พิษณุโลก เป็นเมืองใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มากมีไปด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและธรรมชาติของสายน้ำและป่าเขาที่สวยงามน่าท่องเที่ยว อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร
• จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ประมาณ 11,815 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ทางด้านตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำน่านซึ่งไหลผ่านบริเวณตัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ และอำเภอเนินมะปราง
• ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลกมีมาแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย หรือบริเวณที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1911 สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
• สมัยอยุธยา เมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรฝ่ายเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงปฏิรูปการปกครองและได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2116 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2131 ช่วงนั้นพิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี หลังรัชสมัยของพระองค์พิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เป็นหน้าด่านสำคัญที่จะสกัดกั้นกองทัพพม่า เมื่อครั้งพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ระยะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติไทยได้ในปี พ.ศ. 2127
• สมัยกรุงธนบุรี พิษณุโลกเป็นสถานที่ตั้งมั่นรับศึกพม่า เมื่อครั้งกองทัพของอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ต้องเผชิญการต่อสู้อย่างทรหดกับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ถึงขนาดต้องขอดูตัว และได้ทำนายเจ้าพระยาจักรีว่าต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์
• สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงดำริให้รื้อกำแพงเมืองพิษณูโลกเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ 451 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางที่ผ่านเพชรบูรณ์และหล่มสัก แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก-พิษณุโลกระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร จะผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง
• รถโดยสาร จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบริการรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศไปยังพิษณุโลกตลอดวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 537-8155, 936-2852 และที่สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. (055) 242431 รถประจำทางปรับอากาศ ติดต่อ พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ โทร. 936-2924-5 หรือ (055) 258647 เชิดชัยทัวร์ โทร. 936-1199 หรือ (055) 251414 วินทัวร์ โทร. 936-3753 หรือ (055) 243222
• นอกจากนี้ยังมีรถ บขส. บริการระหว่างพิษณุโลกกับจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก (แม่สอด) พิจิตร เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ทุกวัน
• รถไฟ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลกทุกวัน สอบถาม หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1691, 223-7111, 223-7121 สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. (055) 258115
• เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯและพิษณุโลกทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 51 นาที สอบถามกำหนดการเดินทาง โทร. 1566 ติดต่อสำรองที่นั่ง โทร. 281-1161 หรือ 628–2111 หรือที่สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 258121, 258129
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่าง ๆ
อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร
อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร
อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร
อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร
อำเภอพรหมพิราม 41 กิโลเมตร
อำเภอวัดโบสถ์ 31 กิโลเมตร
อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร
อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา