อำเภอดอนเจดีย์
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 31 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 322 (สุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์) ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก และ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหา อุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้าง เป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมรา ชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ ดอนเจดีย์และถือเป็นวันกองทัพไทย พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ทุกปี เลยจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร เป็นที่ตั้งของ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการะบูชาอยู่เสมอ
โบราณสถานบึงหนองสาหร่าย อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เลยพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 3038 ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามยุทธหัตถีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับ พระมหาอุปราชาแห่งพม่า สมเด็จพระนเรศวรทรงเลือกบริเวณหนองสาหร่ายเป็นที่ตั้งทัพ เพราะน้ำบริเวณหนองสาหร่ายมีมากพอที่จะให้ทหารจำนวนแสนคน พร้อมช้าง ม้าได้อาศัยเป็นเวลาแรมเดือน ประกอบกับเป็นชัยภูมิที่ตั้งสูงห่างข้าศึก ปัจจุบันสภาพหนองน้ำตื้นเขินและมีเนื้อที่เหลือที่เป็นหนองน้ำเพียง 29 ไร่ บริเวณโดยรอบมีต้นไม้เรียงรายร่มรื่น เนื่องจากสภาพทรุดโทรมนักท่องเที่ยวไม่นิยมมาท่องเที่ยว
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 31 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 322 (สุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์) ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก และ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหา อุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้าง เป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมรา ชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ ดอนเจดีย์และถือเป็นวันกองทัพไทย พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ทุกปี เลยจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร เป็นที่ตั้งของ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการะบูชาอยู่เสมอ
โบราณสถานบึงหนองสาหร่าย อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เลยพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 3038 ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามยุทธหัตถีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับ พระมหาอุปราชาแห่งพม่า สมเด็จพระนเรศวรทรงเลือกบริเวณหนองสาหร่ายเป็นที่ตั้งทัพ เพราะน้ำบริเวณหนองสาหร่ายมีมากพอที่จะให้ทหารจำนวนแสนคน พร้อมช้าง ม้าได้อาศัยเป็นเวลาแรมเดือน ประกอบกับเป็นชัยภูมิที่ตั้งสูงห่างข้าศึก ปัจจุบันสภาพหนองน้ำตื้นเขินและมีเนื้อที่เหลือที่เป็นหนองน้ำเพียง 29 ไร่ บริเวณโดยรอบมีต้นไม้เรียงรายร่มรื่น เนื่องจากสภาพทรุดโทรมนักท่องเที่ยวไม่นิยมมาท่องเที่ยว
อำเภอบางปลาม้า
อุทยานมัจฉา วัด ป่าพฤกษ์ อยู่ที่ตำบลบ้านแหลม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 86 จะเห็นป้ายทางเข้าจากนั้นไปตาม ทางหลวงหมายเลข 3351 กิโลเมตรที่ 10 บริเวณหน้าวัดมีฝูงปลาโดยเฉพาะปลายสวาย ปลาเทโพ ปลานิล เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถยืนชม และให้อาหารปลาได้อย่างใกล้ชิดบริเวณริมแม่น้ำซึ่งทางวัดก่อสร้างเป็นเขื่อน ทางเท้าริมน้ำยาวประมาณ 100 เมตร
อุทยานมัจฉา วัด ป่าพฤกษ์ อยู่ที่ตำบลบ้านแหลม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 86 จะเห็นป้ายทางเข้าจากนั้นไปตาม ทางหลวงหมายเลข 3351 กิโลเมตรที่ 10 บริเวณหน้าวัดมีฝูงปลาโดยเฉพาะปลายสวาย ปลาเทโพ ปลานิล เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถยืนชม และให้อาหารปลาได้อย่างใกล้ชิดบริเวณริมแม่น้ำซึ่งทางวัดก่อสร้างเป็นเขื่อน ทางเท้าริมน้ำยาวประมาณ 100 เมตร
อำเภอศรีประจันต์
บ้านควาย ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 340 (สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์) กิโลเมตรที่ 115-116 เป็นสถานที่รวบรวมวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านภาคกลาง มีพื้นที่ 100 กว่าไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หมู่บ้าน ชาวนาแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีลานนวดข้าว คอกควาย โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเรือนไทยภาคกลาง เรือนแต่ละหลังมีกิจกรรมสำหรับผู้สนใจ เช่น เรือนแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทย และการใช้สมุนไพร เรือนโหราศาสตร์ มีลานแสดงควายช่วงเช้าแสดงรอบ 11.00-11.30 น. ช่วงบ่ายรอบ 16.30-17.00 น. ด้านหน้าทางเข้ามีร้านขายสินค้าที่ระลึกของบ้านควายสำหรับนักท่องเที่ยว บ้านควายเปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 09.30-18.30 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 300 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานกรุงเทพฯโทร. 0 2619 6326-9 สำนักงานสุพรรณบุรีโทร 0 3558 1668 เว็บไซต์ : www.buffalovillages.com
วัดบ้านกร่าง จากทางหลวงหมายเลข 340 ผ่านอำเภอศรีประจันต์ เข้าทางหลวงหมายเลข 3038 กิโลเมตรที่ 14-15 ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีคนละฝั่งกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีกรุ พระขุนแผนบ้านกร่าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังสงครามยุทธหัตถีระหว่าง สมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ลักษณะเป็นพระคู่ ด้านใต้ของวัดมีเจดีย์องค์หนึ่งอายุประมาณ 100 ปี บริเวณหน้าวัดริมแม่น้ำมีปลาอาศัยจำนวนมาก ทางวัดจัดจำหน่ายอาหารปลา ถือ เป็นอุทยานมัจฉา แห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี จะสังเกตเห็นเรือนแถวหน้าทางเข้าวัดบ้านกร่าง เป็นเรือนแถวไม้สองชั้น แบบโบราณ บรรยากาศเงียบสงบ สะท้อนความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบดั้งเดิมของผู้คนแถวนั้น
บ้านควาย ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 340 (สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์) กิโลเมตรที่ 115-116 เป็นสถานที่รวบรวมวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านภาคกลาง มีพื้นที่ 100 กว่าไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หมู่บ้าน ชาวนาแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีลานนวดข้าว คอกควาย โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเรือนไทยภาคกลาง เรือนแต่ละหลังมีกิจกรรมสำหรับผู้สนใจ เช่น เรือนแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทย และการใช้สมุนไพร เรือนโหราศาสตร์ มีลานแสดงควายช่วงเช้าแสดงรอบ 11.00-11.30 น. ช่วงบ่ายรอบ 16.30-17.00 น. ด้านหน้าทางเข้ามีร้านขายสินค้าที่ระลึกของบ้านควายสำหรับนักท่องเที่ยว บ้านควายเปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 09.30-18.30 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 300 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานกรุงเทพฯโทร. 0 2619 6326-9 สำนักงานสุพรรณบุรีโทร 0 3558 1668 เว็บไซต์ : www.buffalovillages.com
วัดบ้านกร่าง จากทางหลวงหมายเลข 340 ผ่านอำเภอศรีประจันต์ เข้าทางหลวงหมายเลข 3038 กิโลเมตรที่ 14-15 ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีคนละฝั่งกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีกรุ พระขุนแผนบ้านกร่าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังสงครามยุทธหัตถีระหว่าง สมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ลักษณะเป็นพระคู่ ด้านใต้ของวัดมีเจดีย์องค์หนึ่งอายุประมาณ 100 ปี บริเวณหน้าวัดริมแม่น้ำมีปลาอาศัยจำนวนมาก ทางวัดจัดจำหน่ายอาหารปลา ถือ เป็นอุทยานมัจฉา แห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี จะสังเกตเห็นเรือนแถวหน้าทางเข้าวัดบ้านกร่าง เป็นเรือนแถวไม้สองชั้น แบบโบราณ บรรยากาศเงียบสงบ สะท้อนความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบดั้งเดิมของผู้คนแถวนั้น