ในปี พ.ศ. 2531 มีข่าวว่านายทุนกำลังติดต่อขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่บริเวณเกาะระ-พระทอง จังหวัดพังงา นายดิษฐพงศ์ โชคคณาพิทักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในขณะนั้น จึงได้มีหนังสืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ด่วนมาก ที่ กช 0713 (มส) /116 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2531 เสนอให้กองอุทยานแห่งชาติแจ้งกรมป่าไม้ โปรดระงับไม่ให้มีการเช่าพื้นที่บริเวณเกาะระ และมีความเห็นให้สงวนไว้เพื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จะได้ดำเนินการสำรวจผนวกให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ เห็นควรสำรวจพื้นที่บริเวณเกาะระ-เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง และพื้นที่อื่นๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้โดย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ โปรดอนุมัติลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 ท้ายหนังสือสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ กษ 0712.5/981 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2543 ให้นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ 6 ซึ่งปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ดำเนินการสำรวจเบื้องต้นบริเวณเกาะพื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง ท้องที่ อำเภอคุระบุรี อำเภอ.ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผลการสำรวจเบื้องต้น ปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ดำเนินการสำรวจครอบคลุมพื้นที่ 401,250 ไร่ เป็นพื้นน้ำ 185,180 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่บก 206,080 ไร่ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีความหลากหลายทางชีวภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1868/2543 ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2543 ให้นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่บริเวณเกาะระ- เกาะพระทอง และพื้นที่ป่าชายเลน ใกล้เคียงในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ จากการดำเนินการทำให้แกนนำบางคนในท้องถิ่นเสียผลประโยชน์จึงได้ยุยงให้ชาวบ้านประท้วงคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยอ้างปัญหาการประมงพื้นบ้านเป็นประเด็นหลัก ทำให้การชุมนุมประท้วง ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอคุระบุรี เพื่อคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยมีแกนนำผู้คัดค้านผลิตเปลี่ยนกันชึ้นเวทีปราศัยโจมตีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ สำหรับทางฝ่ายราชการมีนายมานิต วัฒนเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายยอด คีรีรัตน์ ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช และนายธนพงศ์ อภัยโส หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง ชี้แจงข้อเท็จจริง และทำความเข้าใจ ผลการชุมนุมประท้วงในวันนั้น ผู้ชุมนุมประท้วงได้ลงลายมือชื่อคัดค้าน และยื่นข้อเสนอต่อจังหวัดพังงาให้ยุติการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ซึ่งทางจังหวัดพังงารับเรื่องไว้เสนอต่อกรมป่าไม้ ผู้ชุมนุมประท้วงจึงแยกย้ายสลายกลุ่มไป การดำเนินการสำรวจจัดตั้งยังคงดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ได้มีชาวบ้าน ประมาณ 300 คน ได้บุกรุกเข้ารื้อถอนที่ทำการชั่วคราวของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง บริเวณอ่าวเส็ง ท้องที่หมู่ 3 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และบังคับให้เจ้าหน้าที่ขนย้ายวัสดุขึ้นมาจากเกาะระ ในช่วงเวลาดังกล่าวกรมป่าไม้ได้มีการโยกย้ายข้าราชการโดยแต่งตั้งนายยุทธนา สัจกุล เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ – เกาะพระทอง ต่อไป โดยดำเนินการประสานงานนายอำเภอท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานราชการเกี่ยวข้องดำเนินการ ตั้งที่ทำการชั่วคราว ณ จุดเดิมที่ถูกรื้อถอนไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2544 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัว ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ท้องที่จังหวัดพังงา ลักษณะโดยรวมของพื้นที่เป็นหาดโคลนปากแม่น้ำ มีลำคลองหลายสายไหลลงมาบริเวณดังกล่าว เป็นคลองยาวมีสาขามากมายก่อนเปิดออกสู่ทะเลมีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารในตะกอนดิน และได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลง ของน้ำทะเล มีภูเขาสูงชันและเกาะต่างๆ วางในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เกาะระพื้นที่เป็นเขาสูงและชัน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 235 เมตร เกาะพระพื้นที่เป็นที่ราบ เกาะคอเขาพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่มีภูเขาสลับ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 310 เมตร และจากเกาะบริวารเล็กๆ อีก เช่น เกาะปลิง เกาะตาชัย และเขาบ่อไทรที่มียอดเขาสูงที่สุดคือ 450 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง และพื้นที่ใกล้เคียง มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสะมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแบ่งได้ 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน โดยมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,124.7 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด คือ 366.2 มิลลิเมตร และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคมโดยมีฝนตกในช่วงนี้บ้าง อุณหภูมิสูงสุด 37.8 องศาเซลเซียส อยู่ในเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28.97 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ทรัพยากรป่าไม้ จากการสำรวจสามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
ป่าดิบชื้น พบว่าขึ้นปกคลุมบริเวณที่เป็นเขา เช่น เกาะระ บริเวณลาดเขาและสันเขาพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้เด่น เช่น ยางยุง ยางปราย ขันทอง ไม้เรือนยอดรองลงมา เช่น มะปริง มะส้าน เลือดกวาง มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง เช่น หวาย กะพ้อ และเตย เป็นต้น
ป่าชายเลน พบขึ้นบริเวณชายฝั่ง ตามอ่าวของเกาะ เนื่องจารับอิทธิพลจากลำธาร แม่น้ำลำคลองกลายสายและการขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเป็นเลนปนทรายหากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ ป่าชายเลนจะเป็นผืนยาวติดต่อกันตั้งแต่ตอนเหนือจากบ้านทุ่งนางดำ ไปทางใต้จนถึงเกาะคอเขา ในพื้นที่อำเภอ ตะกั่วป่า พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะปูนขาว ถั่วดำ ฝาดอกแดง แสมขาว แสมดำ และไม้วงศ์ปาล์ม เช่น จาก เป้งทะเล หลาวชะโอน ไม้พื้นที่ล่างเช่น กระเพาะปลา และ เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
ป่าชายหาด พบตามชายหาด ตามอ่าวที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง บริเวณเกาะระและเกาะพระทองพันธุ์ไม้ที่พบอาทิ เช่น สนทะเล ชมพู่ป่า โพทะเล มะส้าน เตยทะเล ไม้พื้นล่าง เช่น ผักบุ้งทะเล
สังคมพืชทดแทน จากการทำเหมืองแร่ดีบุกบริเวณเกาะพระทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสภาพดินขาดแร่ธาตุ ไม้เด่นในพื้นที่จะเป็นไม้เสม็ดขาว ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณแอ่งน้ำ และพื้นที่โล่งกว้าง ไม้เสม็ดขึ้นอยู่ห่างกัน และ
แหล่งหญ้าทะเล จากการสำรวจการแพร่กระจายและพื้นที่ปกคลุมของหญ้าทะเลชนิดต่างๆ บริเวณหาดทุ่งนางดำโดยวิธี visual estimation พบว่ามีการแพร่กระจายสูง หาดดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายหาดฝั่งปากคลองคุระ ความขุ่นใสค่อนข้างน้อย แม่น้ำต่อเนื่องไปบริเวณหาดทุ่งนางดำ ระหว่างเนินทรายและชายฝั่งเกิดมีลักษณะคล้ายแอ่งน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล ซึ่งพบหญ้าทะเลบริเวณนี้ 8 ชนิด โดยมีพื้นที่แพร่กระจายรวม 1.38 ตารางกิโลเมตร เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ Cymodocea serrulata, Halodule uninervis H. ovalis, Syringodium isoetipolium, Enhalus acoroides, Halophrii และ H. minor นอกจากนี้ยังพบการแพร่กระจายของหญ้าทะเลบริเวณทิศตะวันออกของเกาะระ ความสำคัญของแหล่งหญ้าทะเลนั้นมีมากมาย ตั้งแต่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งเลี้ยงตัวอ่อน แห่ลงพบซ่อนศัตรูและเป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลนานาชนิดอันได้แก่ กุ้ง ปู และปลา อีกทั้งเป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ คือ เต่าทะเล และพะยูนด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลได้เกิดความเสื่อมโทรม เนื่องจากการทำประมงด้วยเครื่องมือบางชนิดและการเปลี่ยนแปลงของตะกอนในน้ำทะเลมากขึ้น จากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้หญ้าทะเลถูกทำลายลงเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อสัตว์ทะเลที่อยู่ในระบบนิเวศ ดังนั้นการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ตามแนวชายฝั่งให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง อันจะเป็นการฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศแนวชายฝั่งให้เกิดผลดีต่อหญ้าทะเล จึงเห็นควรให้หน่วยงายของรัฐเข้ามาควบคุมอย่างจริงจัง
ทรัพยากรสัตว์ป่า
จากการสำรวจบนเกาะทุกเกาะตามถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ โดยทำการจำแนกและบันทึกสัตว์ป่า ที่พบตัวจริงโดยใช้กล้องส่องทางไกลสำรวจร่องรอยของสัตว์ป่า และจากการสอบถามราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นได้ผลดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจเบื้องต้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กวางป่า หมูป่า ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงแสม อีเห็นธรรมดา นากใหญ่ขนเรียบ นิ่ม กระรอกท้องแดง กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวแม่ไก่เกาะ บ่าง และหนูเกาะ เป็นต้น จากการสำรวจเบื้องต้น โดยการสัมภาษณ์ชาวประมงข้อมูลการขึ้นมาเกยตื้นของพะยูน ของการสำรวจทางอากาศของประชากรพะยูนของฝั่งอันดามันได้กำเนิดโดยใช้เรือบิน โพลารีส เป็นพาหนะในการสำรวจบินด้วยความเร็วต่ำ (70-80 กม./ชม.) ที่ความสูง 200-1,000 ฟุต โดยสำรวจในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลพื้นที่ประมาณ 100-200 ตร.กม จำนวน 8 แห่ง ในจังหวัดพังงา กระบี่ สตูล ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2540 พบพะยูนระหว่าง 1-6 ตัว ใน 5 พื้นที่ในจังหวัดพังงาที่บ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี และข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 มีราษฎรพบเห็นพะยูนติดโป๊ะบริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะระ และอ่าวท่งนางดำบ่อยครั้งจึงเป็นหลักฐานยืนยันว่ายังพบพะยูนในพื้นที่ทำการสำรวจ ปัจจุบันพะยูนได้มีประมาณน้อยลงอย่างมากในน่านน้ำไทย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่กินหญ้าทะเลสัตว์น้ำตื้นชายฝั่ง และเป็นสัตว์ที่เป็นอาหารของชาวประมง การเพิ่มจำนวนของเรื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการจับพะยูนมากขึ้น จนเข้าใจว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยในเวลาอันใกล้ พะยูนจึงเป็นทรัพยากรมีชีวิตในแหล่งหญ้าทะเลที่จัดได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องดำเนินการศึกษาและคุ้มครองดูแลให้คงอยู่บริเวณแหล่งหญ้าทะเลต่อไป
นก ที่พบเห็น เช่น นกตะกรุม นกพญาปากกว้างท้องแดง นกเงือกกรามช้าง นกเงือกหัวงอน และจากการรายงานการสำรวจนกในพื้นที่เกาะระและเกาะพระทองของนักวิชาการจากต่างประเทศที่เข้าไปพักในสุดขอบฟ้ารีสอร์ทในช่วงระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีนกถึง 106 ชนิด
สัตว์เลื้อยคลาน จากการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูพังกา งูลายสอใหญ่ จิ้งเหลนบ้าน เต่าหับ เต่าดำ เป็นต้น ปัจจุบันมีนักวิจัยชาวต่างประเทศได้เข้ามาทำการศึกษาวิจัยเต่าทะเล พบว่าบริเวณเกาะระและเกาะพระทองด้านทางทิศตะวันตกมีการพบเห็นเต่าทะเล โดยพบเห็นเต่าทะเลถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือเต่ามะเฟือง เต่าหญ้า และเต่าตะนุ นอกจากนี้บริเวณชายหาดยังเป็นพื้นที่ที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของทุกปี ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาอย่างหนักในเรื่องประชากรและอัตราการรอดตายของเต่าทะเล อันเนื่องมาจากเครื่องมือทำการประมงบางชนิด เช่นอวนลาก ทำให้เต่าทะเลในช่วงเจริญพันธุ์ลดลง จึงสมควรมีการจัดการในเรื่องของเต่าทะเลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทั้งด้านอนุรักษ์และการป้องกัน
ปลา เนื่องจากพื้นที่ทำการสำรวจเป็นพื้นที่สำคัญดังนั้นจะพบปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจและในแนวปะการัง โดยการสอบถามราษฎรและชาวประมงในพื้นที่ ดังนั้นปลาที่พบในพื้นที่ป่าชายเลน เช่น ปลาสีเสียด ปลากะพงข้างปาน ปลาตะกรับ ปลากะตัก ปลาปักเป้า ปลากระทุงเหวปากแดง ปลากระพงแดง ปลากดทะเล ปลาสีกุน เป็นต้น ปลาในแนวปะการัง เช่น ปลาสิงโต ปลากะรังลายขวางจุดน้ำเงิน ปลากระพง ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า และปลาปักเป้า เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
บริเวณพื้นที่ทำการสำรวจแระกอบด้วยทรัพยากรชายฝั่งที่มีศักยภาพสูงในด้านที่จะปรับปรุงไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกิจกรรมหลายๆ ด้านปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวยังมีไม่มากนัก ท่องเที่ยวที่เข้ามา จะได้รับการบริการจากหน่วยงานของเอกชนที่บริการด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น และรูปแบบจะเป็นบางกิจกรรมพิ้นที่สามารถให้การบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพียงพอ ที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้มีดังนี้
เกาะคอเขา สภาพเป็นเขสลับกันเป็นพื้นที่ราบ ในเขตอำเภอคุระบุรีกับ อำเภอตะกั่วป่ามีความสวยงาม ชายหาดยาวตลอดความยาวเกาะ ปัจจุบันมีส่วนมะพร้าวและหมู่บ้าน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที
เกาะปลิง – เกาะพ่อตา อยู่ชิดกันบริเวณด้านตะวันตกมีแนวปะการังหลากหลาย แต่แนวปะการังที่ไม่กว้างมาก สามารถดูปะการังได้ พื้นที่ชายเลน ตามลำคลองต่าง ๆ ภาพในป่าชายเลน กิจกรรมที่สามารถทำได้ เช่น พานเรือคายัด ดูนก ศึกษาสภาพป่า เป็นต้น
จากสภาพที่มีความแตกต่างกัน และมีความสวยงาม พื้นที่ดังกล่าวจึงสามารถทำกิจกรรมด้านนันทนาการได้หลายอย่าง ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน บางกิจกรรมเป็นกิจกรรมใหม่ เช่น พายเรือคายัด ปั่นจักรยาน ซึ่งพื้นที่มีความเหมาะสมที่จะจัดกิจกรรมได้ และเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นอย่างดี
เกาะพระทอง เป็นเกาะที่มีพื้นที่กว้างและเป็นที่ราบไม่มีภูเขา ด้านทิศตะวันออกพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดต่อกัน ส่วนพื้นที่ราบทางด้านทิศตะวันตกสภาพเป็นป่าทดแทนที่ไม้เสม็ดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โล่งกว้างสามารถนำรถไปวิ่งได้ มีความสวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์เช่น กวางป่า หมูป่า เป็นต้น สามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่าง เช่น ตั้งแค็มป์ ปั่นจักรยาน อีกทั้งชายหาดที่วางตัวทิศเหนือไปถึงทิศใต้ของตัวเกาะเดินป่า หรือการเข้าไปศึกษาธรรมชาติของสัตว์บกตอนกลางคืน เนื่องจากาวาง ประมาณ 60 ตัว ซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้ง เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีใช้เวลาในการเดินทางโดยเรือ 50 นาที เกาะพระทองปัจจุบันยังอยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้
เกาะระ เป็นเกาะที่มีความลาดชันสูง ที่ราบจะพบบางแห่งใกล้กับชายหาด ประกอบไปด้วยป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถทำเส้นทางเดินป่า และเส้นทางศึกษาธรรมชาติได้ ชายหาดที่กว้างและยาวทางด้านทิศตะวันตก และด้านทิศเหนือของเกาะ เหมาะแก่การเล่นน้ำ อาบแดด หรือชมพระอาทิตย์ตกได้ใช้เวลาเดินทางประมาณ 60 นาที ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดให้บริการในด้านการท่องเที่ยวในเกาะระ และยังอยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้
การเดินทาง
รถยนต์ การเดินทางสามารถเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมาย 4 ถึงอำเภอคุระบุรีและเดินทางต่อไปยังท่าเทียบเรือเพื่อไปยังเกาะต่างๆ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
Tourism Thai
คนเดินทาง
-
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis) - สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย การวิเคร...5 ปีที่ผ่านมา
-
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...7 ปีที่ผ่านมา
-
ปู่วัย 92 ปีแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง - ปู่วัย 92 จากไนจีเรีย เคยแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง ยังเหลือภรรยาอีก 97 คน ที่ยังอยู่กินอยู่ด้วยกัน เผย ยังหวังหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ให้มากที่สุดเท่าที...8 ปีที่ผ่านมา
Article
-
แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ - *Part One: Language Use and Usage (Items 1 – 40)* *1. Oral Expression* *Directions: Choose the best answer.* *1.1 **Conversation* Conversation 1: Kitti, a ...7 ปีที่ผ่านมา
-
The marketing concept - เป็นแนวความคิดที่ไมํได๎ ให๎ความสาคัญกับความต๎องการของผู๎บริโภคเลย เป็นแนวความคิดที่เชื่อวำองค์กรจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว๎ได๎ จะต๎องทาการพิจารณาศึกษา...8 ปีที่ผ่านมา
-
เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...9 ปีที่ผ่านมา
หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 เมื่อปีพ.ศ. 2525 มีขนาดพื้นที่ 128 ตารางกิโลเมตร (80000 ไร่) ในปีพ.ศ. 2541 มีการผนวกเกาะตาชัยและเกาะบอนเพิ่มอีก 12 ตารางกิโลเมตร รวมเป็น 140 ตารางกิโลเมตร (87,500ไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่บก 15 ตารางกิโลเมตร (9,375 ไร่)
• อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอยู่ในเขต อ.คุระบุรี จ.พังงา สิมิลัน เป็นภาษายาวี หมายถึง เก้า ตามจำนวนเกาะที่เรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเกาะหนึ่งอยู่ด้านทิศใต้ เกาะแปดหรือเกาะสิมิลันมีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร และมียอดสูงสุดที่ 244 เมตร
กฎระเบียบข้อห้าม
• การท่องเที่ยวพักผ่อนในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ มีกฎระเบียบที่นักท่องเที่ยวผู้มีจิตสำนึกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างยั่งยืนถาวร ดังนี้
-ไม่เก็บทุกอย่างออกจากพื้นที่นอกจากขยะ
-ไม่ส่งเสียงดังอันเป็นการรบกวนผู้อื่น รวมทั้งสัตว์ป่า
-ไม่ล่า ทำลาย หรือกระทำการใดๆ อันจะทำให้พืช สัตว์ และสภาพแวดล้อมเสียหาย
-จงตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่เราทุกคนต้องใช้ร่วมกันและรักษาไว้เพื่อตัวเราเอง
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและกิจกรรมที่น่าสนใจ
• เกาะเมียงหรือเกาะสี่ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ หาดทรายขาวละเอียดน่าเล่นน้ำทั้งหาดใหญ่และหาดเล็กซึ่งต้องเดินผ่านป่าดิบสภาพสมบูรณ์ประมาณ 20 นาที เป็นที่อาศัยของนกชาปีไหน ค้างคาวแม่ไก่ และปูไก่ที่มีเสียงร้องคล้ายลูกไก่ รวมทั้งสัตว์ป่าสารพัดชนิด บนเกาะมีแหล่งน้ำจืด มีบ้านพัก ลานกางเต็นท์ ร้านค้าสวัสดิการ และมีบริการเรือหางยาวพาดำน้ำตื้น
• เกาะสิมิลันหรือเกาะแปด เป็นเกาะใหญ่ที่สุด มีอ่าวใหญ่โค้งสวยงาม เรียกว่า อ่าวเกือก ทรายขาวละเอียดราวแป้ง หน้าอ่าวสามารถดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้ ด้านขวาของอ่าวมีหินรูปร่างคล้ายเรือใบตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของสิมิลัน สามารถปีนขึ้นไปชมทิวทัศน์ได้
• เกาะปาหยูหรือเกาะเจ็ด ด้านตะวันออกมีทั้งจุดดำน้ำตื้นและน้ำลึกที่สวยงามมาก นักดำน้ำหลายคนชอบที่นี่มากที่สุด เพราะมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน กัลปังหา และฝูงปลานานาชนิด รองลงไปคือด้านตะวันตก ส่วนด้านเหนือมีกองหินมีกัลปังหา เกาะนี้ไม่มีหาด
• หินปูซาหรือหินหัวกะโหลก เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีก้อนหินรูปร่างคล้ายหัวกะโหลกอยู่เหนือน้ำ ส่วนใต้น้ำก็แปลกตาด้วยก้อนหินที่มีรูมีโพรงและมีช่องให้นักดำน้ำตื่นตาตื่นใจ
• เกาะห้า ด้านตะวันตกมีกองหินขนาดใหญ่ที่มีปะการังอ่อนขึ้นอยู่ทั่ว พื้นที่ใกล้ๆ มีปลาไหลสวนที่มุดอยู่และชูคอออกมาดักอาหาร
กองหินแฟนตาซี เป็นจุดดำน้ำลึกอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบางูหรือเกาะเก้า มีกองหินสลับซับซ้อนที่เต็มไปด้วยปะการังอ่อนและกัลปังหา
• หินสันฉลาม เป็นกองหินปริ่มน้ำใกล้ๆ เกาะปาหยันหรือเกาะสาม นักดำน้ำมักได้พบกับฉลามครีบเงิน ฉลามเสือดาว และฉลามหูขาว
• เกาะบอน อยู่ระหว่างหมู่เกาะสิมิลันกับเกาะตาชัย ไม่มีหาด แม้ใต้น้ำไม่สวยเท่าจุดอื่นๆ แต่มีโอกาสพบกระเบนราหูได้มาก เหมาะสำหรับการดำน้ำลึก
• เกาะตาชัย อยู่เหนือสุดของหมู่เกาะสิมิลัน บนเกาะมีหาดทรายขาวละเอียดสวยงาม มีแหล่งน้ำจืดและลานกางเต็นท์ เหมาะสำหรับการดำน้ำลึก เป็นที่ซึ่งพบฉลามวาฬได้บ่อย
การเดินทางไปหมู่เกาะสิมิลัน
• นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะไปลงเรือที่ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา จากทางหลวงหมายเลข 4 (ช่วงระนอง-พังงา) ช่วง ต.ลำแก่น มีทางแยกขวาไปท่าเรือทับละมุอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก่อนถึงท่าเรือด้านซ้ายมือเป็นที่ตั้งของที่ทำการและศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
• หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งสายใต้ สามารถไปได้ทุกคันที่วิ่งสายระนอง-พังงา ลงที่ทางแยกไปท่าเรือทับละมุแล้วต่อรถรับจ้างมาที่ท่าเรือ
• ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม เป็นฤดูท่องเที่ยว มีเรือโดยสารจากท่าเรือทับละมุไปเกาะสิมิลันทุกวัน โดยเรือส่วนเรือออกช่วงเช้า หากมาเป็นหมู่คณะสามารถเช่าเหมาเรือได้
• หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างจากฝั่งที่ท่าเรือทับละมุซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ที่สุดประมาณ 70 กิโลเมตร แต่ก็มีเรือท่าเรือโดยสารธรรมดาและเรือเร็วบริการพานักท่องเที่ยวมาจากภูเก็ตด้วย
• หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างไกลจากฝั่ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จำกัด การเดินทางไปเกาะสิมิลันจึงต้องติดต่อล่วงหน้าเท่านั้น
การติดต่อและสำรองที่พัก
• ติดต่อบ้านพักที่ที่ฝ่ายบริการบ้านพัก สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.0-2561-2918, 0-2561-2921, 0-2561-4292-4 ต่อ 746 หรือที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน โทร.0-7659-5045
• อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนเยี่ยมชมหาความสำราญสนุกสนานเฮฮาเท่านั้น แต่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันยังเป็นสถานที่ซึ่งมีคุณค่าอันประเมินไม่ได้เป็นมรดกทางธรรมชาติและยังเป็นแหล่งความรู้สำหรับทุกคน เป็นที่รวมของธรรมทั้งพันธุ์พืชและเหล่าสัตว์ที่ยังหลงเหลือจากการถูกล่าอาจกล่าวได้ว่าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่สมบูรณ์บริสุทธิ์ เป็นที่รวมของป่าหลายประเภทเป็นที่บรรจบกันของป่าดิบกับแนวปะการัง ด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมทั้งทะเลและผืนป่าอันสุดสมบูรณ์ จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากตั้งแต่ปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ฉลามวาฬ จนถึงนกหายากอย่างเช่น นกชาปีไหน นกลุมพูขาว รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 27 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 22 ชนิด และสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก 4 ชนิด สัตว์เหล่านี้อยู่อาศัย หากิน และดำรงเผ่าพันธุ์มาช้านานในพื้นที่แห่งนี้โดยไม่มีมนุษย์ปะปน จึงไม่มีเหตุผลใดที่ผู้ไปเยือนจะก่อความเสียหาย ทำลาย หรือแม้แต่ทำการรบกวนต่อสิ่งมีชีวิตตังเล็กๆ สักตัว
ข้อห้ามดำเนินการในเขตอุทยานฯ (คัดลอกจากเอกสารของอุทยานแห่งชาติเกาะสิมิลัน)
1.ห้ามก่อกองไฟ
2.ห้ามประกอบอาหาร
3.ห้ามจุดเทียนไขในเต้นท์
4.ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
5.ห้ามเคลื่นย้ายเครื่องนอนทั้งในบ้านพักและเต็นท์
6.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ
7.ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานฯอย่างเคร่งครัด
รายละเอียดบ้านพัก
1.บ้านชมวิว มี 20 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 2,000 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
2.บ้านสิมิลัน มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 1,000 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
3.บ้านปูไก่ 1 มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
4.บ้านปูไก่ 2 มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
5.บ้านหูยง มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
6.บ้านปายัง มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
7.บ้านปาหยัน มี 5 ห้อง พักได้ห้องละ 2 ท่าน ราคา 600 บาท/ห้อง/คืน (อยู่เกาะสี่)
8.เต็นท์ ราคา 400 บาท+อุปกรณ์เครื่องนอน พักได้ 2 ท่าน (มีทั้งเกาะสี่และเกาะแปด)
• กรณีนำเต็นท์มากางเอง ให้กางที่เกาะแปด ค่าธรรมเนียมกางเต็นท์ 40 บาท/คน/คืน
ค่าธรรมเนียมบุคคลเข้าเขตอุทยานแห่งชาติ (เกาะสิมิลัน)
คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท / เด็ก 20 บาท
ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท / เด็ก 100 บาท
ค่าธรรมเนียมดำน้ำลึก : คนไทยและต่างชาติ 200 บาท/คน/วัน
ค่าเช่าอุปกรณ์ดำน้ำ : หน้ากาก 100 บาท/วัน, ตีนกบ 100 บาท/วัน, ชูชีพ 50 บาท/วัน
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
93 หมู่ 5 บ้านทับละมุ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82210
โทร. 0 - 7659 - 5045 (บนฝั่ง), โทร. 0 - 7642 - 1365 (เกาะสี่), โทร. 0 - 7642 - 2136 (เกาะแปด)
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยในท้องที่ ตำบลกระโสม ตำบลกะไหล ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา และ ตำบลเกาะยาวน้อย ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
• ทิศเหนือ จดพื้นที่ป่าชายเลนในท้องที่ อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
• ทิศใต้ จดทะเลเขตอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และเขตทะเล จังหวัดภูเก็ต
• ทิศตะวันออก จดเขตท้องที่จังหวัดกระบี่
• ทิศตะวันตก จดพื้นที่ป่าชายเลน และที่ชายทะเล ท้องที่ อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
ลักษณะภูมิประเทศ
• ลักษณะโครงสร้างและธรณีสัณฐานของดินแดนภาคใต้ฝั่ง ตะวันตก เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแนวทิวเขาแกรนิต ที่เรียกว่า ทิวเขาตะนาวศรี และทิวเขาภูเก็ต อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย-พม่า ที่ทอดยาวไปจนถึงจังหวัดพังงา-ภูเก็ต เป็นทิวเขาที่เกิดในยุคครีตาเชียสกับยุคเทอร์เชียรีตอนต้น อายุประมาณ 136-36 ล้านปีมาแล้ว ภูมิสัณฐานและภูมิประเทศทั่วไปของบริเวณนี้ ยังเป็นผลมาจากลักษณะโครงสร้างที่เรียกว่า รอยเลื่อน มีชื่อทางธรณีว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนพังงา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหิน (รอยคดโค้ง-รอยเลื่อน) ของหินแกรนิต นำเอาแร่ธาตุที่มีค่ามาสะสมตกผลึก เช่น แร่ดีบุก ตะกั่ว วุลแฟรม เหล็ก พลวง แมงกานีส แบไรต์ ฟลูออไรต์ และทองคำ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีภูเขาหินตะกอน หินแปร แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาหินปูนซึ่งแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งภูเขาหินปูนที่เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนหรือภูเขาหินปูนลูกโดด และยังปรากฏว่ามี ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) อีกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่อง โพรงหรือถ้ำมากมาย ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้าๆ แหว่งๆ เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดด กระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นท้องทะเล พื้นทะเลเป็นดินเลน โคลน และทราย เป็นส่วนใหญ่ มีภูเขาหินปูน โผล่อยู่กลางน้ำ กระจายทั่วบริเวณอ่าวพังงา มีลักษณะสวยงาม โดดเด่น รูปร่างแปลกๆ มากมาย ประกอบไปด้วย เกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า ฯลฯ ซึ่งแต่ละเกาะก็จะมีสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกันไปและมีความ สวยงามเฉพาะตัว
ลักษณะภูมิอากาศ
• เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นฝั่งทะเลเปิด จึงได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มที่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทะเลมีคลื่นลมจัด ฝั่งทะเลช่วงใดที่ไม่มีเกาะกำบังจึงกลายเป็นฝั่งซึ่งมีหาดทรายชันและน้ำลึกในระยะใกล้ฝั่ง ส่วนฝั่งทะเลช่วงที่มีเกาะกำบังลมด้านนอก หรือฝั่งตอนที่เป็นอ่าวเว้าไม่รับลมมรสุมเต็มที่ จะมีลักษณะเป็นบริเวณที่พื้นดินอ่อนเป็นโคลนเลน มีป่าชายเลนขึ้นหนาแน่นตามขอบฝั่งและเลยลึกเข้าไปในฝั่งที่น้ำเค็มเข้าไปถึง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้ชัดบริเวณอ่าวพังงา จังหวัดพังงา นี้เอง
พรรณไม้และสัตว์ป่า
สังคมพืชในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
• ป่าชายเลน ป่าชายเลนบริเวณเขาหินปูนพบว่า มีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชายเลนมากถึง 12 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบ ต้นจาก ซึ่งขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำ หรือที่ค่อนข้างเป็นดินเลนเป็นจำนวนมาก และเหงือกปลาหมอ ส่วนปรงทะเล พบน้อยมากบริเวณที่โล่ง หรือบริเวณที่ป่าถูกทำลายเท่านั้น
• ป่าชายเลนบริเวณเขาหินเซลล์และควอทไซท์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ พบ 7 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว เป็นต้น สำหรับพันธุ์ไม้พื้นล่างอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เหงือกปลาหมอ ซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น
• ป่าชายเลนบริเวณเขาหินทราย ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในบริเวณนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เนื่อง จากบริเวณนี้อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมี 5 ชนิดได้แก่โกงกางใบเล็ก ลำแพน แสม ตะบูนขาว และฝาด นอกจากนี้มักพบเสม็ด ในบริเวณที่ติดกับป่าบกซึ่ง น้ำมีความเค็มค่อนข้างต่ำ
• ป่าบก ป่าบกที่พบเป็นป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ ซึ่งจัดเป็นป่าดิบชื้น จำแนกได้ดังนี้
• ป่าบกที่ขึ้นบนพื้นที่เขาหินปูน พบอยู่กระจัดกระจายทั่วไป มี 2 ประเภท ได้แก่ ป่าที่ ขึ้นอยู่บนบก พื้นที่ค่อนข้างราบ และบริเวณทีเรียกว่า Karst ซึ่งเป็นบริเวณหุบเขา ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ขี้หนอน เหรียง ตะเคียนหิน และชุมเห็ด สำหรับไม้พื้นล่าง จะขึ้นอยู่หนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต่าร้าง เคย ลำเพ็ง นอกจากนี้ยังมี พวกหญ้า ปาล์ม และว่านชนิดต่างๆ อีกประเภทได้แก่ ป่าที่ขึ้นอยู่บนที่สูงค่อนข้างชื้น ของเขาหินปูน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่มีขนาดเล็ก ค่อนข้างเตี้ย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน เขากวาง เป็นต้น
• ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่เขาหินเชลล์ ควอทไซท์ พันธุ์ไม้ขึ้นอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ใน บริเวณที่ลุ่มตามเชิงเขาที่มีความชื้นค่อนข้างสูงจะพบไม้ยางนา ขึ้นอยู่กระจัดกระจาย และพบพันธุ์ไม้อื่นที่สำคัญได้แก่ มังตาล พังกา เฉียงพร้านางแอ เป็นต้น สำหรับไม้ พื้นล่างพบพวก ไผ่ป่า พังแหร หญ้า ฯลฯ
• ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนหินทราย พบบนพื้นที่ค่อนข้างลาดมีไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ไม่ค่อยสูง นัก ไม้พื้นล่างไม่หนาแน่น อาจเป็นเพราะขาดความ อุดมสมบูรณ์ของดิน พันธุ์ไม้ที่ สำคัญได้แก่ สตอตั๊กแตน พังกา แค เป็นต้น สำหรับไม้พื้นล่างปรากฏอยู่น้อยมากส่วน ใหญ่เป็นจำพวกหญ้า
• เมื่อปีงบประมาณ 2517 จังหวัดพังงาได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยาน โดยใช้ชื่อว่า " วนอุทยานศรีพังงา " แต่ต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพื่มเติม และดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1 - 3 เล่มที่ 98 ตอนที่ 64 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 ภายใต้ชื่อว่า " อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา " มีเนื้อที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่ง จนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และพื้นน้ำในท้องทะเลอันดามันมีพื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทั้งหมด ซึ่งในร้อยละ 80 ของพื้นที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เขาเต่า เกาะพระอาดเฒ่า เกาะมะพร้าว เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เขาพิงกัน ฯลฯ
แหล่งท่องเที่ยว
• เกาะปันหยี เป็นหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งก่อสร้างบนพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง บ้านถูกสร้างยกระดับให้พ้นการขึ้น- ลง ของน้ำทะเล บริเวณหมู่บ้านอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ ชาวปันหยีเป็นชุมชนชาวประมงดั้งเดิม ประกอบอาชีพประมงน้ำตื้น โดยการทำประมงอวนลอย โป๊ะ เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลากระชัง ปัจจุบันเกาะปันหยีเป็นชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยว โดยได้ทำการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยเดิมบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว
• เขาเขียน อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี มีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการสำรวจศึกษา พบว่าภาพเขียนสีเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี ภายในภาพเขียนจะมีรูปสัตว์ชนิดต่างๆและรูปเรือ
• เกาะพนัก เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะห้อง อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ จากภูเก็ต–พังงา ประกอบด้วยถ้ำต่าง ๆ ที่มีความสวยงาม เช่น ถ้ำค้างคาว ถ้ำโกงกาง ถ้ำไอศครีม และถ้ำปีนที่มีลักษณะเป็นทะเลใน โดยในการเข้าสู่ทะเลในต้องใช้เรือซีแคนูเพียงอย่างเดียว จึงจะเข้าไปได้ มีความลึกตั้งแต่ 50–150 เมตร
• เกาะห้อง มีลักษณะเป็นเขาหินปูน มีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงาม คล้ายห้องหลายๆ ห้อง เรียงต่อกันเป็นแถว มีพันธุ์พืชและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ จำนวนมาก สามารถเข้าไปชมทัศนียภาพได้ โดยการจอดเรือบริเวณหน้าเกาะและใช้เรือซีแคนูเข้าไปชมบริเวณภายในถ้ำ และรอบๆเกาะซึ่งมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
• เกาะทะลุนอก เป็นเขาหินปูน มีถ้ำทะลุ คล้ายๆ ถ้ำลอดใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า เรือสามารถแล่นลอดผ่านได้ เช่นเดียวกับ ถ้ำลอดใหญ่ และเป็นจุดพายเรือแคนูที่มีนักท่องเที่ยวนิยมกันมากแห่งหนึ่งในอ่าวพังงา
• เขาตาปู–เขาพิงกัน เป็นจุดที่เรือทุกลำจะจอดให้นักท่องเที่ยวแวะชมและถ่ายภาพ เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ เพราะเป็นฉากหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์
• ถ้ำลอด เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 50 เมตร เรือสามารถลอดผ่านได้ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ระหว่างการเดินทางไปยังถ้ำลอดจะผ่านป่าชายเลน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ผืนหนึ่งของประเทศไทย
• เขาหมาจู อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี เป็นภูเขาหินปูนที่มีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเมื่อเรือแล่นผ่าน เขาหมาจู มีลักษณะเหมือนสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล
• เกาะละวะใหญ่ เป็นเกาะขนาดเล็ก ซึ่งมีหาดทรายที่ขาวสะอาด สามารถเดินทางโดยเรือ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หรือสามารถลงเรือได้ที่ท่าเทียบเรือบ้านคลองเคียน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีความสวยงาม และมีร้านอาหารสวัสดิการของอุทยานฯไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว และมีปะการังน้ำตื้นอยู่โดยรอบ
การเดินทาง
• รถยนต์ ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4) ไปจนถึงจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร (11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง จนถึงทางแยก เข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
• เครื่องบิน ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา โดยสารรถยนต์ (รถสองแถว) สายพังงา-ท่าด่าน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
• เรือ ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
• รถไฟ ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา
• รถโดยสารประจำทางท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ ในอัตรา 441 บาท (สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว) อีกประมาณ 9 กิโลเมตร ในราคาประมาณ 20 บาท/คน
สิ่งอำนวยความสะดวก
• มีบ้านพักไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 8 หลัง สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ บริเวณเกาะละวะใหญ่ และมีบริการให้เช่าเต็นท์
มีร้านอาหารสวัสดิการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และบริเวณเกาะละวะใหญ่
อัตราค่าธรรมเนียมในการเข้าเขตอุทยานฯ คนละ 20 บาท/วัน
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 80 ม.1 บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา 82000 โทรศัพท์ : 0-7641-1136 โทรสาร : 0-7641-2188
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เมืองพัทยา • พัทยา เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งทางบก และทางน้ำ จุดเริ่มต้น...
-
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที...
-
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอ...
-
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบหลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดให...
-
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย อยู่ในพื้นที...