Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

เมืองตราด สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๘) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย


ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซ เรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๘ จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
• การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี มีแม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สาย คือ
๑. บางนา-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
๒. บางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๔๔) ระยะทางประมาณ ๓๑๘ กิโลเมตร
๓. ทางหลวงพิเศษ (motor way) เริ่ม กิโลเมตรที่ ๐ ที่แยกถนนศรีนครินทร์ตัดถนนรามคำแหง และมาออกที่เส้นทางบ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด
• รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น ๑ (ปอ.๑) ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๒ ๗๖๘๐ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๕๘๗ และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑
• รถโดยสารธรรมดา ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔
จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีบริการรถปรับอากาศชั้น ๑ ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามที่รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๓๘๘ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒
• เครื่องบิน บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕, ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘ สำนักงานตราด โทร. ๐ ๓๙๕๒ ๕๗๖๗-๘, ๐ ๓๙๕๒ ๕๒๙๙ www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)
• การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
ตราด-จันทบุรี จากหน้าตลาดในตัวเมืองมีรถโดยสารประจำทางวิ่งบริการไปจังหวัดจันทบุรีทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสารประมาณ ๔๐ บาท
นอกจากนั้นยังมีรถแท็กซี่วิ่งไป-กลับจันทบุรี-ตราดทุกวัน โดยมีรถออกจากจันทบุรีบริเวณวงเวียนน้ำพุ และออกจากตราดข้างโรงแรมเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใช้เวลาในเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที ค่าโดยสารคนละ ๖๐ บาท (๕-๖ คน/๑ คัน)
บ่อไร่-จันทบุรี เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
บ่อไร่-แม่สอด จังหวัดตาก มีรถสองเที่ยว เวลา ๐๗.๓๐ และ ๐๘.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๑๕ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๒๐๐ บาท
• การเดินทางภายในจังหวัด
ตราด-คลองใหญ่ (รถสองแถว) ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร รถออกจากหลังตลาดเทศบาล ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๘๐ บาท (จากคลองใหญ่ต่อรถไปบ้านหาดเล็ก ๒๐ บาท)
ตราด-บ้านหาดเล็ก (รถตู้) ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร รถออกจากหน้าโรงหนังสีตราดดราม่า ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๑๑๐ บาท
ตราด-แหลมงอบ (รถสองแถว) ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๒๐ บาท
ตราด-แหลมศอก (รถสองแถว) ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๓.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๓๕ บาท
ตราด-เขาสมิง-บ่อไร่ ระยะทาง ๕๓ กิโลเมตร รถออกบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
ตราด-เขาสมิง-แสนตุ้ง-ท่าจอด ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๒๕ บาท
โดยทั่วไปการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปอำเภอต่าง ๆ มีรถออกจากตัวเมือง โดยจะมีรถสองแถวจอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาล และข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน และหลังจากเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมา ราคาแล้วแต่จะตกลงกันตามความเหมาะสม
• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเขาสมิง ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอแหลมงอบ ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอบ่อไร่ ๕๙กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่ ๗๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะช้าง ๒๗ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะกูด ๘๒ กิโลเมตร
• ระยะทางจากจังหวัดตราดไปจังหวัดใกล้เคียง
จันทบุรี ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๗๙ กิโลเมตร
ชลบุรี ๒๓๔ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๘๒
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๙๘๖
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๓๙
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๑๑๕
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๓๓
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๙๑, ๐ ๓๙๕๘ ๖๒๕๐
โรงพยาบาลตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๔๐-๑
โรงพยาบาลคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๐๔๔
โรงพยาบาลแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๔๐
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด โทร. ๐๓๙๕๓ ๒๗๓๕
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๓๐
เกาะช้างอินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก โทร. ๐ ๓๙๕๕ ๑๑๕๑-๒
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๒๖๑
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๑๐๘
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๐๘๔
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๒๗๖


วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) ตั้งอยู่หมู่ ๗ บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-บางระจัน-สรรค์บุรี ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ห่างจากตลาดชัณสูตรประมาณ ๑ กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปแบบอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชองค์ปรางค์สูงประมาณ ๑๕ เมตร ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ยภายในกลวงมีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา และร่องรอยภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังมีวิหารเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์และคันทวยต่างๆ มีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา นอกจากนั้นยังปรากฎร่องรอยของเตาเผาแม่น้ำน้อยประมาณ ๓-๔ เตา วัดพระปรางค์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวัดที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะตัวเตาเป็นแบบระบายความร้อนเฉียงขึ้น ก่อด้วยอิฐ ตัวเตาบางส่วนคล้ายเรือประทุนจึงเรียก “เตาประทุน” ตัวเตาเผาที่นับว่ามีขนาดใหญ่ มีความยาวถึง ๑๔ เมตร กว้าง ๕.๖๐ เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันไฟยาว ๒.๑๕ เมตร เคยใช้เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผา เช่น ไห อ่าง ครก กระปุก ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ที่ขุดได้บริเวณแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย สามารถชมได้ในกุฏิของท่านเจ้าอาวาส แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งแหล่งหนึ่งแล้ว ยังเป็นศูนย์ศึกษาทางวิชาการเซรามิค อันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย
อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ประมาณ ๙ กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายไปบ้านเชิงกลัด เข้าไปอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานแม่ลา คำว่า “แม่ลา” เป็นชื่อลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านพื้นที่ ๓ อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นลำน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ฉะนั้นปลาที่จับได้จากลำน้ำแม่ลาจึงมีรสชาติอร่อย อ้วน เนื้อนุ่ม มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันปลาช่อนแม่ลาหายากขึ้นทุกวัน ทางราชการจึงหาทางอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยขุดลอกแม่ลามหาราชานุสรณ์ขึ้นริมฝั่งแม่น้ำลา โดยรอบ ๆ บริเวณอาคารทางการได้จัดให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนผู้แวะเข้ามาเยี่ยมชม

อำเภอท่าช้าง
วัดพิกุลทอง อยู่ในเขตตำบลวิหารขาว อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารไปประมาณ ๙ กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๒ ศอก ๗ นิ้ว สูง ๒๑ วา ๑ คืบ ๓ นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยโมเสดทองคำธรรมชาติชนิด ๒๔ เค รอบ ๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่าง ๆ ด้านหนึ่งของวัดมีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ และเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสวนธรรมะ และสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศสงบร่มรื่น

กิจกรรมที่น่าสนใจ
ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ การล่องเรือไปตามลำน้ำน้อย ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเคยเสด็จ เส้นทางล่องเรือเริ่มจากวัดน้อยนางหงษ์ – วัดพิกุลทอง ใช้เวลาไปกลับประมาณ ๔ ชั่วโมง และเส้นทางระยะสั้นจากวัดกลางท่าข้าม – วัดพิกุลทอง ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่งโมง ผ่านไปตามชุมชนหมู่บ้านที่สงบร่มรื่น สามารถมองเห็นวิถีชีวิตและธรรมชาติที่สวยงามสองฟากฝั่งคลอง ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณวรรณพร เสมสมาน โทร. ๐ ๓๖๕๙ ๑๓๖๐, ๐ ๑๙๔๖ ๘๓๖๘ และเส้นทางเลียบแม่น้ำน้อยเส้นนี้ยังเป็นเส้นทางจักรยานอีกด้วย

สิงห์บุรี เมืองอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ด้วยเรื่องราววีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๑๔๒ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๘๔๑ ตารางกิโลเมตร ตัวเมืองตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสามสายไหลผ่านคือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ไว้ว่า “เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่ามากมีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญคือ พระนอนจักรสีห์ใหญ่กว่าพระนอนองค์ อื่น ๆ ในเมืองไทยทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา เมืองสิงห์บุรีเรียกชื่อต่างกันดังนี้คือ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา ๒๐๐ เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองลับลี้” เมืองสิงห์บุรีได้ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ปัจจุบันจัดแบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถไปได้ ๓ เส้นทาง คือ
เส้นทางแรก ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านไปอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดลพบุรี และจากจังหวัดลพบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ อำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี
เส้นทางที่ ๒ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านจังหวัดอ่างทองไปจนถึงตัวเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
เส้นทางที่ ๓ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ ผ่านตัวเมืองจังหวัดอ่างทอง และตรงไปจนถึงจังหวัดสิงห์บุรี
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด ถนนกำแพงเพชร ๒ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖๖ และยังมีรถโดยสารประจำทางของบริษัทเอกชน เปิดบริการทุกวัน
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อำเภอบางระจัน ๑๐ กิโลเมตร
อำเภอค่ายบางระจัน ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอพรหมบุรี ๑๖ กิโลเมตร
อำเภออินทร์บุรี ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอท่าช้าง ๑๘ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๖๑๑
สถานีขนส่งจังหวัด โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๕๔๙
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๒๑๓
โรงพยาบาลสิงห์บุรี โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๐๖๐, ๐ ๓๖๕๒ ๑๔๔๕-๘
โทรสาร ๐ ๓๖๕๒ ๒๕๑๕
โรงพยาบาลท่าช้าง โทร. ๐ ๓๖๕๙ ๕๑๑๗
โรงพยาบาลพรหมบุรี โทร. ๐ ๓๖๕๙ ๙๔๘๑, ๐ ๓๖๕๓ ๗๙๘๔
โรงพยาบาลอินทร์บุรี โทร. ๐ ๓๖๕๘ ๑๙๙๓–๗
โทรสาร ๐ ๓๖๕๘ ๑๙๙๒
ตำรวจทางหลวง โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๔๑๖

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลางเขต ๗ ถนนรอบวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ๑๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๓๖๔๒ ๒๗๖๘-๙ โทรสาร ๐ ๓๖๔๒ ๒๗๖๙
พื้นที่ความรับผิดชอบ : ลพบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี

บทความที่ได้รับความนิยม