กิ่งอำเภอเกาะกูด
• เกาะกูด เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ ๒ รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของประเทศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราด ๘๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๑๐๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๕,๖๒๕ ไร่ โดยมีขนาดความยาวของเกาะ ๒๕ กิโลเมตร และขนาดความกว้าง ๑๒ กิโลเมตร ลักษณะโดยทั่วไปของเกาะยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขา และที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิด ลำธาร สายน้ำ ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกหลายแห่ง แต่ที่ขึ้นชื่อบนเกาะกูด คือ น้ำตกคลองเจ้า จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีทั้งหมด ๓ ชั้น โดยชั้นบนจะมีลักษณะเป็นลำธาร ส่วนชั้นล่างเป็นลำธารจากน้ำตกขนาดใหญ่ ซึ่งเหมาะแก่การเล่นน้ำอย่างมาก น้ำตกแห่งนี้ถือว่าเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงพระราชทานนามว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์เชียงสือกษัตริย์ญวนที่เคยเข้ามาลี้ภัยจากการจราจลในสมัยรัชกาลที่ ๑
ทางฝั่งตะวันตกของเกาะตั้งแต่อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ แหลมหินดำ หาดคลองเจ้า หาดง่ามโข่ แหลมบังเบ้า หาดอ่าว พร้าว ไปจนสุดปลายแหลมเทียน และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันออกที่น่าสนใจ ได้แก่ อ่าวสับปะรด แหลมศาลา อ่าวยายเกิด อ่าวคลองหิน อ่าวจาก ล้วนแต่เป็นหาดที่มีหาดทรายสวยงาม และน้ำทะเลใส มีธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ แนวปะการังนานาชนิดและปลาทะเลสีสันสวยงาม ในบริเวณทะเลด้านในของตัวเกาะรวมทั้งเกาะแรด และเกาะไม้ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะกูด
ชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของเกาะกูดส่วนใหญ่เป็นคนไทย และคนเขมรในเกาะกงที่อพยพเข้ามาเมื่อเมืองปัจจันตคีรีเขตรตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ หมู่บ้านคลองมาดเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด ปัจจุบันชาวเกาะยังดำรงชีพด้วยเกษตรกรรม ทั้งทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้เพียงเล็กน้อย และทำประมงชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
• การเดินทาง ไปเกาะกูดยังไม่มีเรือโดยสารประจำทางบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้จาก บริษัท เกาะกูด ซีทรานส์ จำกัด โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๖๔๖, ๐ ๑๔๔๔ ๙๒๕๙ อัตราค่าโดยสารไป-กลับ คนละ ๗๐๐ บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง ๓๐ นาที มีเรือออกจากท่าเรือแหลมงอบ (ท่าเทียบเรือกระโจมไฟ) วันอังคาร วันศุกร์และวันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึงเกาะกูดเวลา ๑๑.๓๐ น.
• เกาะหมาก เป็นเกาะขนาดใหญ่ อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ ๓๘ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๙,๐๐๐ ไร่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล หนาแน่นด้วยสวนมะพร้าวและสวนยางพารา โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงาม และน้ำใสสะอาดหลายแห่ง เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวแดง บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงจะพบแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ช่วงฤดูท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
• การเดินทาง ไปเกาะหมาก เที่ยวไป มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือกรมหลวงชุมพรฯ นักท่องเที่ยวควรมาถึงท่าเรือก่อนเวลา ๑๕.๐๐ น. ถึงท่าเรืออ่าวนิด เวลา ๑๙.๐๐ น. ใช้เวลาในการเดินทาง ๓ ชั่วโมงครึ่ง เที่ยวกลับ มีเรือออกจากท่าเรืออ่าวนิด เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงท่าเรือแหลมงอบ เวลา ๑๑.๓๐ น. อัตราค่าโดยสารคนละ ๒๕๐ บาท ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๓ ๘๑๒๒, ๐ ๙๖๐๕ ๗๘๐๗ บริษัท เกาะกูด ซีทรานส์ จำกัด มีเรือจากจากท่าเรือแหลมงอบ (ท่าเทียบเรือกระโจมไฟ) ไปเกาะหมาก เรือออกจากท่าเรืออ่าวนิด เที่ยวไป เรือออกเวลา ๐๙.๐๐ น. ถึงอ่าวนิด เวลา ๑๐.๓๐ น. เที่ยวกลับ เรือออกจากเกาะกูดใช้เวลามาถึงอ่าวนิด ๑ ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารคนละ ๕๕๐ บาท ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๖๔๖, ๐ ๑๔๔๔ ๙๒๕๙ และ บริษัท เกาะหมาก เอ็กซ์เพรส จำกัด มีเรือโดยสารเป็นเรือแอร์ ออกจากท่าเรือกรมหลวงชุมพรฯ ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เที่ยวไป เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึงเกาะหมาก เวลา ๑๐.๓๐ น. (เรือจอดที่เกาะหมากรีสอร์ท) เที่ยวกลับ เวลา ๑๓.๓๐ น. ถึงท่าเรือกรมหลวง เวลา ๑๕.๐๐ น. อัตราค่าโดยสารคนละ ๔๐๐ บาท ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๒๙๖, ๐ ๔๑๖๖ ๒๔๑๙
• เกาะกระดาด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก มีพื้นที่ประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ เป็นเกาะกลางทะเลกว้างที่มีสัณฐานแบนราบราวกับแผ่นกระดาษ มีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า “เกาะกระดาด” นับเป็นเกาะเดียวในประเทศไทยที่มีการออกโฉนดถูกต้องตามกฏหมาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากฝรั่งเศสได้เข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ และพยายามยึดครองดินแดนของไทย เกาะกระดาดก็เป็นที่หมายหนึ่งของฝรั่งเศสด้วย รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกโฉนดที่ดินของเกาะขึ้น ลักษณะโดยทั่วไปของเกาะมีหาดทรายยาวขาวสะอาด มีแนวปะการังที่สวยงามตลอดชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว คือช่วงเดือนตุลาคม-พฤษภาคมเพราะมีคลื่นลมน้อยที่สุด และเกาะกระดาดเป็นเกาะที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน UNSEEN THAILAND
การเดินทาง ไปเกาะกระดาดยังไม่มีเรือโดยสารประจำทางบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวจะต้องซื้อแพ็กเกจทัวร์ของเกาะกระดาด รีสอร์ท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๑๔๓๒ ๘๐๒๗ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๓๖๘ ๒๖๗๕, ๐ ๒๓๖๘ ๒๖๓๔ ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง
• เกาะขาม เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ใกล้กับเกาะหมาก ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมงจากแหลมงอบ สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเกาะขาม คือ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม บรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น น้ำทะเล และหาดทรายใสสะอาด ด้านตะวันออกของเกาะยังมีแนวปะการังที่สวยงามและเหมาะแก่การดำน้ำ บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว
• การเดินทาง ไปเกาะขาม มีเรือโดยสารประจำทางออกจากท่าเรือแหลมงอบ เที่ยวไป ออกเวลา ๑๕.๐๐ น. ถึงเกาะขาม เวลา ๑๘.๐๐ น. ใช้เวลาในการเดินทาง ๓ ชั่วโมง เที่ยวกลับ ออกจากเกาะขาม เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงท่าเรือแหลมงอบ เวลา ๑๑.๐๐ น. อัตราค่าเรือโดยสารคนละ ๒๑๐ บาท ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๑๒๑๒ ๑๘๑๔, ๐ ๑๓๐๓ ๑๒๒๙, ๐ ๑๙๑๖ ๖๕๓๖
• หมู่เกาะระยั้ง ประกอบด้วย เกาะระยั้งใน และเกาะระยั้งนอก สภาพโดยทั่ว ๆ ไปของเกาะระยั้งนอกเป็นเกาะที่เงียบสงบ หาดทรายขาว น้ำใสสะอาด มีที่พักบนเกาะระยั้งนอกเพียงแห่งเดียว
• หมู่เกาะกระ เป็นเกาะขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะหมาก เป็นเขตสัมปทานรังนกนางแอ่น และเป็นแหล่ง ดำน้ำดูปะการังที่สวยงาม
• หมู่เกาะรัง เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ห่างจากเกาะหมากไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๖ กิโลเมตร บนเกาะไม่มีที่ราบพอที่คนจะอาศัยอยู่ได้ มีเฉพาะที่ราบหน้าหาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บริเวณรอบๆ หมู่เกาะรังมีเกาะน้อยใหญ่อยู่จำนวนมาก ได้แก่ เกาะรังใหญ่ เกาะรังเล็ก เกาะกระ เกาะเทียน เกาะทองหลวง เกาะยักษ์ เกาะสามพี่น้อง เกาะมะปริง เกาะตุ๊น และเกาะกำปั่น เป็นต้น ซึ่งเกาะต่าง ๆ เหมาะแก่การดำน้ำดูปะการังท่ามกลางฝูงปลาแหวกว่าย
• การเดินทาง ไปหมู่เกาะรัง และหมู่เกาะกระ ไม่มีเรือโดยสารประจำทางที่วิ่งบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมาเรือจากแหลมงอบ ราคาประมาณ ๕,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท/วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ
การเดินทางไปเที่ยวเกาะต่าง ๆ
• ที่อำเภอแหลมงอบ มีท่าเรือที่สามารถโดยสารไปยังเกาะช้างและหมู่เกาะต่าง ๆ ได้แก่
- ท่าเทียบเรือแหลมงอบ เป็นเรือโดยสารที่ใช้เรือประมงนำมาดัดแปลง ไปขึ้นที่ เกาะช้าง บริเวณบ้านด่านเก่า ค่าเรือโดยสาร ๕๐ บาท ใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที มีเรือออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. เรือกลับจากเกาะช้างมีหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๑๖.๐๐ น. ส่วนการไป เกาะหมาก เที่ยวไป มีเรือออกจากท่าเรือแหลมงอบ เวลา ๑๕.๐๐ น. ถึงอ่าวนิดเวลา ๑๘.๐๐ น. ใช้เวลาในการเดินทาง ๓ ชั่วโมงครึ่ง เที่ยวกลับ มีเรือออกจากท่าเรืออ่าวนิด เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงแหลมงอบ เวลา ๑๑.๓๐ น. อัตราค่าโดยสารคนละ ๒๑๐ บาท และการไป เกาะหวาย มีเรือออก เวลา ๑๕.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๗.๓๐ น. ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารคนละ ๑๕๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๓ ๘๑๒๒
นอกจากนั้นบริเวณท่าเรือยังมีตัวแทนรับจองห้องพักของรีสอร์ทต่าง ๆ ตั้งอยู่ และนักท่องเที่ยวสามารถหาเรือเช่า (เรือประมงดัดแปลงขนาดเล็กจุได้ประมาณ ๑๐ คน) ไปเกาะช้าง และเกาะอื่น ๆ ในอัตราวันละประมาณ ๓,๕๐๐-๕,๐๐๐ บาท หรือติดต่อห้องอาหารแสงจันทร์ ๙๙/๓ หมู่ ๑ ชายทะเลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๑๙๗, ๐ ๓๙๕๙ ๗๒๙๙
- ท่าเรือเกาะช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีเรือเฟอร์รี่ไปเกาะช้าง เรือออกจากท่าอ่าวธรรมชาติ เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐–๑๙.๐๐ น. เที่ยวกลับ มีเรือออกจากอ่าวสัปปะรด เวลา ๐๘.๐๐–๑๙.๐๐ น. เรือจะออกทุก ๆ ๓๐ นาที ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๔๕ นาที อัตราค่าโดยสาร นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะข้ามไปเกาะช้างแบบไป-กลับ ราคา ๖๐ บาท และสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะนำรถยนต์ พร้อมคนขับข้ามไปเกาะช้างแบบไป-กลับ ราคา ๑๕๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๕๒ ๘๒๘๘-๙, ๐ ๓๙๕๙ ๗๑๔๓
บริเวณท่าเรือมีรถตู้บริการไปพัทยา ๔๐๐ บาท, ท่าเรือเกาะเสม็ด ๒๕๐ บาท และถนนข้าวสาร ๒๒๐ บาท
- ท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์ มีเรือเฟอร์รี่ไปเกาะช้าง เรือออกจากแหลมงอบ เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐–๑๘.๐๐ น. เที่ยวกลับ มีเรือออกจากท่าเรือด่านเก่า คาบาน่า เวลา ๐๖.๐๐–๑๙.๐๐ น. อัตราค่าโดยสาร นักท่องเที่ยว และคนขับที่ต้องการจะข้ามไปเกาะช้างแบบไป-กลับ ราคาคนละ ๑๐๐ บาท รถยนต์ ๔ ล้อ ไป-กลับฟรี ใช้เวลาในการเดินทาง ๔๕ นาที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๓ ๘๑๙๖
- นอกจากนี้ที่อำเภอคลองใหญ่มีท่าเรือประมงหลายแห่ง สามารถเช่าเรือไปเกาะใกล้ ๆ ได้ทุกวัน ได้แก่ เกาะกูด เกาะกระดาด และเกาะหมาก
Tourism Thai
คนเดินทาง
-
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis) - สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย การวิเคร...5 ปีที่ผ่านมา
-
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...7 ปีที่ผ่านมา
-
ปู่วัย 92 ปีแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง - ปู่วัย 92 จากไนจีเรีย เคยแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง ยังเหลือภรรยาอีก 97 คน ที่ยังอยู่กินอยู่ด้วยกัน เผย ยังหวังหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ให้มากที่สุดเท่าที...8 ปีที่ผ่านมา
Article
-
แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ - *Part One: Language Use and Usage (Items 1 – 40)* *1. Oral Expression* *Directions: Choose the best answer.* *1.1 **Conversation* Conversation 1: Kitti, a ...7 ปีที่ผ่านมา
-
The marketing concept - เป็นแนวความคิดที่ไมํได๎ ให๎ความสาคัญกับความต๎องการของผู๎บริโภคเลย เป็นแนวความคิดที่เชื่อวำองค์กรจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว๎ได๎ จะต๎องทาการพิจารณาศึกษา...8 ปีที่ผ่านมา
-
เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...9 ปีที่ผ่านมา
เมืองตราด สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๘) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซ เรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๘ จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
• การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี มีแม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สาย คือ
๑. บางนา-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
๒. บางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๔๔) ระยะทางประมาณ ๓๑๘ กิโลเมตร
๓. ทางหลวงพิเศษ (motor way) เริ่ม กิโลเมตรที่ ๐ ที่แยกถนนศรีนครินทร์ตัดถนนรามคำแหง และมาออกที่เส้นทางบ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด
• รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น ๑ (ปอ.๑) ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๒ ๗๖๘๐ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๕๘๗ และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑
• รถโดยสารธรรมดา ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔
จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีบริการรถปรับอากาศชั้น ๑ ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามที่รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๓๘๘ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒
• เครื่องบิน บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕, ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘ สำนักงานตราด โทร. ๐ ๓๙๕๒ ๕๗๖๗-๘, ๐ ๓๙๕๒ ๕๒๙๙ www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)
• การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
ตราด-จันทบุรี จากหน้าตลาดในตัวเมืองมีรถโดยสารประจำทางวิ่งบริการไปจังหวัดจันทบุรีทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสารประมาณ ๔๐ บาท
นอกจากนั้นยังมีรถแท็กซี่วิ่งไป-กลับจันทบุรี-ตราดทุกวัน โดยมีรถออกจากจันทบุรีบริเวณวงเวียนน้ำพุ และออกจากตราดข้างโรงแรมเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใช้เวลาในเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที ค่าโดยสารคนละ ๖๐ บาท (๕-๖ คน/๑ คัน)
บ่อไร่-จันทบุรี เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
บ่อไร่-แม่สอด จังหวัดตาก มีรถสองเที่ยว เวลา ๐๗.๓๐ และ ๐๘.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๑๕ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๒๐๐ บาท
• การเดินทางภายในจังหวัด
ตราด-คลองใหญ่ (รถสองแถว) ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร รถออกจากหลังตลาดเทศบาล ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๘๐ บาท (จากคลองใหญ่ต่อรถไปบ้านหาดเล็ก ๒๐ บาท)
ตราด-บ้านหาดเล็ก (รถตู้) ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร รถออกจากหน้าโรงหนังสีตราดดราม่า ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๑๑๐ บาท
ตราด-แหลมงอบ (รถสองแถว) ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๒๐ บาท
ตราด-แหลมศอก (รถสองแถว) ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๓.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๓๕ บาท
ตราด-เขาสมิง-บ่อไร่ ระยะทาง ๕๓ กิโลเมตร รถออกบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
ตราด-เขาสมิง-แสนตุ้ง-ท่าจอด ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๒๕ บาท
โดยทั่วไปการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปอำเภอต่าง ๆ มีรถออกจากตัวเมือง โดยจะมีรถสองแถวจอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาล และข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน และหลังจากเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมา ราคาแล้วแต่จะตกลงกันตามความเหมาะสม
• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเขาสมิง ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอแหลมงอบ ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอบ่อไร่ ๕๙กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่ ๗๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะช้าง ๒๗ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะกูด ๘๒ กิโลเมตร
• ระยะทางจากจังหวัดตราดไปจังหวัดใกล้เคียง
จันทบุรี ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๗๙ กิโลเมตร
ชลบุรี ๒๓๔ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๘๒
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๙๘๖
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๓๙
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๑๑๕
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๓๓
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๙๑, ๐ ๓๙๕๘ ๖๒๕๐
โรงพยาบาลตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๔๐-๑
โรงพยาบาลคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๐๔๔
โรงพยาบาลแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๔๐
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด โทร. ๐๓๙๕๓ ๒๗๓๕
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๓๐
เกาะช้างอินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก โทร. ๐ ๓๙๕๕ ๑๑๕๑-๒
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๒๖๑
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๑๐๘
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๐๘๔
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๒๗๖
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เมืองพัทยา • พัทยา เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งทางบก และทางน้ำ จุดเริ่มต้น...
-
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที...
-
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอ...
-
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบหลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดให...
-
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย อยู่ในพื้นที...