Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search

ประวัติความเป็นมา
• ในระหว่าง วันที่ 23 กรกฎาคม – 20 สิงหาคม 2536 กรมป่าไม้ โดยส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นในท้องที่ตำบลน้ำจืด ตำบลมะมุ ตำบลปากจั่น และตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และตำบลบ้านนา อำเภอเมือง ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ และตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เนื้อที่ประมาณ 211,650 ไร่ (338.64 ตารางกิโลเมตร) ผลการสำรวจ เจ้าหน้าที่มีความเห็นว่ามีพื้นที่เหมาะสมที่จะประกาศให้เป็น “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งระยะ – นาสัก”
• วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 ประกาศจัดตั้งเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ – นาสัก ตามพระราชกฤษฎีกาในราชกิจจานุเบกษาครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด คือ จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร
• สถานที่ตั้งและอาณาเขต
   ทิศเหนือ จรดคลองกุ่ม คลองง่อม คลองหินใส ท้องที่ตำบลวิสัยเหนือ ตำบลทุ่งคา ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองจังหวัดชุมพร คลองวัน ท้องที่ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
   ทิศใต้ จรดอุทยานแห่งชาติ กระบุรี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
   ทิศตะวันออก จรดคลองพลึง คลองวิสัย ท้องที่ตำบลวิสัยใต้ คลองน้ำลอด คลองน้ำลอดน้อย ตำบลทุ่งระยะ ตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
   ทิศตะวันตก จรดคลองพรุใหญ่ คลองกระบุรี ตำบลน้ำจืดน้อย คลองบางบอน คลองบางนา คลองลำเลียง คลองแพรกดาด ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
• ภูมิประเทศ
• พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะนาสักและนาสัก เนื้อที่ประมาณ 211,650 ไร่ หรือประมาณ 338.64 ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 4 ป่า คือ
   1. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ตำบลวิสัยใต้ ตำบลครน ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
   2. ป่าสงวนแห่งชาติป่าเสียบญวน และป่าท่าสาร ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
   3. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำจืด ป่ามะมุ และป่าปากจั่น ท้องที่ตำบลน้ำจืด ตำบลมะมุ ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
   4. ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำเลียง ท้องที่ตำบลลำเลียง อำเภอลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
• ภูมิอากาศ
     สภาพอากาศอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อนซึ่งมีอากาศชุ่มชื้นฤดูฝน เริ่มเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ซึ่งเป็นอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนในช่วงที่มีฝนตกน้อย คือ ช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน โดยได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
• ป่าไม้
     เป็นป่าดิบชื้น ดินมีความอุดมสมบูรณ์มีพรรณไม้นานาชนิด ได้แก่ ตะเคียนทอง สมอพิเภก แซะก่อ ตะเคียนทราย ตะเคียนซวย ช้างแหก มะปริง ดำดง เสียดค่าง อินทนิล เสียดช่อ ส้าน หลุมพอ ตะเคียนหิน เม่าเหล็ก ตะแบกใหญ่ สาเสือ ไข่เขียว หรือโดแหลม ยางนา กระบาก ยูง คอแห้ง กะเบียด สังธรรม จิกเขา สุเหรียญ มังดะ พรมคต สะแกแสง ซิบ กฤษณา กาสาย เลือดควาย ตุ่งกิ่ง สะตอป่า ลางสาด เขาสมพง จำปา นนทรี มะม่วงป่า รักเขา ทัง เทพท่าโร เตยนะ ค่างเต้น ตะโกลน ขี้หนอน และแคยอดคำ
     สำหรับพรรณไม้ที่เป็นอาหารของสัตว์ป่า ได้แก่ ไทร มะเดื่อ กระท้อนป่า พะเนียง มะกอกป่า หว้า ขนุนป่า ไผ่ผาก ระกำ และหวาย
     ไม้พื้นล่างต่าง ๆ หลายชนิด เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ ปาล์ม และพุดป่า
• สัตว์ป่า
• เนื่องจากสภาพป่าเป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าอยู่มากมาย เช่น เลียงผา หมีคน กวางป่า อีเก้ง หมีขอ กระทิง วัวแดง สมเสร็จ เสือ อีเห็น หมูป่า แมวดาว เสือปลา และนกชนิดต่าง ๆ เท่าที่สำรวจพบมี นกเปล้า นกตบยูง และนกกวักลิ่น สัตว์เลื้อยคลานชนิดที่สำคัญ ได้แก่ตะกวด เห่าช้าง เหี้ย ตะพาบน้ำ งูชนิดต่าง ๆ เช่น งูเขียวต่าง ๆ เช่น งูเขียวหางไหม้ งูกะปะ งูสายพราน งูเหลือม งูเขียว และงูจงอาง เป็นต้น
• จุดเด่นที่น่าสนใจ
น้ำตกบกทราย อยู่ปลายคลองบางบอน หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เส้นทางเข้าน้ำตกเป็น เส้นทางลาดยาง จากถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เข้าถึงน้ำตกระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
น้ำตกธารทิพย์ (แบกลาย) ท้องที่หมู่ที่ 9 ตำบลครน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ไม่มีเส้นทางเข้าออกต้องเดินทางไปตามทางด่านตรวจสัตว์ป่าจึงจะไปถึงน้ำตกได้
น้ำตกชุมแสง ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เป็นเส้นทางลูกรังจากถนน เพชรเกษม เข้าถึงน้ำตกระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
น้ำตกบางใหญ่ ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เป็นเส้นทางลูกรังเข้าสู่น้ำตกระยะทาง ประมาณ 3 กิโลเมตร
น้ำตกตาดโตน หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
• การเดินทาง
• ระยะทางจากกรุงเทพฯ ไปยังที่ทำการ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะและนาสัก ระยะทางประมาณ 585 กิโลเมตร เดินทางตามถนนสายเอเชีย แล้วเลี้ยวขวาสี่แยกปฐมพร เดินทางต่ออีกประมาณ 70 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตบริเวณน้ำตกบกทราย ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ระหว่างกิโลเมตรที่ 556 – 557 ทางเข้าหน่วยงานเป็นเส้นทางลาดยาง ระยะทางห่างจากเพชรเกษม ประมาณ 10 กิโลเมตร
• สถานที่ติดต่อ
• ตู้ปณ.4 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 85110 โทรศัพท์ (077) 841319 , (077 )811267

เพชรบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 123 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งสมัยสุโขทัยและมีหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวารวดี ทั้งยังเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา
เพชรบุรี มีพื้นที่ 6,255.138 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับสหภาพพม่า ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบไปจนจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรีมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางกลอย และแม่น้ำบางตะบูน ประชากรจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำนา สวนผลไม้ ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง
จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก ติดต่อชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
การเดินทาง
รถยนต์ ทางที่สะดวกและใกล้ที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 ไปจังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี เป็นระยะทาง 166 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางทั้งปรับอากาศ และรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557-8 (รถธรรมดา) 435-1199-200 (รถปรับอากาศ) หรือรถโดยสารของบริษัทเอกชน ติดต่อที่เพชรบุรีทัวร์ โทร. 435-7408 นอกจากนี้ยังสามารถโดยสารรถประจำทางสายใต้หลายสายที่วิ่งผ่านเพชรบุรี เช่น สายกรุงเทพฯ-ชุมพร สายกรุงเทพฯ-หัวหิน-ปราณบุรี เป็นต้น นอกจากนี้จากตัวเมืองเพชรบุรียังมีรถโดยสารไปหัวหิน ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์และราชบุรี
รถไฟ จากกรุงเทพฯ มีรถไฟไปเพชรบุรีและชะอำทุกวัน รถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 1960 หรือ 223-7010, 223-7020 และออกจากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 411-3102
การเดินทางจากตัวเมืองเพชรบุรีไปอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง
อำเภอท่ายาง 18 กิโลเมตร
อำเภอชะอำ 40 กิโลเมตร
อำเภอบ้านแหลม 12 กิโลเมตร
อำเภอบ้านลาด 8 กิโลเมตร
อำเภอเขาย้อย 23 กิโลเมตร
อำเภอหนองหญ้าปล้อง 34 กิโลเมตร
อำเภอแก่งกระจาน 57 กิโลเมตร
อำเภอหัวหิน 66 กิโลเมตร
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 58 กิโลเมตร
จังหวัดราชบุรี 54 กิโลเมตร

วนอุทยานน้ำตกรามัญ อยู่ในท้องที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2526
ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบริเวณน้ำตกรามัญ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนติดต่อกัน พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตร ดินเป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินปูน มีหินทรายและหินแกรนิตปนบ้างเล็กน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
   ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม รวม 8 เดือน แต่ช่วงที่มีฝนตกชุกคือระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
   ป่าบริเวณน้ำตกยังสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นเหลืออยู่เฉพาะบริเวณลำห้วยเท่านั้น เหนือขึ้นไปส่วนใหญ่ป่ามีสภาพเสื่อมโทรม ถูกบุกรุกแผ้วถางทำสวนเกือบหมด พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยาง ยูง เสียดช่อ ส้าน เป็นต้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก กล้วย ป่าเฟิร์น และบอน
   สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า กระจง เก้ง อีเห็น กระรอก และนกชนิดต่างๆ
ที่พักและบริการ
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกรามัญโดยตรง
การเดินทาง
   รถยนต์ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอตะกั่วทุ่งประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 874 แยกเข้าทางแยกซ้ายมือตามถนนลูกรังไปประมาณ 6 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ หมู่ 6 บ้านหินสามก้อน ต.กระโสม อ. ตะกั่วทุ่ง จ. พังงา 82130 โทรศัพท์ 0 7535 6134, 0 7635 6780

บทความที่ได้รับความนิยม