนย์ฝึกอาชีพผาหมี
• สมเด็จย่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดขึ้นที่บริเวณดอยผาหมีแห่งนี้ เพื่อทำการบำบัดรักษา ผู้ติดยาทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งฝึกฝนอาชีพควบคู่ไปด้วยเพื่อที่จะให้ผุ้เข้ารับการบำบัด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองเมื่อหายเป็นปรกติ ปัจจุบันศูนย์บำบัดฯดอยผาหมีได้กลายมาเป็นศูนย์ฝึกอาชีพอย่างเต็มตัว การฝึกฝนอาชีพที่นี่เป็นต้นกำเนิดของผลผลิตหลากหลาย ของโครงการดอยตุง เช่นเครื่องจักสาน ผักสดต่างๆ อันเนื่องมาจากการฝึกฝนอาชีพของอดีตผู้ติดยาเสพติดเหล่านั้น
• หมู่บ้านชาวเขา
• ในบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง มีหมู่บ้าน 26 หมู่บ้านประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ ได้แก่ ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ชาวเขาเผ่าอาข่า และมูเซอ ปัจจุบันชาวบ้านเหล่านี้ ตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง มีถนนหนทางติดต่อกันโดยสะดวก แต่ละหมู่บ้านมีเอกลักษณ์และการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป ชาวบ้านเหล่านี้เข้ามาทำงานและฝึกอาชีพกับโครงการฯ ทำให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาเหล่านี้ก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่าไว้อย่างดี ทำให้มีพิธีงานฉลองประจำเผ่าที่สวยงามตลอดทั้งปี
• การเดินทางสู่ดอยตุง
• จากตัวเมืองเชียงราย ตามทางหลวงหมายเลข 10 (สายเชียงราย – แม่สาย) ประมาณ 48 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าดอยตุงที่หลักกิโลเมตรที่ 870 –871 บ้านสันกอง (สายใหม่)หรือแยกซ้ายเข้าดอยตุงที่ 871 –872 ตรงข้ามตู้ยามห้วยไคร้ (สายเก่า)ตามทางหลวงหมายเลข 1149 เส้นทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวบนดอยตุง สามารถเดินทางเป็นวงรอบสู่อำเภอแม่สายใต้ เป็นเส้นทางลาดยางขึ้นเขาคดเคี้ยวลัดเลาะไปตามภูมิประเทศที่สวย


ด้วยระยะห่างจากปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร และจากอ่าวบ้านดอน
สุราษฎร์ธานี 120 กิโลเมตร และจากเกาะพะงัน 45 กิโลเมตร ทำให้เกาะเต่า
กลายเป็นเกาะกลางทะเลไทย ที่ค่อนข้างจะโดดเดี่ยวโดยแท้

เกาะเต่าประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะเต่า และเกาะนางยวน พื้นที่
เกือบทั้งหมดเป็นภูเขามีพื้นที่ราบอยู่เพียง 30%ของตัวเกาะ เกาะเต่าประกอบด้วย
3 หมู่บ้าน คือบ้านหาดทรายรี บ้านแม่หาด และบ้านโฉลกบ้านเก่า รูปร่างของ
เกาะเตามีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว แต่บ้างก็ว่ามีลักษณะคล้ายตัวเต่า มีเกาะนางยวน
เป็นหาง จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะ ลักษณะของเกาะเต่าจะมีเว้าแหว่งของอ่าวอยู่
มากมาย จึงมีความงดงามตามธรรมชาติของอ่าวถึง 11 อ่าว และแหลม 10 แหลม
ตลอดแนวชายฝั่งของเกาะซึ่งยาว 28.6 กิโลเมตร รวมทั้งเป็นเกาะที่มีแนวปะการัง
ยาวถึง 8 กิโลเมตรอยู่โดยรอบ

เกาะเต่าแม้จะอยู่ในทะเลด้านที่รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านมา
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม แต่ก็มีเกาะน้อยใหญ่ ช่วยกำบังคลื่นลม
ให้อยู่บ้าง นักท่องเที่ยวจึงสามารถ เดินทางไปเกาะเต่าได้ตลอดปี

บนเกาะเต่ามีบังกะโลกระจายอยู่ตามชายหาดต่างๆ มีบริการรถจี๊บ รถมอเตอร์ไซค์
และจักรยาน เสือภูเขาให้เช่า รวมทั้งบริการเรือเช่า และอุปกรณ์ดำน้ำ ตอนกลางวัน
จะไม่ค่อยพบเห็นนักท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่ จะนั่งเรือ ออกไปดำน้ำกันตั้งแต่เช้า
กว่าจะกลับเข้าฝั่งก็เย็นย่ำ
สถานที่ท่องเที่ยวและจุดที่น่าสนใจบนเกาะเต่าโดยส่วนใหญ่จุดท่องเที่ยวของเกาะ
จะเป็นจุดดำน้ำซึ่งจะมีทั้งจุดดำน้ำลึก และดำน้ำตื้น ซึ่งถ้าคุณเพียงต้องการชื่นชม
ธรรมชาติรอบเกาะแวะลงเล่นน้ำดำน้ำตื้นชมปะการัง คุณก็สามารถเลือกโปรแกรม
ท่องเที่ยวรอบเกาะได้ภายใน 1 วัน ซึ่งคุณสามารถใช้บริการเรือเช่า หรือเรือแท็กซี่
ซึ่งมีอยู่มากมายบริเวณท่าแม่หาด

แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำลึกแล้ว ระยะเวลาเพียง 1 วัน คงไม่พอที่จะให้คุณ
ได้ค้นหาความงามของโลกใต้ทะเลที่นี่ เพราะรอบๆ เกาะเต่าจะมีจุดดำน้ำลึกให้คุณ
พบความแตกต่างอยู่มากมาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ ระยะเวลา 3-4 วัน น่าจะได้ความ
อิ่มเอมมากกว่า ส่วนเรื่องของอุปกรณ์การดำน้ำและการฝึกการดำน้ำลึกสำหรับผู้ที่
ไม่เป็นสำหรับที่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะจะมีร้านให้เช่าอุปกรณ์ และโรงเรียน
สอนดำน้ำอยู่มากมาย ให้คุณได้เลือกเรียนหลากหลายหลักสูตรจนจบ ได้ใบรับรอง
จากสถาบันดำน้ำที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งคุณสามารถจะไปดำน้ำในที่แห่งใดก็ได้ทั่วโลก

สำหรับจุดท่องเที่ยว หรือจุดดำน้ำ บนเกาะเต่ามีจุดดำน้ำชมปะการังอยู่หลายจุดด้วยกัน
แต่ละจุดก็มีโลกใต้ทะเลที่มีความงดงามแตกต่างกันไปไม่ว่าที่อ่าวลึก แหลมเทียน
กองหินวง อ่าวมะม่วง กงทรายแดงหรือเกาะฉลาม ที่วันดีคืนดีนักดำน้ำก็สามารถ
เห็นฉลามขนาด 2-3 เมตร ฝูงละประมาณ 7-8 ตัว ว่ายแวะเวียนมาให้ชมกัน

ส่วนจุดท่องเที่ยวทางบก นอกจากหาดมากมายที่อยู่รอบเกาะ ก็ยังมีจุดที่น่าสนใจ
ซึ่งนักท่องเที่ยว มักจะแวะไปเที่ยวชมก็คือ สวนหิน จปร. ซึ่งมีโขดหินรูปร่าง
แปลกตา อยู่หย่อมหนึ่ง และมีรอยจารึกทาง ประวัติศาสตร์ถึงการเสด็จประพาส
เกาะเต่าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยการจารึกพระปรมาภิไธย
จปร.ไว้ให้เป็นที่ปรากฏอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ และรวมถึงจุดชมวิวจอห์น-สุวรรณ
ที่โฉลกบ้านเก่า เกาะเต่าด้านทิศใต้ จะเห็นอ่าวโฉลกบ้านเก่า และอ่าวเทียนออก ซึ่งมี
เว้าอ่าว เกือบติดกันคล้ายกับ เกาะพีพีดอน ที่จ.กระบี่ ที่นักท่องเที่ยวหากมีโอกาส
เดินทางไปเกาะเต่า ไม่ควรพลาดทีเดียว

และอีกเกาะเล็กๆที่อยู่ทางทิศเหนือของเกาะเต่า นั่นคือเกาะนางยวน ประกอบกันด้วย
เกาะเล็กเกาะน้อย 3 เกาะ ที่เชื่อมต่อกันด้วยสันทรายสีขาว จนบางครั้งยามน้ำลง ก็
สามารถเดินถึงกัน และกลายเป็นเกาะเดียวต่อเนื่องกันไปได้ สภาพธรรมชาติโดยรอบ
ประกอบด้วย ดงปะการัง อันอุดมสมบูรณ์อยู่ภายใต้ท้องทะเลสีเขียวมรกต จึงนับเป็น
แหล่งที่เหมาะกับการเล่นน้ำ และดำดู ปะการังเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เกาะนางยวน
ยังมีจุดชมวิวที่นับว่าสวยงาม และคุ้มค่ากับการปีน ขึ้นไปชมอีกด้วย ใช้เวลาในการ
เดินขึ้นไป ราว20 นาที ซึ่งเมื่อปีนขึ้นไปถึง ข้างบนแล้ว จะเป็นลานหินกว้างใหญ่
แห่งหนึ่งสำหรับนั่งชมวิวได้เป็นอย่างดี และมุมมองแห่งนี้ อาจนับได้ว่าเป็นมุมมอง
ที่สวยที่สุดของเกาะนางยวนก็ว่าได้ โดยเมื่อมองย้อนกลับลงมา ก็จะเห็นสันทรายสีขาว
ทอดตัวยาวเหยียด เชื่อมต่อเกาะอีก 2 เกาะเข้าด้วยกันใน ท่ามกลางน้ำทะเลสีเขียวเข้ม
ที่รายล้อมอยู่โดยรอบ อย่างงดงามยิ่งนัก
ณ หาดทรายแดง จากจุดนี้สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้น ระหว่างเกาะเต่า และเกาะ
หินเล็กๆ ชื่อ กงทรายแดง ได้อย่างสวยงาม เป็นจุดดำน้ำ (ลึก) ที่เลื่องชื่ออีกจุดหนึ่ง
และจุดดำดูฉลาม นายท้ายเรือเล่าว่ามีอยู่สัก 7-8 ตัว ยาวประมาณ 1-2 วา ไม่มีอันตราย
เพราะตัวไม่ใหญ่มากนัก ไม่ทำร้ายคน

ความงดงามของธรรมชาติทั้งโลกเหนือและใต้ทะเลของเกาะเต่าเหล่านี้ ด้วยระยะทาง
ที่ห่างจากผืนฝั่งอยู่พอสม ควรส่วนหนึ่งจึงเป็นเหมือนปราการช่วยรักษาความเ


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ

สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่

สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล

เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี รวมถึงฤดูร้อนด้วย บนยอดดอยมีความชื้นสูงมาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี สามารถพบเห็น แม่ขะนิ้ง หรือ น้ำค้างแข็งได้ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง

แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ ตำบลป่าบอน ตำบลนาประดู่ ตำบลทรายขาว ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่ตำบลโหนก ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติ น้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมดจะอยู่บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นเทือกเขายาวที่สลับซับซ้อนติดต่อกันมียอดเขาบางจันทร์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ส่วนใหญ่พื้นที่จะลดลงไปทางทิศตะวันตก เป็นที่เนินเขา และเป็นที่ราบ ดินจะเป็นดินเหนียวปนทราย ส่วนมากหินเป็นหินปูนและหินแกรนิต
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือพัดผ่านฤดูฝนอยู่ระหว่าง เดือนพฤษภาคม-เดือนมกราคม จะมีฝนตกตลอด ช่วงเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม จะมีฝนตกหนัก และฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน อากาศจะไม่ร้อนจัดนัก
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกทรายขาว เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 30 เมตร แล้วไหลลงไปตามลำธาร ซึ่งบางตอนเป็นแอ่งสวยงามมาก ความยาวประมาณ 700 เมตร สองข้างลำธารมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมตลอดให้ความร่มรื่นและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง อยู่บริเวณตำบลนาประดู่ไปตามเส้นทางโคกโพธิ์-ยะลาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409
น้ำตกโผงโผง เป็นน้ำตกที่ไหลตกลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันไดมี 7 ชั้น จากที่ราบชั้นล่างสุดซึ่งมีแอ่งน้ำตกขนาดใหญ่ มองขึ้นไปยังผาน้ำตกชั้นบน จะเห็นน้ำตกไหลลงมาเป็นสายน้ำคดเคี้ยวตามหน้าผาและโขดหิน พื้นที่บริเวณสองข้างลำธารและบริเวณใกล้น้ำตกมีความร่มรื่น ถูกปกคลุมด้วยกิ่งใบของพันธุ์ไม้นานาชนิดซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น อยู่บริเวณปากหล่อ ใช้เส้นทางสายโคกโพธิ์–ยะลา
น้ำตกพระไม้ไผ่ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ตกจากผาหินกว้างสูงประมาณ 10 เมตร ซอกซอนไปตามโขดหินจนถึงลานหินแกรนิตขนาดใหญ่ จากนั้นสายน้ำจะแผ่กว้างออกแล้วไหลลงสู่ลำธารเบื้องล่างซึ่งจะไหลไปรวมกับแม่น้ำเทพาในที่สุด บริเวณน้ำตกมีพระพุทธรูปซึ่งชาวบ้านโหนดร่วมใจกันสร้างไว้ นามว่า “พระเวฬุวัน” น้ำตกพระไม้ไผ่อยู่ห่างจากน้ำตกทรายขาว 12 กม. ใช้เส้นทางสายทรายขาว-สะบ้าย้อย มีทางแยกที่บ้านโหนดเข้าสู่น้ำตก
น้ำตกอรัญวาริน มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นผาหินสูง 30 เมตร สายน้ำตกลงมาตามโขดหินลดหลั่นกันลงสู่แอ่งน้ำตกเบื้องล่าง น้ำตกอรัญวารินอยู่ในเขต อ.โคกโพธิ์ กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.ปัตตานี
สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ สู่ที่ว่าการอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ซึ่งตั้งบริเวณตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตำบลทรายขาว,อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี 94120 โทรศัพท์ : (6673) 339138

• ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ ๑,๙๔๐.๓๕๖ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำที่สำคัญ ๒ สาย คือ แม่น้ำตานี และ แม่น้ำสายบุรี ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธในพุทธศตวรรษที่ ๗ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รัฐกลันตัน กับรัฐตรังกานูในมาเลเซีย ปัจจุบันยังมีซากเมืองเก่าของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่อำเภอยะรังในปัจจุบัน และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และวัฒนธรรม มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และด้านประเพณีวัฒนธรรม
• ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี ยะรัง หนองจิก โคกโพธิ์ ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ สายบุรี กะพ้อ ไม้แก่น ทุ่งยางแดง และแม่ลาน
อาณาเขต

• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดสงขลา
• ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา
• ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
การเดินทาง
• รถยนต์ ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑,๐๕๕ กิโลเมตรโดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดปัตตานี
• รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีปัตตานี(โคกโพธิ์) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔ สำรองตั๋วโดยสาร ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ หรือสถานีปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๔๓ ๑๒๓๒ หรือ www.railway.co.th
จากสถานีปัตตานี จะมีรถโดยสารประจำทางและรถแท๊กซี่บริการระหว่างอำเภอโคกโพธิ์-อำเภอเมือง ระยะทางประมาณ ๒๙ กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปจังหวัดปัตตานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๑๙ , ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ หรือ www.transport.co.th
• เครื่องบิน บมจ.การบินไทย ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดปัตตานี นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้โดยลงที่หาดใหญ่ (บมจ.การบินไทย มีบริการรถรับส่งระหว่างสนามบินหาดใหญ่-ปัตตานี ไป-กลับ ทุกวัน ๆละ ๒ เที่ยว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า)หรือนักท่องเที่ยวสามารถต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถแท๊กซี่จากหาดใหญ่ไปปัตตานีได้ ระยะทางประมาณ ๑๐๔ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๑.๓๐ ชั่วโมง สอบถามเที่ยวบิน ได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. ๑๕๖๖ , ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ , ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๕๙๓๘ หรือ www.thaiairways.com
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอหนองจิก ๘ กิโลเมตร
อำเภอยะหริ่ง ๑๔ กิโลเมตร
อำเภอยะรัง ๑๕ กิโลเมตร
อำเภอโคกโพธิ์ ๒๖ กิโลเมตร
อำเภอมายอ ๒๙ กิโลเมตร
อำเภอแม่ลาน ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอปะนาเระ ๔๓ กิโลเมตร
อำเภอทุ่งยางแดง ๔๕ กิโลเมตร
อำเภอสายบุรี ๕๐ กิโลเมตร
อำเภอไม้แก่น ๖๕ กิโลเมตร
อำเภอกะพ้อ ๖๘ กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดปัตตานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
ยะลา ๓๕ กิโลเมตร
นราธิวาส ๑๐๐ กิโลเมตร
สงขลา ๙๙ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๐๑๕
เทศบาลเมืองปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๔๓๓๓, ๐ ๗๓๓๓ ๗๑๔๑
บริษัท ขนส่ง จำกัด จังหวัดปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๘๘๑๖
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน ) สาขาปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๕๙๓๘
ประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๘๔๓๕, ๐ ๗๓๓๑ ๓๙๐๙
ตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๓๒๐ , ๐ ๗๓๓๔ ๙๔๘๐
โรงพยาบาลปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๓ ๑๘๕๙–๖๓
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๐๑๘ , ๐ ๗๓๓๔ ๘๖๐๒
สำนักงานจังหวัดปัตตานี โทร. ๐ ๗๓๓๔ ๙๐๐๒ , ๐ ๗๓๓๓ ๑๑๕๔
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต ๓ (นราธิวาส)
๑๐๒/๓ หมู่ ๒ ถนนนราธิวาส-ตากใบ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๖๑๔๔ โทรสาร ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๒ E-mail : tatnara@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

ที่ตั้ง : ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง ห่างจากท่าเรือเจ้าฟ้าประมาณ 42 กิโลเมตร
• การเดินทาง : จากกระบี่ มีเรืออกจากท่าเรือเจ้าฟ้า ในตัวเมือง มีเรือให้บริการตลอดปี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.30 ชั่วโมง และห่างจากท่าเรืออ่าวนาง มีเรือให้บริการวันละ 1 เที่ยว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
• จุดเด่น : หมู่เกาะพีพีอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยสองเกาะใหญ่ คือ เกาะพีพีดอน และเกาะพีพีเล และเกาะเล็กๆ ข้างเคียง คือ เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะปิเต๊ะ ฯลฯ เกาะเล็กๆ นี้มีโลกใต้ทะเลที่ได้รับการยอมรับว่าสวยงามมาก และเกาะพีพีดอนเองก็มีทิวทัศน์ที่ครั้งหนึ่งเคยติดอันดับงดงามที่สุด 1 ใน 10 ของโลกเลยทีเดียว
• เกาะพีพีดอนเป็นศูนย์กลางของหมู่เกาะพีพี มีทั้งที่พัก ท่าเรือ ร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันรวมทั้งยังมีทิวทัศน์ที่งดงามอีกด้วย คั่นด้วยที่ราบเล็กๆ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าว


• หากมาเที่ยวที่เกาะนี้สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย ตั้งแต่เดินเล่นชมวิวหรือเหมาเรือชมวิว เล่นน้ำบริเวณชายหาด ดำน้ำตื้นที่อ่าวต้นไทร อ่าวนุ้ย อ่าวหยงกาเส็ม อ่าวผักหนาม อ่าวลันดี โดยสามารถเช่าอุปกรณ์ดำน้ำได้จากร้านค้าทั่วไป หรืออาจเช่าเรือหางยาวไปดำน้ำลึกก็ได้ โดยติดต่อร้านบริการนำเที่ยวซึ่งจะมีอุปกรณ์ดำน้ำครบครัน เหมาะทั้งสำหรับมือสมัครเล่นและมืออาชีพ
• นอกจากเกาะพีพีดอนแล้ว หมู่เกาะพีพียังมีเกาะสวยๆอีกหลายเกาะ เช่นเกาะไผ่ ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเกาะพีพีดอน ห่างจากหัวเกาะพีพีดอนไป 3 กิโลเมตร เหมาเรือหางยาวไปเที่ยวได้สะดวก เกาะไผ่ เป็นจุดดำน้ำตื้นที่เป็นที่นิยมมากมีหาดทรายที่ขาวสะอาดและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สามารถกางเต็นท์พักแรมได้ ไกลออกไปเป็นที่ตั้งของเกาะยูง เกาะปิเต๊ะ เป็นจุดดำน้ำลึกที่สวยงามมาก
• สิ่งอำนวยความสะดวก : เกาะพีพีดอนมีที่พักมากมายให้เลือกใช้บริการโดยเฉพาะอ่าวต้นไทรและอ่าวโละดาลัม สำหรับร้านอาหารก็มีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่อาหารไทย อาหารยุโรป และอาหารทะละให้ลองลิ้มชิมรส เช่นเดียวกับบาร์เบียร์ริมหาดที่ครึกครื้นทุกค่ำคืน

เกาะพีพีเล
• ที่ตั้ง : ห่างจากเกาะพีพีดอนลงมาทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร
• การเดินทาง : เหมาเรือหางยาวจากท่าเรืออ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน
• จุดเด่น : เกาะพีพีเลเป็นเกาะหินเกือบทั้งเกาะ แม้จะมีชายหาดเพียงเล็กน้อย แต่โดดเด่นด้วยเป็นจุดดำน้ำตื้นและน้ำลึกที่สวยงาม โดยสามารถดำชมได้บริเวณอ่าวปิเละและอ่าวโละซามะ หากเหมาเรือหางยาวมาเที่ยว เรือจะบริการพาเที่ยวเสร็จสรรพ เช่น เริ่มต้นที่การเที่ยวถ้ำไวกิ้ง ชมถ้ำรังนกนางแอ่น ซึ่งสามารถเดินเข้าไปชมเองได้ บางวันจะมีสาธิตเก็บรังนกนางแอ่นด้วย จากนั้นไปที่อ่าวปิเละทางตอนเหนือของเกาะ น้ำทะเลสีสวย โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูนรอบด้านเหมือนเป็นห้อง แต่น้ำลึกไม่เหมาะแก่การลงเล่น จากนั้นไปที่อ่าวมาหยา อ่าวที่สวยที่สุดที่เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรือ เดอะบีช อ่าวนี้มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส นับเป็นหาดทรายหนึ่งเดียวและเป็นจุดที่สวยงามที่สุดบนเกาะหินแห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เด่นที่สุดที่นักท่องเที่ยวมาเยือนเกาะพีพีไม่ยอมพลาด
• สิ่งอำนวยความสะดวก : เกาะพีพีเลไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกจากที่พักและร้านอาหาร เพราะเป็นเกาะหินเกือบทั้งหมด


เกาะไม้ไผ่ หรือ เกาะไผ่
• ที่ตั้ง : อยู่ทางทิศเหนือของเกาะพีพีดอน ห่างจากเกาะพีพีดอนประมาณ 3 กิโลเมตร
• การเดินทาง : สามารถเหมาเรือหางยาวจากท่าเรืออ่าวต้นไทรบนเกาะพีพีดอน นักท่องเที่ยวนิยเหมาเรือแบบครึ่งวันและเต็มวัน ไปเที่ยวเกาะพีพีเลและเกาะไผ่
• จุดเด่น : เกาะไผ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีขนาดเล็กกว่าเกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเล แต่ที่เด่นกว่าคือเป็นอุทยานฯ ทั้งเกาะจึงไม่มีความพลุกพล่านจากผู้คนและไม่มีสิ่งก่อสร้างมากมายเหมือนกาะพีพีดอน
• เกาะไผ่หรือที่เรียกกันว่าเกาะไม้ไผ่ มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์มาก หาดทรายขาวสะอาดรอบๆ เกาะนั้นร่มรื่นด้วยทิวสน น้ำทะเลสี่สวยดุจมรกต มากมายไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นทั้งปะการังเขากวาง ปะการังแผ่น ปะการังสมอง ปะการังก้อน รวมทั้งเจ้าถิ่นอย่างฝูงปลาหลากสีพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ห่างจากเกาะไผ่ไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของเกาะยูง สามารถเหมาเรือไปดำน้ำรอบเกาะเล็กๆได้เช่นกัน
• สิ่งอำนวยความสะดวก : นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการที่พักคือ เต็นท์จากอุทยานฯ เพื่อสัมผัสด่ำและวันอันสงสบสวยบนเกาะไผ่ เพลิดเพลินไปกับการเล่นน้ำทะเล ชมปะการังใต้น้ำพายรือคายัค หรือพักผ่อนหย่อนใจก็เหมาะ


อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอปราณบุรี กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา : จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาขวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อันเป็นเทือกเขาซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งมีสภาพพื้นที่แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ แบบลูกคลื่นลอนชั้นถึงเนินเขา มีความลาดชันประมาณ 80-100 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกบุกรุกแผ้วถางทำไร่สับปะรด อ้อย ผักต่างๆ และแบบภูเขา ประกอบด้วยภูเขาสูงชัน ลาดชันประมาณ 35% และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 750 เมตรขึ้นไป ประกอบด้วยเขาวังไทรดิ่ง เขาหนองหว้า..เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตะลุยแพรกขวา ห้วยตะลุยแพรกซ้าย คลองกุย เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน เป็นฤดูฝน :ซึ่งจะมีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม หลังจากนั้นจะตกหนักในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,179 มิลลิเมตร อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พลอง ทะลายเขา เขล็ง กระชิด พลวง สมอ ตะเคียนหิน มะไฟป่า พืชตระกูลปาล์มชนิดต่างๆ เช่น หมากเขียว หวายชนิดต่างๆ เต่าร้าง โดยเฉพาะหวายมีเป็นจำนวนมาก พืชชั้นล่างหลายชนิด เช่น พวกพืชในวงศ์ขิง ข่า เฟิน บอน เป็นต้น
สำหรับสัตว์ป่ายังมีชุกชุม เนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า หมี เก้ง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่าง เลียงผา กระจง หมูป่า กระต่ายป่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกชนิดต่างๆ เช่น นกกาฮัง ไก่ป่า นกระวังไพร นกกางเขนดง นกเขา นกยางกรอก นกยางแดง และยังมีสัตว์เลื้อยคลานได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบทูด คางคก เขียด และปลาชนิดต่างๆ
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยดงมะไฟเป็นน้ำตกที่ลดหลั่นกันลงมา 15 ชั้น จากต้นน้ำกุยบุรีแพรกขวา มีลักษณะเป็นแก่นหินแกรนิต มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นได้ มีความสวยงาม ร่มรื่น ของสภาพป่าสองฝั่ง ลำธาร น้ำใสและบริสุทธิ์มาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
น้ำตกผาหมาหอน เป็นน้ำตกที่มีระดับลดหลั่นกันลงมา 3 ชั้น เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีลักษณะเป็นผาลาดสูงชันเกือบตั้งฉาก มีสายน้ำใสไหลแรงตลอดเวลา บริเวณตอนกลางมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และบริเวณพื้นล่างมีพันธุ์ไม้จำนวนมาก เช่น เฟิน ปาล์ม หลากชนิดเหมาะแก่การเดินชมศึกษาสภาพธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เส้นทางผ่านป่าดิบแล้ง ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น เถาวัลย์ ไทร จุดชมทิวทัศน์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของช้างป่าให้พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งกองมูลและรอยตีนช้าง
หากต้องการศึกษาสภาพการดำรงชีวิตของช้างป่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.1 (ป่ายาง) หมู่ที่ 7 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี เวลาที่เหมาะสมในการชมช้างป่าอยู่ในช่วง 16.00-18.00 น.
สันมะค่า เป็นจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดนี้ ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวสามารถชมทะเลหมอกและน้ำตกได้
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและมีสถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางสายกรุงเทพฯ–ภาคใต้ จะผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกสาย มีเส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ป่า ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 295 แยกขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3217 (กุยบุรี-ยางชุม) ระยะทาง 20 กิโลเมตร ถึงบ้านยางชุม แล้วแยกซ้ายตามถนนข้างอ่างเก็บน้ำยางชุม ถึงบ้านย่านซื่อ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตู้ ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77150


ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนล่างซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับภาคใต้ และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ปากคลองอีรม ชื่อว่า เมืองบางนางรม และในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นหมู่ ๆ โดยมีที่ว่าการเมืองอยู่ที่เมืองกุย จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 จึงย้ายที่ว่าการมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลัก หรืออ่าวประจวบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่แคบเป็นคาบสมุทรยาวลงไปทางใต้ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดจากเขตแดนไทย-พม่า ด้านตะวันตก จนถึงฝั่งทะเลด้านตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร และมีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ 212 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน ปราณบุรี กุยบุรี ทับสะแก บางสะพาน บางสะพานน้อย และกิ่งอำเภอสามร้อยยอด
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับสหภาพพม่าโดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นพรมแดน
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
เส้นทางแรก ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ทางหลวงหมายเลข 35 ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรเกษม เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี เข้าสู่ตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง
เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี เข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-ปราณบุรี และกรุงเทพฯ-บางสะพาน เป็นประจำทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ โทร. 435–1199–200 (ปรับอากาศ) , 434–5557-8 (ธรรมดา)
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงมีบริการรถไฟสายใต้ไปหัวหิน ปราณบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 223–7010, 223–7020


ทุ่ง 5 บาท ก่อนถึงทุ่งดอกบัวตอง ซึ่งชาวบ้านจะมาปลูกดอกไม้และมีที่พักเล็กๆในช่วงเทศกาลทุ่งดอกบัวตองบาน
วนอุทยานทุ่งบัวตอง อยู่ในท้องที่ บ้านแม่อูคอ หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 4,437 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2542ลักษณะภูมิประเทศ• วนอุทยานทุ่งบัวตอง ตั้งอยู่บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,600 เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม มองเห็นภูเขาสลับซับซ้อนคล้ายคลื่นในทะเล ในบริเวณพื้นที่ของวนอุทยานฯจะมีป่าธรรมชาติและป่าสนปลูกขึ้นสลับกันลักษณะภูมิอากาศ• มีอากาศเย็นตลอดปี ฤดูหนาวอากาศหนาวมาก ตอนเช้าจะมีหมอกทึบ ตอนกลางวันอากาศเย็น เพราะมีลมพัดตลอดวัน พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า• ป่าดิบเขาและป่าสนเขา ป่าดิบเขาส่วนใหญ่จะพบบริเวณด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของทุ่งบัวตอง บริเวณลาดเขาและหุบเขามีพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อนก เป็นต้น• ป่าสนเขาจะพบบริเวณด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของทุ่งบัวตอง เป็นป่าที่ปลูกขึ้นใหม่โดยออป.ตามเงื่อนไขสัมปทานป่าไม้ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ • สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ไก่ป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เม่น ตะกวด กระรอก กระแต กระต่ายป่า พังพอน ตุ่น หนู อ้น งู และนกชนิดต่างๆ บ้านพัก-บริการ • วนอุทยานทุ่งบัวตอง ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาต ใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานทุ่งบัวตอง โดยตรงแหล่งท่องเที่ยว • ทุ่งบัวตอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดเด่นที่เป็นทุ่งที่มีดอกบัวตองซึ่งเป็นดอกไม้สีเหลืองขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่บนภูเขาสูง เห็นวิวทิวทัศน์รอบๆทุ่งบัวตองเป็นภูเขาสลับซับซ้อนสวยงามมาก มีอากาศเย็นตลอดปี มีหมอกปกคลุมในตอนเช้า• น้ำตกแม่ยวมหลวง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ทางทิศใต้ของทุ่งบัวตอง อยู่ห่างจากทุ่งบัวตอง 11 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอขุนยวม 15 กิโลเมตร• น้ำตกแม่สุรินทร์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่สุรินทร์ อยู่ทางทิศเหนือของทุ่งบัวตอง ห่างจากทุ่งบัวตอง 11 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอขุนยวม 37 กิโลเมตร • โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทุ่งบัวตอง ห่างจากทุ่งบัวตอง 6 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอขุนยวม 32 กิโลเมตร การเดินทาง • รถยนต์ เส้นทางเข้าสู่ทุ่งบัวตองมี 2 เส้นทาง คือ • ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 201 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข1263 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางสายบ้านนางิ้ว-บ้านหัวฮะ ไปอีก 14 กิโลเมตร • จากอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตามทางหลวงหมายเลข 1263 (แม่แจ่ม-ขุนยวม) ถึงทางแยกเข้าบ้านนางิ้ว-บ้านหัวฮะ ระยะทาง 76 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าไปอีก 14 กิโลเมตร สถานที่ติดต่อ • วนอุทยานทุ่งบัวตอง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 17 อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน

วิธีทำต้มยำกุ้งรสชาติกลมกล่อมด้วยวัตถุดิบที่หาซื้อได้ทั่วไป

เครื่องปรุงกุ้ง 7-8 ตัวเห็ด 350 กรัมตะไคร้ 1 ต้นใบมะกรูด 7-8 ใบผักชี 2 ต้นพริกสด 5 เม็ดซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 3 ช้อนโต๊ะน้ำพริกเผา 2 ช้อนโต๊ะน้ำมะนาว 4 ช้อนโต๊ะน้ำซุปไก่ 5 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำกุ้งและเห็ดมาล้างให้สะอาด ปลอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลังเอาเส้นดำออก ส่วนเห็ดนำมาผ่าเป็น 4 ส่วน

2. นำตะไคร้ ใบมะกรูด พริกสด และผักชีมาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นตะไคร้เฉียงๆ ฉีกใบมะกรูดเอาเส้นกลางใบออก ทุบพริกแล้วหั่นเป็นท่อน ส่วนผักชีนำมาหั่นหยาบๆ

3. เปิดเตาที่ไฟแรงปานกลาง นำน้ำซุปใส่หม้อ รอจนเดือดจึงใส่ตะไคร้และใบมะกรูดลงไป เคี่ยวไปประมาณ 5 นาที

4. ใส่เห็ดและกุ้งลงไป รอจนเดือดประมาณ 2-3 นาทีจึงปิดเตา

5. ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำมะนาว น้ำพริกเผา และพริกทุบ ชิมรสตามชอบ ใส่ผักชีโรยหน้า คนให้เข้ากัน6. ตักต้มยำกุ้งใส่ถ้วย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ


เครื่องปรุงข้าวสวย 4 ถ้วย
แหนม 2 แท่ง
ไข่ไก่ 2 ฟอง
ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 1 ช้อน
ชาน้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
หัวหอมใหญ่ ½ หัว
กระเทียมกลีบใหญ่ 3 กลีบ
ผักกาดหอม 4 ใบ
มะเขือเทศ 1 ลูก
ต้นหอม 3 ต้น
ผักชี 1 ต้น
น้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ1. ปลอกเปลือกหัวหอมใหญ่ กระเทียม ตัดก้านต้นหอม ผักชี และผักกาดหอม นำผักทั้งหมดไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำ แล้วหั่นหัวหอมใหญ่เป็นลูกเต๋าเล็กๆ สับกระเทียมให้ละเอียด หั่นต้นหอมเป็นท่อน หั่นมะเขือเทศเป็นแว่น และเด็ดผักชีเป็นใบๆ
2. หั่นแหนมเฉียงๆ เป็นชิ้นขนาดพอคำ (ถ้ามีพริกในแหนมก็ให้หั่นเป็นท่อนแล้วใส่ลงไปผัดพร้อมหัวหอมใหญ่และกระเทียมสับได้เลยค่ะ) จากนั้น เปิดเตาที่ไฟปานกลาง ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันเริ่มร้อนให้นำหัวหอมใหญ่หั่นเต๋าและกระเทียมสับลงไปผัดให้หอม (สังเกตหัวหอมใหญ่เริ่มใส)
3. ใส่แหนมที่หั่นไว้ลงไปผัดไปซักพัก พอแหนมเริ่มสุกให้ทำหลุมตรงกลางกระทะ ตอกไข่ลงไป ตีไข่ให้กระจาย จากนั้นก็เติมเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) ซอสปรุงรส และน้ำตาลทรายลงไป (พยายามโรยเครื่องปรุงให้ทั่วๆ )

4. รอจนไข่เริ่มสุกก็กลับด้านไข่ (ควรรอให้ไข่เริ่มแห้งก่อนค่อยผัดต่อนะคะ ไม่อย่างนั้นไข่จะเละหมด) พอไข่สุกให้ใส่ข้าวสวยลงไป เติมน้ำมันหอย ผัดเครื่องทั้งหมดกับข้าวให้เข้ากัน

5. โรยต้นหอมลงไป ผัดข้าวให้ทั่วแล้วปิดเตา
6. จัดผักกาดหอมและมะเขือเทศวางบนจาน ตักข้าวลงไป โรยหน้าด้วยผักชี จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ


อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ ๒ อำเภอ คือ อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา มีอาณาเขตชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่หาดฉางหลาง ตำบลไม้ฝาด ห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๔๗ กิโลเมตร ใช้เส้นทางตรัง-สิเกา-ปากเมง (ทางหลวงหมายเลข ๔๑๖๒) ระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายตามถนนเลียบชายหาดอีก ๗ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ สถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานฯ ที่อยู่บนบก ได้แก่ หาดปากเมง หาดฉางหลาง หาดสั้น หาดยาว หาดหยงหลิง หาดเจ้าไหม ถ้ำเจ้าไหม สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้รถยนต์สามารถเข้าถึงได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีเกาะน้อยใหญ่อีก ๗ เกาะในทะเลตรังที่อยู่ในความดูแลของอุทยานฯ ได้แก่ เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะแหวน เกาะเมง และเกาะเจ้าไหม อุทยานฯ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๕ นอกจากนั้นบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติทางทะเล จะทำการวิจัยหญ้าทะเล เป็นแหล่งคุณค่าทางนิเวศวิทยาของฝั่งทะเลอันดามัน สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๐๖๖๔ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวบริการ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้ โทร. ๕๖๑-๒๙๑๘-๒๑ หรือ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม หมู่ ๕ ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ตู้ ปณ. ๙ โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๓๒๖๐
เกาะไหง เป็นเกาะที่อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวจัดอยู่ในกลุ่มของทะเลตรัง เนื่องจากการเดินทางจากจังหวัดตรังสะดวกกว่า บนเกาะมีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส รอบเกาะอุดมด้วยปะการังที่สมบูรณ์ การเดินทางไปเกาะไหง มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง นอกจากนั้นมีเรือของเอกชนให้เช่า เรือขนาด ๑๐ คน ค่าเช่าเรือเหมาลำราคา ๑,๕๐๐ บาท หรือเรือท่องเที่ยวขนาดผู้โดยสาร ๒๐-๔๐ คน ค่าเช่าเรือราคา ๖,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท มีที่พักบนเกาะ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคล (Aquarium) ใช้เส้นทางตรัง-สิเกา-ปากเมง ทางหลวงหมายเลข 4046-4162 ห่างจากตัวเมืองตรังประมาณ ๓๐ กิโลเมตร เป็นอาคารหลังใหญ่อยู่ภายในบริเวณคณะประมง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจังหวัดตรัง ตำบลไม้ฝาด มีการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำด้วยตู้ขนาดใหญ่จำนวน ๖๑ ตู้ ไม่นับรวมบ่อเลี้ยงปลา บรรจุทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์ทะเล สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและจำลองชีวภาพป่าชายเลนที่เหมือนจริงมากที่สุด รวมทั้งมีร้านอาหารและร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกไว้คอยบริการ เปิดบริการตามวันและเวลาราชการ โทร. ๐ ๗๕๒๔ ๘๒๐๑-๕ หาดปากเมง ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้ฝาด ห่างจากตัวเมืองตามถนนสายตรัง-สิเกา-ปากเมง ตามทางหลวงหมายเลข ๔๐๔๖–๔๑๖๒ ระยะทาง ๓๘ กิโลเมตร เป็นหาดที่สวยงามและเงียบ เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร มีป่าสนตามธรรมชาติขึ้นอยู่สวยงาม กลางทะเลมีเกาะน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันมองดูลักษณะคล้ายคนนอนหงายอยู่ในทะเล ประชาชนในจังหวัดตรังและจากต่างจังหวัดไปพักผ่อนและลิ้มรสอาหารทะเลจัด ๆ จากร้านอาหารในบริเวณนั้น บริเวณหาดปากเมงมีท่าเทียบเรือปากเมง มีเรือบริการไปเกาะไหงและเกาะต่าง ๆ ในบริเวณนั้น การเดินทางไปท่าเรือปากเมงใช้เส้นทางเดียวกับหาดปากเมง แต่เมื่อถึงหาดปากเมงแล้วเลี้ยวขวาประมาณ ๑ กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีรถตู้ ตรัง-สิเกา-ปากเมง ให้บริการที่ถนนท่ากลาง


ส่วนผสม สปาเก็ตตี้ผัดหอยลาย
– สปาเกตตี้ 1 ห่อ สำหรับ 2-3 ท่าน– หอยลาย 20–30 ตัว– น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ– กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ– พริกขี้หนู 1 ช้อนโต๊ะ– น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ– น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนโต๊ะ– ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ– ใบโหระพา
วิธีทำ สปาเก็ตตี้ผัดหอยลาย
1. ลวกเส็นสปาเก็ตตี้ พอสุก ตักขึ้นตะแกรง พักทิ้งไว้2. ตั้งไฟ ใส่หอยลายลงในกระทะ ใส่น้ำพริกเผา น้ำมันหอย3. ใส่กระเทียม พริกขี้หนู ผัดให้เข้ากัน4. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลทราย5. ใส่ใบโหระพา ผัดสุกได้ที่6. นำเส้นสปาเก็ตตี้ใส่ลงไปในกระทะ ผัดให้เข้ากัน


เคล็ดลับกับอาหาร
หอย มีสารสังกะสี ช่วยในการบำรุงสมอง ทำให้ความจำดี ป้องกันความจำเสื่อมได้
ข้าวโพด กินข้าวโพดช่วยบรรเทาอาการเครียด หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ในผู้หญิงสูงอายุได้
ขมิ้น มีสารเคอร์คูมินมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อต่ออักเสบได้
นมถั่วเหลือง เพียงดื่มวันละแก้ว ช่วยลดปริมาณไขมันที่สะสมที่กระเพราะอาหารได้
แกงเลียง สมุนไพรในแกงเลียงช่วยบรรเทาอาการป่วยจากไข้หวัดใหญ่ได้ดี
ว่านหางจระเข้ ใช้ประคบทาผิวคนไข้ที่เป็นมะเร็งหลังจากฉายแสง เพื่อบรรเทาอาการระบมได้
อาหารทะเล ช่วยรักษาสมดุลของสารสื่อปราสาทช่วยลดการหิว ทำให้ไม่หิวบ่อยได้
วิตามินซี เช่น ผักผลไม้สดต่างๆ ช่วยป้องกันมะเร็งหลอดอาหารได้
วิตามินเอ อาหารที่มีเบต้าแคโรทีน หรือ วิตามินเอสูง เช่นผักผลไม้สีเขียวเหลือง ช่วยป้องกันมะเร็งปอด
น้ำส้มสายชู แช่เล็บเหลืองจากการทำสีเล็บบ่อยๆ ในน้ำส้มสายชูประมาณ 5–10 นาที ช่วยทำให้เล็บขาวได้
น้ำผลไม้ ดื่มน้ำผลไม้ขณะท้องว่างจะช่วยล้างพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายได้
อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีกรดออกซาลิกที่ช่วยในการรักษาสิวได้
น้ำเก็กฮวย เป็นยาเย็น แก้ร้อนใน แก้ปวดท้อง ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้
น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันดอกทานตะวัน ใช้ปรุงอาหารช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้
แอปเปิ้ลสด กินทั้งเปลือกช่วยลดอาการท้องร่วงและปั่นป่วนในท้องได้
ผักผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดเข้มข้นสูง ช่วยเพิ่มความจำ
ใบผักชีฝรั่ง หรือกานพลู ใช้เคี้ยวหลังมื้ออาหาร ช่วยลดกลิ่นปากได้
มะละกอ ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่และป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้
น้ำชา ผู้ที่มีไตบกพร่อง ไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามากเกินไปเพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย ไตทำงานหนักได้

บทความที่ได้รับความนิยม