อุทยานแห่งชาติบางลาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง บริเวณป่ารอบ ๆ อ่างเก็บน้ำที่สมบูรณ์ ทะเลสาป เกาะ ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมเนื้อที่ประมาณ 461.04 ตารางกิโลเมตร หรือ 288,150 ไร่ ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2530
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สลับกับเนินเขาและพื้นที่ราบบางตอน พื้นที่ลาดเทจากด้านทิศใต้ลงสู่ทิศเหนือ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินเหนียวมีดินลูกรังเป็นบางส่วน เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำหลายสายไหลมาบรรจบเป็นแม่น้ำปัตตานี และต้นน้ำที่สำคัญหลายสาย อาทิเช่น แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี คลองโต๊ะโม๊ะ คลองฮาลา และคลองบ้านเจ็ด
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศเย็นชุ่มชื้นมีลมมรสุมตะวันออกพัดผ่านทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปีระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม จะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน - พฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,200 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วยป่าดงดิบชื้น มีไม้นานาชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่หลุมพอ ตะเคียนทอง สยา นาคบุตร และไม้ตระกูลยาง ส่วนสัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี เม่น กระทิง กระซู่ สมเสร็จ วัวแดง และนกชนิดต่างๆ เช่นนกกางเขนดง นกกรงหัวจุก นกเงือกซึ่งมีอยู่ 9 ชนิด ในเขตอุทยานแห่งชาติ
แหล่งทองเที่ยว
เขื่อนบางลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดยะลา 58 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ถึงบ้านกาโสด หลักกิโลเมตรที่ 46 แยกเข้าเขื่อน 12 กิโลเมตร เขื่อนบางลาง สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2524 ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร ยาว 422 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ฐานเขื่อนกว้าง 366 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 72,000 กิโลวัตต์ มีพื้นที่ผิวน้ำระดับสูงสุด 51 ตารางกิโลเมตร
ทะเลสาปธารโต เป็นทะเลสาปเหนือเขื่อนบางลาง เกิดจากการถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง มีความกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร ยาว 6 กิโลเมตร มีทิวทัศน์และบรรยากาศที่สวยงามแปลกตา และเกาะที่อยู่กลางทะเลสาปธารโต ชื่อ “เกาะหัวล้าน” มีเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย
น้ำตกธารโต เดิมกรมป่าไม้ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำตกธารโตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลลดหลั่นกันมารวม 9 ชั้น ทุกชั้นมีทางเดินเท้าสามารถเดินชมความงามได้ตลอด บริเวณน้ำตกชั้นที่ 3-5 มีศาลาพักชมความงามของน้ำตกและผืนป่า ชั้นที่ 9 เป็นชั้นสูงสุด ระยะทางจาก 1-9 ประมาณ 500 เมตร เหมาะแก่การดูนก เพราะผ่านไปตามป่าดงดิบร่มครื้น สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 56 อยู่ห่างจากอำเภอธารโต 4 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอบันนังสตา 16 กิโลเมตร
น้ำตกละอองรุ้ง เป็นน้ำตกมีชั้นน้ำตกสูงตกลงมากระจายเป็นละอองน้ำ และเมื่อกระทบแสงแดดมองดูเป็นสายรุ้ง จึงตั้งชื่อว่า “น้ำตกละอองรุ้ง” สามารถเดินชมความงามได้ทุกชั้นตามทางเท้า สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 40
น้ำตกโต๊ะโม๊ะ อยู่ในเขตหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลาง ที่ บล. 2 ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 90 กม. แยกจากทางหลวงแผ่นดินสายยะลา-เบตง เข้าทางเขื่อนบางลาง น้ำตกมีความสูงประมาณ 100 เมตร นอกจากนี้บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงยังมีน้ำตกจิ้งจก น้ำตกบ้าน 9 และโป่งดิน ที่สัตว์ลงมาหากิน 4-5 แห่ง
ผืนป่าฮาลา-บาลา อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา รวมกับผืนน้ำของอ่างเก็บน้ำบางลาง บริเวณผืนป่ายังคงความอุดสมบูรณ์มาก มีเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นที่อยู่อาศัยของนกเงือก รวมไปถึงสัตว์ป่าต่าง ๆ อาทิ กระทิง ช้าง เก้ง กวาง เป็นต้น การเดินทาง ต้องใช้เส้นทางด้านหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 เข้าทางหลังเขื่อนบางลาง ไปตามถนนที่คดเคี้ยวบนเทือกเขาจะสามารถมองเห็นจุดชมวิวเหนืออ่างเก็บน้ำที่สวยงาม
บ้านพักปละสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติบางลาง ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการและ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 56 ที่ทำการอุทยานแห่งชาติบางลาง ตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกธารโต ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติบางลางตู้ ปณ. 1 ปณจ.ธารโต,อ. ธารโต จ. ยะลา 95150 โทรศัพท์ : (6673) 297099, 201716
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา