Holiday-Tourismthailand

ท่องเที่ยว สูตรอาหารไทย อาหารเพื่อสุขภาพ ทั่วไทย เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะกูด ภูกระดึง ระยอง หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ.

Custom Search


วนอุทยานเขาแม่รำพึง อยู่ในท้องที่ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง มีเนื้อที่ประมาณ 4,550 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง มีพื้นที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นป่าบกมีเขาแม่รำพึงซึ่งเป็นภูเขาสูงชัน มียอดเขาสูงสุด 248 เมตร มีพื้นที่สามด้านติดกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันเกิน 35 % และมีทิศด้านลาดทุกทิศทาง ส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนสองฝั่งคลองแม่รำพึง ปากคลองแม่รำพึงมีสภาพเป็นดินเลนและชายหาดบางส่วน มีพื้นที่เป็นป่าบกประมาณ 1,500 ไร่ และพื้นที่ป่าชายเลน 3,050 ไร่
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าชายเลนมีพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง ใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ประสัก พังกาหัวสุม ตะบูน แสมทะเล โปรง ถั่ว เหงือกปลาหมอ โพธิ์ทะเล ปอทะเล
พื้นที่ป่าบกแบ่งเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กระแจะ กระดูกไก่ กระโดน ปลาไหลเผือก มะม่วงป่า มะหวด มะหาด มะเดื่อ มะนาวผี มะพลับ อ้อยช้าง อุโลก เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เก้ง อีเห็น กระต่ายป่า กระรอก กระแต ลิงแสม ลิงกัง ลิงลม ตะกวด แย้ ไก่ป่าูและนกชนิดต่างๆที่สำคัญมีนกเงือกขนาดเล็กที่เรียกว่านกแก๊กอาศัยอยู่หลายคู่
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานแม่รำพึงไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานแม่รำพึงโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงยื่นออกไปในทะเลคล้ายเกาะมีทั้งชายหาด โขดหิน เกาะแก่งสำหรับตกปลา มียอดเขาที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบทิศทาง มีน้ำพุร้อนที่ผุดขึ้นมาจากชายหาดโคลน สองฝั่งคลองมีป่าชายเลนสามารถล่องเรือชมวิวดูวิถีชีวิตของชาวบ้านสองฝั่งคลองได้ มีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่อยู่รอบพื้นที่อีกหลายแห่งได้แก่ ชายหาดอ่าวเทียน ชายหาดอ่าวบ้านกรูด ชายหาดอ่าวแม่รำพึง
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ผ่านจังหวัดนครปฐมถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงสามแยกอำเภอบางสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบางสะพานไปชายทะเล 16 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานฯ
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอปากท่อ ผ่านจังหวัดเพชรบุรีแล้วเดินทางต่อตามเส้นทางที่ 1 ก็จะถึงวนอุทยานฯ
รถไฟ จากกรุงเทพฯเดินทางโดยรถไฟถึงสถานีรถไฟอำเภอบางสะพานเดินทางต่อโดยรถเมล์รับจ้างอีกระยะทาง 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานแม่รำพึง
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานแม่รำพึง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์


ประวัติความเป็นมา
หว้ากอ...เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งทรงคำนวนไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถนำความรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ นำการเมืองทำให้ประเทศชาติปลอดภัย ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ
คณะรัฐมนตรีมีมติความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 ให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯและในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2536
อาคารดาราศาสตร์
อาคารดาราศาสตร์ ประกอบด้วยอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน คือ อาคารพันทิวาทิต พันพินิจจันทรา ดาราทัศนีย์ มีฐานการเรียนรู้ 11 ฐานการเรียน ได้แก่ บันทึกเกียรติยศ, โลกอนาคต, เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ, โลกของเด็ก, ฟากฟ้า ณ หว้ากอ, พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, มนุษย์กับดวงดาว, พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์, รวมใจชาวประจวบ, ความเป็นไปในจักวาลและเทคโนโลยีอวกาศและเอกภพ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ
สัมผัสกับมหัศจรรย์โลกใต้น้ำ มีทั้งสีสันความสวยงามของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มในมิติใหม่ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 6 ส่วน คือ ส่วนอัศจรรย์โลกสีคราม, ส่วนจากขุนเขาสู่สายน้ำ, ส่วนสีสันแห่งท้องทะเล, ส่วนเปิดโลกใต้ทะเล, ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและส่วนกิจกรรมปฏิบัติการ
กิจกรรมค่ายหว้ากอ
1. พบกับบรรยากาศแบบสบายๆ เป็นกันเอง ได้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคี การตรงต่อเวลาและอื่นๆ อีกมากมาย
2. พบกับกิจกรรมหลากหลาย เช่น พิธีถวายสักการะรัชกาลที่ 4 กิจกรรมดูนก ดูดาว กิจกรรมศึกษาฐานการเรียนรู้ กิจกรรม Walk Rally กิจกรรมชายหาด กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมี big tank และอุโมงค์ปลา ที่มีสัตว์น้ำต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ และเห็นถึงความแตกต่างของสรรพสิ่งในระดับความลึกของน้ำราวดำดิ่งสู่ก้นทะเลลึก จากนั้นไปต่อกันที่อุโมงค์ปลาซึ่งเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ให้คุณสัมผัสดุจดั่งกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลเลยทีเดียว
3. มีที่พักสะอาดบรรยากาศติดทะเล สามารถรองรับสมาชิกได้ประมาณครั้งละ 120-200 คน มีทั้งห้องพักและเต้นท์ ห้องพักเป็นแบบห้องพักรวม แยกชายหญิง ห้องพักพัดลม มีห้องน้ำอยู่นอกห้องพักหลังอาคารพัก
4. มีอาหาร น้ำดื่ม บริการในราคาแบบเป็นกันเอง
หลักสูตรที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
1. ค่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ค่ายสิ่งแวดล้อม
3. ค่ายสอนน้องดูดาว
4. ค่ายปักษี
5. ค่ายอนุรักษ์พลังงาน
6. ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. ค่าสำหรับเด็กพิการ
8. ค่ายครอบครัว
9. ค่ายทักษะชีวิต
ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายตลอดหลักสูตร 3 วัน 2 คืน รวมค่าอาหาร ที่พัก วัสดุอุปกรณ์และค่าตอบแทนวิทยากรประมาณ 250-300 บาท/คน
สามารถจองค่ายและสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานการตลาด โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 ในวันและเวลาราชการ
สวนผีเสื้อ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองให้คุณได้ชื่นชมมากกว่า 20 ชนิด บรรยากาศภายในสวนร่มรื่น มีมุมนั่งพักผ่อนชมปลาแหวกว่ายเวียนวน และดูน้ำตกสวยๆ เพียบพร้อมด้วยเกร็ดความรู้ให้คุณได้ศึกษา เกี่ยวกับวงจรชีวิตผีเสื้อในห้องจัดแสดงวงจรชีวิตผีเสื้อ ซึ่งคุณจะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อครบทั้ง 4 ระยะ นอกจากนี้ยังมีศาลาแห่งชีวิตและมีตัวอย่างผีเสื้อที่เก็บรักษาไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย
เวลาทำการ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ : สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคมฯ ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะ โปรดทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าในเวลาราชการ โดยทำหนังสือส่งถึง : ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หมู่ 4 ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 โทรสาน. 032 661 727

เมื่อ 100 กว่าปี ล่วงมาแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลก ได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จึงถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไดัรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์ใน วันที่14 กันยายน 2525 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536
สถานที่ตั้ง
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อวจ.) ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ หมู่ 4 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77000 บริเวณกิโลเมตรที่ 335 ถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ ไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 314 กิโลเมตร มีเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินจำนวน 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา อยู่ติดชายทะเลบริเวณอ่าวหว้ากอ มีชายหาดยาว 2.7 กิโลเมตร ขนานทางรถไฟสายใต้ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข (032) 661098, 661726-7,661103 โทรสาร ต่อ 133
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งขึ้นตามแผนหลักของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
เริ่มดำเนินดารก่อสร้าง มาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543 กำหนดแล้วเสร็จ ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างจำนวน 164 ล้านบาท หลังจากก่อสร้างเสร็จก็จะจัด นิทรรศการและการแสดง ภายในเวลา 1 ปี การบริหารจัดการจะเป็นการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน คาดว่าจะเปิดบริการให้เข้าชมได้ในปี 2547
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
การเดินทางไปอุทยานวิทยาศาสตร์
ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ( สายธนบุรี ปากท่อ ) ผ่านทาง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วเลี่ยวซ้าย สู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน มุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร หรืออาจจะเดินทาง จากกรุงเทพ มาทางสายพุทธมณฑล ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี แล้วมุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานวิทยาศาตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางได้โดยรถประจำทางธรรมดาและรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งสายใต้ โดยรถประจำทางสายกรุงเทพ-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีรถออกเดินทางวันละหลายเที่ยว
ทางรถไฟ เดินทางออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีขบวนรถเดินทางวันละ 9 เที่ยว


* กุ้งขนาดกลาง 5 - 8 ตัว

(ล้างทำความสะอาดและปอกเปลือก)

* หมูสับ 200 กรัม (หรือเนื้อไก่ก็ได้)

* ก้านคะน้า (ปอกเปลือกหั่นยาว 1 ซม.) 25 ท่อน

* มะเขือเทศหั่น 2 ลูก

* หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาล 1 1/2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกขี้หนูทุบและหั่นหยาบ 5-8 เม็ด

(ปรับเพิ่ม/ลด ตามความชอบ)

* ใบสาระแหน่ (สำหรับโรยหน้า)
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ต้มน้ำในหม้อจนเดือด จากนั้นนำก้านคะน้าที่ปอกเปลือกและหั่นเตรียมไว้ไปลวกพอสุก นำขึ้นมาสะเด็ดน้ำ เสร็จแล้วนำกุ้งไปลวกต่อจนสุก จึงนำขึ้นสะเด็ดน้ำพักไว้

2. นำหมูสับไปต้มต่อในหม้อใบเดียวกันจนสุก ถ้าใช้เนื้อไก่ก็นำไปต้มจนสุก แล้วจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำและฉีกเป็นชิ้นๆ เตรียมไว้

3. เตรียมทำน้ำยำ โดยผสมน้ำปลา,น้ำตาล, น้ำมะนาว, พริกขี้หนูและหอมแดงซอยเข้าด้วยกัน ปรับรสตามความชอบ

4. ในชามขนาดใหญ่ ผสมกุ้ง, หมูสับ (หรือไก่), คะน้า, มะเขือเทศ และน้ำยำเข้าด้วยกัน คลุกเคล้าจนเข้ากันทั่ว จึงจัดใส่จาน โรยหน้าด้วยใบสาระแหน่ เสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ หรือเป็นกับแกล้มทานเล่นก็ดี

(เคล็ดลับ : เมื่อคลุกน้ำยำแล้วควรเสริฟทันที จะได้รสชาตดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะน้ำในส่วนผสมอื่นจะออกมาทำให้รสชาตน้ำยำจืดชืดลงไป)


* สันในไก่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 800 กรัม

* ซี่โครงไก่ 3 ตัว

* กระเทียมสับ 3/4 ถ้วยตวง

* รากผักชี 5 ราก

* น้ำมันงา 4 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ

* เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ

* ซิอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ

* ซ๊อสปรุงรส 8 ช้อนโต๊ะ

* เหล้าจีน 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยป่น 3 ช้อนโต๊ะ

* แป้งข้าวโพด 1/2 ถ้วยตวง (ละลายกับน้ำ)

* ผักต้ม

(แครอท, ข้าวโพดอ่อน, อื่นๆ สำหรับทานกับข้าวหน้าไก่)

* พริกดองน้ำส้ม (เสริฟทานพร้อมกับข้าวหน้าไก่)

* ผักชี (สำหรับแต่งหน้าอาหาร)

* น้ำมันพืช
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. หมักไก่โดยใส่น้ำตาลทราย (2 ช้อนโต๊ะ), พริกไทยป่น (2 ช้อนโต๊ะ), ใส่กระเทียมสับ (1/4 ถ้วยตวง), ซ๊อสปรุงรส (4 ช้อนโต๊ะ), ซิอิ๊วขาว (4 ช้อนโต๊ะ) และ่น้ำมันงา (4 ช้อนโต๊ะ) เคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ อย่างน้อย 30 นาที

2. ระหว่างรอหมักไก่ เตรียมทำน้ำซุป : ตั้งน้ำสะอาดในหม้อด้วยไฟร้อนปานกลาง ใส่ซี่โครงไก่, รากผักชี, พริกไทย (1 ช้อนโต๊ะ)และ เกลือ ต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 ชั่วโมง

3. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง ใส่กระเทียม (1/2 ถ้วยตวง) ลงไปเจียวจนเหลืองหอม จากนั้นใส่ไก่ลงไปผัดจนเกือบสุก

4. ปรุงรสด้วย น้ำตาลทราย (2 ช้อนโต๊ะ), ซ๊อสปรุงรส (4 ช้อนโต๊ะ) และเหล้าจีน ผัดให้เข้ากัน แล้วจึงนำน้ำซุปที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในกระทะ ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันกับน้ำซุป เสร็จแล้วย้ายส่วนผสมทั้งหมดไปในหม้อขนาดใหญ่

5. ตั้งหม้อบนไฟอ่อนๆ รอจนเดือดจึงใส่น้ำแป้งข้าวโพดลงไป ค่อยๆเติม และคนต่อเนื่องเพื่อไม่ให้น้ำแป้งจับตัวเป็นก้อน

6. ตักราดบนข้าวสวยร้อนๆพร้อมผัก หรือจะเสริฟแยกโดยใส่ถ้วยต่างหากก็ได้ ก่อนเสริฟโรยหน้าด้วยผักชี และเสริฟข้าวหน้าไก่พร้อมน้ำส้มพริกดอง


* ปลาหมึกกล้วย หั่นเป็นแว่น 1 ถ้วยตวง

* แป้งทอดกรอบ 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำเปล่า 3 ช้อนโต๊ะ

* ไข่ไก่ 1 ฟอง

* กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ

* ซ๊อสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา

* น้ำมันสำหรับทอด

* น้ำจิ้ม (ซ๊อสมะเขือเทศ, ซ๊อสพริก, น้ำจิ้มบ๊วยหรือน้ำจิ้มไก่ แล้วแต่ชอบ)

* ผักสดสำหรับเสริฟพร้อมปลาหมึกทอด (แตงกวา, มะเขือเทศ, อื่นๆ)
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. เตรียมแป้งสำหรับทอด โดยผสมแป้งทอดกรอบ, น้ำเปล่า, พริกไทยป่น, ซ๊อสปรุงรส, และกระเทียมเข้าด้วยกันในชามขนาดใหญ่ นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี

2. ใส่ปลาหมึกที่หั่นเตรียมไว้ลงไปในส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ในข้อ 1 ทิ้งไว้สักครู่

3. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง จากนั้นจึงใส่ปลาหมึกที่ชุบแป้งแล้วลงไปทอดจน สุกเหลืองกรอบ เสร็จแล้วจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำมัน

4. จัดปลาหมึกทอดใส่จานแต่งด้วยผักสดพร้อมน้ำจิ้ม เสริฟเป็นของว่างทานเล่นหรือกับแกล้มก็ดี


* หมูสับละเอียด 1 ถ้วยตวง

* กุ้งสับละเอียด 1/2 ถ้วยตวง

* หอมใหญ่สับเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/4 ถ้วยตวง

* พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 3 เม็ด

* ผักชีเด็ดเอาแต่ใบ 1/4 ถ้วยตวง

* ถั่วลิสงคั่วบุบ 1/4 ถ้วยตวง

* น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทย 5-8 เม็ด

* กระเทียม 4 กลีบ

* น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ

* รากผักชี 1 ราก

* ไข่เป็ดตีให้เข้ากัน 5 ฟอง
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. โขลกรากผักชี กระเทียมและพริกไทย ให้ละเอียด ตักขึ้นมาเตรียมไว้ผัด

2. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง แล้วเอาส่วนผสมที่โขลกเตรียมไว้ (ในขั้นตอนที่ 1) ลงไปผัดจนหอม จากนั้นใส่หมู, กุ้งและหอมใหญ่ลงผัดให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล สุดท้ายใส่ถั่วลิสง ผัดจนงวดและแห้ง จึงปิดไฟ (ต้องผัดจนแห้งไม่เช่นนั้นจะยากต่อการห่อในขั้นตอนต่อไป)

3. ตั้งกระทะบนไฟร้อนปานกลาง ทาน้ำมันให้ทั่วก้นกระทะ พอกระทะร้อน ใช้มือจุ่มไข่และสะบัดให้เป็นตารางขนาดใหญ่พอห่อได้ 1 คำ พอไข่สุกค่อยๆ แคะขึ้นมาวางพักไว้บนจาน ทำเช่นนี้จนไข่หมด

4. ถึงขึ้นตอนการห่อ นำแผ่นไข่ที่ทำไว้วางบนพื้นเรียบสะอาด จากนั้นวางพริกแดงและผักชีลงที่กลางแผ่นไข่ แล้วตักไส้พอคำวางทับพริกและผักชี พับห่อให้เป็นรูปสี่เหลียม ห่อจนหมด

5. จัดใส่จาน ตกแต่งหน้าด้วยใบผักชี เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ หรือเป็นของว่างทานเล่นก็ดี


* หมูสับติดมัน 300 กรัม

* ตับหมูหั่นเป็นชิ้น 100 กรัม (ลวกน้ำร้อนจัดจนเกือบสุก)

* ไส้อ่อนหมู 200 กรัม

* ปลายข้าว 1 ถ้วยตวง

* กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ

* ขิงหั่นฝอย 1/4 ถ้วยตวง

* ต้นหอมซอย 50 กรัม

* ผักชีซอย 50 กรัม

* ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ

* ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำซุปกระดูกหมู 3 ถ้วยตวง

* แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. เตรียมหมักเนื้อหมูโดย ผสมหมูสับเข้ากับกระเทียม, น้ำมันหอย, ซอสปรุงรส, ซีอิ๊วขาว (2 ช้อนโต๊ะ) และแป้งข้าวโพด นวดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน พักไว้

2. ต้มปลายข้าวโดยใส่น้ำเปล่าพอท่วม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆจนสุกข้น จึงปิดไฟ (หมั่นคน ระวังไหม้ที่ก้นหม้อ)

3. ตักปลายข้าวที่ต้มจนสุกดีแล้ว ไปใส่ในหม้ออีกใบ เติมน้ำซุปกระดูกหมูลงไป (อย่าเติมน้ำซุปมากจนในเกินไป) ต้มจนเริ่มเดือดจึงใส่หมูบด (ใช้ช้อนตักเป็นก้อนกลมๆ) และตับหมู

4. รอจนเนื้อหมูเกือบสุก จึงปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว (ที่เหลืออีก 2 ช้อนโต๊ะ) ถ้ารสยังจืดไป ก็สามารถเติมเพิ่มได้อีก (แต่ควรทำรสอ่อนไว้ก่อน เวลารับประทานถ้ายังเค็มไม่พอสามารถใส่เพิ่มได้) ต้มจนหมูและตับสุกดีจึงปิดไฟ (ถ้าต้องการใส่ไข่ ก็ตอกไข่ใส่แล้วรอจนไข่สุกก่อนจึงค่อยปิดไฟ)

5. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยต้นหอม, ผักชีและขิงหั่นฝอย เสริฟทันทีร้อนๆ หรือจะทานพร้อมกับ ปาท๋องโก๋ (หรือหมี่กรอบ) ก็อร่อยไปอีกแบบ


* ปูม้า 3 ตัว (นึ่งจนสุกแล้วแกะเอาแต่เนื้อ)

* หมูสับ 200 กรัม

* ฟองเต้าหู้แผ่นใหญ่ (ปริมาณแล้วแต่ขนาดที่จะห่อ)่

* มันหมูหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/2 ถ้วยตวง

* ไข่เป็ด 2 ฟอง

* แป้งสาลี 3 ช้อนโต๊ะ

* รากผักชี 3 ราก

* กระเทียม 1/2 ถ้วยตวง

* พริกไทย 20 เม็ด

* เกลือ 1 ช้อนชา

* ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

* ต้นหอม+ผักชีซอย 1/2 ถ้วยตวง

* เหล้าจีนหรือวิสกี้ 2 ช้อนโต๊ะ

* แตงกวา+มะเขือเทศ(เสริฟเป็นเครื่องเคียง) และน้ำจิ้มบ๊วย

* น้ำมันสำหรับทอด
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. โขลกกระเทียม, รากผักชี, เกลือและพริกไทยเข้าด้วยกันจนละเอียด ในชามขนาดใหญ่ ใส่ส่วนผสมที่โขลกเตรียมไว้ลงไปผสมกับเนื้อปู, หมูสับ, มันหมู, แป้งสาลี, ไข่เป็ด, น้ำตาล, ซิอิ๊วขาว, เหล้า, ต้นหอมและผักชี นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี

2. นำฟองเต้าหู้ไปแช่น้ำให้นิ่ม จากนั้นจึงนำมาแผ่ขยาย ตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 5 นิ้ว

3. ตักส่วนผสมที่นวดจนเข้ากันดีแล้วในข้อหนึ่งไปวางบนฟองเต้าหู้ ม้วนส่วนผสมด้วยฟองเต้าหู้ (คล้ายๆห่อโรตี) เสร็จแล้วมัดหัวและท้าย จากนั้นจึงมัดเป็นปล้องตรงกลางให้แน่น โดยแบ่งให้แต่ละปล้องหนาประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว

4. นำไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 10 นาทีหรือจนสุกดี จากนั้นจึงนำมาตัดออกเป็นท่อนตามปล้องที่มัดไว้

5. นำหอยจ้อที่ตัดออกเป็นท่อนไปทอดในน้ำมันร้อนจัด (ใส่น้ำมันให้ท่วม) ทอดสักพักจนเหลืองกรอบจึงตัก ขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน จัดใส่จานกับแตงกวาและมะเขือเทศหั่น เสริฟพร้อมน้ำจิ้มเป็นของท่านเล่นหรือกับข้าวก็ดี


* กุ้งขนาดปานกลาง 6 ตัว (ล้างทำความสะอาดและปอกเปลือก)

* พริกขี้หนู 8-12 เม็ด (ปรับลด/เพิ่ม ตามความชอบ)

* หอมแดงหั่น 1 ช้อนโต๊ะ

* ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยเม็ด 2 ช้อนชา

* รากผักชีหั่น 1 ช้อนชา

* กระชายซอย 1/4 ถ้วยตวง

* พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ 3-5 เม็ด

* ใบโหระพา 1/2 ถ้วยตวง

* ใบมะกรูด 3 ใบ, ฉีกเป็นชิ้นๆ

* พริกไทยอ่อน 3-4 ช่อ, * น้ำซุป 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา, * น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ, * น้ำมันพืช
วิธีทำทีละขั้นตอน

1. โขลก พริกขี้หนู, หอมแดง, กระเทียม, ตะไคร้, พริกไทยเม็ดและรากผักชีเข้าด้วยกัน จนละเอียดและเป็นเนื้อเดียวกัน

2. ตั้งน้ำมันในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง ใส่น้ำพริกที่โขลกลงไปผัดจนหอม จากนั้นจึงใส่กุ้งลงไปผัดจนเกือบสุก

3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำตาล และน้ำมันหอย เร่งไฟให้แรงขึ้น ใส่กระชาย, พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ, ใบโหระพา, ใบมะกรูด, พริกไทยอ่อนและน้ำซุป ผัดอย่างรวดเร็วจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี จึงปิดไฟ

4. ตักใส่จาน เสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ


วัดกลาง อยู่ที่ตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ
• วัดน้ำฮู อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ ประวัติการสร้างไม่แน่นอนแต่เชื่อกันว่าสร้างโดยพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนปิดเปิดได้และมีน้ำขังอยู่เสมอ นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมือง ต้องขออนุญาตจากเจ้าอาวาสเพื่อเปิดโบสถ์เสียก่อน
• น้ำตกหมอแปง อยู่หมู่ที่ 4 บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก และมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง บริเวณรอบน้ำตกมีป่ายางร่มรื่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ประมาณ 8-9 กิโลเมตร (สายปาย-แม่ฮ่องสอน)
• โป่งน้ำร้อนเมืองแปง อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 28 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) และแยกเข้าสาย 1265 ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 85-86 ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิง เป็นทางลูกรัง อุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง 95 องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ
• เจดีย์พระธาตุแม่เย็น อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว
• อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีภูเขาที่สูงที่สุดคือดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย
จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ
• จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ตั้งอยู่ที่ตำบลกึ้ดช้าง อำเภอแม่แตง เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก นักท่องเที่ยวจะได้ชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่และคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นงดงามมาก
• จุดชมวิวดอยช้าง อยู่ทางเหนือของห้วยน้ำดัง เป็นจุดที่สามารถมองเห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อน และทะเลหมอกในยามเช้าตรู่
• น้ำตกห้วยน้ำดัง เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย น้ำตกสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก
• การเดินทางจากแม่ฮ่องสอน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 ผ่านอำเภอปาย ถึงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางลูกรังแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงบริเวณห้วยน้ำดัง และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงจุดชมวิวดอยช้างทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะพักค้างแรม รายละเอียดติดต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-5734, 579-7223
• โป่งน้ำร้อนท่าปาย อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87-88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางลาดยางตลอดทั้งสาย มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ และมีน้ำร้อนไหลผ่านทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นเป็นน้ำผุดหลายจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส รอบๆโป่งน้ำร้อนเป็นป่าไม้สัก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น
• น้ำพุร้อนเมืองแปง อยู่บริเวณบ้านเมืองแปง ตำบลเมือง แปง เป็น บ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 29 กิโลเมตร อุณหภูมิร้อนประมาณ 95 องศาเซลเซียสและเดือดพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ
• ห้วยจอกหลวง เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยจอกหลวงอยู่บริเวณป่าแม่ยะ ตำบลแม่ฮี้ มีการปลูกดอกไม้เมืองหนาวหลายชนิดและออกดอกในฤดูหนาวตั้งอยู่บนภูเขาและมีทิวทัศน์สวยงามมากอยู่ห่างจากอำเภอปายประมาณ 43 กิโลเมตร ฤดูที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวคือ ฤดูหนาว


อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา มีเนื้อที่ครอบคลุมท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเขาพนม และอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เขาพนมเบญจาเป็นสัญลักษณ์แห่งความงามที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่ สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีไอหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ลำธาร น้ำตก ถ้ำต่าง ๆ และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 50.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 31,325 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาที่เขียวชะอุ่มสลับซับซ้อน มีหน้าผาสูงชัน ประกอบด้วยเขาพนมและเขาพนมเบญจาซึ่งมียอดเขาสูงสุด 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำสายสำคัญที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในตัวเมืองกระบี่หรือคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เทือกเขาเหล่านี้มีลักษณะเป็นแนวยาวตลอดจากเหนือจรดใต้ ผ่านกลางอุทยานฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น คลองโตน คลองกระบี่น้อย คลองพอทาก คลองปกาไสย ห้วยสะเค ห้วยล้าน และห้วยไผ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน และฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เนื่องจากป่าเขาพนมเบญจา เป็นป่าดิบชื้น ฝนตกชุกเกือบตลอดปี จึงมีไม้ที่สำคัญหลายชนิด คือ ตะเคียนทอง ยาง ตะแบก หลุมพอ จำปา สะตอป่า มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย เข็มป่า และไผ่ชนิดต่าง ๆ สำหรับสัตว์ป่านั้นยังชุกชุมอยู่มาก เพราะมีแหล่งน้ำและอาหารอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ โครำหรือเลียงผา หมูป่า เสือดำ เสือลายเมฆ หมีควาย กระจง ค่าง ชะนี ลิงเสน หมาไน กระรอก หมูสังหรือชะมด นางอาย นกกางเขนดงหรือนกบินหลา นกเงือก นกคุ้ม ไก่ฟ้า และไก่ป่า
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยโต้ กำเนิดจากเขาพนมเบญจา ตกจากหน้าผาสูง มี 11 ชั้น บางชั้นสูงประมาณ 70 - 80 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างใสสะอาดเหมาะสำหรับเล่นน้ำ แอ่งน้ำแต่ละชั้นมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น วังเทวดา วังชก และวังสามหาบ น้ำตกห้วยโต้ อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 350 เมตร
น้ำตกห้วยสะเค ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 300 เมตรน้ำตกจากหน้าผาสูง มี 3 ชั้น และอยู่ใกล้กับน้ำตกห้วยโต้
ถ้ำเขาผึ้ง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร เขาผึ้งมีถ้ำทั้งหมด 5 ถ้ำ บริเวณเดียวกัน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม เป็นรูปต่าง ๆ เช่น เป็นเชิงชั้นคล้ายดอกเห็ด รูปทรงเจดีย์ มีหลืบม่านหินย้อยเป็นฉากกั้น ผนังถ้ำสีขาวสะอาดตาเมื่อยามกระทบแสงไฟ เกิดประกายระยิบระยับดูงดงามยิ่ง
เขาพนมเบญจา เป็นยอดเขาสูงถึง 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองกระบี่ได้กว้างไกล เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาจะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์หนาแน่นด้วยต้นไม้ ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ได้จัดสถานที่สำหรับกางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ จากสามแยกบ้านตลาดเก่า จังหวัดกระบี่ ไปตามถนนศรีตรัง ระยะทาง 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางตลาดเก่า- บ้านห้วยโต้ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารสองแถววิ่งประจำทาง จากตลาดเก่าถึงน้ำตกห้วยโต้
สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
ตู้ ปณ. 26 ปท.กระบี่,อ. เมืองกระบี่ จ. กระบี่ 81000 โทรศัพท์ : (075) 629013


กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจและจัดตั้งกำหนดบริเวณที่ดินสุสานหอย 45 ล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง ตำบลไสไทย และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ประมาณ 243,725 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 47 ของประเทศไทย ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี ต่อมาได้ดำเนินการผนวกพื้นที่บริเวณสุสานหอยและเกาะใกล้เคียง เพิ่มอีกจำนวน 12 ไร่ 68 ตารางวา และเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ สำหรับกองทัพเรือ ใช้ในการสร้างฐานทัพเรือ และเป็นเขตพระราชฐาน ดังนั้นจึงมีเนื้อที่ทั้งหมดคงเหลือ 242,437 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• ประกอบด้วยพื้นที่ภาคพื้นดินบนชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเขาอ่าวน้ำเมา และป่าอ่าวนาง-หางนาค และหมู่เกาะต่างๆ ธรณีสัณฐานของพื้นที่เป็นเทือกเขามีความสูงชันเรียงตัวยาวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณชายฝั่งเป็นเขาสูงชัน ทางด้านตะวันตกมีความลาดชันมากกว่าตะวันออก ธรณีสัณฐานของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากแนวการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เรียกว่า Indosenia Teotonic Movement และในบริเวณป่าชายเลนเขาหางนาค ริมฝั่งทะเลมีลำคลองเขากลม ได้รับน้ำจืดที่ระบายมาจากบึงขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “หนองทะเล” ทำให้เกิดสภาพป่าชายเลน และที่ราบต่ำป่าเสม็ดบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่เรียกว่า “คลองแห้ง (หาดนพรัตน์ธารา)”
ลักษณะภูมิอากาศ
• อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเขตร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ลักษณะภูมิอากาศจึงแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน จากต้นเดือนพฤษภาคม–เดือนธันวาคม และฤดูร้อนจากต้นเดือนมกราคม–เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยทั่วไป 17-37 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเฉลี่ยประมาณ 2,231 มิลลิลิตร ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• พันธุ์พืชในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
• ป่าดงดิบชื้น พบบริเวณที่เป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาหินปูนซึ่งมีชั้นดินบาง และรับลมแรงจึงเป็นป่าดิบชื้นที่ไม่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ พันธุ์พืชที่พบ ได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ยาง พะยอม และไม้ชั้นล่าง ประกอบด้วย จันทน์ผา หวาย ไทร และเถาวัลย์หลายชนิด
• ป่าชายเลนมีอยู่ในบริเวณคลองแห้ง และบริเวณคลองย่านสะบ้า พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว เป็นต้น
• ป่าพรุ เป็นสังคมพืชเด่นที่พบต้นเสม็ดขึ้นอย่างหนาแน่น บริเวณหาดนพรัตน์ธาราพันธุ์พืชที่พบนอกจากต้นเสม็ดขาวที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นแล้วยังพบ พะยอม หว้าหิน ไม้นน ไม้เนียน และหญ้าคา เป็นต้น
• พันธุ์สัตว์ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาพีพี จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ เท่าที่สำรวจพบได้ดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, ปลา นอกจากสัตว์ป่าที่กล่าวมาแล้ว พันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญสัตว์น้ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิด เช่น ปลิงทะเล สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญที่สุด คือ ปะการัง ได้แก่ ปะการังหนาม ปะการังผิวถ้วย ปะการังผักกาด และปะการังต้นไม้ เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
• บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ พพ.2 (สุสานหอย) บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ พพ. 3 (เกาะไม้ไผ่) และบริเวณศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารไรเลย์ ที่พักนักท่องเที่ยว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 2 แห่ง บริเวณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นบ้านพัก จำนวน 6 หลัง ได้แก่ บ้านธารา 1 ,2 บ้านพีพี บ้านพระนาง บ้านหางนาค และบ้านปะการัง
แหล่งท่องเที่ยว
•เกาะพีพีดอน มีเนื้อที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของ หมู่บ้านชาวเล ประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาดยาว และหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงาม ติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมาก บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
• เกาะพีพีเล มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับพื้นผิวทะเลโดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา อ่าวโละซะมะ นอกจากนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมี ถ้ำไวกิ้ง ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า ถ้ำพญานาค ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่เก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้าง และรูปเรือชนิดต่างๆ
• เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอนไม่ไกลจากเกาะยูงเท่าใดนัก ด้านทิศเหนือและ ทิศตะวันออก มีหาดทรายสวยงามและแนวปะการัง ซึ่งส่วนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาวไปถึงทางทิศใต้ของตัวเกาะ
• เกาะยูง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน มีชายหาดซึ่งเป็นหาดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีหาดทรายเล็กน้อยตามหลืบเขา นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังสวยงามชนิดต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์
• หมู่เกาะปอดะ อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวพระนาง เมื่อมองจากฝั่งจะเห็นหาดทรายขาว บริเวณชายฝั่งจะมีแนวปะการังหลากชนิด ประกอบกับความใสสะอาดของน้ำทะเลจึงเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดทั้งปี
• หมู่เกาะพีพี จากคำบอกเล่า เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า ปูเลาปิอาปี คำว่า ปูเลา แปลว่า เกาะ คำว่า ปิอาปี แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม ต่อมาเรียกว่า ต้นปีปี ภายหลังกลายเสียงเป็น พีพี หมู่เกาะพีพีประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะปิด๊ะนอก เกาะปิด๊ะใน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ อยู่ห่างจากชายฝั่งกระบี่ประมาณ 42 กิโลเมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นเวิ้งอ่าวรูปครึ่งวงกลม อยู่ในวงล้อมของภูเขาหินปูนที่สูงชันจนเกือบเป็นทะเลใน หรือที่ชาวเกาะเรียกว่า ปิเละ
• หาดนพรัตน์ธารา เดิมชาวบ้านเรียกว่า คลองแห้ง ทั้งนี้เพราะเมื่อน้ำลง น้ำคลองที่ไหลมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอดกลายเป็นหาดทรายยาวเหยียดทอดลงไปในทะเลบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยชักตีน แหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่ง
• สุสานหอย เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ คือ หลักฐานทางธรณีที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ ของหอยน้ำจืดชนิดต่างๆ ประมาณว่ามีอายุ 75 ล้านปีมาแล้ว จึงเรียกว่า สุสานหอย 75 ล้านปี ต่อมาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการค้นพบหลักฐานด้านธรณีวิทยามีมากขึ้น ซึ่งกำหนดอายุใหม่เหลือประมาณ 40-20 ล้านปี
• อ่าวนาง มีทิวทัศน์โดยรวมสวยงามแปลกตากว่าหาดอื่นๆ เพราะด้านหนึ่งของหาดทรายเป็นภูเขาและมีถ้ำหินงอกหินย้อยคือ ถ้ำพระนาง เป็นอ่าวที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาพักผ่อน เพราะมีความเงียบสงบและไม่มีผู้คนพลุกพล่าน
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ รวมระยะทางประมาณ 946 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา เข้าอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 4035 ผ่านอำเภออ่าวลึก ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร
• เครื่องบิน จากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มาลงที่สนามบินจังหวัดกระบี่
• รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มาลงได้ทั้งที่สถานีรถไฟ จังหวัดตรัง สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือสถานีรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นต่อรถโดยสารเข้า จังหวัดกระบี่
• รถโดยสารประจำทาง การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อซื้อตั๋วได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ มีบริษัทเดินรถ 2 บริษัท คือ บริษัทขนส่ง จำกัด และบริษัทลิกไนท์ทัวร์
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
79 หมู่ 5 บ้านคลองแก้ว ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ 81000

บทความที่ได้รับความนิยม