เมืองตราด สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๘) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซ เรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๘ จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
• การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี มีแม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สาย คือ
๑. บางนา-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
๒. บางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๔๔) ระยะทางประมาณ ๓๑๘ กิโลเมตร
๓. ทางหลวงพิเศษ (motor way) เริ่ม กิโลเมตรที่ ๐ ที่แยกถนนศรีนครินทร์ตัดถนนรามคำแหง และมาออกที่เส้นทางบ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด
• รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น ๑ (ปอ.๑) ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๒ ๗๖๘๐ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๕๘๗ และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑
• รถโดยสารธรรมดา ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔
จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีบริการรถปรับอากาศชั้น ๑ ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามที่รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๓๘๘ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒
• เครื่องบิน บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕, ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘ สำนักงานตราด โทร. ๐ ๓๙๕๒ ๕๗๖๗-๘, ๐ ๓๙๕๒ ๕๒๙๙ www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)
• การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
ตราด-จันทบุรี จากหน้าตลาดในตัวเมืองมีรถโดยสารประจำทางวิ่งบริการไปจังหวัดจันทบุรีทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสารประมาณ ๔๐ บาท
นอกจากนั้นยังมีรถแท็กซี่วิ่งไป-กลับจันทบุรี-ตราดทุกวัน โดยมีรถออกจากจันทบุรีบริเวณวงเวียนน้ำพุ และออกจากตราดข้างโรงแรมเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใช้เวลาในเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที ค่าโดยสารคนละ ๖๐ บาท (๕-๖ คน/๑ คัน)
บ่อไร่-จันทบุรี เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
บ่อไร่-แม่สอด จังหวัดตาก มีรถสองเที่ยว เวลา ๐๗.๓๐ และ ๐๘.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๑๕ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๒๐๐ บาท
• การเดินทางภายในจังหวัด
ตราด-คลองใหญ่ (รถสองแถว) ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร รถออกจากหลังตลาดเทศบาล ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๘๐ บาท (จากคลองใหญ่ต่อรถไปบ้านหาดเล็ก ๒๐ บาท)
ตราด-บ้านหาดเล็ก (รถตู้) ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร รถออกจากหน้าโรงหนังสีตราดดราม่า ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๑๑๐ บาท
ตราด-แหลมงอบ (รถสองแถว) ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๒๐ บาท
ตราด-แหลมศอก (รถสองแถว) ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๓.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๓๕ บาท
ตราด-เขาสมิง-บ่อไร่ ระยะทาง ๕๓ กิโลเมตร รถออกบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
ตราด-เขาสมิง-แสนตุ้ง-ท่าจอด ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๒๕ บาท
โดยทั่วไปการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปอำเภอต่าง ๆ มีรถออกจากตัวเมือง โดยจะมีรถสองแถวจอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาล และข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน และหลังจากเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมา ราคาแล้วแต่จะตกลงกันตามความเหมาะสม
• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเขาสมิง ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอแหลมงอบ ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอบ่อไร่ ๕๙กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่ ๗๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะช้าง ๒๗ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะกูด ๘๒ กิโลเมตร
• ระยะทางจากจังหวัดตราดไปจังหวัดใกล้เคียง
จันทบุรี ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๗๙ กิโลเมตร
ชลบุรี ๒๓๔ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๘๒
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๙๘๖
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๓๙
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๑๑๕
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๓๓
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๙๑, ๐ ๓๙๕๘ ๖๒๕๐
โรงพยาบาลตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๔๐-๑
โรงพยาบาลคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๐๔๔
โรงพยาบาลแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๔๐
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด โทร. ๐๓๙๕๓ ๒๗๓๕
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๓๐
เกาะช้างอินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก โทร. ๐ ๓๙๕๕ ๑๑๕๑-๒
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๒๖๑
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๑๐๘
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๐๘๔
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๒๗๖
Tourism Thai
คนเดินทาง
-
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis) - สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย การวิเคร...5 ปีที่ผ่านมา
-
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...7 ปีที่ผ่านมา
-
ปู่วัย 92 ปีแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง - ปู่วัย 92 จากไนจีเรีย เคยแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง ยังเหลือภรรยาอีก 97 คน ที่ยังอยู่กินอยู่ด้วยกัน เผย ยังหวังหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ให้มากที่สุดเท่าที...8 ปีที่ผ่านมา
Article
-
แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ - *Part One: Language Use and Usage (Items 1 – 40)* *1. Oral Expression* *Directions: Choose the best answer.* *1.1 **Conversation* Conversation 1: Kitti, a ...7 ปีที่ผ่านมา
-
The marketing concept - เป็นแนวความคิดที่ไมํได๎ ให๎ความสาคัญกับความต๎องการของผู๎บริโภคเลย เป็นแนวความคิดที่เชื่อวำองค์กรจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว๎ได๎ จะต๎องทาการพิจารณาศึกษา...8 ปีที่ผ่านมา
-
เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...9 ปีที่ผ่านมา
วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) ตั้งอยู่หมู่ ๗ บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-บางระจัน-สรรค์บุรี ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ห่างจากตลาดชัณสูตรประมาณ ๑ กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปแบบอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชองค์ปรางค์สูงประมาณ ๑๕ เมตร ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ยภายในกลวงมีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา และร่องรอยภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังมีวิหารเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์และคันทวยต่างๆ มีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา นอกจากนั้นยังปรากฎร่องรอยของเตาเผาแม่น้ำน้อยประมาณ ๓-๔ เตา วัดพระปรางค์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวัดที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะตัวเตาเป็นแบบระบายความร้อนเฉียงขึ้น ก่อด้วยอิฐ ตัวเตาบางส่วนคล้ายเรือประทุนจึงเรียก “เตาประทุน” ตัวเตาเผาที่นับว่ามีขนาดใหญ่ มีความยาวถึง ๑๔ เมตร กว้าง ๕.๖๐ เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันไฟยาว ๒.๑๕ เมตร เคยใช้เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผา เช่น ไห อ่าง ครก กระปุก ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ที่ขุดได้บริเวณแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย สามารถชมได้ในกุฏิของท่านเจ้าอาวาส แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งแหล่งหนึ่งแล้ว ยังเป็นศูนย์ศึกษาทางวิชาการเซรามิค อันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย
อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ประมาณ ๙ กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายไปบ้านเชิงกลัด เข้าไปอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานแม่ลา คำว่า “แม่ลา” เป็นชื่อลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านพื้นที่ ๓ อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นลำน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ฉะนั้นปลาที่จับได้จากลำน้ำแม่ลาจึงมีรสชาติอร่อย อ้วน เนื้อนุ่ม มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ซึ่งเป็นอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันปลาช่อนแม่ลาหายากขึ้นทุกวัน ทางราชการจึงหาทางอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยขุดลอกแม่ลามหาราชานุสรณ์ขึ้นริมฝั่งแม่น้ำลา โดยรอบ ๆ บริเวณอาคารทางการได้จัดให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนผู้แวะเข้ามาเยี่ยมชม
อำเภอท่าช้าง
วัดพิกุลทอง อยู่ในเขตตำบลวิหารขาว อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารไปประมาณ ๙ กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๒ ศอก ๗ นิ้ว สูง ๒๑ วา ๑ คืบ ๓ นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยโมเสดทองคำธรรมชาติชนิด ๒๔ เค รอบ ๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่าง ๆ ด้านหนึ่งของวัดมีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ และเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสวนธรรมะ และสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศสงบร่มรื่น
กิจกรรมที่น่าสนใจ
ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ การล่องเรือไปตามลำน้ำน้อย ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเคยเสด็จ เส้นทางล่องเรือเริ่มจากวัดน้อยนางหงษ์ – วัดพิกุลทอง ใช้เวลาไปกลับประมาณ ๔ ชั่วโมง และเส้นทางระยะสั้นจากวัดกลางท่าข้าม – วัดพิกุลทอง ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่งโมง ผ่านไปตามชุมชนหมู่บ้านที่สงบร่มรื่น สามารถมองเห็นวิถีชีวิตและธรรมชาติที่สวยงามสองฟากฝั่งคลอง ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณวรรณพร เสมสมาน โทร. ๐ ๓๖๕๙ ๑๓๖๐, ๐ ๑๙๔๖ ๘๓๖๘ และเส้นทางเลียบแม่น้ำน้อยเส้นนี้ยังเป็นเส้นทางจักรยานอีกด้วย
สิงห์บุรี เมืองอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ด้วยเรื่องราววีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๑๔๒ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๘๔๑ ตารางกิโลเมตร ตัวเมืองตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสามสายไหลผ่านคือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ไว้ว่า “เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่ามากมีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญคือ พระนอนจักรสีห์ใหญ่กว่าพระนอนองค์ อื่น ๆ ในเมืองไทยทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา เมืองสิงห์บุรีเรียกชื่อต่างกันดังนี้คือ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา ๒๐๐ เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองลับลี้” เมืองสิงห์บุรีได้ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ปัจจุบันจัดแบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถไปได้ ๓ เส้นทาง คือ
เส้นทางแรก ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านไปอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดลพบุรี และจากจังหวัดลพบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ อำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี
เส้นทางที่ ๒ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านจังหวัดอ่างทองไปจนถึงตัวเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
เส้นทางที่ ๓ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ ผ่านตัวเมืองจังหวัดอ่างทอง และตรงไปจนถึงจังหวัดสิงห์บุรี
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด ถนนกำแพงเพชร ๒ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖๖ และยังมีรถโดยสารประจำทางของบริษัทเอกชน เปิดบริการทุกวัน
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อำเภอบางระจัน ๑๐ กิโลเมตร
อำเภอค่ายบางระจัน ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอพรหมบุรี ๑๖ กิโลเมตร
อำเภออินทร์บุรี ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอท่าช้าง ๑๘ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๖๑๑
สถานีขนส่งจังหวัด โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๕๔๙
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๒๑๓
โรงพยาบาลสิงห์บุรี โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๐๖๐, ๐ ๓๖๕๒ ๑๔๔๕-๘
โทรสาร ๐ ๓๖๕๒ ๒๕๑๕
โรงพยาบาลท่าช้าง โทร. ๐ ๓๖๕๙ ๕๑๑๗
โรงพยาบาลพรหมบุรี โทร. ๐ ๓๖๕๙ ๙๔๘๑, ๐ ๓๖๕๓ ๗๙๘๔
โรงพยาบาลอินทร์บุรี โทร. ๐ ๓๖๕๘ ๑๙๙๓–๗
โทรสาร ๐ ๓๖๕๘ ๑๙๙๒
ตำรวจทางหลวง โทร. ๐ ๓๖๕๑ ๑๔๑๖
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลางเขต ๗ ถนนรอบวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ๑๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๓๖๔๒ ๒๗๖๘-๙ โทรสาร ๐ ๓๖๔๒ ๒๗๖๙
พื้นที่ความรับผิดชอบ : ลพบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เมืองพัทยา • พัทยา เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งทางบก และทางน้ำ จุดเริ่มต้น...
-
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที...
-
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอ...
-
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบหลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดให...
-
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย อยู่ในพื้นที...