ตรัง หรือเมืองทับเที่ยง เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมืองสิบสองนักษัตรในสมัยก่อน ตรังเป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีนำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมืองตรังมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งน้ำตกและเกาะกลางทะเลอันงดงามเป็นจำนวนมาก
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง จากเชิงเขาบรรทัดลาดต่ำลงมาจนจดฝั่งอันดามัน ลักษณะพื้นที่เป็นควน (เนิน) สูงต่ำกระจายอยู่ทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด
ตรังเป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวเหยียดทางด้านตะวันตก มีเกาะในทะเลอันดามันอยู่ในการปกครองกว่า 46 เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดนครศรีธรรมราชทิศใต้ จดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดพัทลุงทิศตะวันตก จดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย
การปกครอง
แบ่งเป็น 8 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอกิ่งรัษฎา และกิ่งอำเภอหาดสำราญ ตรังมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,917 ตร. กม.
วนอุทยานน้ำตกพ่าน
วนอุทยานน้ำตกพ่าน อยู่ในท้องที่บ้านลำแคลง หมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาบรรทัด แปลงที่ 2 ตอนที่ 1 ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 108 (พ.ศ.2508) มีเนื้อที่ประมาณ 9,219 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2540
ภูมิประเทศ
เป็นเนินเขาหินปูน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของคลองปะเหลียน ประกอบด้วย คลองบาดหลุด คลองบ้านตก คลองเจ้าพระและห้วยแจ็ดแร็ด
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา เก้งหม้อ หมี นิ่ม ชะนี ค่างแว่นถิ่นใต้ และนกชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ หลุมพอ สาวดำ ตะเคียนทอง ตาเสือ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยางหิน ยางนา หวาย ปรง กล้วยไม้ป่า และพืชสมุนไพรต่างๆ
การเดินทาง
สามารถเดินทางจากจังหวัดตรัง ตามถนนทางหลวงลาดยางได้ 4 เส้นทาง คือ 1. เริ่มต้นจาก ตรัง-นาโยง-ถนนคด-ปะเหลียนใน-วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 2. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ลำปลอก-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 3. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ท่าพญา-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 50 กิโลเมตร 4. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ทุ่งยาว-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 68 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่ 3 จากอำเภอย่านตาขาวมีรถยนต์โดยสารประจำหมู่บ้านถึงบ้านปะเหลียนใน โดยสารรถจักยานยนต์รับจ้างไปวนอุทยานน้ำตกพ่าน ระยะทางประมาณ 3 กิโล
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เมื่อเริ่มแรกประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเทือก เขาบรรทัด จังหวัดตรัง สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านกะช่อง หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ต่อมาปี พ.ศ. 2518 จึงได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 จังหวัดตามเทือกเขาบรรทัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 805,000 ไร่ ปี พ.ศ. 2520 ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนครั้งแรกในท้องที่จังหวัดสตูลให้กับนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้เพื่อจัดที่ให้ราษฎรทำกิน คงเหลือพื้นที่ประมาณ 792,000 ไร่ ต่อมาปี พ.ศ. 2524 เกิด อุทกภัยภาคใต้อย่างร้ายแรงทำให้ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ ได้รับความเสียหายบางส่วน ประกอบกับกรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นซ้ำซ้อนในสถานที่เดียวกัน ทำให้ผู้มาติดต่อเกิดการเข้าใจผิด ไม่สามารถแยกแยะหน่วยงานและเขตรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้เป็นอิสระได้ จึงได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดไปอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านนาวงหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เนื่องจากมีความเหมาะสมและคล่องตัวในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยราชการอื่น ปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนออกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อสร้างและขยายถนนสายเพชรเกษม จากจังหวัดพัทลุงถึงจังหวัดตรัง และปี พ.ศ. 2530 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดออกอีก เพื่อให้กองทัพภาคที่ 4 จัดตั้งสถานที่ฝึกการรบพิเศษของกองทัพ ปัจจุบันมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 792,000 ไร่
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาว ประกอบด้วยภูเขาสูงหลายลูกสลับซับซ้อนเรียงกันเป็นแนว ยอดเขาที่สำคัญคือ เขาหลัก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมกันเป็นทะเลสาปสงขลา หล่อเลี้ยงประชากรในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา
ภูมิอากาศ
โดยทั่วไปแล้วจัดว่าอยู่ในประเภทอากาศร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อนเช่นเดียวกับภูมิอากาศของภาคใต้ทั่ว ๆ ไป
สัตว์ป่า
พื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดเป็นป่าดงดิบชื้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุม ทั้ง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีกเช่น นกเงือก นกกาฮัง นกหว้า เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น กวาง เสือ สมเสร็จ กระจง เลียงผา เม่น เก้ง ชะนี ลิง ค่าง บ่าง กระรอก ฯลฯ และสัตว์เลื้อยคลาน
ป่าและพันธุ์ไม้
พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ภูเขามีลักษณะเป็นดินมากกว่าหิน พรรณไม้ที่มีค่าและสำคัญของพื้นที่ ได้แก่ ไม้ตระกูลยาง หลุมพอ ตะเคียนต่าง ๆ ไข่เขียว ขานาง ฯลฯ นอกจากป่าดิบชื้นแล้วยังประกอบด้วยป่าดิบเขาซึ่งมีอยู่ประมาณ 20% ของพื้นที่
สิ่งอำนวยความสะดวก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีบ้านพักรับรองไว้ต้อนรับอยู่ 1 หลัง 2 ห้องนอน ตั้งอยู่ที่ น้ำตกเขาช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หากไม่เพียงพอก็อาศัยบ้านพักรับรองของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง จังหวัดตรังได้ เนื่องจากอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีไฟฟ้า น้ำประปา และวิทยุสื่อสารของทางราชการ ติดต่อได้ทุกวันในเวลาราชการ
การเดินทาง
สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดตั้งอยู่ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) จากจังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตร เดินทางได้สะดวกโดยทางรถยนต์ มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน ทางเครื่องบิน ลงที่สนามบินตรัง จากนั้นโดยสารรถประจำทางจากจังหวัดตรังไปตามถนนเพชรเกษม ตรัง-พัทลุง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถ้าลงที่สนามบินหาดใหญ่ โดยสารรถประจำทางไปตามถนนเพชรเกษมสายหาดใหญ่-ตรัง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 130 กม. ทางรถไฟ ลงที่สถานีรถไฟพัทลุง ต่อรถยนต์โดยสารประจำทางพัทลุง-ตรัง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง จากเชิงเขาบรรทัดลาดต่ำลงมาจนจดฝั่งอันดามัน ลักษณะพื้นที่เป็นควน (เนิน) สูงต่ำกระจายอยู่ทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด
ตรังเป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวเหยียดทางด้านตะวันตก มีเกาะในทะเลอันดามันอยู่ในการปกครองกว่า 46 เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดนครศรีธรรมราชทิศใต้ จดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดพัทลุงทิศตะวันตก จดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย
การปกครอง
แบ่งเป็น 8 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอกิ่งรัษฎา และกิ่งอำเภอหาดสำราญ ตรังมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,917 ตร. กม.
วนอุทยานน้ำตกพ่าน
วนอุทยานน้ำตกพ่าน อยู่ในท้องที่บ้านลำแคลง หมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาบรรทัด แปลงที่ 2 ตอนที่ 1 ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 108 (พ.ศ.2508) มีเนื้อที่ประมาณ 9,219 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2540
ภูมิประเทศ
เป็นเนินเขาหินปูน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของคลองปะเหลียน ประกอบด้วย คลองบาดหลุด คลองบ้านตก คลองเจ้าพระและห้วยแจ็ดแร็ด
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา เก้งหม้อ หมี นิ่ม ชะนี ค่างแว่นถิ่นใต้ และนกชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่าและพันธุ์ไม้
มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ หลุมพอ สาวดำ ตะเคียนทอง ตาเสือ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยางหิน ยางนา หวาย ปรง กล้วยไม้ป่า และพืชสมุนไพรต่างๆ
การเดินทาง
สามารถเดินทางจากจังหวัดตรัง ตามถนนทางหลวงลาดยางได้ 4 เส้นทาง คือ 1. เริ่มต้นจาก ตรัง-นาโยง-ถนนคด-ปะเหลียนใน-วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 2. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ลำปลอก-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 49 กิโลเมตร 3. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ท่าพญา-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 50 กิโลเมตร 4. เริ่มต้นจาก ตรัง-ย่านตาขาว-ทุ่งยาว-หาดเลา-ปะเหลียนใน- วนอุทยานน้ำตกพ่าน 68 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่ 3 จากอำเภอย่านตาขาวมีรถยนต์โดยสารประจำหมู่บ้านถึงบ้านปะเหลียนใน โดยสารรถจักยานยนต์รับจ้างไปวนอุทยานน้ำตกพ่าน ระยะทางประมาณ 3 กิโล
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เมื่อเริ่มแรกประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเทือก เขาบรรทัด จังหวัดตรัง สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านกะช่อง หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ต่อมาปี พ.ศ. 2518 จึงได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 จังหวัดตามเทือกเขาบรรทัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 805,000 ไร่ ปี พ.ศ. 2520 ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนครั้งแรกในท้องที่จังหวัดสตูลให้กับนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้เพื่อจัดที่ให้ราษฎรทำกิน คงเหลือพื้นที่ประมาณ 792,000 ไร่ ต่อมาปี พ.ศ. 2524 เกิด อุทกภัยภาคใต้อย่างร้ายแรงทำให้ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ ได้รับความเสียหายบางส่วน ประกอบกับกรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นซ้ำซ้อนในสถานที่เดียวกัน ทำให้ผู้มาติดต่อเกิดการเข้าใจผิด ไม่สามารถแยกแยะหน่วยงานและเขตรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้เป็นอิสระได้ จึงได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดไปอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านนาวงหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เนื่องจากมีความเหมาะสมและคล่องตัวในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยราชการอื่น ปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนออกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อสร้างและขยายถนนสายเพชรเกษม จากจังหวัดพัทลุงถึงจังหวัดตรัง และปี พ.ศ. 2530 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดออกอีก เพื่อให้กองทัพภาคที่ 4 จัดตั้งสถานที่ฝึกการรบพิเศษของกองทัพ ปัจจุบันมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 792,000 ไร่
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาว ประกอบด้วยภูเขาสูงหลายลูกสลับซับซ้อนเรียงกันเป็นแนว ยอดเขาที่สำคัญคือ เขาหลัก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมกันเป็นทะเลสาปสงขลา หล่อเลี้ยงประชากรในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา
ภูมิอากาศ
โดยทั่วไปแล้วจัดว่าอยู่ในประเภทอากาศร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อนเช่นเดียวกับภูมิอากาศของภาคใต้ทั่ว ๆ ไป
สัตว์ป่า
พื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดเป็นป่าดงดิบชื้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุม ทั้ง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีกเช่น นกเงือก นกกาฮัง นกหว้า เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น กวาง เสือ สมเสร็จ กระจง เลียงผา เม่น เก้ง ชะนี ลิง ค่าง บ่าง กระรอก ฯลฯ และสัตว์เลื้อยคลาน
ป่าและพันธุ์ไม้
พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ภูเขามีลักษณะเป็นดินมากกว่าหิน พรรณไม้ที่มีค่าและสำคัญของพื้นที่ ได้แก่ ไม้ตระกูลยาง หลุมพอ ตะเคียนต่าง ๆ ไข่เขียว ขานาง ฯลฯ นอกจากป่าดิบชื้นแล้วยังประกอบด้วยป่าดิบเขาซึ่งมีอยู่ประมาณ 20% ของพื้นที่
สิ่งอำนวยความสะดวก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีบ้านพักรับรองไว้ต้อนรับอยู่ 1 หลัง 2 ห้องนอน ตั้งอยู่ที่ น้ำตกเขาช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หากไม่เพียงพอก็อาศัยบ้านพักรับรองของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง จังหวัดตรังได้ เนื่องจากอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีไฟฟ้า น้ำประปา และวิทยุสื่อสารของทางราชการ ติดต่อได้ทุกวันในเวลาราชการ
การเดินทาง
สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดตั้งอยู่ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) จากจังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตร เดินทางได้สะดวกโดยทางรถยนต์ มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน ทางเครื่องบิน ลงที่สนามบินตรัง จากนั้นโดยสารรถประจำทางจากจังหวัดตรังไปตามถนนเพชรเกษม ตรัง-พัทลุง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถ้าลงที่สนามบินหาดใหญ่ โดยสารรถประจำทางไปตามถนนเพชรเกษมสายหาดใหญ่-ตรัง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 130 กม. ทางรถไฟ ลงที่สถานีรถไฟพัทลุง ต่อรถยนต์โดยสารประจำทางพัทลุง-ตรัง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร