Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

กิ่งอำเภอเกาะช้าง
     หมู่เกาะช้างเป็นเกาะที่มีทะเลล้อมรอบทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณเกาะช้างเหมาะแก่การพักผ่อนคือไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป สำหรับอิทธิพลจากมรสุมนั้น เกาะช้างได้รับอิทธิพลทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางด้วยเรือคือ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ชายฝั่งด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีคลื่นลมแรงไม่เหมาะสมที่จะเดินทางได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเป็นช่วงที่มีคลื่นน้อยที่สุด ฉะนั้นการเดินทางไปเกาะช้าง หรือหมู่เกาะต่าง ๆ จึงค่อนข้างที่จะสะดวก 
• อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๖๕๐ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ที่มากถึง ๕๒ เกาะ เรียงรายตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่น ๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะรัง ฯลฯ ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะช้างใกล้คลองธารมะยมบบริเวณด้านหน้ามีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพิทักษ์อุทยานอีก ๓ จุด ซึ่งล้วนอยู่บนเกาะช้าง คือ บริเวณอ่าวคลองสน บริเวณทางเข้าน้ำตกคลองพลู และบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร • เกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย หากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ ๘ หมู่บ้าน
     เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ ๔๒๙ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อนยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูง ๗๔๔ เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา อันเป็นบ่อเกิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาด และปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ 
• สถานที่น่าสนใจบนเกาะ ได้แก่ • บริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง น่านน้ำทะเลตราดบริเวณอ่าวสลักเพชร อ่าวสลักคอก ยังเป็นอีกหน้าหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพเรือไทยสามารถขับไล่ผู้รุกรานให้ล่าถอยไปได้ หากไทยต้องสูญเสียกองเรือ และทหารกล้าไปจำนวนหนึ่ง วีรกรรมทหารเรือไทยได้รับการจดจารึก และรำลึกถึงวันที่ ๑๗ มกราคมของทุกปี ณ อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ เกาะง่ามกลายเป็นจุดปะทะจุดแรกระหว่างกองทัพเรือไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินเข้ามาลาดตระเวน และทิ้งระเบิดบนเกาะนี้ ส่วนเกาะหวายคือ จุดที่เครื่องบินลาดตระเวนของฝรั่งเศสถูกเรือรบหลวงสงขลา และเรือรบหลวงชลบุรี ยิงตก กองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส ๗ ลำรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะช้าง นำโดยเรือลาดตระเวนลามอตต์ ปิเกต์ เรือสลุบ ๒ ลำ เรือปืน ๔ ลำ แยกออกเป็น ๓ หมู่ หมู่ ๑ มีเรือลามอตต์ ปิเกต์ลำเดียวรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะหวาย และเกาะใบตั้ง หมู่ ๒ มีเรือสลุป ๑ ลำ เรือปืน ๑ ลำ เข้ามาทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ ๓ มีเรือสลุป ๑ ลำ เรือปืน ๓ ลำ เข้ามาทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า• เกาะไม้ซี้ เกาะส่วนตัวเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเกาะกูดซึ่งยังคงธรรมชาติอันสมบูรณ์ หาดทรายสวย น้ำใส อุดมด้วยพันธุ์ปลานานาชนิด สามารถดำน้ำดูปะการังได้ บนเกาะมีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ให้ศึกษา แต่เดิมเกาะนี้เป็นเขตปะทะระหว่างเรือลามอตต์ ปิเกต์กับเรือรบหลวงธนบุรีที่จอดประจำการอยู่ที่เกาะลิ่ม และได้เข้ามาช่วยเหลือเรือรบหลวงสงขลา และเรือรบหลวงชลบุรีที่ถูกยิงเสียหายจนจมสู่ท้องทะเลบริเวณอ่าวสลักเพชร และอ่าวสลักคอก ในที่สุดเรือรบหลวงธนบุรีถูกยิงเสียหายอย่างหนัก จนแล่นมาเกยตื้น และจมลงบริเวณแหลมงอบ นอกจากนั้นยังมีสถานที่พักอาศัยกึ่งโฮมสเตย์ สามารถรับนักท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะตั้งแต่ ๑๕–๓๐ คน แพ็กเกจทัวร์ ๓ วัน ๒ คืน ราคา ๓,๕๐๐ บาท, ๒ วัน ๑ คืน ราคา ๒,๕๐๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๗๕๐ ๖๘๗๓, ๐ ๙๙๘๐ ๕๗๕๗ • อ่าวคลองสน เป็นอ่าวอยู่ทางเหนือสุดของเกาะฝั่งตะวันตก เป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านคลองสน ใกล้บริเวณอ่าวมีแนวปะการังใต้น้ำที่สวยงาม มีบริการที่พักไว้สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย• น้ำตกคลองนนทรี เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมีทางเดินเท้าจากบ้านด่านใหม่ตามทางเดินเท้า ๓ กิโลเมตร หรือจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร • น้ำตกธารมะยม อยู่หลังที่ทำการอุทยานฯ เดินผ่านสวนเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี ๔ ชั้น ชั้นที่ ๓ เป็นชั้นที่สวยที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เคยเสด็จประพาสมายังน้ำตกนี้ โดยมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. สลักอยู่ที่หน้าผาน้ำตกชั้นบน• น้ำตกคลองพลู เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามที่สุดของเกาะช้าง มีน้ำตกไหลผ่านหน้าผาลงแอ่งเบื้องล่าง น้ำตกมี ๓ ชั้น ทางเข้าอยู่ห่างจากอ่าวคลองพร้าว ๓ กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินป่าอีกประมาณ ๒๐ นาที • หาดทรายยาว อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้างใกล้กับอ่าวสลักเพชร มีลักษณะเป็นอ่าวที่มีหาดทรายทอดยาว เล่นน้ำได้ สามารถเดินป่าชมจุดยุทธนาวีที่เกาะช้าง และชมทัศนียภาพตามหมู่เกาะใกล้เคียง เช่น เกาะเหลายา อ่าวสลักเพชร เกาะหวาย ที่หาดทรายขาวมีบริการที่พักไว้สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย• โรงเรียนฝึกสอนลิง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ หาดทรายขาว ตำบลเกาะช้าง เป็นศูนย์ฝึกสอนลิง และโชว์ความสามารถโดยเฉพาะการเก็บมะพร้าว มีการแสดงวันละ ๓ รอบ เวลา ๑๐.๐๐ น., ๑๔.๐๐ น., ๑๖.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ๒๐๐ บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. ๐ ๑๙๘๒ ๘๖๖๑, ๐ ๖๕๓๑ ๓๓๙๘• บ้านสลักเพชร เป็นชุมชนที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดบนเกาะช้าง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ ชาวบ้านประกอบอาชีพทำการประมงชายฝั่ง มีหมู่เกาะและทิวเขาโอบล้อมช่วยกำบังคลื่นลมได้ดี หน้าหมู่บ้านมีวัดเก่าแก่ คือ วัดสลักเพชร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสเกาะช้าง และอ่าวสลักเพชรเป็นอ่าวใหญ่ที่สุดบนเกาะ• น้ำตกคีรีเพชร เป็นน้ำตกชั้นเดียว อยู่ห่างจากชุมชนบ้านสลักเพชรผ่านสวนยางเป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร• น้ำตกคลองหนึ่ง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ใกล้น้ำตกคีรีเพชร-บ้านโรงถ่าน อยู่ลึกเข้าไปจากชุมชนสลักเพชร เข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร แล้วเดินเท้าอีกประมาณ ๔๘๐ เมตร ตัวน้ำตกไหลทิ้งตัวลงมาจากช่องเขาแคบ ๆ ที่มีความสูง ๑๒๐ เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้• หมู่บ้านประมงบางเบ้า บ้านแต่ละหลังปักเสาลงในทะเล มีสะพานเชื่อมต่อถึงกัน บรรพบุรุษของคนที่นี่ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายจากชาวสลักเพชร ดำรงชีวิตเรียบง่ายด้วยการทำประมงขนาดเล็กชายฝั่ง เป็นแหล่งปลาหมึกหอมชุกชุม มีแหล่งปะการังใต้น้ำ บริเวณหมู่บ้านมีท่าเรือ สะพานปลา ทำกะปิน้ำปลา กุ้งแห้ง ปลาเค็ม อ่าวบางเบ้ามีชัยภูมิที่ตั้งเหมาะแก่การจอดเรือ หลบคลื่นลมเพราะมีเทือกเขา และหมู่เกาะโอบล้อมสองด้านในฤดูมรสุม จึงมีเรือมากมายเข้ามาจอดหลบคลื่นลมในอ่าวนี้ • บ้านโรงถ่าน เป็นชุมชนเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวสลักเพชร อยู่ทางตอนใต้ของเกาะ นักท่องเที่ยวนิยมไปชมทิวทัศน์กันที่นี่ เมื่อมองไปทางเหนือจะเห็นยอดเขาสลักเพชรมีเมฆหมอกปกคลุม ทางตะวันออกจะเห็นเกาะมะพร้าวในและทิวเขาบริเวณแหลมใหญ่ หากเดินขึ้นเนินเขาไปสำนักสงฆ์อตุลาภรณ์บรรพตจะมองเห็นทิวทัศน์ของอ่าวสลักเพชรทั้งหมด• อ่าวใบลาน อยู่ถัดขึ้นไปจากหาดไก่แบ้มีทางเท้าตัดผ่านภูเขาใช้เวลาเดินเท้าจากหาดไก่แบ้ประมาณ ๑ ชั่วโมง ระหว่างทางสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทิวเขา อ่าวใบลานมีลักษณะเป็นหาดทรายยาวเงียบสงบเหมาะแก่การเล่นน้ำและพักผ่อน• หาดไก่แบ้ เป็นหาดที่มีความยาวติดต่อกับหาดคลองพร้าว เป็นหาดทรายที่มีความลาดพอสมควร สามารถเล่นน้ำได้โดยไม่เป็นอันตราย มีบังกะโลราคาประหยัดให้เช่าหลายแห่ง บางแห่งมีจักรยานเสือภูเขาให้เช่า• หาดคลองพร้าว-แหลมไชยเชษฐ์ เป็นหาดทรายที่มีความยาวต่อเนื่องไปจนถึงหาดไก่แบ้ หาดทรายบริเวณนี้มีความลาดมาก สามารถเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าพักหลายแห่ง ห้องพักที่ได้มาตรฐาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม ตอนเหนือสุดของอ่าวคลองพร้าวติดกับแหลมไชยเชษฐ์ มีแหลมหินที่ทัศนียภาพสวยงาม แต่ไม่สามารถเล่นน้ำได้
สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการคลองสน จำนวน ๙ ห้อง พักได้ ๒-๖ คน ราคา ๘๐๐-๒,๕๐๐ บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๕๕ ๕๐๘๖ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ www.dnp.go.th
การเดินทางบนเกาะ จากท่าเรือมีรถสองแถวไปยังหาดทรายขาว คลองพร้าว ไก่แบ้ อัตราค่ารถ ๓๐ บาท ส่วนหาด อื่น ๆ ต้องเหมา และตกลงราคาก่อนเดินทาง
• เกาะช้างน้อย และ แหลมช้างน้อย อยู่ทางด้านเหนือของเกาะช้าง บริเวณท้องน้ำระหว่างแหลมช้างน้อยกับเกาะช้างน้อยจะมีแนวปะการังอยู่ด้วย
เกาะมันนอก-เกาะมันใน เป็นเกาะเล็ก อยู่ตรงข้ามหาดไก่แบ้ เมื่อน้ำลดจะมีหาดอยู่รอบ ๆ เกาะ ท้องน้ำบริเวณเกาะ มันนอก-เกาะมันใน ค่อนข้างตื้น และมีสาหร่ายสีทองขึ้นเป็นจำนวนมาก 
• เกาะคลุ้ม เหมาะสำหรับการตกปลา มีทัศนียภาพแปลกตาของลานหิน คือ หินลูกบาต และหินลาดหลังคุ้ม• เกาะเหลายา อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง ประกอบด้วยเกาะเหลายาใน เกาะเหลายากลาง และเกาะเหลายานอก ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง เป็นเกาะที่มีหาดทรายยาว น้ำทะเลใส และแนวปะการังสวยงาม บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย• เกาะหวาย อยู่ทางใต้ของเกาะช้าง ใกล้กับเกาะเหลายา ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ ๒ ชั่วโมงครึ่ง แนวชายหาดสวยงาม มีแนวปะการังขนาดใหญ่ และสมบูรณ์เหมาะกับการตกปลา อ่าวด้านเหนือของเกาะเป็นแหล่งที่มีแนวปะการังสมบูรณ์สูง ด้านตะวันตกของอ่าวใหญ่มีปะการังซึ่งส่วนมากเป็นปะการังก้อน ปะการังเขากวาง ปะการังแผ่น และปะการังพุ่ม นอกจากนั้นยังมีหอยมือเสืออีกด้วย บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว• การเดินทาง ไปเกาะหวายมีเรือออกจากที่ท่าเรือแหลมงอบ เวลา ๑๕.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๗.๐๐ น. เที่ยวกลับ มีเรือออกจากท่าเรือเกาะหวายพาราไดซ์ เวลา ๐๘.๐๐ น. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารคนละ ๑๓๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๓ ๘๑๒๒ • เกาะพร้าวนอก หรือ เกาะทรายขาว อยู่ทางทิศใต้หน้าอ่าวสลักเพชร ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมงอบประมาณ ๒ ชั่วโมง เป็นเกาะที่มีหาดขาวทรายสะอาด และร่มรื่นด้วยต้นมะพร้าว บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว• เกาะง่าม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะช้าง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาแฝด ๒ เกาะติดกัน โดยมีสันทรายขนาดใหญ่เชื่อมตรงกลาง มีอ่าวขนาดเล็กที่เกิดจากแนวเขาที่โอบล้อมน้ำทะเลไว้ จึงเป็นบริเวณที่คลื่นลมสงบ และสวยงาม • การเดินทาง จากแหลมงอบใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว


ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่นปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่น ให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม และได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงิน 999 ล้านเยน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มิตรภาพระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับราชอาณาจักรไทยได้สถาวรยืนนานมาครบ 100 ปี
   ศูนย์แห่งนี้เปิดทำการทุกวัน(วันจันทร์-ศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.30น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00น.) อัตราค่าเข้าชมสำหรับนักเรียน และนักศึกษา ในเครื่องแบบ 5 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท นักเรียนต่างชาติ 50 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (035)245123-4

   วัดบรมพุทธาราม อยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” เพราะแต่เดิมนั้นพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว วัดนี้สมเด็จพระเพทราชาทรงสร้างขึ้นที่บริเวณพระนิเวศน์เดิม
   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หากมาจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา จากนั้นข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วตรงไปประมาณ 2 ไฟแดง ไปอีกไม่ไกลนักจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปีพ.ศ. 2504
   คุ้มขุนแผน ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ทรงสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2437 ที่เกาะลอยบริเวณสะพานเกลือซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล ต่อมาในราวปีพ.ศ. 2483 ปรีดี พนมยงค์นายรัฐบุรุษอาวุโสได้ย้ายจวนหลังนี้มาสร้างในบริเวณคุกนครบาลเก่าของพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งสร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ.2499 และให้ชื่อเรือนไทยนี้ว่าคุ้มขุนแผน ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้ การเดินทาง หากมาจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วให้ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปจนถึงศาลากลางจังหวัดหลังเดิม จะเห็นสามแยกแล้วเลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนักจะเห็นคุ้มขุนแผนอยู่ทางซ้ายมือ
   วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตรและสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพ.ศ.2145สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ผ่าลงมาไหม้เครื่องบนพระมณฑปเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นหลังคาพระวิหารธรรมดาแทน ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ
   วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงอุทิศบริเวณพระราชมณเฑียรให้เป็นวัดภายในพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
   ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่2โปรดเกล้าฯให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดาและองค์ที่สองคือองค์กลางในปัจจุบัน เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปีพ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปีพ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา(16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหารถวายพระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุงพ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด สำหรับเจดีย์องค์ที่สาม ถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังการะหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั้นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างเพิ่มในภายหลัง ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
   พระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ ตั้งอยู่ติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ทางด้านทิศเหนือ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชวังตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เวียงเล็ก เมื่อพ.ศ.1890 และเมื่อสร้างพระราชวังเสร็จในปีพ.ศ.1893 จึงย้ายมาประทับที่พระราชวังใหม่ริมหนองโสน ปราสาทในครั้งแรกนี้สร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาเมื่อพ.ศ. 1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงถวายที่บริเวณปราสาทให้เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์วัดในเขตพระราชวัง แล้วทรงสร้างปราสาทใหม่เลื่อนไปทางเหนือชิดกับแม่น้ำลพบุรี
บริเวณพระราชวังหลวงมีพระที่นั่งสำคัญดังนี้
   วัดพระราม อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง)พระราชบิดา วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าวัด เดิมเรียกว่า “หนองโสน” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “บึงพระราม” ปัจจุบันคือ “สวนสาธารณะบึงพระราม” ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
   พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และรมด้วยน้ำยาสีเขียว ในพระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศา ฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2513

   วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อพ.ศ.1927 พระปรางค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่ ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น จึงเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานว่าเป็นปรางค์ที่มีขนาดใหญ่มากและก่อสร้างอย่างวิจิตรสวยงามมาก เมื่อพ.ศ. 2499 กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพระปรางค์แห่งนี้ พบของโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญคือ ผอบศิลา ภายในมีสถูปซ้อนกัน 7 ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่า ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนำไปประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา การเดินทาง หากมาจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30น.-21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
   วัดราชบูรณะ อยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ตรงข้ามวัดมหาธาตุ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1967 ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาซึ่งชนช้างกันจนถึงแก่พิราลัยและโปรดเกล้าฯให้ก่อเจดีย์ 2 องค์บริเวณนั้น ซากที่เหลืออยู่แสดงว่าวิหารและส่วนต่างๆ ของวัดนี้ใหญ่โตมาก พระปรางค์เป็นศิลปะอยุธยาสมัยแรกซึ่งนิยมสร้างตามแบบขอมที่ให้พระปรางค์เป็นประธานของวัด พระปรางค์องค์นี้มีลวดลายสวยงามมาก ภายในกรุปรางค์มีภาพเขียนด้วยสีแดงชาดปิดทองเป็นรูปพระพุทธรูปปางลีลาและปางสมาธิ รวมทั้งรูปเทวดาและรูปดอกไม้ เมื่อกรมศิลปากรขุดแต่งพระปรางค์วัดราชบูรณะ ได้ขุดกรุนำโบราณวัตถุที่มีค่าไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ซึ่งสร้างโดยเงินบริจาคจากการนำพระพิมพ์ขนาดเล็กที่ได้จากกรุนี้มาจำหน่ายเป็นของชำร่วย เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
   พิพิธภัณฑ์เรือไทย ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ ภายในบริเวณบ้านพักของอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเรือจำลองรูปแบบต่างๆ โดยต่อขึ้นตามแบบเรือจริงทุกประการ มีตั้งแต่เรือเดินสมุทรไปจนถึงเรือลำเล็กๆและมีส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์เรือไทย จัดแสดงเรือไทยพื้นบ้านนานาชนิดหลายรูปแบบที่ปัจจุบันหาดูได้ยากตามแม่น้ำลำคลอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร (035) 241195
   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วังจันทรเกษมหรือวังหน้า ตั้งอยู่ถนนอู่ทอง ริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ วังจันทรเกษมสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกเมื่อพ.ศ.2112 เคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราชและพระมหากษัตริย์หลายพระองค์เมื่อคราวเสียกรุง ในปีพ.ศ.2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยาและพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลอยุธยาและรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นศาลากลางจังหวัดจนเมื่อได้สร้างศาลากลางใหม่แล้ว กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแลและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมจนกระทั่งปัจจุบัน
   วัดเสนาสนาราม อยู่ทางด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ "วัดเสื่อ" เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์คือ "พระสัมพุทธมุนี" พระประธานในอุโบสถและ "พระอินทรแปลง" ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจาก นครเวียงจันทน์
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เหนือบริเวณป้อมเพชร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม แต่พอถึงสามแยกให้เลี้ยวขวา แล้วตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ วัดนี้เดิมชื่อว่า“วัดทอง”เป็นวัดที่พระบรมมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดทองขึ้นใหม่และพระราชนามว่า“วัดสุวรรณดาราราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์คือ“ทองดี”และ“ดาวเรือง”
   เจดีย์พระศรีสุริโยทัย อยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก อยู่ติดกับสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 ถนนอู่ทอง พระเจดีย์แห่งนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานของวีรสตรีไทยพระองค์แรก สมเด็จพระสุริโยทัยซึ่งสิ้นพระชนม์ในการทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปร และเป็นการยืนยันเกียรติแห่งสตรีไทยที่ได้รับการยกย่องจากสังคมไทยมาแต่ครั้งบรรพกาล
   ปีพ.ศ.2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติมีสมเด็จพระสุริโยทัยเป็นพระมเหสี หลังจากครองราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และบุเรงนองยกทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงช้างออกไปพร้อมกับพระราชโอรสสมเด็จพระสุริโยทัยทรงเป็นห่วงพระราชสวามี จึงได้ทรงเครื่องแบบอย่างนักรบชายประทับช้างตามเสด็จออกไปกองทัพกรุงศรีอยุธยาปะทะกับทัพหน้าของกรุงหงสาวดี ซึ่งมีพระเจ้าแปรเป็นแม่ทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงไสช้างเข้าชนกับช้างของพระเจ้าแปรและบังเอิญช้างทรงเกิดเพลี่ยงพล้ำ สมเด็จพระสุริโยทัยจึงไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เมื่อสงครามยุติลงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาวัดที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัดสวนหลวงสบสวรรค์ (เดิมชื่อ วัดสบสวรรค์) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสอบสวนหาตำแหน่งสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารเพื่อเรียบเรียงเป็นหนังสือประชุมพงศาวดารขึ้นทูลเกล้าฯถวาย จึงเป็นเหตุให้ทราบตำแหน่งของวัดสบสวรรค์ ซึ่งยังคงพบเจดีย์แบบย่อไม้สิบสองสูงใหญ่ปรากฏตามที่ตั้งในปัจจุบันนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงขนานนามเรียกชื่อเจดีย์ว่า "เจดีย์พระศรีสุริโยทัย"
   สวนศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ในเขตทหาร กองสรรพาวุธซ่อมยาง สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเจดีย์พระศรีสุริโยทัย สวนศรีสุริโยทัยจะอยู่ทางขวามือ องค์การสุราเป็นผู้สร้างสวนนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายอดีตพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในที่ดินซึ่งเคยเป็นเขตพระราชฐานชั้นใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานชื่อ “สวนศรีสุริโยทัย” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 และองค์การสุราได้ทูลเกล้าฯ ถวายสวนนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ สวนนี้มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ประกอบด้วยศาลาอเนกประสงค์ พลับพลาสมเด็จพระสุริโยทัย อนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยแสดงเหตุการณ์ตอนสู้รบบนหลังช้าง เนินเสมาหินอ่อนโบราณอายุกว่า 400 ปีบรรจุชิ้นส่วนพระพุทธรูปที่ชำรุดอัญเชิญมาจากวัดพุทไธศวรรย์ (พระตำหนักเวียงเหล็กของพระเจ้าอู่ทอง) ฯลฯ สวนนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
   วัดกษัตราธิราชวรวิหาร อยู่นอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้เส้นทางเดียวกับสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ไปจนถึงสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชฯ จากนั้นเลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนักก็จะถึงวัดนี้ วัดนี้เดิมชื่อ “วัดกษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระ-ปรางค์ใหญ่เป็นประธานหลักของวัด และยังมีพระอุโบสถสมัยอยุธยาซึ่งมีลายสลักไม้เป็นดาวเพดานงดงามมาก เป็นวัด
ที่มีความสวยงามมากวัดหนึ่ง
   วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 
   วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์ และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธศวรรย์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองซึ่งเรียกว่า “ตำหนักเวียงเหล็กหรือเวียงเล็ก” หลังจากนั้นพระองค์ไปสร้างพระราชวังใหม่ที่ตำบลหนองโสน(บึงพระราม)จึงสถาปนาสถานที่นี้เป็นวัดพุทไธศวรรย์ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พระปรางค์ประธานองค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม พระอุโบสถทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วิหารพระนอนและหมู่พระเจดีย์สิบสององค์
   หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ของตัวเมือง ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. 2054 โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นฑูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือโบสถ์ในคณะโดมินิกันซึ่งเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องประกอบพิธีทางศาสนา
   วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309 จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดนี้ วัดภูเขาทองนี้ หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้าง เมื่อพ.ศ. 1930 ครั้นบุเรงนองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อพ.ศ. 2112 ได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกที่วัดนี้ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ตอนบนเปลี่ยนจากเจดีย์แบบมอญเป็นเจดีย์ไทย ย่อมุมไม้สิบสองฝีมือช่างไทย ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงม้าบริเวณด้านหน้าวัดภูเขาทอง
   วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก หากมาจากกรุงเทพฯเข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม(เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไป ประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถระในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดคณะป่าแก้ว ต่อมาเรียกให้สั้นลงว่า “วัดป่าแก้ว”
   หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น“วัดเจ้าพระยาไทย”สันนิษฐานว่าสาเหตุอาจมาจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 ทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทย หรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไทย” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทยจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราช
   ในปี พ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล”แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้
   วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง”(หรือวัดพระนางเชิง) ในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ตามพงศาวดารกล่าวว่าสร้างเมื่อพ.ศ.1867 เดิมชื่อ “พระพุทธเจ้าพนัญเชิง” แต่ในรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์นี้ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” (ชาวบ้านนิยมเรียกหลวงพ่อโต ชาวจีนนิยมเรียกว่าซำปอกง)เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยลงรักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 14.10 เมตรและสูง 19 เมตร ฝีมือปั้นงดงามมาก อาจนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้นที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อคราวพระนครศรีอยุธยาจะเสียกรุงแก่ข้าศึกนั้น พระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง ภายในวัดพนัญเชิงยังจะพบ ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก่อสร้างเป็นตึกแบบจีนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากในเครื่องแต่งกายแบบจีน ชาวจีนเรียกว่า “จู๊แซเนี้ย” เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป สำหรับชาวต่างประเทศเสียค่าเข้าชม 20 บาท
   หมู่บ้านญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน สามารถเดินทางจากวัดพนัญเชิงไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นอาคารผนวกหมู่บ้านญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางด้านขวามือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ญี่ปุ่นเป็นชนชาติหนึ่งที่เดินทางเข้ามาในสมัยนั้น เมื่อทางการญี่ปุ่นอนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นค้าขายกับชาวต่างชาติได้โดยให้มีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน นับแต่นั้นมาชาวญี่ปุ่นก็เข้ามาอาศัยในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นากามาซา ยามาดาเป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุขรับราชการต่อมาจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต
    ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่นได้จารึกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยามาจัดแสดงไว้ภายในหมู่บ้านญี่ปุ่น และปรับปรุงบริเวณหมู่บ้านให้เป็นอาคารผนวกของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา รวมทั้งจัดแสดงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป

วนอุทยานภูชี้ฟ้า อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9 และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541
ลักษณะภูมิประเทศ
• พื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้าเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร จุดสูงสุดคือ บริเวณจุดชมวิว มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์
ลักษณะภูมิอากาศ
• อากาศบนยอดภูชี้ฟ้าจะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• เป็นป่าดิบเขา ยกเว้นบนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้าประมาณ 300 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย ก่อก้างด้าง ก่อแดง ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อสีเสียด อบเชย กำยาน หว้า เหมือด สารภี จำปาป่า จำปีป่า พันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส เฟิร์นชนิดต่าง ๆ 
• สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เก้ง กระจง หมูป่า อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือ ปลา แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า

• นกที่พบเห็นบนภูชี้ฟ้าได้แก่ นกเขา เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรี นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกกิ้งโครง นกขุนทอง นกแซว นกนางแอ่น นกยูง นกตะขาบ นกหัวขวาน นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า    สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ เต่า กบ เขียด 
• สัตว์เลื้อยคลานที่พบเห็นบนภูชี้ฟ้าได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน
แหล่งท่องเที่ยววนอุทยานภูชี้ฟ้า 
• ภูชี้ฟ้าเป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,628 เมตร ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชัน เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรมบริเวณบ้านร่มฟ้าทองทางห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้าเพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือ ออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม (เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบภูชี้ฟ้าจะออกดอกบานเต็มเชิงเขา
การเดินทาง 
• รถยนต์ ภูชี้ฟ้าอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังภูชี้ฟ้าได้ตามแนวเส้นทางดังนี้ 
   1.จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึงภูชี้ฟ้า
   2.ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ผ่านจุดท่องเที่ยวได้แก่ น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) และศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ทดลองและส่งเสริมปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทิวลิป ลิลลี่
• จากภูชี้ฟ้าสามารถเดินทางไปยังดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1093 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร และจากดอยผาตั้งยังสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายได้อีกด้วย
บ้านพัก-บริการ 

น้ำตกสร้อยสวรรค์ อยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม ภายในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2112 ห่างจากอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่ไหลจากหน้าผาสูงชันสองด้าน ซึ่งเกิดจากลำห้วยสร้อยและลำแซไผ่ ตกลงมาบรรจบกันคล้ายสายสร้อย ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง สูงประมาณ 20 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี เป็นน้ำตกที่มีคนนิยมไปเที่ยวกันมาก นอกจากนี้ บริเวณน้ำตกยังมีต้นไม้และดอกไม้ป่า ช่วยเสริมบรรยากาศความงามของน้ำตกแห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์แม่น้ำโขง ผืนป่าและหน้าผาหินฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน ฤดูที่น่าเที่ยวควรจะเป็นหลัง
ฤดูฝนใหม่ๆ เพราะจะมีน้ำมาก
น้ำตกสร้อยสวรรค์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร เกิดจากลำน้ำห้วยสร้อยและแซไผ ไหลตกจากยอดเขาแล้วไหลมาบรรจบกัน มองดูลักษณะคล้ายสายสร้อยจึงได้ชื่อว่า “น้ำตกสร้อยสวรรค์” ตัวน้ำตกตั้งอยู่ห่างจากจุดชมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มประมาณ 15 กิโลเมตร ควรเดินทางมาเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือมากับคณะทัวร์จะสะดวกกว่า เมื่อมาถึงจุดตรวจบริเวณน้ำตกสร้อยสวรรค์จะต้องจอดรถเอาไว้ภายในบริเวณที่กำหนด แล้วเดินเท้าต่ออีกประมาณ 500 เมตร ผ่านถนนลาดยางที่โอบล้อมไปด้วยดงไผ่ทึบสองข้างทางและลงบันไดซึ่งรายรอบไปด้วยหมู่แมกไม้สีเขียวขจีสู่ตัวน้ำตก ช่วงแรกคุณจะได้พบกับน้ำตกซึ่งไหลรินเป็นสายยาวสวยงามตกลงมาจากแนวผาหน้าตัด ด้านหน้ามีแอ่งน้ำตื้นเล็กๆมากมายเรียงรายไปตามแนวทางไหลของสายน้ำ หากค่อยๆเดินด้วยความระมัดระวังข้ามแอ่งน้ำนี้ไปยังฝั่งตรงข้ามคุณจะได้พบกับความสวยงามของน้ำตกสร้อยสวรรค์ช่วงที่สอง มองลงมาทางด้านล่างซ้ายมือจะเห็นสายน้ำซึ่งลัดเลาะผ่านแอ่งน้ำเล็กๆและโขดหินที่คุณเพิ่งเดินข้ามมาไหลลงไปยังแอ่งน้ำขนาดใหญ่กลายเป็นน้ำตกเล็กๆอีกหนึ่งชั้นเบื้องล่าง บางครั้งจะได้พบกับกลุ่มเด็กตัวน้อยๆมากระโดดน้ำเล่นบริเวณน้ำตกเล็กๆด้านล่างนี้

จังหวัดจันทบุรี หรือเรียกอีกชื่อว่า เมืองจันท์ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น พริกไทย ยางพารา เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมการผจญภัยและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทั้งการเดินป่า การขี่จักรยานเสือภูเขา และการล่องแก่ง เป็นต้น
• จันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด (อายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี) ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ และที่ราบเชิงเขา ที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน
เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรกที่บริเวณหน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ “ชาวชอง” (ชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าตะวันออก บริเวณจันทบุรี ตราด ระยอง โดยเฉพาะเขตป่ารอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งรง (คือ ชื่อยางไม้ที่ได้จากต้นไม้ ใช้ทำยา) ครั่ง (คือ ชื่อเพลี้ยหอยชนิดหนึ่ง) ขี้ผึ้ง กระวาน ไม้กฤษณา หวาย จันท์ขาว อบเชยป่า ขมิ้นหอม น้ำมันยางเร่ว (เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ผลใช้ทำยา) ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลง เพราะถูกหักร้าง เพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน การเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นายพรานไพรต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแรงงาน ในเมือง หรือบางส่วนยังคงทำสวนทำนากันอยู่ (ปัจจุบันชาวชองส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ)
• ต่อมา พ.ศ. ๒๒๐๐ ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา ๕ เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน ๕,๐๐๐ คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง ที่มีความเกี่ยวข้องหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น
• ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวงซึ่งอยู่ในที่สูงเพื่อเป็นที่มั่นในการป้องกันการถูกรุกรานของญวณ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิมเนื่องจากบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้นานถึง ๑๑ ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา
• ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖,๓๓๘ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอกับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดตราดและราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

การเดินทาง • รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๕ เส้นทาง ได้แก่
๑.เส้นทางที่ ๑ ทางหลวงหมายเลข ๓ เป็นเส้นทางสายเก่า เริ่มต้นที่บางนา-กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดชลบุรี-บางแสน-ศรีราชา-พัทยา-สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี ระยะทาง ๓๓๐ กิโลเมตร
๒.เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๖ เป็นเส้นทางสายหลักในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ กิโลเมตรที่ ๑๔๐ ถนนสุขุมวิท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกกระทิงลาย ผ่านสนามแข่งรถพีระเซอร์กิต และสิ้นสุดที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๑๐๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๓๐๘ กิโลเมตร
๓.เส้นทางที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๓๔๔ เส้นบ้านบึง-แกลง เป็นเส้นทางสายหลักอีกหนึ่งสาย ซึ่งช่วยลดระยะทางได้ถึง ๗๐ กิโลเมตร เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๙๘ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๑๑๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๕๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๒๖๖ กิโลเมตร
๔.เส้นทางเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออก เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๒๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เลี้ยวขวากิโลเมตรที่ ๒๓๐ จังหวัดสระแก้ว เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ ระยะทาง ๑๘๙ กิโลเมตร ผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม จนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางจากอำเภอกบินทร์บุรี-จังหวัดจันทบุรี ๒๑๙ กิโลเมตร
๕.เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ เริ่มต้นที่ถนนศรีนครินทร์ ทางหลวงหมายเลข ๗ กรุงเทพฯ สิ้นสุดที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๖ ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร และทางหลวงหมายเลข ๓ อีก ๑๐๘ กิโลเมตร รวมระยะทางกรุงเทพฯ -จันทบุรี ๒๔๘ กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง
• รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๓๕๗
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๕๑๗๙ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๔๗๖, ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๗๘
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๓
รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท เช่นกัน แต่ไม่มีรอบที่แน่นอน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔
• รถออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ถนนกำแพงเพชร
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๒๕๖-๗
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๘๘๘, ๐ ๒๙๓๖ ๓๙๓๙
     นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากจันทบุรีไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ นครราชสีมา ตราด ระยอง สระแก้ว สระบุรี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตาก รายละเอียดติดต่อสถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
• 
ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอท่าใหม่ ๑๑ กิโลเมตร
อำเภอมะขาม ๑๒ กิโลเมตร
อำเภอขลุง ๒๔ กิโลเมตร
อำเภอแหลมสิงห์ ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอนายายอาม ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอโป่งน้ำร้อน ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอสอยดาว ๗๒ กิโลเมตร
อำเภอแก่งหางแมว ๗๘ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ ๓๐ กิโลเมตร
• 
ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังจังหวัดต่าง ๆ
ตราด ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๑๐ กิโลเมตร
พัทยา ๑๗๕ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๓๙๓๓ ๐๑๐๓
สถานีขนส่ง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๙๙
โรงพยาบาลขลุง โทร. ๐ ๓๙๔๔ ๑๖๔๔
โรงพยาบาลเขาสอยดาว โทร. ๐ ๓๙๓๘ ๑๓๗๖-๗
โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๑๔๖๗-๗๐
โรงพยาบาลท่าใหม่ โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๑๐๐๑-๒
โรงพยาบาลสิริเวช โทร. ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๓๙, ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๔๔-๔๕
โรงพยาบาลพระปกเกล้า โทร. ๐๓๙๓๒ ๔๙๗๕
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๑๑๑
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว (สทจ.) โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๒๕๖๗
ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๔
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลางเขต ๔
๑๕๓/๔ ถนนสุขุมวิท ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๒๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑, ๐ ๓๘๖๖ ๔๕๘๕ โทรสาร ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๒ พื้นที่ความรับผิดชอบ : ระยอง จันทบุรี

วนอุทยานป่ากลางอ่าว ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากลางอ่าว ท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2517 มีเนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
    ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบตลอดพื้นที่ ดินร่วนปนทรายอยู่ใกล้ชายทะเลพื้นที่อยู่ใกล้ชายทะเล น้ำไม่ท่วมขัง เวลาฝนตกน้ำจะไหลซึมลงดินหมดผิวหน้าดินจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี เนื่องจากมีสภาพป่าปกคลุมพื้นที่
ลักษณะภูมิอากาศ
    ลักษณะสภาพอากาศมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดฤดูฝนในฤดูหนาวอากาศหนาวเล็กน้อย
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
    ชนิดของป่าเป็นป่าดงดิบ มีไม้ยางขึ้นอยู่เป็นส่วนมาก รองลงมาเป็นไม้พะยอม ตะเคียน ไม้พันลำ ตามลำดับ ส่วนไม้พื้นล่างมีไม้เปล้าเป็นส่วนมาก และพันธุ์ไม้กระยาเลยอื่น ๆ ขึ้นอยู่หลายชนิดรวมทั้งไม้ไผ่และพืชจำพวกปาล์ม ตลอดจนหญ้าต่าง ๆ ขึ้น อยู่โดยทั่ว ๆ ไป การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ป่าดีพอประมาณ เนื่องจากมีความชุ่มชื่นดีมาก
   สัตว์ป่า มีเฉพาะสัตว์เล็ก ๆ ได้แก่ กระรอก กระแต แย้ จิ้งเหลน นกกางเขนบ้าน นกตะปูด นกปะหลอด และงูต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ 

   วนอุทยานป่ากลางอ่าว ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานป่ากลางอ่าวโดยตรง
การเดินทาง 
   รถยนต์ เดินทางโดยรถยนต์สายปากคลอง บางสะพาน วนอุทยานป่ากลางอ่าวนี้อยู่ใกล้ทะเลระยะทางจากทะเลประมาณ 500 เมตร ตลอดทั้งมีถนนทางรถยนต์ 2 ด้าน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้และทางทิศตะวันตก วนอุทยานป่ากลางอ่าวห่างจากอำเภอบางสะพานประมาณ 2 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ 
   วนอุทยานป่ากลางอ่าว สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

อำเภอบ้านฉาง
• 
หาดพยูนและหาดพลา หาดพยูน ห่างจากหาดพลา ๓ กิโลเมตร เป็นหาดที่มีความสวยงาม และสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ส่วน หาดพลา อยู่ห่างจากตัวเมืองระยอง ๓๕ กิโลเมตร เป็นชายหาดที่เงียบสงบ มีสวนสนปลูกไว้หนาแน่น และร่มรื่น มีโรงแรม และบังกะโลให้เลือกพักหลายแห่ง
อำเภอแกลง
• 
สวนวังแก้ว ห่างจากตัวเมืองระยองประมาณ ๓๘ กิโลเมตร อยู่เลยสวนสนไปตามถนนเลียบชายทะเลประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ภายในบริเวณมีสวนป่าธรรมชาติ และสวนไม้ดอกไม้ประดับ หาดทราย และอ่าวที่มีทัศนียภาพสวยงาม มีบ้านพัก และเต็นท์บริการ มีจักรยานให้เช่าสำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ผู้ที่สนใจจะเข้าชมเสียค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่ ๑๐ บาท เด็ก ๕ บาท เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๘๖๓ ๘๐๖๗-๘ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๒๕๙ ๔๑๕๐-๑
• 
แหลมแม่พิมพ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองระยอง ๔๘ กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิทมีทางแยกขวาไปแหลมแม่พิมพ์ถึง ๓ แห่งด้วยกัน คือ กิโลเมตรที่ ๒๕๙.๕ กิโลเมตรที่ ๒๖๓ และกิโลเมตรที่ ๒๖๘ ผ่านอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไปอีก ๕ กิโลเมตร หรือห่างจากวังแก้ว ตามถนนเลียบชายหาดไปอีก ๑๑ กิโลเมตร บริเวณชายหาดแม่พิมพ์เล่นน้ำได้ คลื่นไม่แรง มีบริการบ้านพัก และร้านอาหารตลอดแนวชายหาดด้วย
• 
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ อยู่เลยแหลมแม่พิมพ์ทางไปอำเภอแกลงประมาณ ๕ กิโลเมตร บนเส้นทางแกลง-แหลมแม่พิมพ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อนุสาวรีย์นี้เปิดเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓ บริเวณอนุสาวรีย์มีรูปปั้นของตัวละครเอกในเรื่องพระอภัยมณีจัดแสดงไว้ด้วย
• 
วัดสารนารถธรรมาราม อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๖๕ ถนนสุขุมวิท ตำบลทางเกวียน ปากทางเข้าอำเภอแกลง แยกซ้ายเข้าไปประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ มีมหาอุโบสถปูชนียสถานที่สวยงาม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป องค์พระประธานจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก บริเวณมุมกำแพงแก้วรอบอุโบสถทั้ง ๔ ได้จำลองเอาพระพุทธเจดีย์ที่สำคัญของแต่ละภาคไว้ คือ พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง และพระบรมธาตุไชยา
• 
หมู่เกาะมันเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเขตตำบลกร่ำ หมู่เกาะมันมีอยู่ ๓ เกาะ คือ เกาะมันใน เกาะมันกลาง และเกาะมันนอก
• 
เกาะมันใน มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๑ ไร่ มีอ่าวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวต้นมะขาม อ่าวหินโขดหญ้า อ่าวโกงกาง และอ่าวหน้าบ้าน โดยเฉพาะที่อ่าวหน้าบ้านมีปะการังที่สวยงาม ส่วนอ่าวโกงกางมีทรายเรียบ เกาะมันในมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล มีพันธุ์เต่าตนุ และเต่ากระ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เปิดให้เข้าชม เวลา ๘.๐๐–๑๘.๐๐ น.
เกาะมันในอยู่ห่างจากแหลมแม่พิมพ์ ๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๓๐ นาที สามารถเช่าเรือจากแหลมแม่พิมพ์ หรืออ่าวมะขามป้อมก็ได้ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลตะวันออก เกาะมันใน โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๖๐๙๖, ๐ ๓๘๖๕ ๗๔๖๖
• 
เกาะมันกลาง และเกาะมันนอก เป็นเกาะที่มีหาดสวยงาม เงียบสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนมีบ้านพักของเอกชนบริการ

จังหวัดระยองตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑๗๙ กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๓,๕๕๒ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับที่ดอนและเนินเขา เป็นแหล่งอาหารทะเล มีสวนผลไม้และพืชไร่นานาชนิด เป็นเมืองอุตสาหกรรม และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง อำเภอบ้านค่าย อำเภอบ้านฉาง อำเภอปลวกแดง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเขาชะเมา และกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา
     ระยอง เริ่มปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๓ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่ง กรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๕๐๐ ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ ปรากฏจากหลักฐาน คือซากศิลาแลง คูค่ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม
     ประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองระยอง ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยของ พระเจ้าเอกทัศน์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๙ พระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ ๕๐๐ คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยองก่อนเดินทัพต่อไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการกอบกู้อิสรภาพคืน จากพม่าในปีพุทธศักราช ๒๓๑๑

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อเขตอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อทอง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อเขตอำเภอสัตหีบ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
การเดินทาง
• 
รถยนต์ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
• 
เส้นทางแรก ทางหลวงหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางปู อำเภอบางปะกง จังหวัดชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา หาดจอมเทียน สัตหีบ อำเภอบ้านฉาง ไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา-ตราด) เริ่มจากตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อำเภอบางนา ผ่านอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข ๓ ที่กิโลเมตรที่ ๗๐ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นจะผ่านเส้นทางเดียวกันกับเส้นทางที่ ๑ รวมระยะทางประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๓๖ (บายพาส ๓๖) จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ ๒ จนถึงกิโลเมตรที่ ๑๔๐ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๖ จากนั้นให้เดินทางต่อไปยังจังหวัดระยอง ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ ๒๑๐ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๔ ทางหลวงหมายเลข ๓๔๔ (ถนนสายบ้านบึง-แกลง) เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง หนองใหญ่ วังจันทร์ และสิ้นสุดที่อำเภอแกลง รวมระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร (กรุงเทพฯ-ชลบุรี ๘๐ กิโลเมตร) เส้นทางนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอแกลง หรือเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี หรือจังหวัดตราด และหากต้องการที่จะเดินทางเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓ โดยย้อนกลับมาอีกประมาณ ๔๒ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๕ ทางหลวงหมายเลข ๗ (สายมอเตอร์เวย์) เริ่มจากถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๖ เป็นระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ ๑๗๕ กิโลเมตร
• 
รถโดยสารประจำทาง จาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) มีรถประจำทางไปจังหวัดระยอง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-ระยอง, บ้านเพ, แกลง, แหลมแม่พิมพ์, มาบตาพุด, ประแสร์ เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔ สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๓๗๙ และมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ได้แก่ บริษัท ระยอง ทัวร์ โทร. ๐ ๒๗๑๒ ๓๖๖๒ สาขาระยอง โทร. ๐ ๓๘๘๖ ๑๓๕๔-๕ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗ สาขาระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๗ ๔๑๔๔
• 
จากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศชั้น ๒ หมอชิต-ระยอง ออกทุก ๑ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๑๖.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๔๑ ส่วนรถปรับอากาศที่ใช้เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ออกตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๒๑.๐๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๒ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท รัตนมงคล ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๑๒๑๖ สาขาระยอง โทร. ๐ ๓๘๘๖ ๑๓๕๔-๕
• การเดินทางไปยังจังหวัดอื่น ๆ
มีบริการรถประจำทางออกจากสถานีขนส่งจังหวัดระยองไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา เชียงใหม่ หนองคาย อุบลราชธานี เป็นต้น สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๓๗๙
• การเดินทางภายในจังหวัดระยอง
การเดินทางภายในจังหวัดส่วนใหญ่ใช้รถสองแถวจากบริเวณสถานีขนส่งระยองไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ สายระยอง-มาบตาพุด-บ้านฉาง, ระยอง-บ้านค่าย, ระยอง-หาดแม่รำพึง-บ้านก้นอ่าว, ระยอง-ปากน้ำระยอง, ระยอง-บ้านเพ-สวนสน-แหลมแม่พิมพ์, ระยอง-แกลง (สามย่าน) อัตราค่าโดยสารระหว่าง ๕-๒๐ บาท
• ระยะทางจากจังหวัดระยองไปอำเภอต่าง ๆ
บ้านค่าย ๑๑ กิโลเมตร
บ้านเพ ๑๙ กิโลเมตร
บ้านฉาง ๒๗ กิโลเมตร
แหลมแม่พิมพ์ ๔๕ กิโลเมตร
ปลวกแดง ๔๖ กิโลเมตร
แกลง ๔๗ กิโลเมตร
วังจันทร์ ๗๐ กิโลเมตร
เขาชะเมา ๗๔ กิโลเมตร
• 
ระยะทางจากจังหวัดระยองไปอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง
สนามบินอู่ตะเภา ๓๕ กิโลเมตร
พัทยา ๖๐ กิโลเมตร
ชลบุรี ๙๘ กิโลเมตร
จันทบุรี ๑๑๐ กิโลเมตร
ตราด ๑๗๙ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๓๘๖๙ ๔๑๐๑
ศาลากลางจังหวัด โทร. ๐ ๓๘๖๙ ๔๐๐๐
สถานีเดินรถประจำทาง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๓๗๘-๙
โรงพยาบาลระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๗๔๕๓-๖๐
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๑๑๑
ตำรวจทางหลวง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๒๐๓, ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๑๖๖๙, ๑๑๕๕
สถานีอุตุนิยมวิทยา โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๐๗๕
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลาง เขต ๔
๑๕๓/๔ ถนนสุขุมวิท ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๒๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑, ๐ ๓๘๖๖ ๔๕๘๕ โทรสาร ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๒ E-mail : tatryong@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: ระยอง จันทบุรี

วนอุทยานน้ำตกรามัญ อยู่ในท้องที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2526
ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบริเวณน้ำตกรามัญ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนติดต่อกัน พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตร ดินเป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินปูน มีหินทรายและหินแกรนิตปนบ้างเล็กน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ 
   ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม รวม 8 เดือน แต่ช่วงที่มีฝนตกชุกคือระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า 
   ป่าบริเวณน้ำตกยังสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นเหลืออยู่เฉพาะบริเวณลำห้วยเท่านั้น เหนือขึ้นไปส่วนใหญ่ป่ามีสภาพเสื่อมโทรม ถูกบุกรุกแผ้วถางทำสวนเกือบหมด พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยาง ยูง เสียดช่อ ส้าน เป็นต้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก กล้วย ป่าเฟิร์น และบอน
   สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า กระจง เก้ง อีเห็น กระรอก และนกชนิดต่างๆ
ที่พักและบริการ
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกรามัญโดยตรง
การเดินทาง
   รถยนต์ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอตะกั่วทุ่งประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 874 แยกเข้าทางแยกซ้ายมือตามถนนลูกรังไปประมาณ 6 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ 
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ หมู่ 6 บ้านหินสามก้อน ต.กระโสม อ. ตะกั่วทุ่ง จ. พังงา 82130 โทรศัพท์ 0 7535 6134, 0 7635 6780

     วนอุทยานพนมสวาย อยู่ในท้องที่ตำบลบัว อำเภอเมือง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสวาย ซึ่งประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 555 (พ.ศ.2516) มีเนื้อที่ประมาณ 2,475 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2527


ลักษณะภูมิประเทศ

   พื้นที่เป็นภูเขาขนาดเล็ก 2 ลูกอยู่ติดกันเรียกรวมว่า พนมสวาย พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ลาดจากเขาไปทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกค่อนข้างลาดชัน เป็นภูเขาหินที่ลาดห่างจากเขาด้านล่าง ทิศตะวันออกมีการขุดระเบิดหินเป็นบางส่วน มีทำนบกั้นเป็นอ่างเก็บน้ำ 2 แห่งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีฝายน้ำล้น 1 แห่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
   สภาพภูมิอากาศในบริเวณป่าพนมสวายแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
   สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นไม่หนาแน่น ต้นไม้มีขนาดเล็กแคระแกร็น มีไม้ขนาดกลางอยู่บ้าง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง ติ้ว แต้ว กราด แดง ชัยพฤกษ์ มะขามป้อม กว้าว เป็นต้น
   สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระรอก กระต่ายป่า สัตว์ปีกมีบ้างแต่ไม่มากนักได้แก่ นกกระเต็น บ่าง นกกระทาดง นกกวัก นกกระปูด นกกางเขนดง นกเขาหลวง นกเป็ดน้ำและนกเหยี่ยว
บ้านพัก-บริการ
   วนอุทยานพนมสวายไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานพนมสวายโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
   วนอุทยานพนมสวาย มีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่ประชาชนเลื่อมใสมากและเป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์ สวยงามที่ประชาชนนิยมไปพักผ่อนหย่อนใจและ อยู่ไม่ไกลจากชุมชนมากนัก สะดวกแก่การคมนาคม
การเดินทาง
   รถยนต์ การเดินทางจากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สะดวกมากโดยไปทางรถยนต์ สายสุรินทร์-ปราสาท ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร และทางลูกรังอัดแน่น 6 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเมืองถึงวนอุทยานพนมสวาย ประมาณ 20 กิโลเมตร
การติดต่อ
   วนอุทยานพนมสวาย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นป่าที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่านที่สำคัญคือ ลำห้วยแม่หาด ลำห้วยแม่ก้อและทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามโดยเฉพาะพื้นที่ป่าตั้งอยู่ทาง ฝั่งซ้ายของลำน้ำปิงตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีเนื้อที่ประมาณ 627,346 ไร่ หรือ 1,003.7536 ตารางกิโลเมตร
   เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสภาจังหวัดลำพูน ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 เสนอแนะให้จังหวัดลำพูน จัดตั้งวนอุทยานขึ้นครอบคลุมบริเวณจุดท่องเที่ยวต่างๆ ในป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด-ป่าแม่ก้อ ท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อจะได้เข้าไปควบคุมและจัดระเบียบกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนใน พื้นที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งทางสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ได้ให้ นายเฉลียว นิ่มนวล ไปสำรวจพื้นที่และมีความเห็นควรจัดเป็นวนอุทยานขึ้น จึงรายงานให้กรมป่าไม้ดำเนินการ ประกอบกับทางจังหวัดลำพูนได้เสนอให้กรมป่าไม้จัดพื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติเช่นกัน ตามรายงานการสำรวจของ นายจีรเดช บารมี เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ประจำอำเภอลี้ ดังนั้นในเดือนธันวาคม 2522 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่ง ที่ 2294/2522 ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า พื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงามดีและมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกก้อหลวง ทุ่งหญ้า มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ที่ กส 0708(มก)/51 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523
   กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 ให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่หาดและป่าแม่ก้อ ในท้องที่ตำบลดอยเต่า ตำบลโป่งทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลแม่ลาน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านนา ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 626,875 ไร่ หรือ 1,003 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศ
   อนึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งได้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่หาด-แม่ก้อ ต่อมาเมื่อ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมป่าไม้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เพราะแนวเขตอุทยานแห่งชาติซีกซ้ายทั้งหมดครอบคลุมลำน้ำแม่ปิง ซึ่งเป็นเส้นน้ำสายใหญ่ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นจุดเด่นที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ
   ต่อมาได้มีการขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 ในท้องที่ตำบลแม่ลาน และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระยะทาง 14.198 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 471 ไร่ หรือ 0.7536 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้สามารถควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการลัดลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537
ลักษณะภูมิประเทศ
   ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดแนวจากทิศเหนือในเขตพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จรดทิศใต้บริเวณตอนเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ภูเขาส่วนใหญ่มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ “ดอนห้วยหลาว” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสูงประมาณ 1,238 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยขุนเม่น ห้วยไคร้ เป็นต้น ห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลลงสู่ลำน้ำปิงที่ทอดยาวตลอดแนวเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันตก
   สำหรับพื้นน้ำส่วนที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เริ่มจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลัดเลาะตามหุบเขา โตรกผา ลงมาทางทิศใต้จนถึงตอนบนของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยของลำน้ำแม่ปิงประมาณ 500 เมตร ความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของลำน้ำแม่ปิงในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่ทางตอนใต้บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร โดยทั่วไปชาวบ้านเรียกว่า “บ่อลม” และ “พระบาทห้วยห้าง”
ลักษณะภูมิอากาศ
   โดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียงของจังหวัดในภาคเหนือ แต่เนื่องจากลักษณะความสูงต่ำของภูมิประเทศและการมีป่าปกคลุมพื้นที่เป็น บริเวณกว้าง ภูมิอากาศบางส่วนจึงแตกต่างไปจากบริเวณโดยรอบอยู่บ้าง โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ตอนบนของอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิตอนล่างของพื้นที่บริเวณเขื่อนภูมิพลและเขตจังหวัดตากจะสูง กว่าเล็กน้อยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฝนตกในบริเวณทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากกว่าทางตอนใต้ เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,060-1,184 มิลลิเมตรต่อปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
   พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามเทือกเขาที่เป็นดินปนทรายและมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่เหลือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นป่าดงดิบขึ้นอยู่เป็นพื้นที่แคบๆ ตามหุบเขาและริมลำห้วย
   ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่มากที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง พบอยู่ทั่วไปทั้งในที่ราบ ตามลาดเขาสูงชัน และบนสันเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 450-1,000 พันธุ์ไม้ที่พบบ่อย ได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง มะขามป้อม พลวง กุ๊ก รกฟ้า มะกอกเกลื้อน แสลงใจ ผักหวาน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้ง ปรง กวาวเครือ กล้วยไม้ดิน และหญ้าชนิดต่างๆ
   ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นไปทั่วทั้งในที่ราบและตามลาดเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 450-800 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก แดง กระพี้เขาควาย มะกอกเกลื้อน กระพี้จั่น ประดู่ ตะคร้อ เก็ดแดง ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เสี้ยวป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล ไผ่หนาม เป้ง กวาวเครือ ถั่ว ปอยาบ เป็นต้น ในบริเวณของป่าผลัดใบทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ กระต่ายป่า เก้ง กวางป่า วัวแดง ไก่ป่า นกกระทาทุ่ง นกคุ่ม นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานตะโพกแดง นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แย้ ตะกวด และงูกะปะ เป็นต้น
   ป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง กระบก มะกอก และสมอพิเภก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหลบซ่อนตัวของหมีควาย กวางป่า วัวแดง ลิงลม ลิงวอก ชะนีมือขาว กระรอก นกกาฮัง นกแก๊ก นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ และนกเขียวคราม ในบริเวณทุ่งหญ้า เช่น ทุ่งกิ๊ก และทุ่งนางู ซึ่งเป็นที่ราบบนเนินเขา สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 550 เมตร ดินเป็นดินปนทรายหรือลูกรัง มีความลึกพอสมควร มีไฟป่าเกิดเป็นประจำ มีไม้ยืนต้นขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ ได้แก่ รักขาว รกฟ้า และสมอไทย ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ เป้ง หญ้าคา ถั่ว และกระเจียว เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น กระจ้อน กระแต อ้นเล็ก เก้ง หมูป่า เม่นใหญ่แผงคอสั้น ชะมด อีเห็น นกปรอดสวน นกปรอดก้นแดง นกกะติ๊ดขี้หมู เหยี่ยวขาว นกคุ่มอืด นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน คางคกบ้าน เขียดหนอง อึ่งอี๊ดต่างๆ เป็นต้น ตามบริเวณยอดเขา หลืบผา ถ้ำ และหน้าผาหินปูน เป็นที่อาศัยของเลียงผา กวางผา เม่นใหญ่แผงคอสั้น อ้นใหญ่ ลิงวอก ชะมด อีเห็น กระรอก ค้างคาว และเป็นที่สร้างรัง วางไข่ของเหยี่ยวชนิดต่างๆ และนางแอ่นตะโพกแดง ในบริเวณริมฝั่งน้ำ พื้นที่ชายน้ำ หรือในแหล่งน้ำเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนากใหญ่ พังพอนกินปู เสือปลา เหี้ย นกอีล้ำ เป็ดแดง นกกระสานวล นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางเขียว นกกวัก เต่าหวาย ตะพาบน้ำ งูลายสอ เขียดหนอง เขียดหลังเขียว ปลารากกล้วย ปลาก้าง ปลาดุก ปลาไหล เป็นต้น
   สัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามริมฝั่งแม่น้ำปิง เช่น เก้ง วัวแดง หมูป่า หมีควาย เลียงผา กวางผา เสือปลา ไก่ป่า ชะมดเช็ด ลิง ค่างเทา ชะนี หมาจิ้งจอก กระต่ายป่า กระรอก นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ ทั้งนกประจำถิ่น และย้ายถิ่นอีกมากมายภายในเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ เช่น ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาบู่ ปลาแรด เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
   น้ำตกก้อหลวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่ง ชาติประมาณ 22 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าไปถึง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างดีของชาวจังหวัดลำพูนและจังหวัด ใกล้เคียง น้ำตกก้อหลวงเป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ ไหลผ่านหินดินดานเทาดำและหินทรายของหน้าผาที่มีความสูงต่างระดับกันลดหลั่น กันลงมามีทั้งหมด 7 ชั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีหินปูนและมีน้ำไหลตลอดปี จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยมากมาย และมีความสวยงามตามธรรมชาติ บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่สะอาดไม่มีสิ่งใดรบกวน ทำให้มีปลาชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย
   ทุ่งกิ๊ก อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 14 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างใหญ่ซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเต็งรังและป่า เบญจพรรณ อยู่ด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวก เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ มากมาย ในช่วงฤดูแล้งดอกไม้ป่าหลายชนิดจะพากันบานเต็มทุ่งกิ๊ก สวยงามน่าชมมาก
   บริเวณทุ่งกิ๊กนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ ชื่นชอบกิจกรรมดูนก ซึ่งมีนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกระทาทุ่ง ฯลฯ จากบริเวณทุ่งกิ๊กเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร จะพบน้ำตกก้อน้อย ซึ่งเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน ระหว่างทางจะพบกับดงเถาวัลย์ที่สวยงาม
   ห้วยถ้ำ อยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวที่อยู่ริมฝั่งลำน้ำแม่ปิง ที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติบริเวณอ่างเก็บน้ำดอยเต่าได้อย่างสวยงาม การเข้าถึงสะดวก สามารถรถยนต์สามารถเดินทางเข้าไปถึงบริเวณดังกล่าวได้
   ผาดำ-ผาแดง มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยป่าธรรมชาติที่ยังไม่มีการทำลาย จากจุดดังกล่าวสามารถมองเห็นทัศนียภาพชัดเจนระยะไกล การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าเท่านั้น
   ถ้ำยางวี อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก เป็นที่อาศัยของค้างคาว เม่น และเลียงผา การเดินทางเข้าไปชมต้องใช้ไฟฉายหรือส่องนำทางเข้าไป ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำยางวีมีป่าที่มีลักษณะเป็นป่าสนเขา มีลักษณะธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามเรียกว่า “ป่าพระบาทยางวี” ซึ่งเหมาะแก่การอยู่ค่ายพักแรมของผู้รักธรรมชาติและการผจญภัย การเดินทางไปถึงได้เฉพาะการเดินเท้าเท่านั้น
   แก่งก้อ เป็นบริเวณอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดตั้งที่ทำการหน่วยพิทักษ์แห่งชาติที่ มป.2 (แก่งก้อ) ที่บริเวณแก่งก้อ และจัดสร้างที่พักเรือนแพไว้บริการ จากจุดที่พักแก่งก้อซึ่งอยู่ช่วงกลางระหว่างอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ผู้ไปเที่ยวสามารถนั่งเรือชมความงามของหน้าผาหินปูน ทิวทัศน์ที่สวยงามสองฟากฝั่ง และสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย เช่น น้ำตกอุ้มแป น้ำตกอุ้มปาด เกาะคู่สร้าง-คู่สม ผาเต่า ผาพระนอม ผาคันเบ็ด แก่งสร้อย ถ้ำแก่งสร้อย พระธาตุแก่งสร้อย ถ้ำช้างร้อง พระบาทบ่อลม เขื่อนภูมิพล เป็นต้น
   ผาแมว เป็นผาสูงชันริมแม่น้ำปิงบรรยากาศสงบร่มรื่น เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่ดีอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับกิจกรรมไต่หน้าผา
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
   มีบ้านพัก เรือนแพ สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ ไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
   มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
การเดินทาง
   รถยนต์ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนโดยมีทางแยกจากถนนพหลโยธิน บริเวณอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เข้าไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 (ลี้-ก้อ) โดยที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนบริเวณ หลักกิโลเมตรที่ 20-21
   เนื่องจากภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นน้ำตามลำน้ำปิงยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีสภาพเป็นเกาะ แก่ง หน้าผา หินงอกหินย้อย ตามสองฝั่งแม่น้ำเป็นจำนวนมาก การเดินทางสามารถเดินทางได้จากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านลำน้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก หรือจะเดินทางจากอำเภอสามเงา จังหวัดตากไปยังอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้

ประวัติความเป็นมา พื้นที่ที่สำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งในเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกยาวไปทางทิศตะวันตก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 5 ลิบดาเหนือถึง 14 องศา 22 ลิบดาเหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิบดาตะวันออก ถึง 103 องศา 14 ลิบดาตะวันออก หรือบริเวณของด้านทิศใต้ของที่ราบสูงโคราช มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ไร่ โดยครอบคลุมเนื้อที่ 2 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว และบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 380 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย
ลักษณะภูมิประเทศ
     เป็นเทือกเขาสูงจากเทือกเขาบรรทัดตลอดแนวจนไปถึงเทือกเขาพนมดงรักเป็น แนวเขตติดต่อระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ตั้งแต่หลักเขตประเทศที่ 24 ถึง หลักเขตที่ 28 วางตั้งในแนวทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 206 เมตร ถึง 579 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาพรานนุช ความสูง 579 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันเฉลี่ยทั้งพื้นที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ บริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 100-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของภูมิภาคนี้มักอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม ตะวันออกเฉียงใต้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดพามาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนวัดได้ระหว่าง 100 มิลลิเมตร ถึง 140 มิลลิเมตร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาพนมดงรักจะปะทะกับลมมรสุม และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านที่รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูกาลมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูงสุดประมาณ 39.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 14.3 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
   ป่าเบญจพรรณ ป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ระดับความสูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปรากฏอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือ ในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง แดง ตะแบกใหญ่
   ป่าดิบแล้ง ป่าชนิดนี้อยู่พื้นที่ค่อนข้างราบ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี มักจะอยู่ในระดับความสูงประมาณ 100-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมง ยางนา พยอม ตะเคียนทอง
   ป่าเต็งรัง ป่าชนิดนี้อยู่ในพื้นดินทิศใต้และดินทิศเหนือบางส่วนอยู่กระจายกันในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เต็ง รัง และเหียง
   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือปลา วัวแดง กระทิง หมาไน แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอก กระรอกบิน กระแต เป็นต้น
   นก ที่พบเห็นได้แก่ นกพญาไท นกขุนแผน นกแก้ว นกเขาเขียว นกกางเขนดง นกหัวขวาน นกเหยี่ยว นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกขุนทอง เป็นต้น
   สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ
   ปลา ที่พบเห็นได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลากระทิง ปลาหมอ ปลาบู่ ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาซิว
แหล่งท่องเที่ยว
   อนุสาวรีย์เราสู้ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นด้วยความพร้อมใจของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสละชีพเพื่อชาติไทยป้องกันประเทศ นักท่องเที่ยวมักจะมาเยี่ยมชมและสักการะ ตั้งอยู่ตำบลโนนดินแดง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ การเดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068
   ศาลมีอักษร เขียนลงบนแผ่นดินแปรลายพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 5 ไว้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แวะมาสักการะ และชมวิวทิวทัศน์ซึ่งสวยงามมากตั้งอยู่บริเวณตำบลทัพราชอำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี
   ปราสาทเขาโล้น เป็นปราสาทเก่าแก่สมัยขอมโบราณตั้งอยู่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งประชาชนให้ความสนใจไปเยี่ยมชมจำนวนมากเดินทางโดยเส้นทาง ร.พ.ช.
   ช่องโอบก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีสภาพป่าดิบแล้งที่อุดมสมบูรณ์มากมีลำธารไหลตลอดปี สันนิษฐานว่ามีน้ำตกและมีสัตว์ป่าชุกชุมแต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยว เนื่องจากอาจจะได้รับอันตรายจากวัตถุระเบิด และการทำร้ายจากกองกำลังเขมรติดอาวุธช่องโอบก เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างคนไทยและคนกัมพูชา
   ปราสาทบายแบก เป็นประสาทหินเก่าแก่สมัยขอมตั้งอยู่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมมากตลอด เดินทางตามถนนทางหลวง แผ่นดินสาย 2121 และมาแยกที่ถนนสายโท 5
   แหล่งโลหะกรรม เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยขอมโบราณตั้งอยู่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนสนใจไปเที่ยวชมวัตถุโบราณกันมากเดินทางตามทางหลวง2121 และมาแยกถนนสายโท 7
   ปราสาททอง เป็นโบราณสถานสมัยขอม มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมจำนวนมาก ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีนักท่องเที่ยวมาชมยอดปราสาททองที่มีความงดงามมาก เดินทางตามถนนทางหลวงสาย 2121
   อ่างเก็บน้ำห้วยยาง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี มีทิวทัศน์รอบบริเวณอ่างสวยงามมากโดยเฉพาะสภาพป่าดิบแล้งที่ยังอุดมสมบูรณ์ มีประชาชนให้ความสนใจเข้าไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจตลอดทั้งปี การคมนาคมไปตามทางหลวงแผ่นดินสาย 3198
   อ่างเก็บน้ำลำนางรอง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่ตำบลลำนางรอง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์รอบอ่างสวยงามมาก สภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์มีประชาชนให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนตลอดปี มีชายหาดสำหรับเล่นน้ำเหมาะสำหรับท่องเที่ยวในวันสงกรานต์ การเดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068
   อ่างเก็บน้ำลำจังหัน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์สวยงามมาก สภาพป่าเป็นป่าดงดิบแล้งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนไปพักผ่อนหย่อนใจจำนวนมาก เดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068 แล้วไปแยกที่ทางหลวงจังหวัดระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
   ศูนย์เขมรอพยพไซท์ทู เป็นศูนย์รับประชาชนเขมรตั้งอยู่บริเวณบ้านทัพไทย ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี มีประชาชนสนใจไปท่องเที่ยวภายในศูนย์ฯ เดินทางโดยทางหลวงแผ่นดินสาย 3068 แล้วไปแยกที่อำเภอตาพระยา หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อไปตามทางหลวงจังหวัด
   อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ประชาชนสนใจไปพักผ่อนเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี เดินทางตามทางหลวงแผ่นดิน 3068 และเดินทางต่อโดยเส้นทาง ร.พ.ช.
   อ่างเก็บน้ำเมฆา เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองไม้งาม อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชาชนสนใจไปพักผ่อนเนื่องจากสภาพป่าดิบแล้งสมบูรณ์มีนักท่องเที่ยวตลอดปี เดินทางโดยเส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068
   ลานหินตัด เป็นลักษณะธรรมชาติที่สวยงามมาก ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีนักท่องเที่ยวสนใจไปเที่ยวชมมาก เดินทางตามเส้นทางหลวงสาย 2121 และเดินทางตามถนนตรี 4
   ลานกระเจียว เป็นลานหินที่มีดอกกระเจียวขึ้นสวยงามและมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งหนึ่ง ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2121 และแยกไปตามถนนสายตรี
สิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
   พื้นที่สำรวจอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 250 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 140 กิโลเมตร มีเส้นทางสำคัญที่ล้อมรอบพื้นที่สำรวจ ดังนี้ด
   1. ทางหลวงแผ่นดินสาย 3068 (อำเภออรัญประเทศ - อำเภอตาพระยา – อำเภอ ละหานทราย)
   2. ทางหลวงแผ่นดินสาย 3198 (อำเภอวัฒนานคร - อำเภอตาพระยา)
   3. ทางหลวงแผ่นดินสาย 2121 (อำเภอละหานทราย - อำเภอบ้านกรวด)
   4. ทาง ร.พ.ช. (บ้านสันรอชะงัน - บ้านโคกไม้แดง)
   5. ทาง ร.พ.ช. (บ้านโคกลาน - บ้านโคกกราด)
   6. ทาง ร.พ.ช. (บ้านสันติสุข - บ้านโนนดินแดง)
การติดต่อ
   อุทยานแห่งชาติตาพระยา ตู้ ปณ. 20 ต.ทัพราช อ.ตาพะยา จ.สระแก้ว 27180

บทความที่ได้รับความนิยม