อำเภอเดิมบางนางบวช
วัดวัดเขาขึ้น หรือ วัดเขานางบวช (วัดพระอาจารย์ธรรมโชติ) ห่างจากจังหวัดประมาณ 51 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 138-139 มีทางลาดยางขึ้นไปจนถึงวัดซึ่งตั้งอยู่บนเขานางบวช หรือจะเดินขึ้นบันได 249 ขั้น ไปจนถึงยอดเขาก็ได้ พระอาจารย์ธรรมโชติเป็นพระที่มีความสำคัญใน ศึกชาวบ้านบางระจัน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องรางของขลัง ชาวบ้านบางระจันจึงนิมนต์ไปเป็นขวัญและกำลังใจในการสู้รบกับพม่า ภายในวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ด้านนอกวิหาร จะเห็น เจดีย์หินแผ่น เป็นหินแผ่นบางๆวางซ้อนเป็นรูปเจดีย์ขนาดไม่สูงมากตั้งอยู่ติดกับวิหาร ในโบสถ์ หลังใหม่มีรูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ เมื่อยืนอยู่บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอเดิมบาง นางบวชได้อย่างทั่วถึง
วัดหัวเขา ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลหัวเขา ในตัวอำเภอเดิมบางนางบวช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร ผ่านเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 3350 ประมาณกิโลเมตรที่ 2-3 เมื่อถึงวัดหัวเขาจะเห็นบันไดขึ้น-ลงเขาทำด้วยคอนกรีตจำนวนรวม 212 ขั้น ทุกปีทางวัดจะจัดงานประเพณี ตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นพิธีทำบุญของชาวไทยในเทศกาลออกพรรษา งานเริ่มหลังจากวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 2 ค่ำ เดือน 11 มีผู้คนมาร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก
วัดเดิมบาง ห่างจากจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ ธรรมาสน์ที่สร้างโดยช่างชาวจีน เป็นศิลปะไทยผสมจีน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2458 สร้างเสร็จ พ.ศ. 2466 ปัจจุบันเก็บไว้บนศาลา การเปรียญ นอกจากนั้นที่หอสวดมนต์ยังเก็บของมีค่าของวัดไว้ 3 ชิ้น ได้แก่ ฝาบาตรมุก ตาลปัตร และปิ่นโต ซึ่งรัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่วัด ทางวัดเก็บรักษาไว้อยู่ในสภาพดี และยังมีมณฑปและหอระฆังที่ก่อสร้างอย่างประณีตสวยงาม ส่วนภายในพระอุโบสถที่บูรณะใหม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสภาพสมบูรณ์
บึงฉวาก เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม กรมป่าไม้ เป็นต้น
บึงฉวากให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร มีสถานที่ ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแลเช่น อุทยานผักพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ข้อมูล ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตร เรือนเพาะชำกล้าไม้ อุทยาน เปิดให้เขาชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0 1948 9214 หรือสำนักงานเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 0 3557 8061
ในส่วนของกรมป่าไม้ มีอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ มีตู้จำลองระบบนิเวศและห้องฉายวิดีทัศน์ ด้านนอกมีกรงเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าหายาก กรงนก กรงเสือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.00-18.00 น. โทร. 0 3543 9206
การเดินทาง จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทางคือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลอง ชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน
อีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 340 หลักกิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือจะเห็นโรงเรียน วัดเดิมบางนางบวช ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียน ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับ ถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบึงฉวาก
วัดวัดเขาขึ้น หรือ วัดเขานางบวช (วัดพระอาจารย์ธรรมโชติ) ห่างจากจังหวัดประมาณ 51 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 138-139 มีทางลาดยางขึ้นไปจนถึงวัดซึ่งตั้งอยู่บนเขานางบวช หรือจะเดินขึ้นบันได 249 ขั้น ไปจนถึงยอดเขาก็ได้ พระอาจารย์ธรรมโชติเป็นพระที่มีความสำคัญใน ศึกชาวบ้านบางระจัน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องรางของขลัง ชาวบ้านบางระจันจึงนิมนต์ไปเป็นขวัญและกำลังใจในการสู้รบกับพม่า ภายในวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ด้านนอกวิหาร จะเห็น เจดีย์หินแผ่น เป็นหินแผ่นบางๆวางซ้อนเป็นรูปเจดีย์ขนาดไม่สูงมากตั้งอยู่ติดกับวิหาร ในโบสถ์ หลังใหม่มีรูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ เมื่อยืนอยู่บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอเดิมบาง นางบวชได้อย่างทั่วถึง
วัดหัวเขา ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลหัวเขา ในตัวอำเภอเดิมบางนางบวช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร ผ่านเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 3350 ประมาณกิโลเมตรที่ 2-3 เมื่อถึงวัดหัวเขาจะเห็นบันไดขึ้น-ลงเขาทำด้วยคอนกรีตจำนวนรวม 212 ขั้น ทุกปีทางวัดจะจัดงานประเพณี ตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นพิธีทำบุญของชาวไทยในเทศกาลออกพรรษา งานเริ่มหลังจากวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 2 ค่ำ เดือน 11 มีผู้คนมาร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก
วัดเดิมบาง ห่างจากจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ ธรรมาสน์ที่สร้างโดยช่างชาวจีน เป็นศิลปะไทยผสมจีน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2458 สร้างเสร็จ พ.ศ. 2466 ปัจจุบันเก็บไว้บนศาลา การเปรียญ นอกจากนั้นที่หอสวดมนต์ยังเก็บของมีค่าของวัดไว้ 3 ชิ้น ได้แก่ ฝาบาตรมุก ตาลปัตร และปิ่นโต ซึ่งรัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่วัด ทางวัดเก็บรักษาไว้อยู่ในสภาพดี และยังมีมณฑปและหอระฆังที่ก่อสร้างอย่างประณีตสวยงาม ส่วนภายในพระอุโบสถที่บูรณะใหม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสภาพสมบูรณ์
บึงฉวาก เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม กรมป่าไม้ เป็นต้น
บึงฉวากให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร มีสถานที่ ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแลเช่น อุทยานผักพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ข้อมูล ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตร เรือนเพาะชำกล้าไม้ อุทยาน เปิดให้เขาชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0 1948 9214 หรือสำนักงานเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 0 3557 8061
ในส่วนของกรมป่าไม้ มีอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ มีตู้จำลองระบบนิเวศและห้องฉายวิดีทัศน์ ด้านนอกมีกรงเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าหายาก กรงนก กรงเสือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.00-18.00 น. โทร. 0 3543 9206
การเดินทาง จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทางคือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลอง ชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน
อีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 340 หลักกิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือจะเห็นโรงเรียน วัดเดิมบางนางบวช ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียน ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับ ถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบึงฉวาก
อำเภออู่ทอง
ทวารวดี พระพุทธรูปสมัยทวารวดี อาคารที่ 2 จัดแสดงห้องชาติพันธุ์วิทยาและลูกปัดที่ค้นพบในเมืองอู่ทอง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยทวารวดี ส่วนลานกลางแจ้งสร้างเป็นเรือนแบบลาวโซ่ง จัดแสดง วัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวลาวโซ่ง พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 3555 1040
วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม เดิมชื่อ วัดเขาพระ ห่างจากจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ในตัวอำเภออู่ทอง ใกล้หอนาฬิกาบรรหาร-แจ่มใส เข้าซอยไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าตั้งแต่สมัยทวารวดี เพราะ มีโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ซึ่งสลักจากเนื้อหิน เทวรูปจักรนารายณ์เนื้อหิน บนยอดเขาพบซากเจดีย์อยุธยา 1 องค์ และยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองแกะสลักด้วยหินเขียวธรรมชาติ ประดิษฐานไว้ในมณฑปบนยอดเขาอีกด้วย ทุกปี มีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 12 กับ วันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 5
วนอุทยานพุม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลจระเข้สามพัน ห่างจากจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร ไปทางหลวงหมายเลข 321 กิโลเมตรที่ 128-129 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 3342 ไป 500 เมตร จะเห็นทางเข้า วนอุทยานพุม่วงทางขวามือ อุทยานแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 1,725 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณสลับกับ ป่าไผ่รวก ภายในวนอุทยานมีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ระหว่างทางเดินจะเห็นไม้เบญจพรรณจำพวกไม้มะค่า ไผ่ จันทน์กะพ้อ จันทน์ผา
คอกช้างดินสมัยทวารวดี อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ อายุราว 1,500 ปี จำนวน 3 คอก มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่
ฐานวิหารศิลาแลงสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่สำหรับกษัตริย์ทำพิธีบวงสรวงสังเวยเพื่อ คล้องช้างป่า
น้ำตกพุม่วง ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน มีทั้งหมด 5 ชั้น ตลอดเส้นทางที่ น้ำตกไหลผ่าน จะผ่านจุดที่น่าสนใจ คือ คอกช้างดินและฐานศิลาแลง หากขึ้นไปบนเทือกเขาพระจะเห็นพันธุ์ไม้นานาชนิดอาทิ เช่น จันทน์กะพ้อ และปรงเผือก มี ลานหิน ที่มีก้อนหินน้อยใหญ่วางสลับกัน บางแห่งก็รวมกันเป็นเชิงชั้น มีต้นปรงขึ้นสลับ เป็นป่าใกล้เมืองที่หาได้ยากแห่งหนึ่ง
หากต้องการพักค้างแรมควรติดต่อขออนุญาตล่วงหน้าและเตรียมอาหารไปเอง สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ วนอุทยานพุม่วง ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160 โทร. 0 1943 5188
วัดเขาดีสลัก ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนคา ห่างจากอำเภออู่ทอง 8 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ รอยพระพุทธบาทจำลองสร้างด้วยหินทรายสีแดง มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบที่อื่น คือ รอยพระพุทธบาทนูน ขนาดกว้างประมาณ 65.5 เซนติเมตร ยาว 141.5 เซนติเมตร นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าเป็นศิลปะสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีทางรถขึ้นไปชมรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทางวัดปรับปรุงภูมิทัศน์บนยอดเขา มองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามในเขตอำเภออู่ทองโดยรอบ นอกจากนี้ยังพบโพรงหินภายในมีพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่าง ๆ อีกหลายชนิด
วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 43 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยก ลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว หรือ หากมาตามทางหลวงหมายเลข 3422 กิโลเมตรที่ 18-19 วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไปนิยมไปเที่ยวชมกันมากเพราะท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย และยังมี “พระวิหารร้อยยอด” และ “พระธรรมจักร” หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้ง สิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย เป็นวัดที่โดดเด่นวัดหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
วัดทับกระดาน ไปตามทางหลวงหมายเลข 3387 ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 3351 กิโลเมตรที่ 10 อำเภอสองพี่น้องเป็นอำเภอบ้านเกิดของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังซึ่งมีคนนิยมฟังเพลงของเธอมากมายและ ได้เสียชีวิตไป ทำให้แฟนเพลงเสียใจกันมาก จึงมีการเก็บรวบรวมเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ ที่ใช้ในการร้องเพลง รวมทั้งรูปถ่ายจากข่าวหนังสือพิมพ์ไว้ในโบสถ์ของวัดนี้ เนื่องจาก พุ่มพวงคุ้นเคยกับวัดนี้ตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้บริเวณศาลาท่าน้ำจะมีรูปวาดของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่มีคนนำมาให้เพื่อแก้บน ด้านหน้าวัดมีร้านขายของสด แห้งต่างๆ เช่น น้ำพริก หน่อไม้ ผลไม้ต่างๆ ทุกปีจะมีการจัดงานครบรอบวันเสียชีวิตของนักร้องผู้นี้ มีผู้คนมาร่วมงานจำนวนมาก
ทวารวดี พระพุทธรูปสมัยทวารวดี อาคารที่ 2 จัดแสดงห้องชาติพันธุ์วิทยาและลูกปัดที่ค้นพบในเมืองอู่ทอง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยทวารวดี ส่วนลานกลางแจ้งสร้างเป็นเรือนแบบลาวโซ่ง จัดแสดง วัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวลาวโซ่ง พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 3555 1040
วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม เดิมชื่อ วัดเขาพระ ห่างจากจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ในตัวอำเภออู่ทอง ใกล้หอนาฬิกาบรรหาร-แจ่มใส เข้าซอยไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าตั้งแต่สมัยทวารวดี เพราะ มีโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ซึ่งสลักจากเนื้อหิน เทวรูปจักรนารายณ์เนื้อหิน บนยอดเขาพบซากเจดีย์อยุธยา 1 องค์ และยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองแกะสลักด้วยหินเขียวธรรมชาติ ประดิษฐานไว้ในมณฑปบนยอดเขาอีกด้วย ทุกปี มีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 12 กับ วันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 5
วนอุทยานพุม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลจระเข้สามพัน ห่างจากจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร ไปทางหลวงหมายเลข 321 กิโลเมตรที่ 128-129 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 3342 ไป 500 เมตร จะเห็นทางเข้า วนอุทยานพุม่วงทางขวามือ อุทยานแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 1,725 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณสลับกับ ป่าไผ่รวก ภายในวนอุทยานมีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ระหว่างทางเดินจะเห็นไม้เบญจพรรณจำพวกไม้มะค่า ไผ่ จันทน์กะพ้อ จันทน์ผา
คอกช้างดินสมัยทวารวดี อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ อายุราว 1,500 ปี จำนวน 3 คอก มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่
ฐานวิหารศิลาแลงสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่สำหรับกษัตริย์ทำพิธีบวงสรวงสังเวยเพื่อ คล้องช้างป่า
น้ำตกพุม่วง ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน มีทั้งหมด 5 ชั้น ตลอดเส้นทางที่ น้ำตกไหลผ่าน จะผ่านจุดที่น่าสนใจ คือ คอกช้างดินและฐานศิลาแลง หากขึ้นไปบนเทือกเขาพระจะเห็นพันธุ์ไม้นานาชนิดอาทิ เช่น จันทน์กะพ้อ และปรงเผือก มี ลานหิน ที่มีก้อนหินน้อยใหญ่วางสลับกัน บางแห่งก็รวมกันเป็นเชิงชั้น มีต้นปรงขึ้นสลับ เป็นป่าใกล้เมืองที่หาได้ยากแห่งหนึ่ง
หากต้องการพักค้างแรมควรติดต่อขออนุญาตล่วงหน้าและเตรียมอาหารไปเอง สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ วนอุทยานพุม่วง ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160 โทร. 0 1943 5188
วัดเขาดีสลัก ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนคา ห่างจากอำเภออู่ทอง 8 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ รอยพระพุทธบาทจำลองสร้างด้วยหินทรายสีแดง มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบที่อื่น คือ รอยพระพุทธบาทนูน ขนาดกว้างประมาณ 65.5 เซนติเมตร ยาว 141.5 เซนติเมตร นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าเป็นศิลปะสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีทางรถขึ้นไปชมรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทางวัดปรับปรุงภูมิทัศน์บนยอดเขา มองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามในเขตอำเภออู่ทองโดยรอบ นอกจากนี้ยังพบโพรงหินภายในมีพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่าง ๆ อีกหลายชนิด
วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 43 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยก ลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว หรือ หากมาตามทางหลวงหมายเลข 3422 กิโลเมตรที่ 18-19 วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไปนิยมไปเที่ยวชมกันมากเพราะท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย และยังมี “พระวิหารร้อยยอด” และ “พระธรรมจักร” หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้ง สิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย เป็นวัดที่โดดเด่นวัดหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
วัดทับกระดาน ไปตามทางหลวงหมายเลข 3387 ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 3351 กิโลเมตรที่ 10 อำเภอสองพี่น้องเป็นอำเภอบ้านเกิดของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังซึ่งมีคนนิยมฟังเพลงของเธอมากมายและ ได้เสียชีวิตไป ทำให้แฟนเพลงเสียใจกันมาก จึงมีการเก็บรวบรวมเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ ที่ใช้ในการร้องเพลง รวมทั้งรูปถ่ายจากข่าวหนังสือพิมพ์ไว้ในโบสถ์ของวัดนี้ เนื่องจาก พุ่มพวงคุ้นเคยกับวัดนี้ตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้บริเวณศาลาท่าน้ำจะมีรูปวาดของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่มีคนนำมาให้เพื่อแก้บน ด้านหน้าวัดมีร้านขายของสด แห้งต่างๆ เช่น น้ำพริก หน่อไม้ ผลไม้ต่างๆ ทุกปีจะมีการจัดงานครบรอบวันเสียชีวิตของนักร้องผู้นี้ มีผู้คนมาร่วมงานจำนวนมาก