Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


พระตำหนักดอยตุง
• พระตำหนักดอยตุง นับไว่าเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จพระศรนครินทราบรมราชชนนี ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชาทรัพย์ส่วนพระองค์พระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯได้พระราชทานแนวพระราชดำริ โดยเน้นความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ได้ดี พระตำหนักดอยตุง เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อพระองค์ท่านเจริญพระชนมายุได้ 88 พรรษา โดยมีพิธีลงเสาเอกซึ่งทางเหนือเรียกว่า พีธีปกเสาเฮือน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2530
พระตำหนักดอยตุง เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิสเซอร์แลนด์ และบ้านไม้ซุง ตัวอาคารมีสองชั้นและชั้นลอย ที่ประทับชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน ทุกส่วนเชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียวเสมอกับลานกว้างยอดเนินเขา ส่วนชั้นล่างจะเกาะอยู่ตามไหล่เนินเขา ลักษณะเด่นอยู่ที่กาแล และเชิงชายแกะสลักลายเมฆไหลรอบพระตำหนัก ภายในท้องพระโรงจะเห็นเพดานดาว ทำด้วยไม้สนแกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะจักรวาล และที่เชิงบันได แกะเป็นตัวพยัญชนะไทยพร้อมภาพประกอบ ไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในพระตำหนักส่วนใหญ่ เป็นไม้ลังใส่สินค้ามาจากต่างประเทศ ส่วนภายนอกพระตำหนักสดสวยสะพรั่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวนานาพันธุ์ที่สวยงามและสดชื่นตลอดปี
• สวนแม่ฟ้าหลวง
• สวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 บนพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ใกล้กับพระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับการออกแบบให้สวยงามตลอด 365 วัน แปลงไม้ดอกหลากหลายพันธ์นับหมื่นดอกถูกจัดแต่งหมุนเวียนให้สวยงามไม่ซ้ำกันทั้งสามฤดู ประกอบกับประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวโดดเด่นอยู่กลางสวน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า ความต่อเนื่อง อันตรงกับพระราชดำริของสมเด็จย่าที่ว่า ทำงานอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง
• สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวัล พาต้าโกลด์ อะวอร์ด (PATA GOLD AWARDS )ประจำปี 2536 ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคแปซิฟิค ในนามของประเทศไทย ประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
• ปัจจุบันสวนแม่ฟ้าหลวงได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 13 ไร่ เป็นสวนหิน สวนน้ำ สวนปาล์ม และสวนไม้ประดับ รวมเนื้อที่สวนแม่ฟ้าหลวงทั้งหมดเป็น 25 ไร่
• ดอยช้างมูบ
• ช้างมูบ เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอนในโครงการพัฒนาดอยตุง เดิมเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์โดยรอบที่งดงาม แต่ได้ถูกทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกฝิ่น เมื่อครั้งสมเด็จย่าเสด็จมา ที่นี่เป็นเพียงภูเขาที่มีแต่หญ้าปกคลุม พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นความงดงามของพื้นที่นี้จึงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม
• เมื่อปี พ.ศ.2535 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนองพระราชดำริ สร้างสวนรุกชาติบนพื้นที่ 250 ไร่บนดอยช้างมูบนี้ โดยรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นเมืองและพันธุ์ไม้ป่าหายาก จากแหล่งต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ ต้นกุหลาบพันปี ที่พบในภูเขาสูงของไทย พม่าและจีน โดยเฉพาะต้นที่มีดอกสีแดงที่ทรงโปรด นอกจกนั้นยังมีต้นนางพญาเสือโคร่ง ไม้หัวที่ให้ดอกออกใบหลากสีตลอดปี
• สวนรุกชาติแม่ฟ้าหลวง มีทางเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาสำหรับชมต้นไม้ดอกไม้ มีลานปิคนิค ศาลานั่งพักผ่อน มีระเบียงชมวิวซึ่งมองเห็นดินแดนพม่า แม่น้ำโขง ไปจนถึงฝั่งลาว และน้ำผุดที่มีชื่อว่า น้ำพระทัย อันหมายถึงน้ำพระทัยของสมเด็จย่า ที่หลั่งรินไม่เหือดแห้งสู่ราษฏรผู้ยากไร้ เหมือน้ำจากยอดดอยที่ไหลสู่ที่ราบอย่างไร้พรหมแดน
• ผลิตภัณฑ์งานเกษตร
• เพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่มีอาชีพ และมีรายได้เลี้ยงตัว โครงการพัฒนาดอยตุงได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมขึ้น ฝึกอาชีพและสร้างงานให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆทางการเกษตรและนำไปประกอบอาชีพของตนเอง งานของศูนย์ส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ งานเพาะเนื้อเยื่อ เห็ด กาแฟ ไม้ตัดดอกตัดใบ ไม้กระถาง ไม้ประดับจากต่างประเทศ ผลผลิตทางการเกษตรของดอยตุงมีคุณภาพดี เนื่องจากมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำเทคโนโลยีทางการเกษตรยุคใหม่มาใช้จนได้ผลิตที่มีมาตรฐานดีเป็นที่ยอมรับของตลาด
• ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ
• ผ้าและพรหมทอกี่ ผู้หญิงในหมู่บ้านชาวเขาและชาวไทยใหญ่ มีความประณีตในงานทอผ้ากันเป็นส่วนใหญ่ โครงการฯได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาเสริมสร้างเทคนิคการทอผ้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ผ้าและพรหมทอกี่ที่มีคุณภาพและสีสัน เป็นที่ถูใจของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
• พรหมทอมือ ด้วยฝีมือแรงงานของหนุ่มสาวชาวบ้านบนดอยตุง ที่สามารถทอลวดลายตามแบบได้ทุกแบบเป็นผลผลิตคุณภาพ ที่ส่งจำหน่ายยังต่างประเทศได้
• กระดาษสา จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่า นำมาปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ โดยนำเปลือกมาทำกระดาษสาด้วยขั้นตอนที่ประณีตจนมีสีสันและลวดลายต่างๆ เพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า
• กาแฟดอยตุง ต้นตำหรับกาแฟอาราบิกาเป็นส่วนหนึ่งของป่าเศรษฐกิจของโครงการดอยตุง ปลูกอยู่บนที่สูงมีคุณภาพดี เมื่อนำมาคั่ว จึงได้กาแฟที่มีรสชาติละเมียดอร่อย เป็นเอกลักษณ์ของดอยตุงและได้รับการยอมรับว่ารสชาติระดับมาตรฐานโลก
• สวนสัตว์ดอยตุง
• สวนสัตว์ดอยตุงเป็นสวนสัตว์เปิดบนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ในโครงการพัฒนาดอยตุง จัดตั้งเพื่อเป็นสถานีเพาะเลี้ยง และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าเสื่อโทรมที่ถูกทำลาย ทำให้สัตว์ป่าอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่ด้วยพระราชดำริของสมเด็จย่าในการฟื้นฟูสภาพป่า ทำให้ความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่พื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง สัตว์ต่างๆที่มีถิ่นฐานบริเวณนี้ เช่นไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง หมี กวาง เก้ง เนื้อทราย ที่หาดูได้ยากมาเลี้ยง และเปิดให้เข้าชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในสภาพธรรมชาติ
• ศูนย์ฝึกอาชีพผาหมี
• สมเด็จย่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดขึ้นที่บริเวณดอยผาหมีแห่งนี้ เพื่อทำการบำบัดรักษา ผู้ติดยาทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งฝึกฝนอาชีพควบคู่ไปด้วยเพื่อที่จะให้ผุ้เข้ารับการบำบัด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองเมื่อหายเป็นปรกติ ปัจจุบันศูนย์บำบัดฯดอยผาหมีได้กลายมาเป็นศูนย์ฝึกอาชีพอย่างเต็มตัว การฝึกฝนอาชีพที่นี่เป็นต้นกำเนิดของผลผลิตหลากหลาย ของโครงการดอยตุง เช่นเครื่องจักสาน ผักสดต่างๆ อันเนื่องมาจากการฝึกฝนอาชีพของอดีตผู้ติดยาเสพติดเหล่านั้น
• หมู่บ้านชาวเขา
• ในบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง มีหมู่บ้าน 26 หมู่บ้านประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ ได้แก่ ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ชาวเขาเผ่าอาข่า และมูเซอ ปัจจุบันชาวบ้านเหล่านี้ ตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง มีถนนหนทางติดต่อกันโดยสะดวก แต่ละหมู่บ้านมีเอกลักษณ์และการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป ชาวบ้านเหล่านี้เข้ามาทำงานและฝึกอาชีพกับโครงการฯ ทำให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาเหล่านี้ก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่าไว้อย่างดี ทำให้มีพิธีงานฉลองประจำเผ่าที่สวยงามตลอดทั้งปี
• การเดินทางสู่ดอยตุง
• จากตัวเมืองเชียงราย ตามทางหลวงหมายเลข 10 (สายเชียงราย – แม่สาย) ประมาณ 48 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าดอยตุงที่หลักกิโลเมตรที่ 870 –871 บ้านสันกอง (สายใหม่)หรือแยกซ้ายเข้าดอยตุงที่ 871 –872 ตรงข้ามตู้ยามห้วยไคร้ (สายเก่า)ตามทางหลวงหมายเลข 1149 เส้นทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวบนดอยตุง สามารถเดินทางเป็นวงรอบสู่อำเภอแม่สายใต้ เป็นเส้นทางลาดยางขึ้นเขาคดเคี้ยวลัดเลาะไปตามภูมิประเทศที่สวย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม