Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

จังหวัดจันทบุรี หรือเรียกอีกชื่อว่า เมืองจันท์ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น พริกไทย ยางพารา เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมการผจญภัยและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทั้งการเดินป่า การขี่จักรยานเสือภูเขา และการล่องแก่ง เป็นต้น
• จันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด (อายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี) ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ และที่ราบเชิงเขา ที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน
เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรกที่บริเวณหน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ “ชาวชอง” (ชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าตะวันออก บริเวณจันทบุรี ตราด ระยอง โดยเฉพาะเขตป่ารอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งรง (คือ ชื่อยางไม้ที่ได้จากต้นไม้ ใช้ทำยา) ครั่ง (คือ ชื่อเพลี้ยหอยชนิดหนึ่ง) ขี้ผึ้ง กระวาน ไม้กฤษณา หวาย จันท์ขาว อบเชยป่า ขมิ้นหอม น้ำมันยางเร่ว (เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ผลใช้ทำยา) ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลง เพราะถูกหักร้าง เพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน การเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นายพรานไพรต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแรงงาน ในเมือง หรือบางส่วนยังคงทำสวนทำนากันอยู่ (ปัจจุบันชาวชองส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ)
• ต่อมา พ.ศ. ๒๒๐๐ ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา ๕ เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน ๕,๐๐๐ คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง ที่มีความเกี่ยวข้องหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น
• ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวงซึ่งอยู่ในที่สูงเพื่อเป็นที่มั่นในการป้องกันการถูกรุกรานของญวณ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิมเนื่องจากบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้นานถึง ๑๑ ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา
• ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖,๓๓๘ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอกับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดตราดและราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

การเดินทาง • รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๕ เส้นทาง ได้แก่
๑.เส้นทางที่ ๑ ทางหลวงหมายเลข ๓ เป็นเส้นทางสายเก่า เริ่มต้นที่บางนา-กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดชลบุรี-บางแสน-ศรีราชา-พัทยา-สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี ระยะทาง ๓๓๐ กิโลเมตร
๒.เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๖ เป็นเส้นทางสายหลักในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ กิโลเมตรที่ ๑๔๐ ถนนสุขุมวิท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกกระทิงลาย ผ่านสนามแข่งรถพีระเซอร์กิต และสิ้นสุดที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๑๐๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๓๐๘ กิโลเมตร
๓.เส้นทางที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๓๔๔ เส้นบ้านบึง-แกลง เป็นเส้นทางสายหลักอีกหนึ่งสาย ซึ่งช่วยลดระยะทางได้ถึง ๗๐ กิโลเมตร เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๙๘ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๑๑๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๕๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๒๖๖ กิโลเมตร
๔.เส้นทางเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออก เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๒๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เลี้ยวขวากิโลเมตรที่ ๒๓๐ จังหวัดสระแก้ว เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ ระยะทาง ๑๘๙ กิโลเมตร ผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม จนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางจากอำเภอกบินทร์บุรี-จังหวัดจันทบุรี ๒๑๙ กิโลเมตร
๕.เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ เริ่มต้นที่ถนนศรีนครินทร์ ทางหลวงหมายเลข ๗ กรุงเทพฯ สิ้นสุดที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๖ ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร และทางหลวงหมายเลข ๓ อีก ๑๐๘ กิโลเมตร รวมระยะทางกรุงเทพฯ -จันทบุรี ๒๔๘ กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง
• รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๓๕๗
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๕๑๗๙ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๔๗๖, ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๗๘
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๓
รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท เช่นกัน แต่ไม่มีรอบที่แน่นอน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔
• รถออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ถนนกำแพงเพชร
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๒๕๖-๗
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๘๘๘, ๐ ๒๙๓๖ ๓๙๓๙
     นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากจันทบุรีไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ นครราชสีมา ตราด ระยอง สระแก้ว สระบุรี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตาก รายละเอียดติดต่อสถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
• 
ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอท่าใหม่ ๑๑ กิโลเมตร
อำเภอมะขาม ๑๒ กิโลเมตร
อำเภอขลุง ๒๔ กิโลเมตร
อำเภอแหลมสิงห์ ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอนายายอาม ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอโป่งน้ำร้อน ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอสอยดาว ๗๒ กิโลเมตร
อำเภอแก่งหางแมว ๗๘ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ ๓๐ กิโลเมตร
• 
ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังจังหวัดต่าง ๆ
ตราด ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๑๐ กิโลเมตร
พัทยา ๑๗๕ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๓๙๓๓ ๐๑๐๓
สถานีขนส่ง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๙๙
โรงพยาบาลขลุง โทร. ๐ ๓๙๔๔ ๑๖๔๔
โรงพยาบาลเขาสอยดาว โทร. ๐ ๓๙๓๘ ๑๓๗๖-๗
โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๑๔๖๗-๗๐
โรงพยาบาลท่าใหม่ โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๑๐๐๑-๒
โรงพยาบาลสิริเวช โทร. ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๓๙, ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๔๔-๔๕
โรงพยาบาลพระปกเกล้า โทร. ๐๓๙๓๒ ๔๙๗๕
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๑๑๑
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว (สทจ.) โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๒๕๖๗
ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๔
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลางเขต ๔
๑๕๓/๔ ถนนสุขุมวิท ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๒๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑, ๐ ๓๘๖๖ ๔๕๘๕ โทรสาร ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๒ พื้นที่ความรับผิดชอบ : ระยอง จันทบุรี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม