Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดชายแดนอยู่ทางทิศด้านตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 135 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 4,762 ตารางกิโลเมตร เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ 800 ปี ก่อนปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ ที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถ บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิยังพบชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองศรีมโหสถ บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและพบโบราณวัตถุต่างๆได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสำริด กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
• ต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงดังเช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณได้ถูกยุบเลิก คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองเมืองหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครนายก
การปกครอง
จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านสร้าง อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมโหสถ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอนาดี
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1.จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางสายถนนพหลโยธิน พอถึงรังสิตให้ชิดซ้ายโดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลงที่เส้นทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 เส้นนครนายก-ปราจีนบุรี พอถึงแยกขวาที่สามแยกหนองชะอมประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้ใช้เส้นทางหลวง
หมายเลข 319 ก็จะถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 90 ให้เลี้ยวขวาโดยใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายกไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้แยกขวาที่สามแยกบ้านหนองชะอม เส้นทางหลวงหมายเลข 319 ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร
3. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมาย 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 319 ผ่านอำเภอศรีมโหสถ ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือ เว็บไซด์ : www.transport.co.th
• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการขบวนรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 หรือ เว็บไซด์ www.srt.or.th

• ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอบ้านสร้าง 20 กิโลเมตร อำเภอศรีมโหสถ 20 กิโลเมตร
อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กิโลเมตร อำเภอประจันตคาม 30 กิโลเมตร
อำเภอกบินทร์บุรี 60 กิโลเมตร อำเภอนาดี 78 กิโลเมตร

• ระยะทางจากจังหวัดปราจีนบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
นครนายก 29 กิโลเมตร ฉะเชิงเทรา 76 กิโลเมตร
สระแก้ว 98 กิโลเมตร ระยอง 186 กิโลเมตร
นครราชสีมา 194 กิโลเมตร จันทบุรี 245 กิโลเมตร
นอกจากนั้นที่บริเวณสี่แยกเนินหอมมีรถโดยสารประจำทาง หรือจะเช่ารถไปยังแก่งหินเพิง หรือ น้ำตกต่าง ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ได้

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี 0 3745 4005-6
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง 0 3721 1058
กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี 0 3721 1135
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 0 3721 1088, 0 3721 6145-64
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง 0 3721 1292
สถานีรถไฟ 0 3721 1120
ที่ว่าการอำเภอนาดี 0 3728 9124, 0 3728 9074

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 8 (นครนายก)
182/88 ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000
โทร. 0 3731 2282, 0 3731 2284 โทรสาร 0 3731 2286
พื้นที่ความรับผิดชอบ : นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา


บ้านบางนรา หรือ มนารอ เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) บ้านบางนราถูกจัดอยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาเมื่อปัตตานีได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงย้ายมาสังกัดเมืองระแงะที่อยู่ในมณฑลปัตตานี กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๙ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) บ้านบางนราได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทะเลคึกคักมาก จึงได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมนารอ และพ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา และได้พระราชทานชื่อ “นราธิวาส” แปลว่า “ที่อยู่ของคนดี”
• ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์มาเที่ยวพักผ่อนและซื้อสินค้ารวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเทวัฒนธรรมรวมทั้งสินค้านำเข้า ส่งออกซึ่งกันและกัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษามลายูเป็นภาษาพูด ภาษาเขียนที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ใช้พยัญชนะอาหรับ และพยัญชนะอังกฤษ แต่สะกดอ่านเป็นภาษามลายู
• จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๔๗๕.๔๓ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ ๒/๓ ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ๔ สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย
• ทิศใต้ ติดกับรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย
• ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดยะลา
การเดินทาง
• จังหวัดนราธิวาส การเดินทางสามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน
รถยนต์ ระยะทาง ๑,๑๔๙ กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และทางหลวงหมายเลข ๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๔๒ เข้าสู่จังหวัดปัตตานี-นราธิวาส สอบถามเส้นทางและแจ้งเหตุตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถกรุงเทพฯ-นราธิวาส-สุไหงโกลก ทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๓–๒๐๐, ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒ (ปรับอากาศ) ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (ธรรมดา) สถานีขนส่งนราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๘๔๕ สถานีขนส่งสุไหงโกลก โทร. ๐ ๗๓๖๑ ๒๐๔๕ หรือ www.transport.co.th
• รถไฟการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพฯ – ตันหยงมัส (นราธิวาส) - สุไหงโกลก ทุกวันทั้งรถด่วนและรถเร็ว สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐, ๑๖๙๐ สถานีรถไฟสุไหงโกลก โทร. ๐ ๗๓๖๑ ๑๑๖๒, ๐ ๗๓๖๑ ๔๐๖๐ หรือ www.railway.co.th
• เครื่องบินบริษัท แอร์ เอเชีย บริการเครื่องบิน กรุงเทพฯ-นราธิวาสทุกวัน จันทร์,พุธและศุกร์ ออกจากกรุงเทพฯ เวลา ๐๖.๓๕น. ออกจากนราธิวาส เวลา ๐๘.๓๕น. สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ สาขานราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๑๖๑, ๐ ๗๓๕๑ ๓๐๙๐
การเดินทางในตัวจังหวัด
- จากสนามบินมีรถตู้ไปสุไหงโกลก ๑๔๐ บาท ด่านตาบา ๑๔๐ บาท นราธิวาส ๕๐ บาท
- รถโดยสารประจำเส้นทางต่างๆ มักจะแวะมารับผู้โดยสารบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ เวลาบริการประมาณ ๐๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
บริเวณแยกหอนาฬิกา เป็นท่าจอดรถตู้วิ่งบริการสาย นราธิวาส-สุไหงโกลก, นราธิวาส-ตากใบ ออกทุกครึ่งชั่วโมง วิ่งบริการระหว่างเวลา ๐๕.๐๐–๑๗.๐๐ น. โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๕๒๐ และ นราธิวาส-หาดใหญ่ ออกทุกๆชั่วโมง โทร. ๐ ๗๓๕๒ ๒๐๙๓
ระยะทางจากจังหวัดนราธิวาสไปยังจังหวัดใกล้เคียง
ปัตตานี ๑๐๐ กิโลเมตร
ยะลา ๑๒๘ กิโลเมตร
สงขลา ๑๙๔ กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
ยี่งอ ๑๘ กิโลเมตร
ระแงะ ๒๔ กิโลเมตร
บาเจาะ ๒๘ กิโลเมตร
เจาะไอร้อง ๓๑ กิโลเมตร
ตากใบ ๓๓ กิโลเมตร
จะแนะ ๔๗ กิโลเมตร
รือเสาะ ๔๘ กิโลเมตร
สุไหงปาดี ๔๙ กิโลเมตร
สุไหงโกลก ๖๓ กิโลเมตร
ศรีสาคร ๖๕ กิโลเมตร
แว้ง ๘๓ กิโลเมตร
สุคิริน ๑๑๒ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ศาลากลางจังหวัด โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๒๔, ๐ ๗๓๕๑ ๑๔๕๐
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๑๒
สถานีตำรวจภูธร โทร. ๑๙๑, ๐ ๗๓๕๑ ๑๒๓๖
สำนักงานเทศบาลเมือง โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๔๘, ๐ ๗๓๕๑ ๓๑๓๐, ๐ ๗๓๕๑ ๒๔๓๑
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๑๐๙๓
สำนักงานบริการโทรศัพท์ โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๒๐๐๐
โรงพยาบาลเมืองนราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๓๔๘๐
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓


คำว่า ยะลา มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า ยะลอ ซึ่งแปลว่า “แห” เป็นเมืองชายแดนภาคใต้ที่มีความน่าสนใจทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชนต่างเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน และอิสลาม ตัวเมืองยะลามีการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย และยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้
• เดิมยะลาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรไทยครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ในบริเวณแถบนี้ต่างก็ประกาศตัวเป็นอิสระ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทยกทัพหลวงไปตีเมืองปัตตานี ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกหัวเมืองปัตตานีเป็น ๗ หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองรามัน และเมืองยะลาสำหรับเมืองยะลานั้น มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าเมืองหลายครั้ง ก่อนที่จะมีการประกาศยุบเลิกมณฑล ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบแห่งราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และกลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยในที่สุด
• จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๔,๕๒๑ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ราบมีน้อย ยะลาแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ และ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดปัตตานี
• ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนราธิวาส
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดสงขลา
• ทิศใต้ ติดกับประเทศมาเลเซีย
การเดินทาง
• รถยนต์ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑,๐๘๔ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๔๑ ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปปัตตานีจนถึงยะลา
• รถไฟ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๑,๐๕๕ กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ - ยะลา ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. ๑๖๙๐ สถานีรถไฟยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๔๒๐๗
• รถโดยสารประจำทาง มีรถปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด บริการระหว่าง กรุงเทพฯ – ยะลา รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙, ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒, ๐ ๒๔๓๕ ๕๖๐๕ และบริษัทเอกชน บริการระหว่างกรุงเทพฯ – ยะลา – เบตง ติดต่อบริษัท ไทยเดินรถ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๕ และบริษัทปิยะทัวร์ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๔
• เครื่องบิน ไม่มีบริการเดินทางโดยเครื่องบินไปจังหวัดยะลาโดยตรง แต่การบินไทยมีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ – หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดยะลาโดยรถไฟ รถประจำทาง รถแท๊กซี่หรือรถตู้ปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานหาดใหญ่ โทร. ๐ ๗๔๒๓ ๓๔๓๓ หรือ หจก.สายโสภา รีพีทเตอร์ ยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๕๘๒, ๐ ๗๓๒๑ ๕๘๓๐
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอยะหา ๒๑ กิโลเมตร
อำเภอกรงปินัง ๒๒ กิโลเมตร
อำเภอรามัน ๒๖ กิโลเมตร
อำเภอบันนังสตา ๓๙ กิโลเมตร
อำเภอกาบัง ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอธารโต ๖๑ กิโลเมตร
อำเภอเบตง ๑๔๐ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
อำเภอเมือง
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๕๔๒
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๖๓๔, ๐ ๗๓๒๑ ๒๖๓๖, ๑๙๑
ชุมสายโทรศัพท์ยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๒๓๔
โรงพยาบาลยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๔ ๔๗๑๑-๘
โรงพยาบาลสิโรรส โทร. ๐ ๗๓๒๒ ๑๑๑๔-๕
สถานีรถไฟยะลา โทร. ๐ ๗๓๒๑ ๒๗๓๗, ๐ ๗๓๒๑ ๔๒๐๗
อำเภอเบตง
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวเบตง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๒๐๓๙
ด่านตรวจคนเข้าเมือง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๑๒๙๒, ๐ ๗๓๒๓ ๐๐๒๖
ด่านศุลกากรเบตง โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๑๑๙๔
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยว อำเภอเบตง
โทร. ๐ ๗๓๒๓ ๒๐๓๙
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต ๓
๑๐๒/๓ หมู่ ๒ ถ.นราธิวาส-ตากใบ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๖๑๔๔, ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๑ โทรสาร ๐ ๗๓๕๒ ๒๔๑๒ www.tatnara@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ: นราธิวาส ปัตตานี ยะลา
ข้อมูลรายละเอียดในเอกสารนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย


จังหวัดลำปางเป็นแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดใดๆ ชาวลำปางมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รถม้าพาหนะคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่คงความบริสุทธิ์สวยงาม มีอุทยานแห่งชาติที่มีการจัดการที่ดี และควบคู่กันไปกับเมืองที่เคยเป็นแหล่งทำไม้ในอดีต ช้างที่เคยทำหน้าที่ลากซุงจึงเป็นสัตว์อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของเมือง เครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากดินขาวขึ้นชื่อ สิ่งเหล่านี้ทำให้นครลำปางกลายเป็นจุดหมายที่นักเดินทางมักแวะมาเยี่ยมชม
ประวัติความเป็นมา
• ประวัติลำปาง แต่อดีตมาเมืองลำปาง มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปะนคร เขลางค์นคร และกุกกุฏนคร (นครไก่)
คำว่า “ลำปาง” นั้นหมายถึงไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ ก่อนจะปักไม้เอาทางปลายลงเกิดเป็น ต้นขะจาวที่เห็นอยู่ข้างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นขะจาวนี้มีลักษณะผิดแผกจากไม้อื่นด้วยกิ่งก้านจะชี้ลงดิน เป็นไม้มงคลประจำจังหวัดลำปางที่มีอายุกว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
• ส่วนคำว่า “เขลางค์นคร” เป็นภาษาบาลี ปรากฏอยู่ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 13 คำว่า ลครซึ่งกลายมาจากนคร จึงเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกเมืองเขลางค์ ทั้งยังปรากฏใช้ในศิลาจารึกและพงศาวดารในรุ่นต่อมา ส่วนภาษาพูดจะออกเสียงว่าละกอน มีความหมายเดียวกับคำว่าเมืองลคร หรือ “เวียงละกอน”
• นอกจากนี้บางตำนานยังเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกโปรดสัตว์มาจนถึงเมืองนี้ พระอินทร์ได้ทราบก็เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นไม่ทันทำบุญกับพระพุทธองค์ จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่นทันออกมาทำบุญตักบาตร ด้วยเหตุนี้เมืองลำปางจึงได้ชื่อว่า “กุกกุฏนคร” อันหมายถึงเมืองไก่ขาว ไก่ขาวจึงเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่เราจะพบตามป้ายชื่อถนน บนสะพาน หรือตามตึกต่างๆ แม้แต่ในชามตราไก่ที่ขึ้นชื่อ
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ของนครลำปางมากว่า 3,000 ปีล่วงมาแล้ว มีการค้นพบภาพเขียนสีและโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ตลอดจนชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในสมัยหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง
• เวียงเมืองหรือเมืองเขลางค์นครเก่าตั้งอยู่ในบริเวณตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองปัจจุบัน ฝั่งเหนือของแม่น้ำวัง มีการพัฒนามาแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญไชยยังดำรงอยู่ “เวียง” คือ เมืองที่มีการกำหนดเขตรั้วรอบขอบชิด โดยการขุดคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ เมืองเขลางค์นครนี้มีฐานะเป็นเมืองหลวงคู่แฝดของอาณาจักรหริภุญไชย มีพระเจ้าอนันตยศหนึ่งในพระราชโอรสแฝดของพระนางจามเทวีผู้ครองอาณาจักรหริภุญไชยเคยเสด็จมาปกครองนครแห่งนี้ มีพื้นที่เมืองประมาณ 600 ไร่ และยังพบเวียงบริวารในอำเภอต่างๆ สำหรับเวียงบริวารที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือเวียงพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นเวียงทางพระพุทธศาสนา อยู่ที่อำเภอเกาะคาห่างจากตัวจังหวัดลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร สัณฐานของเวียงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก มีร่องรอยของกำแพงดิน 3 ชั้น ระหว่างกำแพงดินเป็นคูน้ำคู่ขนานโอบล้อมเวียงไว้ แต่ปัจจุบันคูน้ำคันดินได้ถูกไถแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมไปตามกาลเวลา จนแทบจะมองไม่ออกว่าเป็นลักษณะเวียง
• เมืองเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชยนี้ มีผู้ปกครองสืบต่อกันมาตลอด ก่อนที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำกกทางตอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 พระยามังรายขยายอิทธิพลยกทัพล้ำเขตเข้ามาโจมตีอาณาจักรหริภุญชัย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อันมีเขลางค์นครเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กัน ในที่สุดได้ยึดเมืองทั้งสองไว้ได้และ มีการแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้น เป็นการเปลี่ยนวงศ์ผู้ครองเมืองมาเป็นสายของพระยามังราย ระหว่างนั้นได้สร้างเมืองเขลางค์นครขึ้นใหม่ในฐานะของเมืองหน้าด่าน ของอาณาจักรล้านนาสืบมา
อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็อ่อนแอลงและถูกพม่ายึดอำนาจได้เมื่อปี พ.ศ. 2101 และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ารวมระยะเวลานานถึง 200 ปี แต่ในบางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งอยู่ทางตอนใต้ ร่องรอยอดีตที่แสดงถึงการขยายแผ่อิทธิพลด้านศิลปกรรม คือรูปแบบของศิลปที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว
• ในสมัยที่พม่าครอบครองเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือตอนบนพม่าได้ส่งเจ้านายมาปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเชียงใหม่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2275 ท้าวมหายศผู้ครอบครองเมือง หริภุญไชย ได้ยกทัพมาปราบผู้ที่คิดกอบกู้ชาติบ้านเมืองให้เป็นอิสระจากพม่า ได้ตั้งทัพอยู่บริเวณเวียงธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองได้ติดต่อกับหนานทิพย์ช้างพรานป่าผู้กล้าให้ช่วยกู้เอกราชให้แก่ลำปาง ในครั้งนั้นหนานทิพย์ช้างได้ยิงท้าวมหายศตายด้วยปืนใหญ่ ณ บริเวณวิหารหลวง ปัจจุบันหลังพระวิหารหลวงที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระเจดีย์ยังมีรอยรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
• ความเจริญของนครลำปางก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนกระทั่งในช่วงยุคทองช่วงหนึ่งในปี พ.ศ. 2425-2440 สมัยเจ้านรนันทชัยชวลิต เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 9 ตรงกับสมัย รัชกาลที่ 5 นครลำปางมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ในฐานะของศูนย์กลางการค้าไม้สักภาคเหนือ โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดเก่า ซึ่งมีอาคารพาณิชย์ ร้านค้า บ้านพักอาศัยของคหบดี ในสมัยนั้นโดยมากแล้วเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ และได้ตั้งชุมชนที่ท่ามะโอ ณ ตำบลเวียงเหนือ ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างวัดแบบศิลปะพม่าไว้หลายแห่ง
ศิลปะ
• อาจเนื่องมาจากการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปะที่พบในจังหวัดลำปางจึงล้วนแต่เป็นศิลปะสมัยล้านนาไม่พบศิลปะสมัยหริภุญชัย
• ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่มักพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ ในลำปาง มี 3 แบบ คือ แบบพม่า แบบพม่าผสมเชียงใหม่ และแบบล้านนา
สถาปัตยกรรมแบบพม่านั้นได้เข้ามามีอิทธิพลในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ซึ่งชาวพม่าได้เข้ามาผูกขาดการทำไม้ในภาคเหนือ และส่งไม้ไปขายยังภาคกลางและต่างประเทศ ชาวพม่ามีคติอยู่ว่าเมื่อรวยแล้วต้องสร้างวัดหรือบูรณะวัดเก่าเพื่ออุทิศให้รุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ในไม้ใหญ่อันถูกโค่นเพื่อเป็นการล้างบาป วัดแบบพม่าที่พบในลำปาง ได้แก่ วัดศรีชุม วัดป่าฝาง วัดม่อนจำศีล วัดม่อนปู่ยักษ์ และวัดศรีรองเมือง ซึ่งสร้างวิหารเป็นรูปยอดปราสาทแบบเดียวที่เมืองมัณฑะเลย์ในพม่า ดังเช่นวิหารใหญ่วัดศรีรองเมือง เป็นต้น เป็นวิหารจำหลักไม้ทำยอดหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ มีลวดลายจำหลักไม้ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าเรือนไทยติดลูกไม้ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า แบบขนมปังขิง (Ginger Bread) คือไม้ฉลุที่ชายคาเป็นลายย้อย ลูกไม้ช่องลมก็ฉลุปรุเป็นลายเช่นกันและยังมีลายฉลุตามส่วนต่างๆ ของอาคารอีกมากมาย เช่น ทางขึ้นวิหารวัดศรีชุม ฉลุลายใต้หน้าจั่วได้อย่างวิจิตร เป็นการอวดฝีมือของช่างฉลุในยุคนั้นว่าทำงานอย่างประณีต ซึ่งเป็นศิลปะพม่าผสมฝรั่งที่นิยมทำกันมากในภาคเหนือ
• สถาปัตยกรรมแบบเชียงใหม่ ที่ลำปางจะเก่าแก่ยิ่งกว่าที่พบในเชียงใหม่ เพราะสถาปัตยกรรมไม้ในเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นจากรูปแบบเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ส่วนที่ลำปางล้วนเป็นของเก่าทั้งสิ้น ดังเช่น วิหารน้ำแต้มที่วัดพระธาตุลำปางหลวง มีภาพเขียนรุ่นเก่าร่วมสมัยกับอยุธยา ประตูใหญ่ด้านหน้าวัดมีลวดลายปูนปั้นประดับเป็นศิลปะเชียงใหม่รุ่นเก่า ซุ้มประตูวัดไหล่หิน และ ประตูวัดบ้านเวียง กลางเมืองเถินในลำปาง ก็เป็นศิลปะแบบเชียงใหม่เช่นกัน และยังมี ประตูวัดล้อมแรด ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของล้านนาที่สมควรจะถนอมรักษาไว้อย่างดีที่สุด
สถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระวิหารหลวงวัดไหล่หิน และวัดปงยางคก เป็นพระวิหารรุ่นเก่าขนาดย่อม ลักษณะโปร่งด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านหลังทึบ ประดิษฐานมณฑปหรือพระพุทธรูป เป็นวิหารเก่าแก่ของล้านนาที่กะทัดรัดแต่งดงามน่าดูยิ่ง
• สำหรับผู้ที่สนใจทางศิลปะ ควรจะแวะวัดลำปางหลวงและวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งได้รวบรวมศิลปะวัตถุจากที่ต่างๆ และจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวงจะมีศิลปะวัตถุแบบล้านนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องเขิน ตะลุ่มแบบโบราณรูปทรงแปลกๆ สังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก และแบบจำลองปราสาทงานไม้รูปสัตว์ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ของวัดพระแก้วดอนเต้าส่วนใหญ่มีรูปจำหลักไม้เทวดาและม้านั่งแปลกๆ ส่วนศิลปะล้านนามีแบบจำลองวิหารเจดีย์กับเตียงตั่งรูปและลายแปลกๆ
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเชียงรายและพะเยา
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย และตาก
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๑๒,๕๓๓ ตารางกิโลเมตร
สภาพภูมิศาสตร์ ลำปางเป็นเมืองในหุบเขารูปแอ่งกะทะรายล้อมด้วยเทือกเขาสูงชัน บางส่วนผุดเป็นแนวหินแกรนิตบนเทือกเขาผีปันน้ำด้านตะวันตก ในบางยุคเกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดแอ่งที่ราบขนาดใหญ่และทิวเขามากมายทับซ้อนกัน เมื่อผ่านกาลเวลามายาวนานส่วนที่เป็นแอ่งก็กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดการทับถมของตะกอนดินและซากพืชซากสัตว์จนเป็นผืนดินที่ราบ แหล่งน้ำมัน และถ่านหินลิกไนต์แทรกตัวอยู่ในอำเภอแม่เมาะ บริเวณตอนกลางของเมืองลำปาง บริเวณที่ราบภูเขาสูงและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่ราบดินตะกอนเก่า ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และมีแม่น้ำวังไหลผ่านทำให้บริเวณ อำเภอแม่พริก อำเภอเถิน และบางส่วนของอำเภอสบปราบเป็นแหล่งทำเกษตรกรรมตลอดทั้งปี ส่วนบริเวณอำเภอเมือง อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภองาว อำเภอห้างฉัตร และบริเวณตอนกลางของอำเภอแจ้ห่ม เป็นที่ราบสูงและภูเขาสลับซับซ้อน บริเวณตอนบนและพื้นที่โดยรอบจังหวัด ด้านอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว และบริเวณตอนใต้ของอำเภอแจ้ห่มส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์อันเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเมืองลำปาง
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 52 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านสิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ตรงเข้าสู่จังหวัดลำปาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 599 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง หรือจะใช้เส้นทางสายใหม่จากพิษณุโลกเข้าเด่นชัยและลำปางได้
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดบริการรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ไปลำปางทุกวัน รายละเอียดติดต่อที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือ website : www.transport.co.th และที่สถานีขนส่งลำปาง โทร. 0 5422 7410 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนบริการรถประจำทางไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ-ลำปาง ได้แก่ บริษัท วิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2827 ลำปาง โทร. 0 5421 7373 และ บริษัท นิววิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2205-6 ลำปาง โทร. 0 5422 5899 จากสถานีขนส่งลำปางที่ถนนพหลโยธินมีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศไปยังจังหวัดเชียงราย แพร่ และน่าน นอกจากนี้ยังมีรถจากเชียงใหม่วิ่งผ่านลำปาง ไปยังทุกจังหวัดในภาคเหนือและบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา เป็นต้น
• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วน รถเร็วและรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปลำปางทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 และที่สถานีรถไฟลำปาง โทร. 0 5427 1026 หรือ website : www.railway.co.th
• เครื่องบิน สายการบิน พีบีแอร์ บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ลำปาง ไป-กลับ สำรองที่นั่ง โทร. 0 2261 0220-5 ลำปาง โทร. 0 5422 6238 หรือ www.pbair.com
• ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ในจังหวัดลำปาง และท่ารถในตัวเมือง
แม่เมาะ 40 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ สี่แยกร้านขายยาไทยโอสถ
งาว 83 กม. ท่ารถ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
แจ้ห่ม 52 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ แยกซอยข้าง ธ.นครหลวงไทย
เมืองปาน 69 กม. ท่ารถ ถ.บุญวาทย์
วังเหนือ 107 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ แยกซอยข้าง ธ.นครหลวงไทย
ห้างฉัตร 16 กม. ท่ารถ ห้าแยกหอนาฬิกา
เกาะคา 15 กม. ท่ารถ ถ.รอบเวียง ใกล้ ธ.กสิกรไทย
เสริมงาม 39 กม. ท่ารถ ถ.สนามบินข้างโรงเรียนบุญวาทย์
แม่ทะ 27 กม. ท่ารถ ถ.ทิพวรรณ สี่แยกศรีชุม
สบปราบ 54 กม. ท่ารถ ตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย
เถิน 96 กม. ท่ารถ ตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย
แม่พริก 125 กม. ท่ารถ ถ.บุญวาทย์ ข้างศาลากลางจังหวัดหลังเก่า

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๘๓๓๔
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๘๘๐๐
เทศบาลนครลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๙๒๑๑-๗, ๐ ๕๔๒๑ ๗๐๓๕
โรงพยาบาลเขลางค์นคร โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๕๑๐๐-๓
โรงพยาบาลเทศบาลเมืองลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๓๖๒๕-๓๑
สถานีตำรวจภูธร โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๗๐๑๗
ไปรษณีย์ลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๔๐๖๙
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. ๑๑๘๒
สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ โทร. ๑๑๓๓
ศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๑ ๘๘๒๓, ๐ ๕๔๒๒ ๖๘๑๐
สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๔๘๔๕

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต ๑
๑๐๕/๑ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๐๐๐
โทร. ๐ ๕๓๒๔ ๘๖๐๔, ๐ ๕๓๒๔ ๘๖๐๗, ๐ ๕๓๒๔ ๑๔๖๖ โทรสาร ๐ ๕๓๒๔ ๘๖๐๕ E-mail : tatchmai@tat.or.th
พื้นที่ความรับผิดชอบ : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน
• ข้อมูลรายละเอียดที่ระบุในเอกสารนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
• ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย


ชุมพร เป็นจังหวัดตอนบสุดของภาคใต้มีเนื้อที่ประมาณ 6,189.4 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ท่าแซะ ปะทิว หลังสวน สวี ทุ่งตะโก ละแม และพะโต๊ะ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ
• ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบางสะพนน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
• ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดระนอง และเมืองมะริดสาธารณรัฐสังคมเมียนมาร์
• ด้วยชุมพรเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ยาวแคบ จึงมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 222 กิโลเมตรความกว้างเพียง 36 กิโลเมตร มีเกาะแก่งต่าง ๆ 44 เกาะ ด้านทิศตะวันตกทีเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาภูเก็ตเปฃ้นเส้นพรมแดนกับประเทศพม่าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่ากว่า 40 เปอร์เซนต์ของพื้นที่จังหวัด และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสั้น ๆ ที่ไหลสู่ทะเลอ่าวไทย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำสวี และแม่น้ำหลังสวน ส่วนทางด้านตะวันออกเป็นที่ราบ จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ และพืชไร่จำพวกปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว ยางพารา และกาแฟตลอดพื้นที่
ชุมพรมีปรากฏร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนสมัยยุคประวัติศาสตร์ ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ ชุมพรกลายเป็นเมืองเก่า มีการติดต่อค้าขายกับจีน และอินเดีย สำหรับคำว่า “ชุมพร” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “อุทุมพร” ซึ่งเป็นชื่อมะเดื่อพันธุ์หนึ่งมีมากที่จังหวัดชุมพรสมัยก่อน ซึ่งเรียกโดยชาวอินเดีย ต่อมาเพี้ยนเป็น คำว่า “ชุมพร”
ความภาคภูมิใจของชาวชุมพร
• แหล่งรังนกนางแอ่น (ภาษามลายูเรียกว่า “ นกซาลังงัน ” จีนเรียกว่า “ เอี้ยนจื่อ” แหล่งใหญ่และมีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ทำให้ชุมพรมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศจากระบบสัมปทานเก็บรังนกมาแต่โบราณ
• ชุมพรเป็นแหล่งขยายพันธุ์และพักรักษาตัวอ่อน สัตว์น้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ปลาทู ปลาลัง ฯลฯ
• ปูไก่ ส่งเสียงร้องเจี๊ยบๆ ใกล้เคียงกับเสียงของลูกไก่ปีนต้นไม้คล่องแคล่ว พบได้ในเกาะต่างๆ ทั่วจังหวัดชุมพร มีมากที่เกาะมัตตรา
• ชุมพรมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในประเทศไทย 90 % เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า
• ทะเลชุมพร อุดมไปด้วยแนวปะการังที่สวยงาม สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ และเป็นแหล่ง “ฉลามวาฬ” สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกพบได้ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และปลาวาฬบลูด้า ทะเลชุมพรเป็นจุดดำน้ำที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในสามของอ่าวไทย
• พิพิธภัณฑ์ไฮเทคของเมืองไทย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพร ใช้ระบบการ์ดเสียบ เป็นการแสดงนิทรรศการแบบเคลื่อนไหว ต่างจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอื่นๆ
• ชุมพรเป็นแหล่งรวมของพระปฏิบัติดี ศีลจริยวัตรงดงาม เมื่อมรณภาพ ศพไม่เน่าเปื่อย ถึง 4 รูป ได้แก่ หลวงปูสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง, หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ, หลวงปู่ไสย วัดเทพเจริญ อ.ท่าแซะ, หลวงพ่อนาค วัดแหลมสน อ.หลังสวน
• ชุมพร “เมืองเสด็จในกรมฯ” เป็นจังหวัดที่มีศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งศาลต่างๆ สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาของมวลชน
• ขึ้นโขนชิงธง เอกลักษณ์ การเข้าสู่เส้นชัยของการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดชุมพร ที่อำเภอหลังสวนมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
• ชุมพรเป็นแหล่งรวมของผลไม้มงคล 5 ชนิด เหมาะแก่การนำไปไหว้พระไหว้เจ้า และเป็นของฝาก ได้แก่ สับปะรดสวี ส้มโชกุน ส้มโอเจ้าเสวย แก้วมังกร และกล้วยเล็บมือนาง
• ชุมพรได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในการพระราชทานพระราชดำริ พัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ให้เป็นแก้มลิงธรรมชาติ เพื่อให้ทางชุมพรรอดพ้นจากภัยน้ำท่วมและโครงการจัดการป่าไม้บนพื้นที่สันทรายในโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ที่หาดบางเบิด อ.ปะทิว
การเดินทางสู่ จจังหวัดชุมพร
• ขับรถไปเอง มีเส้นทางให้เลือกเดินทาง 2 ทาง คือ
1.จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-นครปฐม-เข้าทางหลวงหมายเลข4 (เพชรเกษม)-ราชบุรี-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ)-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-เข้าทางหลวงหมายเลข4 (เพชรเกษม) ที่จังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมระยะทางประมาณ 499 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง
- รถโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2434-5557-8, 0-2435-1919 และสถานี บ.ข.ส. ชุมพร ถนนท่าตะเภา โทร. 0-7750-2725, 0-7750-2268
- บริษัทโชคอนันต์ทัวร์ โทร. 0-2435-5027-9, 0-2435-7429 สาขาชุมพร โทร. 0-7751-1757
- บริษัทสุวรรณนทีทัวร์ โทร. 0-2435-5026 สาขาชุมพร โทร. 0-7751-1422
• รถไฟ จากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถเร็วและรถด่วนไปจังหวัดชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0-2223-7010, 0-2223-7020 หรือที่สถานีรถไฟชุมพร โทร. 0-7751-1103 จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) มีขบวนดีเซลรางไปชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2411-3102


วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย
• พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลู เช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอก บุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระ อัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
• วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้า ทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
• วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
• วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร
• ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น
• กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว
• วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้
• พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น
• นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.
• การเดินทาง วัดพระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ที่ ตำบลลำปางหลวง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร
• หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน

บทความที่ได้รับความนิยม