Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

     วนอุทยานพนมสวาย อยู่ในท้องที่ตำบลบัว อำเภอเมือง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสวาย ซึ่งประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 555 (พ.ศ.2516) มีเนื้อที่ประมาณ 2,475 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2527


ลักษณะภูมิประเทศ

   พื้นที่เป็นภูเขาขนาดเล็ก 2 ลูกอยู่ติดกันเรียกรวมว่า พนมสวาย พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ลาดจากเขาไปทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกค่อนข้างลาดชัน เป็นภูเขาหินที่ลาดห่างจากเขาด้านล่าง ทิศตะวันออกมีการขุดระเบิดหินเป็นบางส่วน มีทำนบกั้นเป็นอ่างเก็บน้ำ 2 แห่งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีฝายน้ำล้น 1 แห่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
   สภาพภูมิอากาศในบริเวณป่าพนมสวายแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
   สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นไม่หนาแน่น ต้นไม้มีขนาดเล็กแคระแกร็น มีไม้ขนาดกลางอยู่บ้าง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง ติ้ว แต้ว กราด แดง ชัยพฤกษ์ มะขามป้อม กว้าว เป็นต้น
   สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระรอก กระต่ายป่า สัตว์ปีกมีบ้างแต่ไม่มากนักได้แก่ นกกระเต็น บ่าง นกกระทาดง นกกวัก นกกระปูด นกกางเขนดง นกเขาหลวง นกเป็ดน้ำและนกเหยี่ยว
บ้านพัก-บริการ
   วนอุทยานพนมสวายไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานพนมสวายโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
   วนอุทยานพนมสวาย มีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่ประชาชนเลื่อมใสมากและเป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์ สวยงามที่ประชาชนนิยมไปพักผ่อนหย่อนใจและ อยู่ไม่ไกลจากชุมชนมากนัก สะดวกแก่การคมนาคม
การเดินทาง
   รถยนต์ การเดินทางจากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สะดวกมากโดยไปทางรถยนต์ สายสุรินทร์-ปราสาท ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร และทางลูกรังอัดแน่น 6 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเมืองถึงวนอุทยานพนมสวาย ประมาณ 20 กิโลเมตร
การติดต่อ
   วนอุทยานพนมสวาย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นป่าที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่านที่สำคัญคือ ลำห้วยแม่หาด ลำห้วยแม่ก้อและทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามโดยเฉพาะพื้นที่ป่าตั้งอยู่ทาง ฝั่งซ้ายของลำน้ำปิงตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีเนื้อที่ประมาณ 627,346 ไร่ หรือ 1,003.7536 ตารางกิโลเมตร
   เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสภาจังหวัดลำพูน ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 เสนอแนะให้จังหวัดลำพูน จัดตั้งวนอุทยานขึ้นครอบคลุมบริเวณจุดท่องเที่ยวต่างๆ ในป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด-ป่าแม่ก้อ ท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อจะได้เข้าไปควบคุมและจัดระเบียบกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนใน พื้นที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งทางสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ได้ให้ นายเฉลียว นิ่มนวล ไปสำรวจพื้นที่และมีความเห็นควรจัดเป็นวนอุทยานขึ้น จึงรายงานให้กรมป่าไม้ดำเนินการ ประกอบกับทางจังหวัดลำพูนได้เสนอให้กรมป่าไม้จัดพื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติเช่นกัน ตามรายงานการสำรวจของ นายจีรเดช บารมี เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ประจำอำเภอลี้ ดังนั้นในเดือนธันวาคม 2522 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่ง ที่ 2294/2522 ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า พื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงามดีและมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกก้อหลวง ทุ่งหญ้า มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ที่ กส 0708(มก)/51 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523
   กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 ให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่หาดและป่าแม่ก้อ ในท้องที่ตำบลดอยเต่า ตำบลโป่งทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลแม่ลาน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านนา ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 626,875 ไร่ หรือ 1,003 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศ
   อนึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งได้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่หาด-แม่ก้อ ต่อมาเมื่อ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมป่าไม้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เพราะแนวเขตอุทยานแห่งชาติซีกซ้ายทั้งหมดครอบคลุมลำน้ำแม่ปิง ซึ่งเป็นเส้นน้ำสายใหญ่ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นจุดเด่นที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ
   ต่อมาได้มีการขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 ในท้องที่ตำบลแม่ลาน และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระยะทาง 14.198 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 471 ไร่ หรือ 0.7536 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้สามารถควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการลัดลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537
ลักษณะภูมิประเทศ
   ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดแนวจากทิศเหนือในเขตพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จรดทิศใต้บริเวณตอนเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ภูเขาส่วนใหญ่มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ “ดอนห้วยหลาว” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสูงประมาณ 1,238 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยขุนเม่น ห้วยไคร้ เป็นต้น ห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลลงสู่ลำน้ำปิงที่ทอดยาวตลอดแนวเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันตก
   สำหรับพื้นน้ำส่วนที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เริ่มจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลัดเลาะตามหุบเขา โตรกผา ลงมาทางทิศใต้จนถึงตอนบนของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยของลำน้ำแม่ปิงประมาณ 500 เมตร ความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของลำน้ำแม่ปิงในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่ทางตอนใต้บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร โดยทั่วไปชาวบ้านเรียกว่า “บ่อลม” และ “พระบาทห้วยห้าง”
ลักษณะภูมิอากาศ
   โดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียงของจังหวัดในภาคเหนือ แต่เนื่องจากลักษณะความสูงต่ำของภูมิประเทศและการมีป่าปกคลุมพื้นที่เป็น บริเวณกว้าง ภูมิอากาศบางส่วนจึงแตกต่างไปจากบริเวณโดยรอบอยู่บ้าง โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ตอนบนของอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิตอนล่างของพื้นที่บริเวณเขื่อนภูมิพลและเขตจังหวัดตากจะสูง กว่าเล็กน้อยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฝนตกในบริเวณทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากกว่าทางตอนใต้ เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,060-1,184 มิลลิเมตรต่อปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
   พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามเทือกเขาที่เป็นดินปนทรายและมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่เหลือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นป่าดงดิบขึ้นอยู่เป็นพื้นที่แคบๆ ตามหุบเขาและริมลำห้วย
   ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่มากที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง พบอยู่ทั่วไปทั้งในที่ราบ ตามลาดเขาสูงชัน และบนสันเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 450-1,000 พันธุ์ไม้ที่พบบ่อย ได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง มะขามป้อม พลวง กุ๊ก รกฟ้า มะกอกเกลื้อน แสลงใจ ผักหวาน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้ง ปรง กวาวเครือ กล้วยไม้ดิน และหญ้าชนิดต่างๆ
   ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นไปทั่วทั้งในที่ราบและตามลาดเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 450-800 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก แดง กระพี้เขาควาย มะกอกเกลื้อน กระพี้จั่น ประดู่ ตะคร้อ เก็ดแดง ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เสี้ยวป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล ไผ่หนาม เป้ง กวาวเครือ ถั่ว ปอยาบ เป็นต้น ในบริเวณของป่าผลัดใบทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ กระต่ายป่า เก้ง กวางป่า วัวแดง ไก่ป่า นกกระทาทุ่ง นกคุ่ม นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานตะโพกแดง นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แย้ ตะกวด และงูกะปะ เป็นต้น
   ป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง กระบก มะกอก และสมอพิเภก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหลบซ่อนตัวของหมีควาย กวางป่า วัวแดง ลิงลม ลิงวอก ชะนีมือขาว กระรอก นกกาฮัง นกแก๊ก นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ และนกเขียวคราม ในบริเวณทุ่งหญ้า เช่น ทุ่งกิ๊ก และทุ่งนางู ซึ่งเป็นที่ราบบนเนินเขา สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 550 เมตร ดินเป็นดินปนทรายหรือลูกรัง มีความลึกพอสมควร มีไฟป่าเกิดเป็นประจำ มีไม้ยืนต้นขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ ได้แก่ รักขาว รกฟ้า และสมอไทย ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ เป้ง หญ้าคา ถั่ว และกระเจียว เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น กระจ้อน กระแต อ้นเล็ก เก้ง หมูป่า เม่นใหญ่แผงคอสั้น ชะมด อีเห็น นกปรอดสวน นกปรอดก้นแดง นกกะติ๊ดขี้หมู เหยี่ยวขาว นกคุ่มอืด นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน คางคกบ้าน เขียดหนอง อึ่งอี๊ดต่างๆ เป็นต้น ตามบริเวณยอดเขา หลืบผา ถ้ำ และหน้าผาหินปูน เป็นที่อาศัยของเลียงผา กวางผา เม่นใหญ่แผงคอสั้น อ้นใหญ่ ลิงวอก ชะมด อีเห็น กระรอก ค้างคาว และเป็นที่สร้างรัง วางไข่ของเหยี่ยวชนิดต่างๆ และนางแอ่นตะโพกแดง ในบริเวณริมฝั่งน้ำ พื้นที่ชายน้ำ หรือในแหล่งน้ำเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนากใหญ่ พังพอนกินปู เสือปลา เหี้ย นกอีล้ำ เป็ดแดง นกกระสานวล นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางเขียว นกกวัก เต่าหวาย ตะพาบน้ำ งูลายสอ เขียดหนอง เขียดหลังเขียว ปลารากกล้วย ปลาก้าง ปลาดุก ปลาไหล เป็นต้น
   สัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามริมฝั่งแม่น้ำปิง เช่น เก้ง วัวแดง หมูป่า หมีควาย เลียงผา กวางผา เสือปลา ไก่ป่า ชะมดเช็ด ลิง ค่างเทา ชะนี หมาจิ้งจอก กระต่ายป่า กระรอก นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ ทั้งนกประจำถิ่น และย้ายถิ่นอีกมากมายภายในเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ เช่น ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาบู่ ปลาแรด เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
   น้ำตกก้อหลวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่ง ชาติประมาณ 22 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าไปถึง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างดีของชาวจังหวัดลำพูนและจังหวัด ใกล้เคียง น้ำตกก้อหลวงเป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ ไหลผ่านหินดินดานเทาดำและหินทรายของหน้าผาที่มีความสูงต่างระดับกันลดหลั่น กันลงมามีทั้งหมด 7 ชั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีหินปูนและมีน้ำไหลตลอดปี จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยมากมาย และมีความสวยงามตามธรรมชาติ บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่สะอาดไม่มีสิ่งใดรบกวน ทำให้มีปลาชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย
   ทุ่งกิ๊ก อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 14 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างใหญ่ซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเต็งรังและป่า เบญจพรรณ อยู่ด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวก เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ มากมาย ในช่วงฤดูแล้งดอกไม้ป่าหลายชนิดจะพากันบานเต็มทุ่งกิ๊ก สวยงามน่าชมมาก
   บริเวณทุ่งกิ๊กนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ ชื่นชอบกิจกรรมดูนก ซึ่งมีนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกระทาทุ่ง ฯลฯ จากบริเวณทุ่งกิ๊กเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร จะพบน้ำตกก้อน้อย ซึ่งเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน ระหว่างทางจะพบกับดงเถาวัลย์ที่สวยงาม
   ห้วยถ้ำ อยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวที่อยู่ริมฝั่งลำน้ำแม่ปิง ที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติบริเวณอ่างเก็บน้ำดอยเต่าได้อย่างสวยงาม การเข้าถึงสะดวก สามารถรถยนต์สามารถเดินทางเข้าไปถึงบริเวณดังกล่าวได้
   ผาดำ-ผาแดง มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยป่าธรรมชาติที่ยังไม่มีการทำลาย จากจุดดังกล่าวสามารถมองเห็นทัศนียภาพชัดเจนระยะไกล การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าเท่านั้น
   ถ้ำยางวี อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก เป็นที่อาศัยของค้างคาว เม่น และเลียงผา การเดินทางเข้าไปชมต้องใช้ไฟฉายหรือส่องนำทางเข้าไป ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำยางวีมีป่าที่มีลักษณะเป็นป่าสนเขา มีลักษณะธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามเรียกว่า “ป่าพระบาทยางวี” ซึ่งเหมาะแก่การอยู่ค่ายพักแรมของผู้รักธรรมชาติและการผจญภัย การเดินทางไปถึงได้เฉพาะการเดินเท้าเท่านั้น
   แก่งก้อ เป็นบริเวณอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดตั้งที่ทำการหน่วยพิทักษ์แห่งชาติที่ มป.2 (แก่งก้อ) ที่บริเวณแก่งก้อ และจัดสร้างที่พักเรือนแพไว้บริการ จากจุดที่พักแก่งก้อซึ่งอยู่ช่วงกลางระหว่างอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ผู้ไปเที่ยวสามารถนั่งเรือชมความงามของหน้าผาหินปูน ทิวทัศน์ที่สวยงามสองฟากฝั่ง และสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย เช่น น้ำตกอุ้มแป น้ำตกอุ้มปาด เกาะคู่สร้าง-คู่สม ผาเต่า ผาพระนอม ผาคันเบ็ด แก่งสร้อย ถ้ำแก่งสร้อย พระธาตุแก่งสร้อย ถ้ำช้างร้อง พระบาทบ่อลม เขื่อนภูมิพล เป็นต้น
   ผาแมว เป็นผาสูงชันริมแม่น้ำปิงบรรยากาศสงบร่มรื่น เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่ดีอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับกิจกรรมไต่หน้าผา
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
   มีบ้านพัก เรือนแพ สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ ไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
   มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
การเดินทาง
   รถยนต์ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนโดยมีทางแยกจากถนนพหลโยธิน บริเวณอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เข้าไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 (ลี้-ก้อ) โดยที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนบริเวณ หลักกิโลเมตรที่ 20-21
   เนื่องจากภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นน้ำตามลำน้ำปิงยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีสภาพเป็นเกาะ แก่ง หน้าผา หินงอกหินย้อย ตามสองฝั่งแม่น้ำเป็นจำนวนมาก การเดินทางสามารถเดินทางได้จากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านลำน้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก หรือจะเดินทางจากอำเภอสามเงา จังหวัดตากไปยังอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้

ประวัติความเป็นมา พื้นที่ที่สำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งในเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกยาวไปทางทิศตะวันตก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 5 ลิบดาเหนือถึง 14 องศา 22 ลิบดาเหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิบดาตะวันออก ถึง 103 องศา 14 ลิบดาตะวันออก หรือบริเวณของด้านทิศใต้ของที่ราบสูงโคราช มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ไร่ โดยครอบคลุมเนื้อที่ 2 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว และบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 380 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย
ลักษณะภูมิประเทศ
     เป็นเทือกเขาสูงจากเทือกเขาบรรทัดตลอดแนวจนไปถึงเทือกเขาพนมดงรักเป็น แนวเขตติดต่อระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ตั้งแต่หลักเขตประเทศที่ 24 ถึง หลักเขตที่ 28 วางตั้งในแนวทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 206 เมตร ถึง 579 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาพรานนุช ความสูง 579 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันเฉลี่ยทั้งพื้นที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ บริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 100-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของภูมิภาคนี้มักอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม ตะวันออกเฉียงใต้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดพามาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนวัดได้ระหว่าง 100 มิลลิเมตร ถึง 140 มิลลิเมตร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาพนมดงรักจะปะทะกับลมมรสุม และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านที่รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูกาลมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูงสุดประมาณ 39.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 14.3 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
   ป่าเบญจพรรณ ป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ระดับความสูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปรากฏอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือ ในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง แดง ตะแบกใหญ่
   ป่าดิบแล้ง ป่าชนิดนี้อยู่พื้นที่ค่อนข้างราบ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี มักจะอยู่ในระดับความสูงประมาณ 100-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมง ยางนา พยอม ตะเคียนทอง
   ป่าเต็งรัง ป่าชนิดนี้อยู่ในพื้นดินทิศใต้และดินทิศเหนือบางส่วนอยู่กระจายกันในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เต็ง รัง และเหียง
   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือปลา วัวแดง กระทิง หมาไน แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอก กระรอกบิน กระแต เป็นต้น
   นก ที่พบเห็นได้แก่ นกพญาไท นกขุนแผน นกแก้ว นกเขาเขียว นกกางเขนดง นกหัวขวาน นกเหยี่ยว นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกขุนทอง เป็นต้น
   สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ
   ปลา ที่พบเห็นได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลากระทิง ปลาหมอ ปลาบู่ ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาซิว
แหล่งท่องเที่ยว
   อนุสาวรีย์เราสู้ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นด้วยความพร้อมใจของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสละชีพเพื่อชาติไทยป้องกันประเทศ นักท่องเที่ยวมักจะมาเยี่ยมชมและสักการะ ตั้งอยู่ตำบลโนนดินแดง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ การเดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068
   ศาลมีอักษร เขียนลงบนแผ่นดินแปรลายพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 5 ไว้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แวะมาสักการะ และชมวิวทิวทัศน์ซึ่งสวยงามมากตั้งอยู่บริเวณตำบลทัพราชอำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี
   ปราสาทเขาโล้น เป็นปราสาทเก่าแก่สมัยขอมโบราณตั้งอยู่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งประชาชนให้ความสนใจไปเยี่ยมชมจำนวนมากเดินทางโดยเส้นทาง ร.พ.ช.
   ช่องโอบก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีสภาพป่าดิบแล้งที่อุดมสมบูรณ์มากมีลำธารไหลตลอดปี สันนิษฐานว่ามีน้ำตกและมีสัตว์ป่าชุกชุมแต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยว เนื่องจากอาจจะได้รับอันตรายจากวัตถุระเบิด และการทำร้ายจากกองกำลังเขมรติดอาวุธช่องโอบก เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างคนไทยและคนกัมพูชา
   ปราสาทบายแบก เป็นประสาทหินเก่าแก่สมัยขอมตั้งอยู่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมมากตลอด เดินทางตามถนนทางหลวง แผ่นดินสาย 2121 และมาแยกที่ถนนสายโท 5
   แหล่งโลหะกรรม เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยขอมโบราณตั้งอยู่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนสนใจไปเที่ยวชมวัตถุโบราณกันมากเดินทางตามทางหลวง2121 และมาแยกถนนสายโท 7
   ปราสาททอง เป็นโบราณสถานสมัยขอม มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมจำนวนมาก ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีนักท่องเที่ยวมาชมยอดปราสาททองที่มีความงดงามมาก เดินทางตามถนนทางหลวงสาย 2121
   อ่างเก็บน้ำห้วยยาง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี มีทิวทัศน์รอบบริเวณอ่างสวยงามมากโดยเฉพาะสภาพป่าดิบแล้งที่ยังอุดมสมบูรณ์ มีประชาชนให้ความสนใจเข้าไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจตลอดทั้งปี การคมนาคมไปตามทางหลวงแผ่นดินสาย 3198
   อ่างเก็บน้ำลำนางรอง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่ตำบลลำนางรอง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์รอบอ่างสวยงามมาก สภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์มีประชาชนให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนตลอดปี มีชายหาดสำหรับเล่นน้ำเหมาะสำหรับท่องเที่ยวในวันสงกรานต์ การเดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068
   อ่างเก็บน้ำลำจังหัน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์สวยงามมาก สภาพป่าเป็นป่าดงดิบแล้งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนไปพักผ่อนหย่อนใจจำนวนมาก เดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068 แล้วไปแยกที่ทางหลวงจังหวัดระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
   ศูนย์เขมรอพยพไซท์ทู เป็นศูนย์รับประชาชนเขมรตั้งอยู่บริเวณบ้านทัพไทย ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี มีประชาชนสนใจไปท่องเที่ยวภายในศูนย์ฯ เดินทางโดยทางหลวงแผ่นดินสาย 3068 แล้วไปแยกที่อำเภอตาพระยา หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อไปตามทางหลวงจังหวัด
   อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ประชาชนสนใจไปพักผ่อนเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี เดินทางตามทางหลวงแผ่นดิน 3068 และเดินทางต่อโดยเส้นทาง ร.พ.ช.
   อ่างเก็บน้ำเมฆา เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองไม้งาม อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชาชนสนใจไปพักผ่อนเนื่องจากสภาพป่าดิบแล้งสมบูรณ์มีนักท่องเที่ยวตลอดปี เดินทางโดยเส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068
   ลานหินตัด เป็นลักษณะธรรมชาติที่สวยงามมาก ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีนักท่องเที่ยวสนใจไปเที่ยวชมมาก เดินทางตามเส้นทางหลวงสาย 2121 และเดินทางตามถนนตรี 4
   ลานกระเจียว เป็นลานหินที่มีดอกกระเจียวขึ้นสวยงามและมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งหนึ่ง ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2121 และแยกไปตามถนนสายตรี
สิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
   พื้นที่สำรวจอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 250 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 140 กิโลเมตร มีเส้นทางสำคัญที่ล้อมรอบพื้นที่สำรวจ ดังนี้ด
   1. ทางหลวงแผ่นดินสาย 3068 (อำเภออรัญประเทศ - อำเภอตาพระยา – อำเภอ ละหานทราย)
   2. ทางหลวงแผ่นดินสาย 3198 (อำเภอวัฒนานคร - อำเภอตาพระยา)
   3. ทางหลวงแผ่นดินสาย 2121 (อำเภอละหานทราย - อำเภอบ้านกรวด)
   4. ทาง ร.พ.ช. (บ้านสันรอชะงัน - บ้านโคกไม้แดง)
   5. ทาง ร.พ.ช. (บ้านโคกลาน - บ้านโคกกราด)
   6. ทาง ร.พ.ช. (บ้านสันติสุข - บ้านโนนดินแดง)
การติดต่อ
   อุทยานแห่งชาติตาพระยา ตู้ ปณ. 20 ต.ทัพราช อ.ตาพะยา จ.สระแก้ว 27180

สระแก้ว ในอดีตเป็นชุมชนที่มีความรุ่งเรืองมาก่อน มีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวาราวดี ซึ่งปรากฏหลักฐานความเจริญของอารยธรรมโบราณ คือกลุ่มปราสาทศิลปะขอม และจารึกต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม และชนิดลอยตัว เช่น ใบเสมา ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมในยุคขอมโบราณ
     เดิมสระแก้วมีฐานะเป็นเมืองบริวารของปราจีนบุรี (เมืองประจิม ในสมัยโบราณ) เมื่อปราจีนบุรีได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด เมื่อปี พ.ศ. 2476 และยกเลิกระบบเทศาภิบาล สระแก้วจึงกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาได้แยกตัวออกจากปราจีนบุรีพร้อมกับผนวกอำเภออีก 5 อำเภอ เพื่อรวมเป็นจังหวัดใหม่และได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536ลักษณะภูมิประเทศ
     สระแก้วเป็นจังหวัดชายแดนภาคตะวันออกของประเทศมีแนวเขตพรหมแดนติด ประเทศอาณาจักรกัมพูชายาวประมาณ 165 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบจนถึงลักษณะภูเขาสูงชันทางตอนเหนือมีลักษณะ เป็นเนินสูงจนถึงภูเขา ได้แก่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา ทางตอนใต้มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขามีสภาพเป็นป่าดงดิบและป่า โปร่งได้แก่ทิวเขาจันทบุรี ด้านตะวันออกลักษณะเป็นที่ราบจนถึงลักษณะเนินเขา มีสภาพเป็นป่าโปร่ง ทางด้านตะวันตก เป็นที่ราบโดยมีบริเวณอำเภอวัฒนานครเป็นสันปันน้ำ ทางตะวันตกลาดลงสู่อำเภอเมืองสระแก้ว ทางตะวันออกลาดลงสู่อำเภออรัญประเทศ
     จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ประมาณ 7,195 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 4,496,961 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือจดจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์ ทิศใต้จดจังหวัดจันทบุรี ทิศตะวันออกจดประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศตะวันตกจดจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งการปกครองเป็น 6 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอตาพระยา อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ และกิ่งอำเภอโคกสูง
ลักษณะภูมิอากาศ
     สระแก้วมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบฝนเมืองร้อน มีสภาพอากาศที่แห้งแล้งและชุ่มชื้นสลับกันอย่างชัดเจน ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื้นและฝนตกตลอดฤดู แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวจะมีอากาศแห้งแล้ง มีฤดูที่แตกต่างกัน 3 ฤดู คือ
   ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม
   ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
   ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
   อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27-30 องศาเซลเซียส (83-86 องศาฟาเรนไฮต์)

 สมุทรสาคร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “มหาชัย” เป็นจังหวัดเล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำท่าจีน ห่างจากทะเลเพียง ๒ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๖ กิโลเมตร เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวพระเจ้าเสือเสด็จประพาสทางชลมารคกำเนิดเป็นเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ผู้จงรักภักดี
   จังหวัดนี้เดิมเรียกว่า ”ท่าจีน” เพราะแต่เดิมเป็นตำบลใหญ่อยู่ติดอ่าวไทย มีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีนนำสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายกันมาก จึงเรียกติดปากกลายเป็นตำบล ”ท่าจีน” ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๐๙๑ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง ด้วยมีพระราชประสงค์จะใช้เป็นที่ระดมพลสำหรับสู้รบกับพม่า บ้านท่าจีนจึงยกฐานะเป็นเมือง “สาครบุรี” เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานทางทะเล ตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็นเมืองสมุทรสาคร
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙
   ต่อมาพ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางราชการ เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่ง เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนชอบเรียกกันนั้นเป็นชื่อของคลองที่ขุดขึ้นที่ตัดความคดเคี้ยวของคลอง โคกขามอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์
จังหวัดสมุทรสาครมีเนื้อที่ประมาณ ๘๗๒ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับกรุงเทพฯ และจังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม และอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรปราการ
การเดินทาง
   รถยนต์ การเดินทางจากกรุงเทพฯ สามารถไปได้หลายเส้นทาง ดังนี้
๑. จากแยกบางปะแก้ว ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ ถนนธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านที่ทำการเขตบางขุนเทียน ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย ถึงสี่แยกมหาชัย ประมาณกิโลเมตรที่ ๒๘ เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร
๒. จากศูนย์การค้าดาวคะนองไปตามถนนเอกชัย ผ่านสะพานบางขุนเทียน วัดสิงห์ แยกบางบอน โรงเรียนศึกษานารี วัดโพธิ์แจ้ ตำบลคอกกระบือ ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เคหะชุมชนมหาชัยเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร
๓. จากสี่แยกท่าพระไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ ถนนเพชรเกษมถึงหนองแขมเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเพชรเกษม ๘๑ ถึงแยกถนนเอกชัยเลี้ยวขวาไปตามถนนเอกชัยผ่านโรงเรียนศึกษานารี ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม เลยบางแคแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนวงแหวนรอบนอกจะไปตัดกับถนนเอกชัย วกรถกลับเข้าถนนเอกชัย หรือตรงไปเข้าถนนธนบุรี-ปากท่อก็ได้ หรือจากถนนเพชรเกษมผ่านอ้อมน้อย แยกเข้าถนนเศรษฐกิจ ๑ บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๕ ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนได้อีกเส้นทางหนึ่ง
๔. จากสะพานพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนบรมราชชนนี ตัดเข้าถนนเพชรเกษมได้ ๓ ทาง คือ ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ พุทธมณฑลสาย ๔ และพุทธมณฑลสาย ๕ จากนั้นเลือกเข้าตัวเมืองสมุทรสาครได้ ๒ ทาง คือ จากพุทธมณฑลสาย ๒ ออกถนนเอกชัย เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนศึกษานารี ระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร หรือใช้พุทธมณฑลสาย ๔ และพุทธมณฑลสาย ๕ เข้าถนนเศรษฐกิจ ๑ ที่แยกอ้อมน้อย ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งตัดผ่านถนนเอกชัยและถนนธนบุรี-ปากท่อได้อีกด้วย
   รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดสมุทรสาครทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๒๑.๓๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (รถธรรมดา) โทร.๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙-๒๐๐ (รถปรับอากาศ) หรือ www.transport.co.th
   รถไฟ การรถไฟมีบริการรถไฟออกจากสถานีวงเวียนใหญ่ทุกวันๆ ละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา ๐๕.๓๐-๒๐.๑๐ น. ไปสุดปลายทางสถานีรถไฟมหาชัย หรือข้ามเรือไปฝั่งสถานีรถไฟบ้านแหลมก็จะสามารถนั่งรถไฟต่อไปถึงสถานีรถไฟแม่กลองจังหวัดสมุทรสงคราม สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ โทร. ๐ ๒๔๖๕ ๒๐๑๗, ๐ ๒๘๙๐ ๖๒๖๐ และสถานีรถไฟมหาชัย โทร. ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๐๓ หรือ www.railway.co.th

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร ๐ ๓๔๔๑ ๑๒๕๑, ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๑๒
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๐๒, ๐ ๓๔๔๒ ๙๒๗๑-๔, ๐ ๓๔๔๑ ๑๒๕๓
โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร ๐ ๓๔๔๒ ๗๐๙๙
สถานีเดินรถจังหวัดสมุทรสาคร ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๔๖
ตำรวจทางหลวง ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว ๑๑๕๕
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลาง เขต ๑ (กาญจนบุรี)
ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ
อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ๗๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๔๕๑ ๑๒๐๐, ๐ ๓๔๕๑ ๒๕๐๐ โทรสาร ๐ ๓๔๕๑ ๑๒๐๐
พื้นที่ความรับผิดชอบ : กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

บทความที่ได้รับความนิยม