Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

จังหวัดจันทบุรี หรือเรียกอีกชื่อว่า เมืองจันท์ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น พริกไทย ยางพารา เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมการผจญภัยและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทั้งการเดินป่า การขี่จักรยานเสือภูเขา และการล่องแก่ง เป็นต้น
• จันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด (อายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี) ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ และที่ราบเชิงเขา ที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน
เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรกที่บริเวณหน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ “ชาวชอง” (ชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าตะวันออก บริเวณจันทบุรี ตราด ระยอง โดยเฉพาะเขตป่ารอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งรง (คือ ชื่อยางไม้ที่ได้จากต้นไม้ ใช้ทำยา) ครั่ง (คือ ชื่อเพลี้ยหอยชนิดหนึ่ง) ขี้ผึ้ง กระวาน ไม้กฤษณา หวาย จันท์ขาว อบเชยป่า ขมิ้นหอม น้ำมันยางเร่ว (เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ผลใช้ทำยา) ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลง เพราะถูกหักร้าง เพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน การเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นายพรานไพรต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแรงงาน ในเมือง หรือบางส่วนยังคงทำสวนทำนากันอยู่ (ปัจจุบันชาวชองส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ)
• ต่อมา พ.ศ. ๒๒๐๐ ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา ๕ เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน ๕,๐๐๐ คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง ที่มีความเกี่ยวข้องหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น
• ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวงซึ่งอยู่ในที่สูงเพื่อเป็นที่มั่นในการป้องกันการถูกรุกรานของญวณ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิมเนื่องจากบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้นานถึง ๑๑ ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา
• ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖,๓๓๘ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอกับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดตราดและราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

การเดินทาง • รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๕ เส้นทาง ได้แก่
๑.เส้นทางที่ ๑ ทางหลวงหมายเลข ๓ เป็นเส้นทางสายเก่า เริ่มต้นที่บางนา-กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดชลบุรี-บางแสน-ศรีราชา-พัทยา-สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี ระยะทาง ๓๓๐ กิโลเมตร
๒.เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๖ เป็นเส้นทางสายหลักในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ กิโลเมตรที่ ๑๔๐ ถนนสุขุมวิท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกกระทิงลาย ผ่านสนามแข่งรถพีระเซอร์กิต และสิ้นสุดที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๑๐๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๓๐๘ กิโลเมตร
๓.เส้นทางที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๓๔๔ เส้นบ้านบึง-แกลง เป็นเส้นทางสายหลักอีกหนึ่งสาย ซึ่งช่วยลดระยะทางได้ถึง ๗๐ กิโลเมตร เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๙๘ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๑๑๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๕๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๒๖๖ กิโลเมตร
๔.เส้นทางเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออก เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๒๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เลี้ยวขวากิโลเมตรที่ ๒๓๐ จังหวัดสระแก้ว เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ ระยะทาง ๑๘๙ กิโลเมตร ผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม จนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางจากอำเภอกบินทร์บุรี-จังหวัดจันทบุรี ๒๑๙ กิโลเมตร
๕.เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ เริ่มต้นที่ถนนศรีนครินทร์ ทางหลวงหมายเลข ๗ กรุงเทพฯ สิ้นสุดที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๖ ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร และทางหลวงหมายเลข ๓ อีก ๑๐๘ กิโลเมตร รวมระยะทางกรุงเทพฯ -จันทบุรี ๒๔๘ กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง
• รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๓๕๗
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๕๑๗๙ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๔๗๖, ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๗๘
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๓
รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท เช่นกัน แต่ไม่มีรอบที่แน่นอน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔
• รถออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ถนนกำแพงเพชร
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๒๕๖-๗
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๘๘๘, ๐ ๒๙๓๖ ๓๙๓๙
     นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากจันทบุรีไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ นครราชสีมา ตราด ระยอง สระแก้ว สระบุรี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตาก รายละเอียดติดต่อสถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
• 
ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอท่าใหม่ ๑๑ กิโลเมตร
อำเภอมะขาม ๑๒ กิโลเมตร
อำเภอขลุง ๒๔ กิโลเมตร
อำเภอแหลมสิงห์ ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอนายายอาม ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอโป่งน้ำร้อน ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอสอยดาว ๗๒ กิโลเมตร
อำเภอแก่งหางแมว ๗๘ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ ๓๐ กิโลเมตร
• 
ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังจังหวัดต่าง ๆ
ตราด ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๑๐ กิโลเมตร
พัทยา ๑๗๕ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๓๙๓๓ ๐๑๐๓
สถานีขนส่ง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๙๙
โรงพยาบาลขลุง โทร. ๐ ๓๙๔๔ ๑๖๔๔
โรงพยาบาลเขาสอยดาว โทร. ๐ ๓๙๓๘ ๑๓๗๖-๗
โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๑๔๖๗-๗๐
โรงพยาบาลท่าใหม่ โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๑๐๐๑-๒
โรงพยาบาลสิริเวช โทร. ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๓๙, ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๔๔-๔๕
โรงพยาบาลพระปกเกล้า โทร. ๐๓๙๓๒ ๔๙๗๕
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๑๑๑
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว (สทจ.) โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๒๕๖๗
ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๔
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลางเขต ๔
๑๕๓/๔ ถนนสุขุมวิท ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๒๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑, ๐ ๓๘๖๖ ๔๕๘๕ โทรสาร ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๒ พื้นที่ความรับผิดชอบ : ระยอง จันทบุรี

วนอุทยานป่ากลางอ่าว ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากลางอ่าว ท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2517 มีเนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
    ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบตลอดพื้นที่ ดินร่วนปนทรายอยู่ใกล้ชายทะเลพื้นที่อยู่ใกล้ชายทะเล น้ำไม่ท่วมขัง เวลาฝนตกน้ำจะไหลซึมลงดินหมดผิวหน้าดินจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี เนื่องจากมีสภาพป่าปกคลุมพื้นที่
ลักษณะภูมิอากาศ
    ลักษณะสภาพอากาศมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดฤดูฝนในฤดูหนาวอากาศหนาวเล็กน้อย
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
    ชนิดของป่าเป็นป่าดงดิบ มีไม้ยางขึ้นอยู่เป็นส่วนมาก รองลงมาเป็นไม้พะยอม ตะเคียน ไม้พันลำ ตามลำดับ ส่วนไม้พื้นล่างมีไม้เปล้าเป็นส่วนมาก และพันธุ์ไม้กระยาเลยอื่น ๆ ขึ้นอยู่หลายชนิดรวมทั้งไม้ไผ่และพืชจำพวกปาล์ม ตลอดจนหญ้าต่าง ๆ ขึ้น อยู่โดยทั่ว ๆ ไป การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ป่าดีพอประมาณ เนื่องจากมีความชุ่มชื่นดีมาก
   สัตว์ป่า มีเฉพาะสัตว์เล็ก ๆ ได้แก่ กระรอก กระแต แย้ จิ้งเหลน นกกางเขนบ้าน นกตะปูด นกปะหลอด และงูต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ 

   วนอุทยานป่ากลางอ่าว ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานป่ากลางอ่าวโดยตรง
การเดินทาง 
   รถยนต์ เดินทางโดยรถยนต์สายปากคลอง บางสะพาน วนอุทยานป่ากลางอ่าวนี้อยู่ใกล้ทะเลระยะทางจากทะเลประมาณ 500 เมตร ตลอดทั้งมีถนนทางรถยนต์ 2 ด้าน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้และทางทิศตะวันตก วนอุทยานป่ากลางอ่าวห่างจากอำเภอบางสะพานประมาณ 2 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ 
   วนอุทยานป่ากลางอ่าว สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

อำเภอบ้านฉาง
• 
หาดพยูนและหาดพลา หาดพยูน ห่างจากหาดพลา ๓ กิโลเมตร เป็นหาดที่มีความสวยงาม และสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ส่วน หาดพลา อยู่ห่างจากตัวเมืองระยอง ๓๕ กิโลเมตร เป็นชายหาดที่เงียบสงบ มีสวนสนปลูกไว้หนาแน่น และร่มรื่น มีโรงแรม และบังกะโลให้เลือกพักหลายแห่ง
อำเภอแกลง
• 
สวนวังแก้ว ห่างจากตัวเมืองระยองประมาณ ๓๘ กิโลเมตร อยู่เลยสวนสนไปตามถนนเลียบชายทะเลประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ภายในบริเวณมีสวนป่าธรรมชาติ และสวนไม้ดอกไม้ประดับ หาดทราย และอ่าวที่มีทัศนียภาพสวยงาม มีบ้านพัก และเต็นท์บริการ มีจักรยานให้เช่าสำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ผู้ที่สนใจจะเข้าชมเสียค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่ ๑๐ บาท เด็ก ๕ บาท เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๘๖๓ ๘๐๖๗-๘ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๒๕๙ ๔๑๕๐-๑
• 
แหลมแม่พิมพ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองระยอง ๔๘ กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิทมีทางแยกขวาไปแหลมแม่พิมพ์ถึง ๓ แห่งด้วยกัน คือ กิโลเมตรที่ ๒๕๙.๕ กิโลเมตรที่ ๒๖๓ และกิโลเมตรที่ ๒๖๘ ผ่านอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไปอีก ๕ กิโลเมตร หรือห่างจากวังแก้ว ตามถนนเลียบชายหาดไปอีก ๑๑ กิโลเมตร บริเวณชายหาดแม่พิมพ์เล่นน้ำได้ คลื่นไม่แรง มีบริการบ้านพัก และร้านอาหารตลอดแนวชายหาดด้วย
• 
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ อยู่เลยแหลมแม่พิมพ์ทางไปอำเภอแกลงประมาณ ๕ กิโลเมตร บนเส้นทางแกลง-แหลมแม่พิมพ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อนุสาวรีย์นี้เปิดเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓ บริเวณอนุสาวรีย์มีรูปปั้นของตัวละครเอกในเรื่องพระอภัยมณีจัดแสดงไว้ด้วย
• 
วัดสารนารถธรรมาราม อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๖๕ ถนนสุขุมวิท ตำบลทางเกวียน ปากทางเข้าอำเภอแกลง แยกซ้ายเข้าไปประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ มีมหาอุโบสถปูชนียสถานที่สวยงาม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป องค์พระประธานจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก บริเวณมุมกำแพงแก้วรอบอุโบสถทั้ง ๔ ได้จำลองเอาพระพุทธเจดีย์ที่สำคัญของแต่ละภาคไว้ คือ พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง และพระบรมธาตุไชยา
• 
หมู่เกาะมันเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเขตตำบลกร่ำ หมู่เกาะมันมีอยู่ ๓ เกาะ คือ เกาะมันใน เกาะมันกลาง และเกาะมันนอก
• 
เกาะมันใน มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๑ ไร่ มีอ่าวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวต้นมะขาม อ่าวหินโขดหญ้า อ่าวโกงกาง และอ่าวหน้าบ้าน โดยเฉพาะที่อ่าวหน้าบ้านมีปะการังที่สวยงาม ส่วนอ่าวโกงกางมีทรายเรียบ เกาะมันในมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล มีพันธุ์เต่าตนุ และเต่ากระ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เปิดให้เข้าชม เวลา ๘.๐๐–๑๘.๐๐ น.
เกาะมันในอยู่ห่างจากแหลมแม่พิมพ์ ๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๓๐ นาที สามารถเช่าเรือจากแหลมแม่พิมพ์ หรืออ่าวมะขามป้อมก็ได้ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลตะวันออก เกาะมันใน โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๖๐๙๖, ๐ ๓๘๖๕ ๗๔๖๖
• 
เกาะมันกลาง และเกาะมันนอก เป็นเกาะที่มีหาดสวยงาม เงียบสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนมีบ้านพักของเอกชนบริการ

จังหวัดระยองตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑๗๙ กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๓,๕๕๒ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับที่ดอนและเนินเขา เป็นแหล่งอาหารทะเล มีสวนผลไม้และพืชไร่นานาชนิด เป็นเมืองอุตสาหกรรม และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง อำเภอบ้านค่าย อำเภอบ้านฉาง อำเภอปลวกแดง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเขาชะเมา และกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา
     ระยอง เริ่มปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๓ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่ง กรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๕๐๐ ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ ปรากฏจากหลักฐาน คือซากศิลาแลง คูค่ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม
     ประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองระยอง ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยของ พระเจ้าเอกทัศน์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๙ พระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ ๕๐๐ คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยองก่อนเดินทัพต่อไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการกอบกู้อิสรภาพคืน จากพม่าในปีพุทธศักราช ๒๓๑๑

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อเขตอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อทอง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อเขตอำเภอสัตหีบ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
การเดินทาง
• 
รถยนต์ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
• 
เส้นทางแรก ทางหลวงหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางปู อำเภอบางปะกง จังหวัดชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา หาดจอมเทียน สัตหีบ อำเภอบ้านฉาง ไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา-ตราด) เริ่มจากตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อำเภอบางนา ผ่านอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข ๓ ที่กิโลเมตรที่ ๗๐ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นจะผ่านเส้นทางเดียวกันกับเส้นทางที่ ๑ รวมระยะทางประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๓๖ (บายพาส ๓๖) จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ ๒ จนถึงกิโลเมตรที่ ๑๔๐ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๖ จากนั้นให้เดินทางต่อไปยังจังหวัดระยอง ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ ๒๑๐ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๔ ทางหลวงหมายเลข ๓๔๔ (ถนนสายบ้านบึง-แกลง) เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง หนองใหญ่ วังจันทร์ และสิ้นสุดที่อำเภอแกลง รวมระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร (กรุงเทพฯ-ชลบุรี ๘๐ กิโลเมตร) เส้นทางนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอแกลง หรือเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี หรือจังหวัดตราด และหากต้องการที่จะเดินทางเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓ โดยย้อนกลับมาอีกประมาณ ๔๒ กิโลเมตร
• 
เส้นทางที่ ๕ ทางหลวงหมายเลข ๗ (สายมอเตอร์เวย์) เริ่มจากถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๖ เป็นระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ ๑๗๕ กิโลเมตร
• 
รถโดยสารประจำทาง จาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) มีรถประจำทางไปจังหวัดระยอง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-ระยอง, บ้านเพ, แกลง, แหลมแม่พิมพ์, มาบตาพุด, ประแสร์ เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔ สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๓๗๙ และมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ได้แก่ บริษัท ระยอง ทัวร์ โทร. ๐ ๒๗๑๒ ๓๖๖๒ สาขาระยอง โทร. ๐ ๓๘๘๖ ๑๓๕๔-๕ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗ สาขาระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๗ ๔๑๔๔
• 
จากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศชั้น ๒ หมอชิต-ระยอง ออกทุก ๑ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๑๖.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๔๑ ส่วนรถปรับอากาศที่ใช้เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ออกตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๒๑.๐๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๒ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท รัตนมงคล ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๑๒๑๖ สาขาระยอง โทร. ๐ ๓๘๘๖ ๑๓๕๔-๕
• การเดินทางไปยังจังหวัดอื่น ๆ
มีบริการรถประจำทางออกจากสถานีขนส่งจังหวัดระยองไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา เชียงใหม่ หนองคาย อุบลราชธานี เป็นต้น สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๓๗๙
• การเดินทางภายในจังหวัดระยอง
การเดินทางภายในจังหวัดส่วนใหญ่ใช้รถสองแถวจากบริเวณสถานีขนส่งระยองไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ สายระยอง-มาบตาพุด-บ้านฉาง, ระยอง-บ้านค่าย, ระยอง-หาดแม่รำพึง-บ้านก้นอ่าว, ระยอง-ปากน้ำระยอง, ระยอง-บ้านเพ-สวนสน-แหลมแม่พิมพ์, ระยอง-แกลง (สามย่าน) อัตราค่าโดยสารระหว่าง ๕-๒๐ บาท
• ระยะทางจากจังหวัดระยองไปอำเภอต่าง ๆ
บ้านค่าย ๑๑ กิโลเมตร
บ้านเพ ๑๙ กิโลเมตร
บ้านฉาง ๒๗ กิโลเมตร
แหลมแม่พิมพ์ ๔๕ กิโลเมตร
ปลวกแดง ๔๖ กิโลเมตร
แกลง ๔๗ กิโลเมตร
วังจันทร์ ๗๐ กิโลเมตร
เขาชะเมา ๗๔ กิโลเมตร
• 
ระยะทางจากจังหวัดระยองไปอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง
สนามบินอู่ตะเภา ๓๕ กิโลเมตร
พัทยา ๖๐ กิโลเมตร
ชลบุรี ๙๘ กิโลเมตร
จันทบุรี ๑๑๐ กิโลเมตร
ตราด ๑๗๙ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๓๘๖๙ ๔๑๐๑
ศาลากลางจังหวัด โทร. ๐ ๓๘๖๙ ๔๐๐๐
สถานีเดินรถประจำทาง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๓๗๘-๙
โรงพยาบาลระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๗๔๕๓-๖๐
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๑๑๑
ตำรวจทางหลวง โทร. ๐ ๓๘๖๑ ๑๒๐๓, ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๑๖๖๙, ๑๑๕๕
สถานีอุตุนิยมวิทยา โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๐๗๕
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลาง เขต ๔
๑๕๓/๔ ถนนสุขุมวิท ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ๒๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑, ๐ ๓๘๖๖ ๔๕๘๕ โทรสาร ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๒ E-mail : tatryong@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: ระยอง จันทบุรี

วนอุทยานน้ำตกรามัญ อยู่ในท้องที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2526
ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบริเวณน้ำตกรามัญ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนติดต่อกัน พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตร ดินเป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินปูน มีหินทรายและหินแกรนิตปนบ้างเล็กน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ 
   ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม รวม 8 เดือน แต่ช่วงที่มีฝนตกชุกคือระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า 
   ป่าบริเวณน้ำตกยังสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นเหลืออยู่เฉพาะบริเวณลำห้วยเท่านั้น เหนือขึ้นไปส่วนใหญ่ป่ามีสภาพเสื่อมโทรม ถูกบุกรุกแผ้วถางทำสวนเกือบหมด พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยาง ยูง เสียดช่อ ส้าน เป็นต้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก กล้วย ป่าเฟิร์น และบอน
   สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า กระจง เก้ง อีเห็น กระรอก และนกชนิดต่างๆ
ที่พักและบริการ
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกรามัญโดยตรง
การเดินทาง
   รถยนต์ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอตะกั่วทุ่งประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 874 แยกเข้าทางแยกซ้ายมือตามถนนลูกรังไปประมาณ 6 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ 
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ หมู่ 6 บ้านหินสามก้อน ต.กระโสม อ. ตะกั่วทุ่ง จ. พังงา 82130 โทรศัพท์ 0 7535 6134, 0 7635 6780

บทความที่ได้รับความนิยม