สระแก้ว ในอดีตเป็นชุมชนที่มีความรุ่งเรืองมาก่อน
มีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวาราวดี
ซึ่งปรากฏหลักฐานความเจริญของอารยธรรมโบราณ คือกลุ่มปราสาทศิลปะขอม
และจารึกต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม และชนิดลอยตัว
เช่น ใบเสมา ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมในยุคขอมโบราณ
เดิมสระแก้วมีฐานะเป็นเมืองบริวารของปราจีนบุรี
(เมืองประจิม ในสมัยโบราณ) เมื่อปราจีนบุรีได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด
เมื่อปี พ.ศ. 2476 และยกเลิกระบบเทศาภิบาล สระแก้วจึงกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาได้แยกตัวออกจากปราจีนบุรีพร้อมกับผนวกอำเภออีก 5 อำเภอ
เพื่อรวมเป็นจังหวัดใหม่และได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536ลักษณะภูมิประเทศ
สระแก้วเป็นจังหวัดชายแดนภาคตะวันออกของประเทศมีแนวเขตพรหมแดนติด
ประเทศอาณาจักรกัมพูชายาวประมาณ
165 กิโลเมตร
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบจนถึงลักษณะภูเขาสูงชันทางตอนเหนือมีลักษณะ
เป็นเนินสูงจนถึงภูเขา
ได้แก่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา
ทางตอนใต้มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขามีสภาพเป็นป่าดงดิบและป่า
โปร่งได้แก่ทิวเขาจันทบุรี
ด้านตะวันออกลักษณะเป็นที่ราบจนถึงลักษณะเนินเขา
มีสภาพเป็นป่าโปร่ง
ทางด้านตะวันตก
เป็นที่ราบโดยมีบริเวณอำเภอวัฒนานครเป็นสันปันน้ำ
ทางตะวันตกลาดลงสู่อำเภอเมืองสระแก้ว
ทางตะวันออกลาดลงสู่อำเภออรัญประเทศ
จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ประมาณ
7,195 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 4,496,961 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือจดจังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดบุรีรัมย์ ทิศใต้จดจังหวัดจันทบุรี ทิศตะวันออกจดประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตกจดจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งการปกครองเป็น
6 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ
อำเภอตาพระยา อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์
และกิ่งอำเภอโคกสูง
ลักษณะภูมิอากาศ
สระแก้วมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบฝนเมืองร้อน
มีสภาพอากาศที่แห้งแล้งและชุ่มชื้นสลับกันอย่างชัดเจน
ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื้นและฝนตกตลอดฤดู
แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวจะมีอากาศแห้งแล้ง
มีฤดูที่แตกต่างกัน 3 ฤดู คือ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27-30 องศาเซลเซียส
(83-86 องศาฟาเรนไฮต์)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา