กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก
• กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่งและป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพพม่า
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรี
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
การเดินทาง
• รถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง 129 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
• รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที (สายเก่าเส้นเพชรเกษม-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี) ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 434-5557
• รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง (วิ่งสายใหม่เส้นถนนบรมราชชนนี-นครชัยศรี) ออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที (สายเก่าเส้นเพชรเกษม-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี) ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (02) 435-5012, 435-1199
• รถไฟ ออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.35 น. และ 13.45 น. แวะจอดที่สถานีกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. (02) 411-3102 วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยโทร. 223-7010, 223-7020 หรือ 1690
การเดินทางภายในจังหวัด
• สถานีขนส่งกาญจนบุรี ถ.แสงชูโต มีบริการรถโดยสารภายในจังหวัดที่ค่อนข้างสะดวก มีรถโดยสารไปยังอำเภอต่างๆ เช่น อำเภอบ่อพลอย อำเภอหนองปรือ อำเภอทองผาภูมิ และ อำเภอสังขละบุรี หรือเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆเช่น น้ำตกเอราวัณ น้ำตกเขาพัง น้ำตกไทรโยคใหญ่ รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งกาญจนบุรี โทร. (034) 511172
การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
• จากสถานีขนส่งกาญจนบุรี มีบริการรถโดยสารไปยังจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี
ท่าม่วง 12 กิโลเมตร
พนมทวน 24 กิโลเมตร
ท่ามะกา 30 กิโลเมตร
ด่านมะขามเตี้ย 30 กิโลเมตร
ไทรโยค 50 กิโลเมตร
ทองผาภูมิ 145 กิโลเมตร
สังขละบุรี 230 กิโลเมตร
ศรีสวัสดิ์ 102 กิโลเมตร
บ่อพลอย 40 กิโลเมตร
หนองปรือ 75 กิโลเมตร
ห้วยกระเจา 60 กิโลเมตร
เลาขวัญ 97 กิโลเมตร
Tourism Thai
คนเดินทาง
-
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis) - สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย การวิเคร...5 ปีที่ผ่านมา
-
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...7 ปีที่ผ่านมา
-
ปู่วัย 92 ปีแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง - ปู่วัย 92 จากไนจีเรีย เคยแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง ยังเหลือภรรยาอีก 97 คน ที่ยังอยู่กินอยู่ด้วยกัน เผย ยังหวังหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ให้มากที่สุดเท่าที...8 ปีที่ผ่านมา
Article
-
แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ - *Part One: Language Use and Usage (Items 1 – 40)* *1. Oral Expression* *Directions: Choose the best answer.* *1.1 **Conversation* Conversation 1: Kitti, a ...7 ปีที่ผ่านมา
-
The marketing concept - เป็นแนวความคิดที่ไมํได๎ ให๎ความสาคัญกับความต๎องการของผู๎บริโภคเลย เป็นแนวความคิดที่เชื่อวำองค์กรจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว๎ได๎ จะต๎องทาการพิจารณาศึกษา...8 ปีที่ผ่านมา
-
เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...9 ปีที่ผ่านมา
อนุสาวรีย์วีรสตรี อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่สี่แยกท่าเรือ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต ๑๒ กิโลเมตร เป็นอนุสาวรีย์ที่ชาวภูเก็ตร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี ๒๕๐๙ เพื่อเชิดชูเกียรติวีรสตรีผู้กล้าหาญแห่งเมืองถลาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ห่างจากอนุสาวรีย์ไปทางถนนสายป่าคลอก ประมาณ ๒๐๐ เมตร ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงเป็นบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ต มี ๒ หลัง อาคารหลังแรกจัดแสดงเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเลตะวันตก สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแพร่เข้ามา ประวัติและวิธีการทำเหมืองแร่ดีบุก และสวนยางพารา ศิลปะพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู สำหรับอาคารหลังที่สองจัดแสดงฉากและเรื่องราวของศึกถลาง ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีที่น่าสนใจของชาวจีนในภูเก็ต และเรื่องราวความเป็นมาและถิ่นอาศัยของชาวเลในภูเก็ต เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมคนไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. ๐ ๗๖๓๑ ๑๔๒๖, ๐ ๗๖๓๑ ๑๐๒๕
วัดพระทอง (วัดพระผุด) อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๑ กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลางทางด้านขวาจะมีทางแยกเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น “จังซุ่ย” เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
วัดพระนางสร้าง อยู่ห่างจากตัวเมือง ๒๐ กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรี ถึงสี่แยกอำเภอถลาง ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายเป็นวัดที่เก่าแก่ และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ นอกจากนี้ภายในอุโบสถเก่ายังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ ๓ องค์ เรียกว่า “พระในพุง” หรือ “พระสามกษัตริย์” ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่อีกชั้นหนึ่ง
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตไปอำเภอถลาง เมื่อถึงสี่แยกในเขตเมืองถลางซึ่งอยู่ห่างจากตัวภูเก็ต ๑๘ กิโลเมตร แยกไปทางขวามืออีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานสัตว์ป่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๒ มีเนื้อที่ ๑๓,๙๒๕ ไร่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ สามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด อาทิ หมูป่า ลิง หมี กระจง และมีพันธุ์ไม้หายากคือ “ปาล์มหลังขาว” ที่นี่เป็นแห่งแรกที่พบ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
น้ำตกโตนไทร อยู่ห่างจากตัวเมือง ๒๒ กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีถึงสี่แยกอำเภอถลางแล้วเลี้ยวขวาไป ๓ กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติ ๓ เส้นทาง ขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่สถานีฯ
น้ำตกบางแป อยู่ห่างจากน้ำตกโตนไทร ๒ ชั่วโมง โดยเส้นทางเท้า แต่หากไปทางรถยนต์ไปจากตัวเมืองถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทรแล้วเลี้ยวขวาไปทางตำบลป่าคลอก ๙ กิโลเมตร หรือนั่งรถสองแถวไม้ สายภูเก็ต-บางโรงมาลงที่ปากทาง น้ำตกบางแป เป็นน้ำตกขนาดเล็ก รอบๆ เป็นสวนรุกขชาติร่มรื่น มีเส้นทางเดินศึกษาน้ำตกบางแป-น้ำตกโตนไทร ระยะทาง ๔ กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีป้ายสื่อความหมายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง อนุญาตให้กางเต็นท์พักแรมได้ แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง นอกจากนั้นบริเวณน้ำตกบางแปยังมี “สถานีอนุบาลชะนี” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของชะนีที่ถูกจับมาเลี้ยงให้พร้อมที่จะกลับคืนสู่ป่าต่อไป สอบถามรายละเอียดโครงการได้ที่ โทร. ๐ ๗๖๓๑ ๘๐๖๕ E-mail: gibbon@poboxes.com สำนักงานกรุงเทพ ฯ ติดต่อ A project of the Wild Animal Rescue Foundation of Thailand ๒๙/๒ ถนนสุขุมวิท ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทร. ๐ ๒๒๕๘ ๕๕๖๐ โทรสาร ๐ ๒๒๖๑ ๐๙๒๕
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าพักแรมที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว หรือขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสถานีฯ ๒๕๔ หมู่ ๒ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๐๐ โทร. ๐ ๗๖๓๑ ๑๙๙๘
หาดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๔ กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ เมื่อถึงอนุสาวรีย์วีรสตรีแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก ๑๒ กิโลเมตร เป็นหาดที่อยู่ริมเชิงเขา บริเวณเหนือหาดมีต้นสนทะเลต้นใหญ่ๆ เรียงรายอยู่ และบริเวณเหนือหาดด้านขวามือเป็นสนามกอล์ฟ หาดสุรินทร์ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะมีลักษณะลาดชัน และในฤดูมรสุมจะมีคลื่นลมจัดมาก
แหลมสิงห์ จากหาดสุรินทร์ประมาณ ๑ กิโลเมตร จะมีทางแยกซึ่งเป็นถนนส่วนบุคคลเข้าสู่หาดแหลมสิงห์ อาจจะขออนุญาตผ่านถนนส่วนบุคคล หรือเดินเลี่ยงไปอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเดินไปตามลาดเขาลงสู่ชายหาด หาดทรายแหลมสิงห์เป็นหาดเล็กๆ ทรายขาวสะอาด ทางซ้ายมือของหาดเป็นแหลมเล็กๆ ที่มีโขดหินสวยงาม เรียกว่า แหลมสิงห์
อ่าวบางเทา อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๒๔ กิโลเมตร ตามถนนเทพกษัตรีไปทางเหนือสู่อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนศรีสุนทรไปอีก ๑๒ กิโลเมตร จนถึงหาดสุรินทร์เลี้ยวขวาไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงอ่าวบางเทา มีหาดทรายทอดยาวเหมาะสำหรับการเล่นน้ำและกีฬาทางน้ำต่างๆ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง) ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ อยู่ห่างจากตัวเมือง ๓๐ กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนเทพกษัตรี ผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ตรงไปเมื่อถึงหลักกิโลเมตร ๒๑-๒๒ จะมีทางแยกด้านซ้ายเข้าไป ๑๐ กิโลเมตร หรือจะไปทางแยกเข้าสนามบินเลี้ยวซ้าย ๒ กิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ ๕๖,๒๕๐ ไร่ เป็นหาดทรายที่มีความยาวต่อเนื่องกันถึง ๑๓ กิโลเมตร โดยเริ่มจาก
หาดในทอน ใช้เส้นทางไปอุทยานฯ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตร ๒๑-๒๒ เมื่อถึงทางแยกเข้าบ้านสาคู เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๓ กิโลเมตร หาดในทอน เป็นเวิ้งอ่าวที่งามแปลกตาทอดโค้งจากตัวเกาะเป็นที่กำบังคลื่นลมได้อย่างดี และเป็นหาดที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ
หาดในยาง เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นหาดที่มีสวนสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังขนาดใหญ่เป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด โดยเฉพาะเต่าทะเลซึ่งจะขึ้นมาวางไข่บนหาด ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ แต่ปัจจุบันเต่าทะเลมีจำนวนลดลงมากจนแทบจะไม่เห็นเต่าขึ้นมาวางไข่อีกเลย
หาดไม้ขาว หรือหาดสนามบิน ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรีผ่านทางแยกเข้าสนามบินตรงไปทางสะพานสารสินจะมีทางแยกด้านซ้ายมือ มีป้ายบอกทางเข้าหาดไม้ขาว เลี้ยวซ้ายไป ๓.๕ กิโลเมตร ก็จะถึงหาดไม้ขาว ซึ่งเป็นหาดที่มีจั๊กจั่นทะเลและเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เช่นเดียวกับหาดในยาง
หาดทรายแก้ว เป็นหาดทรายขาวทอดยาวขนานกับทิวต้นสนอยู่ถัดจากหาดไม้ขาวไปจนถึงสะพานสารสิน นับเป็นหาดที่อยู่เหนือสุดของเกาะภูเก็ต
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ มีที่พักบริการนักท่องเที่ยว บังกะโล จำนวน ๕ หลัง ราคาหลังละ ๖๐๐ บาท และเต็นท์ ราคา ๒๐๐ บาท หากนำเต็นท์มาเองเสียค่าธรรมเนียมเช่าพื้นที่คนละ ๒๐ บาท สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ หาดในยาง ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๔๐ โทร. ๐ ๗๖๓๒ ๘๒๒๖ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๒๙๑๙
การแสดงโชว์
ภูเก็ต แฟนตาซี ตั้งอยู่บริเวณหาดกมลา เป็นแหล่งบันเทิงยามราตรี ที่มีการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมไทยด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ภายในบริเวณมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและหัตถกรรมไทยต่างๆ ห้องเกมส์ แต่ละอาคารจะได้รับการออกแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ลักษณะต่าง ๆ โดยดึงเอาจุดเด่นของแต่ละภาคมาใช้ และตกแต่งโดยใช้แสงสีต่าง ๆ ดูตระการตา สิ่งที่ไม่ควรพลาดชมคือ การแสดงจินตมายา ในวังไอยรา เป็นการนำเอกลักษณ์ของไทยทั้งด้านวรรณคดี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม มาผสมผสาน และนำเสนอผ่านตัวเอกคือเจ้าชายกมลา และช้างคู่บารมี ไอยรา โดยใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วย คั่นการแสดงด้วยบัลเล่ต์กลางเวหา มายากลนำเสนอโดยนักแสดงที่แสดงเป็นอินจันแฝดสยามคู่แรกของโลก เปิดให้บริการเวลา ๑๗.๓๐-๒๓.๓๐ น. การแสดงเริ่มเวลา ๒๑.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมบริเวณ ๖๐ บาท อัตราค่าเข้าชมการแสดงรวมอาหารเย็น ผู้ใหญ่ ๑,๕๐๐ บาท เด็ก ๑,๐๐๐ บาท ชมการแสดงอย่างเดียว ผู้ใหญ่ ๑,๐๐๐ บาท เด็ก ๗๐๐ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๗๖๒๗ ๙๒๒๒, ๐ ๗๖๒๗ ๙๑๓๓ - ๖ หรือฝ่ายรับจองบัตร โทร. ๐ ๗๖๒๗ ๙๓๐๐ โทรสาร ๐ ๗๖๒๗ ๙๓๓๓-๔ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๑๔ ๒๙๕๐, ๐ ๒๙๑๔ ๒๙๕๑ www.phuket-fantasea.com
ไซมอน คาบาเร่ต์ ตั้งอยู่หาดป่าตอง เป็นการแสดงโชว์ลิปซิงก์โดยนักแสดงชายล้วน ตระการตาด้วยเครื่องแต่งกายและฉากบนเวทีที่สวยงาม การแสดงมี ๒ รอบ เวลา ๑๙.๓๐ น. และ ๒๑.๓๐ น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๖๓๔ ๒๑๑๔
งานเทศกาล
งานท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน
เทศกาลอาหารทะเล จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ
เทศกาลกินผัก กำหนดจัดในวันขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี ระหว่างถือศีลกินผัก ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด ฯลฯ มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่างๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุดประทัดเสียงอึกทึกไปตลอดสาย ประเพณีกินเจนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ตและเกาะภูเก็ตตลอดไป
งานประเพณีปล่อยเต่า ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต
งานประเพณีลอยเรือชาวเล จะมีพิธีในกลางเดือน ๖ และ ๑๑ ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า “รำรองเง็ง” นั่นเอง
งานผ้อต่อ เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีน จะมีพิธีในช่วงเดือน ๗ ของจีน หรือเดือน ๙ ของไทย โดยมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต ตรงกับวันที่ ๑ พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๘ ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เป็นต้น
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดในหานเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ลากูน่าภูเก็ตไตรกีฬา เป็นการแข่งขันกีฬา ๓ ประเภทต่อเนื่องกัน คือ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และวิ่ง บริเวณลากูน่าภูเก็ต หาดบางเทา มีผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก การแข่งขันจะจัดขึ้นในช่วงปลายปีของทุกปี
คำว่า “ภูเก็ต” นั้นเชื่อว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายูคือ “บูกิ๊ต” ซึ่งแปลว่าภูเขา ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๑ พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ.๒๓๒๘ โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น ๒ ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสองเป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
• ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ ๕๔๓ ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ ๔๘.๗ กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ ๒๑.๓ กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้
อาณาเขต
• ทิศเหนือ จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานท้าวเทพกษัตรี
• ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
• ทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
• ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ภูมิอากาศ
• ภูเก็ตมีอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน ฤดูร้อนเริ่มเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข ๓๕) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ข้ามสะพานสารสิน เข้าจังหวัดภูเก็ต ระยะทาง ๘๖๒ กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปภูเก็ตทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๗๑๙๒ (รถปรับอากาศ) และโทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (รถธรรมดา) บริษัทเอกชน ติดต่อ บริษัท ภูเก็ต เซ็นทรัล ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๓๒๓๓ ภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๓๖๑๕, ๐ ๗๖๒๑ ๔๓๓๕ และบริษัท ภูเก็ตท่องเที่ยว กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๑๘, ๐ ๒๔๓๕ ๕๐๓๔ ภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๒ ๒๑๐๗-๙ สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๑๔๘๐
• รถไฟ ไม่มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภูเก็ตโดยตรง หากต้องการเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจำทางเข้าจังหวัดภูเก็ต สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔
• เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ - ภูเก็ตทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๑๑๙๕, ๐ ๗๖๒๑ ๒๔๙๙, ๐ ๗๖๒๑ ๒๙๔๖
การเดินทางภายในจังหวัดภูเก็ต
• ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการเดินทางภายในจังหวัดสะดวก มีรถตุ๊กตุ๊ก และรถสองแถวบริการไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น หาดราไวย์ หาดป่าตอง อ่าวฉลอง แหลมพันวา หาดกมลา หาดสุรินทร์ ห้าแยกฉลอง อ่าวมะขาม หาดกะตะ หาดกะรน หาดไนยาง อำเภอกะทู้ สามารถขึ้นรถได้บริเวณตลาดสด ใกล้วงเวียนน้ำพุ ถนนระนอง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง
• นอกจากนั้นการเดินทางจากสนามบินมายังตัวเมืองภูเก็ต สามารถใช้บริการรถแท็กซี่เข้าตัวเมืองภูเก็ต หรือไปยังหาดต่างๆ ในอัตราค่าบริการตามระยะทาง ส่วนในตัวเมืองก็มีบริการรถตู้ปรับอากาศและรถแท๊กซี่รับส่งไปสนามบิน ติดต่อบริษัท ทัวร์รอยัล เอ็นเตอร์ไพรส์ ถนนวิชิตสงคราม โทร. ๐ ๗๖๒๓ ๕๒๖๘-๗๑ หรือสนามบินภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๓๕ ๑๒๒๑ สำหรับรถตู้ปรับอากาศ จะมีระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. รถออกทุกชั่วโมง สำหรับรถแท๊กซี่ ต้องโทรแจ้งล่วงหน้า ๑ ชั่วโมง
การเดินทางจากภูเก็ตไปจังหวัดใกล้เคียง
• จากภูเก็ต มีบริการรถโดยสารธรรมดาจากสถานีขนส่ง ถนนพังงา ไปจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล หาดใหญ่ และเกาะสมุย รายละเอียดติดต่อ สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. ๐ ๗๖๒๑ ๑๔๘๐, ๐ ๗๖๒๑ ๑๙๗๗ นอกจากนั้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากภูเก็ตไปจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และหาดใหญ่ และบริษัท บางกอกแอร์เวย์ มีเที่ยวบินระหว่างภูเก็ต-สมุย ให้บริการอีกด้วย
เป็นองค์พระเจดีย์ขนาดใหญ่ สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างแบบขององค์พระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม สูง 6 ชั้น ยอดฉัตรทองคำ มีความกว้าง ยาว และสูง อย่างละ 101 เมตร รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็ก 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม
• แต่ละชั้นของพระมหาเจดีย์ ถูกตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม ประดิษฐานรูปเหมือนสลักหินทรายของพระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีตและหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโนในจำนวน 101 องค์ รวมทั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานซึ่งเก็บรวบรวมอัฏฐะบริขารของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์อีกด้วย ชั้นบนสูงสุด เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปัน โน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
• ผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร แห่งวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงรวบรวมเรื่องราวของครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นศูนย์กลางสำหรับไว้ให้พุทธศาสนิกชนเข้ามาศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและสักการะบูชา สืบไป พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและพลังศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และต่อหลวงปู่ศรีของชาวร้อยเอ็ด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ซึ่งร่วมใจบริจาคทรัพย์ตามกำลัง จนเกิดเป็นพระมหาเจดีย์ยิ่งใหญ่ดังที่เห็น
• คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุวัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคล : วันทามิ พันเต เตติยัง พุทธปะระมะ สารีริกธาตุง สิระสานะมามิ
• อานิสงส์ที่ได้รับ : เสริมมงคลให้ชีวิต อลังการพระมหาเจดีย์ชัยมงคล เสริมส่งมงคล ท่วมท้นชัยชนะด้วยพุทธานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
• แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
• สักการะพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี พระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยในวัดบูรพาภิราม บุด้วยกระเบื้องโมเสก สูง 67.55 เมตร ศิลปะพื้นบ้านส่วนผิวหนังเป็นสีเนื้อแลเห็นเด่นชัด เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด สร้างโดยพระครูสิริวุฒเมธี เจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม พระนักพัฒนา ผู้ชอบก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ.2522 สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 55 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย
• ไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ที่อยู่ในบริเวณบึงพลาญชัย แหล่งหย่อนใจที่งดงามด้วยเกาะกลางบึงน้ำขนาดใหญ่ รอบด้านตกแต่งเป็นสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ มีสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ และเครื่องออกกำลังกาย นับเป็นสวนขนาดใหญ่ที่ร่มรื่นและงดงาม
• สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด แสดงปลาน้ำจืดหลากสายพันธุ์ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่อุโมงค์ลอดใต้ตู้ปลาขนาดใหญ่ เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
• สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี เป็นโครงการสวนพฤกษศาสตร์ในวรรณคดีประจำภาคอีสาน ซึ่งปลูกไม้ตามวรรณคดีมากมาย นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรหลากชนิด จัดแต่งบริเวณรอบได้อย่างงดงาม
• เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาภูไท พระอาทิตย์ตกดินที่ผาหมอกมิวาย มีทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีลานกางเต็นท์และบ้านพักบริการ
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เมืองพัทยา • พัทยา เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งทางบก และทางน้ำ จุดเริ่มต้น...
-
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที...
-
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอ...
-
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบหลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดให...
-
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย อยู่ในพื้นที...